หน้าแรก >[09] การสื่อสาร > การเผยแพร่ธรรมะ >เราคิดอะไร

ปรัชญาการดำรงชีพ - สิน วิภาวสุ -


อิริยาบถในการนอน
ท่านอนมีความสำคัญมาก ในตอนหัวค่ำอาจจะใช้ท่านอนหงาย โดยเอามือทั้งสอง วางไว้ข้างกาย ขาทั้งสอง ยืดตรง ท่านี้มีประโยชน์ ต่อการหายใจ และหลับได้เร็ว ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย ความตึงเครียดได้เร็ว พอตอนดึก ถ้าตื่นรู้สึกตัว ก็อาจเปลี่ยนท่านอน มาเป็นนอนตะแคงก็ได้ แต่ต้องนอนตะแคงขวา จึงจะดี อย่านอนตะแคงซ้าย เพราะจะกดทับ การทำงานของหัวใจ ทำให้โลหิตไหลเวียนไม่สะดวก กระทบกระเทือน ต่อการนอนหลับ เวลานอนหงาย อย่าเอามือวางทับที่หน้าอก มิฉะนั้น จะกดทับหัวใจ คนก็หลับไม่สบาย มักชอบฝันร้ายเสมอ

เตียงนอนก็ต้องเลือกให้ดี พื้นเตียงควรให้เรียบและแข็งจะดีกว่า เวลานอนร่างกายจะยืดตรงได้ตรง แขนขา ก็ยืดได้เต็มที่ ช่วยให้ผ่อนคลายได้ดี ในฤดูร้อนควรใช้เสื่อปูนอน แต่ในฤดูหนาว ควรใช้ฟูก เพื่อให้เกิดความอบอุ่น

นั่งให้ตรง
อิริยาบถของการนั่งก็มีความสำคัญต่อสุขภาพของคนเรามากเหมือนกัน ท่านั่งที่ถูกต้อง จะช่วยให้เลือดลม หมุนเวียนได้สะดวก ตรงกันข้ามถ้าหากท่านั่งไม่ดี ก็จะเป็นอุปสรรคขัดขวาง การหมุนเวียนของเลือดลม นานไป ก็จะทำให้เจ็บป่วย เป็นคนเอวคดหลังงอ ไม่สวยงาม ท่านั่งของคนเรา คือการนั่งตัวตรง เป็นที่ดีที่สุด อย่านั่ง พิงฝาผนัง เอียงกายอยู่อย่างนั้นนานๆ ไม่ว่าท่าน จะอ่อนเพลีย เมื่อยล้าเพียงใด เวลานั่ง ก็ควรจะนั่งให้ตรง จะเป็นการดี ในยามนั่งพักผ่อน อาจจะนั่งท่าขัดสมาธิก็ได้ เพราะท่าขัดสมาธินี้ เป็นที่นั่งที่ดีท่าหนึ่ง ทำให้เลือดลม หมุนเวียน ได้ทั่วร่าง ผู้ที่ฝึกกำลังภายใน ก็นั่งในก็จะนั่ง ในท่าขัดสมาธิ คนที่ฝึกสมาธิ เพื่อให้จิตสงบ ก็นั่งในท่านี้ การนั่งบนเก้าอี้ อยู่เสมอนั้น ดีกว่านั่งกับพื้น เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ชาวญี่ปุ่น ไม่มีนิสัยนั่งเก้าอี้ กล่าวกันว่า ชนชาวจีน ในสมัยก่อน ก็นั่งกับพื้นเหมือนกัน เพิ่งเปลี่ยนมานั่งเก้าอี้ ในสมัยราชวงศ์ถังนี่เอง เรื่องนี้จะจริงเท็จ แค่ไหน ก็ไม่ทราบได้

(เราคิดอะไร ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๕๐ มกราคม ๒๕๔๖)