หน้าแรก >[09] การสื่อสาร > การเผยแพร่ธรรมะ >เราคิดอะไร

ชีวิตไร้สารพิษ - ล้อเกวียน -
การสร้าง บ้านดิน (แบบ Adobe)


ที่พักอาศัยเป็นปัจจัย ๑ ใน ๔ ที่สำคัญสำหรับชีวิต แต่มนุษย์ทุกวันนี้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมาก เพื่อที่จะสร้าง "บ้าน" อยู่เท่านั้น ภูเขา ต้นไม้ ไม่รู้สักเท่าไหร่ที่ต้องถูกทำลายลงไป เพื่อมาใช้สร้างบ้านอยู่

๑ ใน ๓ ของที่พักอาศัยในโลกใช้ดินไม่เผาที่ทนทาน แข็งแรง สวยงาม ซึ่งมีเครื่องปรับอากาศ อย่างดี อยู่ในตัว อยู่ในทะเลทราย ก็จะเย็นสบาย อยู่ในที่หนาว ก็จะอบอุ่น และที่สำคัญ คือเราสามารถ จะสร้างได้ด้วยมือ และเท้าของเราเอง

* ก่อนอื่นเราจะต้องมารู้จัก "ดิน" กันเสียก่อน
สังเกตจากดินที่แห้ง ถ้ามีความแข็งมาก และเนื้อดินละเอียด จะเป็นดินเหนียว (น้ำซึมผ่านได้ยาก) พื้นที่ ที่เป็นดินเหนียว เราจะสังเกตได้ง่ายๆ จากพื้นที่ดินแตกระแหง (เช่นที่นาภาคอีสาน) หรือดินชั้นล่างๆ (เช่นดินก้นบ่อหรือหนองน้ำ)

-นำดินมาปั้นเป็นเส้นหรือท่อน แล้วแกว่งดู ถ้าไม่ขาดออกจากกัน มีความเหนียวจะเป็นดินเหนียวที่ดี

-นำดินมาปั้นเป็นก้อนแบนๆ คล้ายคุกกี้ ตากให้แห้ง เมื่อนำมาหักดู จะรู้สึกว่าแข็งมาก หักยาก
ถ้าแข็งมาก ควรผสมทรายเพิ่มเวลาทำ
ถ้าเปราะมาก แสดงว่า มีทรายมากเกินไปไม่ดี

-ดินเหนียวปนกรวดหิน หรือทรายทะเล ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ หน้าดินร่วนๆ ถ้ามีดินเหนียวปนอย่างน้อย ๒๐% จะใช้ได้ดี ทำง่าย

-การทดสอบดูสัดส่วนดิน อีกวิธีหนึ่ง คือ :-นำก้อนดินมาบี้บดใส่ขวด ใส่น้ำ (เติมเกลือช่วยเร่ง ในการตกตะกอน) เขย่าให้เข้ากัน แล้ววางขวดทิ้งไว้สักพักใหญ่

สัดส่วนแหล่งดินนั้น ต้องมีดินเหนียว ๒๐% ขึ้นไป แต่ถ้าดินเหนียวน้อย อาจหาดินเหนียว จากแหล่งอื่น มาเติม ไม่ควรมีกรวดมาก

* ขั้นตอนการทำก้อนอิฐดิน
ดินเหนียว+แกลบสด (ถ้ามีทรายเยอะอาจเติมได้) + น้ำ

-หลังจากเตรียมวัสดุได้แล้ว ให้ขุดหลุมเพื่อทำการผสมวัสดุ ส่วนประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน ลึกประมาณ ๕๐ ซม. ความกว้างของบ่อแล้วแต่ความเหมาะสมว่าจะใช้คนกี่คนในการย่ำดิน

-เติมน้ำเข้าไปก่อน (เหตุที่ควรใช้การขุดบ่อดิน เพราะว่าน้ำจะสามารถซึมผ่านได้ เมื่อเวลาผสมดิน จะทำให้ น้ำไม่มากเกินไป ต่างจากการผสมกระบะโลหะ)

-ใส่ดินเหนียวลงไป แล้วย่ำจนดินเป็นเนื้อเดียวกัน (ถ้าดินเหนียวมากให้แช่น้ำเอาไว้นานๆ อาจจะแช่
ค้างคืนก็ได้) ค่อยๆ ทำอย่ารีบร้อน ย่ำให้ดินเข้ากันได้ดี

-เมื่อดินเข้ากันดีแล้ว ให้ใส่แกลบหรือฟาง (ควรจะเป็นฟางสั้นหรือที่เหลือจากการสีข้าว จะทำให้ง่ายต่อการย่ำ)

-ย่ำจนเข้ากันดี สังเกตเมื่อยกเท้าขึ้นดินไม่ทรุดตัวลง(ยังเป็นรอยเท้า) ไม่เหลวจนเกินไปเป็นใช้ได้

-เตรียมพิมพ์สำหรับทำเป็นบล็อกอิฐ โดยใช้ไม้แผ่นหนาไม่ต่ำกว่า ๑ นิ้ว แบ่งเป็นช่วงๆ ปริมาตร
เท่ากับ ก้อนอิฐที่ต้องกา ร(ประมาณกว้าง ๘ นิ้ว ยาว ๑๔ นิ้ว ลึก ๔ นิ้ว) จะทำพิมพ์ติดกัน ๓-๕ บล็อกก็ได้

-เอาน้ำลูบที่พิมพ์ไม้เพื่อไม่ให้ดินติดกับแบบพิมพ์ (ไม่ควรรดน้ำที่พื้นเพราะอิฐจะติดกับพื้น)

-ใส่ดินที่เตรียมไว้ลงในแบบพิมพ์ ใช้มือทั้ง ๒ ข้าง จากปลายนิ้วทั้ง ๑๐ กดตามข้างพิมพ์ จากปลายบน ตรงกลาง (มือซ้ายและขวา) ไล่ลงมาข้างๆ จนถึงด้านล่าง แล้วมาบรรจบกัน ตรงกลางปลายล่าง จึงปาดหน้าขึ้นบน ด้วยฝ่ามือทั้ง ๒ ยกพิมพ์ออกทันที ไม่ควรพยายามปาดหน้าอิฐให้เรียบมากจะเสียเวลา

-ทิ้งไว้ตากแดดให้แห้ง อาจจะ ๑-๓ วัน (ถ้าแดดจัดอากาศไม่ชื้น แต่ละที่ไม่เหมือนกัน) ให้กลับก้อนอิฐ ตั้งขึ้น เพื่อให้แห้งทั่วถึง แล้วกองเก็บเอาไว้เตรียมใช้งาน ต้องตากให้แห้งสนิทจริงๆ

-วิธีทดสอบความแข็งของอิฐ คือ หลังจากอิฐแห้งสนิท ให้ยกอิฐขึ้นสุดแขน แล้วใช้มุมใดมุมหนึ่ง ทุ่มกับพื้นที่แข็ง ถ้าอิฐหักครึ่งถือว่าใช้ไม่ได้ ถ้าอิฐหักที่มุม ก็ถือว่าใช้ได้

ข้อควรระวัง ห้ามใช้อิฐชื้น (แกนในไม่แห้ง) ห้ามใช้อิฐผุยุ่ย...ก่อสร้าง

(อ่านต่อฉบับหน้า)

(เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๕๐ มกราคม ๒๕๔๖)