ชีวิตไร้สารพิษ
- ล้อเกวียน -
บ้านดิน (๓)
ฉาบผนังหยาบ
ใช้ดินสำหรับทำก้อนอิฐ
แต่เพิ่มปริมาณทรายละเอียดให้มากขึ้น ทำการฉาบผิวผนัง จากด้านบน ลงมาก่อน
(โดยการใช้มือ) ใช้ดินที่เหลวสักหน่อยลูบบางๆ บนผนังก่อน เพื่อให้เกิดการยึดเกาะได้ดี
และแนบสนิท แล้วฉาบทับจนทั่วผนังให้หนาประมาณ ๑-๒ ซม. (อาจใช้เกรียงช่วยปาดให้เรียบหรือใช่ฟองน้ำลูบผิวขณะที่ยังหมาดๆ
อยู่ เพื่อตกแต่ง ให้ผิวเรียบขึ้นก็ได้) ควรทำเป็นพื้นที่เล็กๆ ประมาณขอบเขตทีละ
๑ ตรม. (ถ้าสามารถ ร่อนดินเหนียว ด้วยตะแกรงได้จะดีมาก) อาจผสมน้ำมันพืชลงไปจะฉาบผิวได้ง่ายขึ้น
และช่วยป้องกันน้ำได้
ส่วนผสมของดินนี้
ถ้ามีดินเหนียวมากเกินไป ผนังจะเกิดแตกร้าวได้ง่าย แต่ถ้ามีทราย ผสมมากเกินไป
ก็จะทำให้พื้นผิวหลุดร่อน เป็นฝุ่นผงได้ง่าย ต้องหาจุด ที่เหมาะสมพอดี
โดยการทดลองทำ เพราะดินแต่ละสถานที่ต่างกันพื้น
เมื่อทำทุกอย่างภายในเสร็จแล้ว
ก็จะถึงการปรับพื้น โดยนำดินเหนียว เข้ามาใส่ให้หนา สูงเท่าที่ต้องการ
แล้วใช้ขวดทุบ ปรับให้เรียบ โดยการพรม น้ำเกลือลงไป เมื่อแน่นเรียบ
ได้ที่แล้ว ต่อไป ก็ใช้เปลือกมะพร้าว ขัดพื้นผิว ให้มันแน่นเนียน อยู่กับพื้นดิน
สุขภาพร่างกาย จะแข็งแรง
การฉาบสี
เป็นขั้นตอนการตกแต่งผิวเพื่อป้องกันน้ำ(ต้องรอให้ดินที่ฉาบแห้งสนิทเสียก่อน)
-ส่วนประกอบของดินในการทำสี
* น้ำ ๑ ส่วน
* ดินเหนียวละเอียด
(ผ่านการร่อน) ๑ ส่วน
* แป้งเปียกหรือข้าวเหนียวต้ม
(ต้มน้ำ ๘ ส่วนเติมแป้ง ๒ ส่วน กวนให้เหนียวเป็นแป้งเปียก) ๑ ส่วน
* ทรายละเอียด ๑
ส่วน
* น้ำมันพืช (นิดหน่อย)
* สีผสม เป็นผงดินเหนียวสีต่างๆ
ตามธรรมชาติจากแหล่งต่างๆ เช่น สีขาว จากลำปาง, สีแดง จากระนอง นครศรีฯ
หรือสีม่วง, เหลือง,ส้ม,ดำ,เทา แล้วแต่การผสมผสานกัน ตามชอบ
* อาจผสมนม หรือวัสดุอย่างอื่น
เช่น กาวลาเทคจากยางพาราให้เหนียวข้น ๑/๒ ส่วน
วิธีทำ
* หาภาชนะ
สำหรับผสมส่วน ประกอบเข้าด้วยกัน โดยเติมน้ำลงไปในถัง แป้งเปียก ผสมกัน
ประมาณ ๓ ใน ๕ ของถัง แล้วใส่ดินเหนียว ละเอียด คนให้เข้ากัน เป็นครีมเหนียว
เติมทราย แล้วกวน ผสมต่อ จนเข้ากันได้ดี แล้วเติมน้ำมันพืช/นม และ
สีผสม ซึ่งควรละลายน้ำ ให้เป็นครีม เสียก่อน แล้วจึงใส่ลงไป
* คนให้เข้ากันจนเนื้อดินเนียนเป็นครีมข้น
(ถ้าต้องการผนังที่กันน้ำ อาจใช้ยางกล้วย จากการนำ ต้นกล้วย มาเคี่ยว
จะมีคุณสมบัติเคลือบผิว กันน้ำได้ดีเช่นกัน)
* ใช้มือทำการฉาบสีลงบนผนัง
(ซึ่งต้องแห้งสนิทเสียก่อน) โดยเริ่มจากส่วนบนก่อนแล้ว ไล่ลงมาเรื่อยๆ
จนเต็มผนัง ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วฉาบทับอีกครั้งหนึ่ง
* อาจใช้แปรงทาสีช่วยในบริเวณที่เป็นซอกหรือใกล้กรวยประตู
ทำการฉาบผนังภายใน ด้วยขั้นตอนเดียวกัน
สรุป
บ้านดินขนาด ๓ ห้อง ห้องละ ๓ x ๓ หรือ๓ x ๔ ม. จะใช้อิฐไม่เกิน ๒,๐๐๐
ก้อน ถ้ามีคนทำ ๖ คน จะใช้เวลา ทำงานจริงๆ ไม่เกิน ๕ วัน บวกกับเวลาอิฐแห้งอีกประมาณ
๑๐ วัน
ในส่วนของขั้นตอนการทำงานก็เหมือนกับการสร้าง
บ้านทั่วไป เพียงแต่เปลี่ยนวัสดุ จากซีเมนต์ ปูน มาเป็นดิน เท่านั้น
ก่อนดินสามารถนำมาก่อทำโต๊ะ
ทำม้านั่ง ในบ้านได้ ก่อเป็นเสา ทำศาลา ยังก่อทำกำแพง โดยการวาง ด้านตั้ง
แล้วใช้หินกาบมุงเป็นหลังคาด้านบน สวยงาม ทนทานเป็นธรรมชาติ
ถ้าฐานแข็งแรง น้ำท่วมไม่ถึง
หลังคาดีไม่รั่วแต่ก็สามารถซ่อมแซมได้ โดยเอาดิน มาแปะเพิ่ม ก็จะอยู่ได้
นับพันปี ในยุโรปมีการสร้าง บ้านดินที่มีอายุตั้งแต่ ๔๐๐-๕๐๐ ปี
สโลแกนบ้านดิน "หมวกเยี่ยม
รองเท้าบู๊ทยอด" คือ
* หลังคากันฝนกันแดดอย่างดี
ต้องไม่รั่ว และมีปีกกันฝนสาด ส่วนใหญ่ได้
* ฐานบ้านต้องแข็งแรง
น้ำท่วมไม่ถึง ไม่ใช่ที่ลุ่มต่ำ ไม่ใช่ที่น้ำขังได้ ที่ชุ่มชื้นต้องหลีกเลี่ยง
* อิฐไม่แห้งห้ามก่อสูงจะทำให้อิฐก้อนล่างแบะและพังง่าย
* ดินที่ใช้ก่อเชื่อมอิฐ
ห้ามใส่หนาจะทำให่อิฐลื่นและแห้งช้า
"บ้านดิน"
จะเป็นบ้านที่ไม่ทำลายธรรมชาติ ประหยัดเรียบง่าย ใช้วัสดุธรรมชาติในพื้นที่
ทุกคน จึงมีสิทธิ ที่จะมีบ้าน ของตนเอง ทำด้วยมือและเท้าของเราเอง
อย่างน่าภาคภูมิใจ และ อยู่เย็น เป็นสุข
(เราคิดอะไร
ฉบับที่ ๑๕๒ มีนาคม ๒๕๔๖)
|