หน้าแรก >[09] การสื่อสาร > การเผยแพร่ธรรมะ >เราคิดอะไร

กติกาเมือง - ประคอง เตกฉัตร
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ประจำสำนักงานศาลยุติธรรม ช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษา หัวหน้าศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช

อัลไพน์

ผู้เขียนได้เขียนเรื่องที่ธรณีสงฆ์ มาหลายครั้งแล้ว แต่ไม่ได้เจาะจงเรื่องที่ดินแปลงนี้ เพราะคิดว่า เหตุการณ์ ในขณะนั้น เรื่องพิพาทดังกล่าวนี้ น่าจะเข้าสู่ กระบวนการ พิจารณา ของศาล ในสำนักงาน ศาลยุติธรรม แต่แล้วเรื่องที่ดิน แปลงดังกล่าวนี้ ก็ได้ถูก ฝ่ายบริหาร นำกฎหมายที่ดิน มาใช้วินิจฉัย และสิ้นสุด ไปตามคำสั่ง ในทางปกครอง

ผู้เขียนอ่านบทความ ของท่านกีรติ กาญจนรินทร์ ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่ได้เขียนพาดพิง ถึงเรื่อง ดังกล่าวนี้ และเห็นว่า เป็นบทความที่น่าสนใจ เป็นอย่างยิ่ง จึงมีแรงบันดาลใจ ให้ผู้เขียน หยิบยก เรื่องดังกล่าวนี้ ขึ้นมาเขียนในคอลัมน์ดังกล่าวนี้ อีกครั้งหนึ่ง

ปัญหาดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่ประชาชน ที่ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร อันเป็นที่ดิน ของนางเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ซึ่งได้ทำพินัยกรรม ฉบับลงวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๒ ยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีโฉนด จำนวน ๒ แปลงเนื้อที่ประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่ ให้แก่วัดธรรมิการามวรวิหาร ต่อมาวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๑๔ นางเนื่อม ถึงแก่ความตาย หลังจากนั้น มีการตั้งผู้จัดการมรดก แล้วมีการโอนที่ดินทั้งสองแปลง ต่อมาเป็นทอดๆ โดยไม่ปรากฏว่า มีการใส่ชื่อ วัดธรรมิการามวรวิหาร ในโฉนดที่ดิน แต่อย่างใด จนเกิดปัญหา ว่า ที่ดินทั้งสองแปลงนั้น ตกเป็น ที่ธรณีสงฆ์แล้วหรือไม่ ที่ดินดังกล่าว ถือว่าเป็นกองมรดก ตามความหมาย แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๐๐ ของนางเนื่อม ผู้ตาย ซึ่งต้องตกทอด แก่ทายาท ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๙ วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า นางเนื่อม ได้ทำพินัยกรรม ยกที่ดิน ให้แก่วัด ธรรมิการาม วรวิหาร ดั่งนี้ วัดธรรมิการาวรวิหาร จึงเป็นทายาท ประเภท ผู้รับพินัยกรรม ตามประมวล กฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา ๑๖๐๓ แม้ที่ดินดังกล่าว เป็นมรดก ของนางเนื่อม ผู้ตาย จะตกแก่วัด ธรรมิการามวรวิหาร ซึ่งเป็นทายาท ก็ต้องเป็นไปตามหลักการ ของมรดก ซึ่งใช้บังคับแก่ ทายาททุกประเภท

กรณีที่ผู้ตายมีทายาทหลายคน ถ้าถือว่ามรดกตกทอด เป็นกรรมสิทธิ์แก่ทายาททุกคน โดยเด็ดขาดแล้ว ทายาททุกคน ก็ต้องมีสิทธิ และหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดก ตามที่บัญญัติ ไว้ใน ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๕๖ ถึง ๑๓๖๖ อันเป็นหลัก เรื่องกรรมสิทธิ์ ทุกประการ แต่มิได ้เป็นไปเช่นนั้น เพราะใน ประมวลกฎหมาย แพ่ง และพาณิชย์ ลักษณะมรดก มาตรา ๑๗๕๔ บัญญัติ ให้นำมาตรา ๑๓๕๖ ถึง ๑๓๖๖ มาใช้บังคับ เท่าที่ไม่ขัดกับ บทบัญญัติแห่ง บรรพ ๖ ลักษณะมรดก ถ้าถือกรรมสิทธิ์รวม โดยเด็ดขาด แท้จริงแล้ว เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม มีสิทธิ์ฟ้อง ขอแบ่งได้ตลอดเวลา อันสมควร ตามมาตรา ๑๓๖๓ แต่ถ้าเป็น ทายาท ที่ไม่ได้ร่วม ครอบครองมรดก หากจะฟ้องขอแบ่งมรดก ที่ถือว่าตกแก่ตนแล้ว ก็ต้องฟ้อง ภายใน อายุความ ๑ ปี ตามมาตรา๑๗๕๔ หรือในกรณีที่ มีค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษา หรือ ค่าภาษี อากรแล้ว ผู้ที่เป็นเจ้าของ ทุกคน ต้องเฉลี่ย กันออก ตามส่วน ตามาตรา๑๓๖๒ แต่ถ้าเป็น มรดกแล้ว ทายาทไม่จำต้องออก แต่ให้หักชำระ จากกองมรดก ตามมาตรา ๑๗๓๙

การสละสิทธิรับมรดกที่ถือว่าตกแก่ทายาทนั้น ต้องทำตามแบบ และหลักเกณฑ์ ที่กฎหมาย ลักษณะมรดก บัญญัติ ซึ่งแตกต่าง จากการสละกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินทั่วไป

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๙ วรรคสอง ทายาทอาจเสียไป ซึ่งสิทธ ิในมรดกได้ ดังนั้น เมื่อมรดกตกทอด แก่ทายาท ตราบใดที่เป็นมรดกอยู่ ก็อาจเสียสิทธิ ในมรดกได้ แต่ถ้าตกแก่ทายาท คนใดแล้ว ทายาทคนดังกล่าว ก็ไม่เสียสิทธิ เว้นแต่จะสละ ทรัพย์สิน ดังกล่าว นั้น ให้แก่บุคคลอื่นภายหลัง แต่ในกรณีที่ เจ้าของกรรมสิทธิ ในทรัพย์สินนั้น ย่อมไม่เสียสิทธิ เช่น เสียสิทธิในการรับมรดก ของทายาท ที่ปิดบัง ทรัพย์มรดก ทายาทนั้น อาจถูกกำจัด มิให้รับมรดก แต่ถ้าเป็นเจ้าของรวม เจ้าของรวมคนหนึ่ง ปิดบัง ยักย้ายทรัพย์ ที่เป็น กรรมสิทธิ์รวม เจ้าของรวม ที่ยักย้ายนั้น ก็ไม่เสียสิทธิ ในทรัพย์ ดังกล่าว

การเสียไปซึ่งสิทธิในการรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น ผู้รับบุตร บุญธรรม เรียกทรัพย์สิน ที่ให้ไว้แก่บุตรบุญธรรม คืนจากกองมรดก ของบุตรบุญธรรม ตามมาตรา ๑๕๙๘/๓๐ ทายาทถูกกำจัด ไม่ให้รับมรดก เพราะปิดบัง ยักย้ายมรดก ทายาท ถูกกำจัด มิให้รับมรดก เพราะประพฤติ ไม่สมควร เช่น ปลอมพินัยกรรม ของผู้ตาย หรือ ฆ่าผู้ตาย โดยเจตนา และศาลพิพากษา ถึงที่สุดว่า มีเจตนาฆ่าผู้ตาย กรณีถือว่า สิ้นความเป็น ทายาท ไม่มีสิทธิรับมรดก ทายาทถูกตัด มิให้รับมรดก โดยเจ้าของมรดก ตามมาตรา ๑๖๐๘ ทายาทสละมรดก ตามมาตรา ๑๖๑๑ ถึง ๑๖๑๙ ทายาทเสียสิทธิ ในมรดก เพราะเจ้าหนี้บังคับ ชำระหนี้ จากกองมรดก ที่เจ้ามรดกได้ก่อไว้ ระหว่างมีชีวิต ตามมาตรา ๑๗๓๔ ทายาทเสียสิทธิ ในมรดก เพราะไม่เรียกร้อง เอาทรัพย์ มรดก ภายใน อายุความมรดก ตามมาตรา ๑๗๕๔

ท่านกีรติได้ให้ความเห็นเรื่องอายุความไว้ว่าตามมาตรา ๑๗๕๔ นี้ บุคคลที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ ก็แต่บุคคลที่เป็นทายาท หรือบุคคลซึ่งชอบจะใช้สิทธิของทายาท หรือโดยผู้จัดการมรดก นอกจากนี้ อายุความ ตามมาตรา ๑๗๕๔ นี้ เป็นเรื่องสิทธิเรียกร้อง ซึ่งเป็นคนละกรณี กับอายุความ ที่บัญญัติไว้ ตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์มาตรา ๓๔ วรรคสามที่ว่า ห้ามมิให้ ยกอายุความ ขึ้นต่อสู้กับวัด..ในเรื่องทรัพย์สิน อันเป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ โดยอายุความ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา ๓๔ วรรคสามนั้น หมายถึง อายุความ เสียสิทธิ เพราะถูกแย่งการครอบครอง เมื่อเสียสิทธิแล้ว ก็มีผลย้อนไป ตั้งแต่เจ้ามรดกตาย ที่ดินนั้น ไม่เคยตกเป็น ของวัดเลย ซึ่งเรื่องนี้ ได้มีคำพิพากษา ศาลฎีกา วินิจฉัยไว้ เป็นบรรทัดฐานแล้ว คือ คำพิพากษา ศาลฎีกาที่ ๑๕๑๖/๒๕๓๐ ระหว่าง วัดมกุฏกษัตริยาราม โจทก์ นางมณี อุทกภาชน์ จำเลย ซึ่งข้อเท็จจริง ในคดีนี้ ได้ความว่า
นางสาวกฤษณ์ กรศิริ ได้ทำพินัยกรรม ยกที่ดินโฉนด ๒ แปลงให้แก่วัด มกุฏกษัตริยาราม และระบุ ให้นางลำดวน และนางรวย มีสิทธิเก็บกิน ตลอดชีวิต ต่อมานางสาวกฤษณ์ ถึงแก่ความตาย วัดมกุฏกษัตริยาราม ก็ไม่ได้จัดการ เกี่ยวกับคดีที่ดิน แต่อย่างใด ต่อมานางลำดวน ถึงแก่ความตาย นางรวย ได้จัดการโอนโฉนด ลงชื่อนางรวย เป็นผู้รับมรดก ที่ดินทั้งสองแปลง หลังจากนั้น ประมาณ ๑๐ ปี นางรวยถึงแก่ความตาย โดยทำพินัยกรรม ยกที่ดินทั้งสองแปลง ให้แก่นางมณี อุทกภาชน์ ซึ่งเป็นหลาน วัดมกุฏษัตริยาราม จึงฟ้อง นางมณี ขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินมีโฉนดที่ดินทั้งสองแปลง เป็นของวัด มกุฏษัตริยาราม ห้ามนางมณี และบริวารเกี่ยวข้อง นางมณีให้การต่อสู้ว่า คดีโจทก์ ขาดอายุความมรดก

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า หลักกฎหมายที่ว่า เมื่อเจ้ามรดกตาย มรดกตกทอดแก่ทายาท ตามประมวล กฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๙ วรรคสุดท้าย ทายาทก็อาจเสียไป ซึ่งสิทธิในมรดกได้ โดยบทบัญญัติ ของกฎหมาย วัดมิได้แสดงให้เห็นว่า นางลำดวน และ นางรวย ได้ครอบครองทรัพย์รายพิพาทนี้ แทนวัด ประการใดเลย นางรวยเป็นมารดา ของนางสาวกฤษณ์ ได้ครอบครองทรัพย์มรดก รายพิพาท มาตั้งแต่ นางสาวกฤษณ์ เจ้ามรดกตาย วัดไม่ได้เข้าเกี่ยวข้องแต่อย่างใด แล้วนางรวย ยังได้ขอแก้ทะเบียนโฉนด โอนรับมรดก ของนางสาวกฤษณ์แล้วอีกด้วย และนับแต่ แก้ทะเบียน โอนโฉนด เป็นกรรมสิทธิ์ ของนางรวย จนกระทั่ง นางรวยตาย ก็เกินกว่าสิบปีแล้ว ตามพินัยกรรม ของนางสาวกฤษณ์นั้น นางรวยได้รับประโยชน์ ตามพินัยกรรมอยู่ด้วย นางรวยมิได้ถูกตัด มิให้รับมรดก ของนางสาวกฤษณ์เสียเลย สิทธิเรียกร้องของวัด ในฐานะผู้รับพินัยกรรม
ของนางสาวกฤษณ์ ก็ขาดอายุความไปแล้ว ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๗๕๔ วรรคท้าย จำเลยสืบสิทธิ จากนางรวย ย่อมยกอายุความ อันเป็นประโยชน์ แก่นางรวย ขึ้นต่อสู้วัด ผู้รับพินัยกรรม ของนางสาวกฤษณ์ได้ วัดไม่ได้ใช้สิทธิ เรียกร้อง เอาทรัพย์ ตามพินัยกรรมเสีย ภายในอายุความ วัดจึง หมดสิทธิ จะเรียกร้องต่อไป ศาลฎีกา ประชุมใหญ่มีมติว่า วัดมกุฏกษัตริยารามโจทก์ หมดสิทธิ์ ในพินัยกรรม ของนางสาว กฤษณ์แล้ว ให้ยกฟ้องโจทก์

ก่อนการลงมติได้มีการอภิปรายให้เหตุผล เพื่อประกอบการลงมติ ซึ่งนับว่า เป็นเหตุผล ที่ดีมาก และควร จะจารึกไว้ เป็นประวัติศาสตร์ และฎีกานี้ เป็นคำพิพากษา ศาลฎีกา ที่นำมาปรับ แก่คดีที่ดิน อันเป็นอัลไพน์ได้ อย่างดี

หลวงสารนัยประสาสน์ ที่ดินรายนี้เป็นที่ดินมีโฉนด เจ้าของที่ดินทำพินัยกรรม ยกที่ดินให้ วัดมกุฏกษัตริยาราม แต่ให้นางรวย และนางลำดวน มีสิทธิเก็บกินตลอดชีวิต ต่อมา เมื่อเจ้าของ ที่ดินตาย วัดมกุฏกษัตริยาราม ก็ไม่ได้จัดการ เกี่ยวกับที่ดินอย่างไร ต่อมา นางลำดวน ถึงแก่ความตาย และ นางรวย ได้จัดการโอนโฉนด ลงชื่อ เป็นผู้รับมรดก เป็นเวลา ๑๐ ปีแล้ว ปัญหาเบื้องต้น มีว่าที่ดินนี้ ตกเป็นของวัด แล้วหรือยัง ถ้ายัง ก็ไม่เป็น ธรณีสงฆ์ ปัญหาเรื่องการโอน ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ก็ไม่จำต้องวินิจฉัย

นายสะอาด นาวีเจริญ วัดมกุฏฯ ได้ที่ดินแปลงนี้ มาตามกฎหมายมรดก แตวัดไม่เข้าไป ยึดถือเอา ภายใน อายุความ ทายาทของผู้ตาย ก็ยกอายุความ ขึ้นต่อสู้ วัดได้

นายประมูล สุวรรณศร ปัญหานี้เบื้องต้นต้องดูว่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินรายนี้ ได้โอน ทางนิติกรรม หรือทางอื่น ถ้าหากเป็นการได้ทางอื่น นอกจากนิติกรรม ถ้ารู้ก็ยกขึ้นต่อสู้ บุคคลภายนอก ผู้รับโอนโดยสุจริตไม่ได้

นายสะอาด นาวีเจริญ ยังไม่ได้ต้องพิจารณาไปไกลถึงขนาดนั้น เราพิจารณาเรื่องมรดก

นายประมูล สุวรรณศร เจ้าของทรัพย์ทำพินัยกรรมให้คนอื่น เจ้าของทรัพย์ถึงแก่กรรม บุคคล ผู้รับทรัพย์ ตามพินัยกรรม เพิกเฉยเสีย จนกระทั่ง ๒๐-๓๐ ปี จะเรียกได้ว่า ถือเอากรรมสิทธิ์ จากพินัยกรรม ตามพินัยกรรม นั้นหรือไม่ ถ้าพินัยกรรมระบุไว้ ผู้อื่นนั้น ต้องแสดงกิริยา จะปล่อย ให้ทายาทโดยธรรม ครอบครอง จะได้สิทธิหรือไม

หลวงสารนัยประสาสน์ ถ้าเป็นที่ของวัดแล้ว ก็มีความผูกพันเป็นที่ของวัดตลอดไป เว้นแต่ จะมีพระราชบัญญัติ ให้โอนไปเป็นอย่างอื่น การที่จะถือว่า เป็นที่ของวัดหรือยัง เพียงแต่ เจ้าของอุทิศให้ ถ้าทางวัดยังไม่รับ เห็นว่า ยังไม่เป็นของวัดเรื่องนี้ เป็นการอุทิศ โดยพินัยกรรม ปัญหามีว่า กรรมสิทธิ์ ตกเป็นของวัดหรือยัง เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย และวัด ไม่ได้เกี่ยวข้อง

นายสะอาด นาวีเจริญ แม้เป็นทายาทตามกฎหมายได้กรรมสิทธิ์ภายใต้กฎหมายมรดก คือต้องมีอายุความ ผ่านพ้นไปแล้ว ก็เรียกร้องไม่ได ้เรื่องนี้วัดไม่ได้เรียกร้อง ภายในอายุความ ก็เรียกไม่ได้

ประธาน(หลวงจำรูญเนติศาสตร์) ถ้าอ้างอายุความจะลำบาก

ประกอบ หุตะสิงห ถ้ายังมีทรัพย์มรดกเหลืออยู่บางส่วน ทายาทก็ยังมีสิทธิ

หลวงจำรูญเนติศาสตร์ หมายความยอมรับว่า เจ้ามรดกตายกรรมสิทธิ์ตกได้แก่วัด ถ้าเช่นนั้น จะขาดจากวัด ได้อย่างไร

นายประมูล สุวรรณศร ถ้ามีพินัยกรรมจะตกหรือยัง ยังสงสัย

หลวงสารนัยประสาสน์ ศาลฏีกาเคยพิพากษาว่า ทายาทโดยธรรม อ้างอายุความมรดก ๑ ปี ใช้ยันแก่ผู้รับ พินัยกรรมไม่ได้

นายจิตติ ติงศภัทิย์ คำพิพากษาฎีกาที่วินิจฉัยว่า ทายาทโดยธรรม ยกอายุความมรดกขึ้นอ้าง ยันผู้รับ พินัยกรรม ไม่ได้นั้น เพราะผู้รับพินัยกรรม ได้รับทรัพย์มรดก ทั้งหมดแต่ผู้เดียว ถือว่า เป็นการตัดทายาท โดยธรรมเสียแล้ว

หลวงสารนัยประสาสน์ คดีนี้วัดมกุฎกษัตริยาราม ไม่ได้รับพินัยกรรม ทรัพย์มรดก เจ้ามรดก ทั้งหมด แม้แต่ที่พิพาท ก็ยังให้ทายาท โดยธรรม บางคนมีสิทธิเก็บกิน

นายประมูล สุวรรณศร ตามมาตรา ๑๗๕๔ บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ห้ามมิให้ฟ้อง คดีมรดก เมื่อพ้น กำหนด ๑ ปี เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือตั้งแต่เมื่อทายาทโดยธรรม ได้รู้ หรือควรได้รู้ ถึงความตาย ของเจ้ามรดก

นายจิตติ ติงศภัทิยที่ว่าแสดงเจตนารับ ผมเห็นว่าไม่ต้องแสดงเจตนารับ

หลวงสารนัยประสาสน์ เมื่อทายาทโดยธรรมอ้างอายุความมรดกได้อยู่ วัดก็ยังไม่ได้ กรรมสิทธิ เด็ดขาด ยังไม่เป็น ธรณีสงฆ์

หลวงจำรูญเนติศาสตร ปัญหามีว่าวัดจะขาดกรรมสิทธิ์โดยอายุความได้หรือไม่

นายประกอบ หุตะสิงหเขียนว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของวัด ตามกฎหมายมรดก แต่วัด ไม่เรียกร้อง เอาตามอายุความ วัดก็หมดสิทธิ

หลวงสารนัยประสาสน์ ถ้าที่ดินตกเป็นของวัดแล้ว วัดจะเสียกรรมสิทธิ์ ก็แต่โดยนิติเหตุ มีพระราชบัญญัติ ให้โอนไปจาก ที่ของวัดเท่านั้น

นายจิตติ ติงศภัทิย์ ผลแห่งการขาดอายุความ ย่อมย้อนหลังไปถึง เวลาเริ่มนับอายุความ ดังนั้น วัดไม่มีสิทธิ รับมรดกมาตั้งแต่แรก โดยที่ไม่เรียกร้องเสีย ในอายุความ

หลวงจำรูญเนติศาสตร์ คุณหลวงสารนัยประสาสน์เสนอว่า ทำพินัยกรรม ให้วัด มกุฏกษัตริยาราม แต่วัด ไม่เรียกร้อง ภายในอายุความ ตามมาตรา ๑๗๕๔ วรรคท้าย และ ๑๗๕๕ เมื่อไม่เรียกร้อง ดังนี้ วัดจะหมดสิทธิ ตามพินัยกรรมหรือไม่

ที่ประชุมลงมติว่าวัดวัดมกุฏกษัตริยาราม หมดสิทธิ์ในพินัยกรรมแล้ว

ที่ดินอัลไพน์เป็นที่ดินมรดกตามพินัยกรรมของนางเนื่อม ที่เกิดปัญหาขึ้นมา เนื่องจาก รัฐมนตรี ว่าการ กระทรวง มหาดไทย มีคำสั่งไม่อนุญาต ให้วัดธรรมิการามวรวิหาร ได้ที่ดิน อัลไพน์ ตามพินัยกรรม โดยอาศัย อำนาจ ตามประมวล กฎหมายที่ดิน มาตรา ๘๔ จึงต้อง จัดการจำหน่าย ตามมาตรา ๘๕

เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ใช้อำนาจ ไม่อนุญาต ให้ได้มา ก็มีผล ย้อนหลังว่า ที่ดินตามพินัยกรรม ของนางเนื่อม ไม่ตกแก่วัด ธรรมิการาวรวิหาร อันจะเป็น ที่ธรณีสงฆ์

อีกเหตุผลหนึ่งที่ท่านกีรติได้ยกขึ้นมานั้นน่ารับฟังอย่างยิ่งคือ หากว่าการได้ที่ดินของวัด โดยพินัยกรรม และถือว่า กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ตกเป็นของวัด เด็ดขาดแล้ว ก็จะกลายเป็น ที่ธรณีสงฆ์ทันที ก็อาจจะก่อให้เกิด ความไม่เป็นธรรม เช่น ผู้ตายทำพินัยกรรม ยกที่ดินให้วัด แต่ระหว่างที่ผู้ตาย ยังมีชีวิต ถ้าผู้ตาย ไปกู้เงิน และนำที่ดินดังกล่าวนี้ ไปจำนอง ค้ำประกัน หนี้ไว้ ต่อธนาคาร เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินตกเป็น ที่ธรณีสงฆ์ทันที ทางธนาคาร ก็ไม่สามารถบังคับจำนองได้ เพราะพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ ๒๕๐๕ มาตรา ๓๕ บัญญัติไว้ว่า ที่วัด และ ที่ธรณีสงฆ์ ไม่อยู่ในความรับผิด แห่งการบังคับคดี ผู้เขียน มีความเห็นว่า กรณีที่ดินอัลไพน์นี้ มิใช่ที่ธรณีสงฆ์ เช่นเดียวกับท่านกีรติ ที่ได้เขียนบทความ เรื่องดังกล่าว

(เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๕๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖)