>เราคิดอะไร

กติกาเมือง
- ประคอง เตกฉัตร - ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช

ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ กับการพัฒนา ผู้ประกอบการรายย่อย

นับแต่ศูนย์การค้าขนาดใหญ่เปิดขึ้นในประเทศไทยและพยายามกระจายไปยังจังหวัดต่างๆ ก่อให้เกิด ปฏิกิริยา ทั้งบวกและลบหลายประการ จนบางครั้งมีความหวาดวิตก ของเจ้าของร้านค้า ที่เป็นรายย่อย เรียกว่า ร้านโชว์ห่วยหรือขายของชำว่าจะไม่มีคนมาซื้อสินค้าของตนเอง

ต้องยอมรับว่ากลยุทธ์ที่สำคัญของห้างขนาดใหญ่หรือค้าปลีกข้ามชาติคือ สินค้าราคา ส่งออก หรือราคาขาย ส่งหรือราคาผู้ผลิตพบผู้บริโภคโดยอาศัยหลักจิตวิทยาง่ายๆ ที่ไม่มีใครปฏิเสธ ราคาสินค้าที่จำหน่ายในศูนย์
การค้าขนาดใหญ่ลดลงประมาณ ๕-๑๐ เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับ ราคาขายตามปกติ ที่ปิดฉลาก หรือที่ร้าน ค้า ย่อยต่างๆ นำไปขายเพราะกลยุทธ์การเพิ่มยอดขายให้ได้มากๆ หรือขายสินค้า ที่ต่ำกว่าคู่แข่ง ที่นิยม ใช้ โดยการ ลดราคาสินค้าบางชนิดที่ผู้บริโภคนิยมหรือขายสินค้าส่วนใหญ่ในราคาต่ำทุกวัน ตามที่ศูนย์การค้า ขนาดใหญ่ หรือธุรกิจข้ามชาติสามารถขายสินค้าในราคาต่ำได้เพราะมีสาขาจำนวนมาก เพื่อเป็นเครื่องมือ สร้างอำนาจการต่อรอง และคงไม่มีผู้ผลิตหรือผู้ค้ารายใด ที่จะปฏิเสธการนำสินค้า ของตนเอง เข้าไปขาย ให้แก่ศูนย์การค้า ขนาดใหญ่ซึ่งมีสาขาจำนวนมาก

ผู้ผลิตสินค้ารายใหม่ ที่ต้องการนำสินค้า เข้าไปขาย ในห้างสรรพสินค้าดังกล่าว ต้องเสียค่าธรรมเนียม ใน การ นำสินค้า เข้าไปขายในครั้งแรก จำนวนสูงมาก ค่าธรรมเนียมบางครั้ง เป็นเงินหลักแสน หรือหลักล้าน ต่อสินค้าเพียง ๑ รายการ ไม่เพียงแต่ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ยังรวมถึงร้านสะดวกซื้อ ก็มีการเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม เช่นเดียวกัน ซึ่งนอกจากการ นำสินค้าไปวางขายครั้งแรก แล้วยังมีการเรียกเก็บ เพื่อ ให้การ ดำเนินการจัดวางสินค้าและค่าบริการตลอดจน การคืนสินค้า ให้แก่ผู้ผลิตซึ่งส่วนใหญ่ จะเรียกเก็บจาก ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่ไม่มีอำนาจในการต่อรอง และต้องการ ที่จะนำสินค้า ไปวางขายหรือ พวกที่ต้องการ กำหนดจุดขายเอง ซึ่งการเรียกเก็บ ก็ไม่แน่ว่าสินค้าเหล่านั้น จะขายได้หรือไม่ ขณะที่ ผู้ ประกอบการ ขนาดใหญ่ บางราย ที่มีอำนาจต่อรอง เพราะสินค้า ที่ผลิต เป็นความต้องการ ของตลาด อาจไม่จำเป็นต้อง จ่ายค่าธรรมเนียมในส่วนนี้มาก การเรียกเงินจากผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ รายย่อย ที่นำสินค้า เข้าไปขายในห้าง เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ต้องลดคุณภาพของสินค้า หรือปริมาณของสินค้า ลงเพื่อเอาส่วนต่าง ดังกล่าวนี้ ไปมอบให้เจ้าของห้างสรรพสินค้าเพื่อให้ตนเองได้มีโอกาสขายสินค้า ในห้างดังกล่าว นับวันห้างเล็กๆ จะมลายหายไปเหลือแต่ห้างใหญ่ เพียงไม่มาก ในอนาคตห้างใหญ่ๆ ทั้งหลายก็สามารถ จะเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม ใน ส่วนนี้ในอัตราสูง ทำให้ผู้ประกอบการ ทั้งหลาย ไม่สามารถผลิตได้ ฉะนั้นห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ทั้งหลายนอกจาก จะทำให้ห้างเล็กๆ โชว์ห่วยหรือร้านขาย ของชำล่มสลาย แล้วในอนาคตถ้าเรามอง ไม่ลึกซึ้งถึงผู้ผลิต รายย่อยหรือ SME ทั้งหลายที่รัฐบาล พยายาม ส่งเสริม ก็ต้องล้มเลิกหายไปเหลือแต่บริษัทผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น ที่สามารถอยู่ได้ผู้ประกอบ การขนาดเล็ก และกลางที่เพิ่งเริ่มการ ขายสินค้า ให้แก่ศูนย์การค้า เหล่านี้ ตกอยู่ในสภาพ ถูกเอารัด เอาเปรียบอีก บริษัทค้าปลีก ขนาดใหญ่บางราย ทำข้อตกลงพิเศษกับผู้ผลิตสำคัญๆ บางรายเพื่อเป็น การกีดกัน หรือทำลายคู่แข่ง ในตลาดค้าปลีกและในบางกรณีผู้ค้าปลีก บางราย เริ่มผลิตสินค้า ประเภท ที่เป็นของตนทำให้เกิดการรวมตัวในแนวดิ่ง ขณะที่ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ บางราย อาจใช้กลยุทธ์ ด้านราคา ด้วยการตัดราคาต่ำทุน ผันแปรต่อหน่วยเพื่อผลทำลายคู่แข่ง ซึ่งจะทำให้สินค้าขึ้นราคา ขายปลีก ได้ ในภายหลัง

ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ยังสามารถ ใช้อำนาจตลาด บีบบังคับให้ผู้ผลิตรายใหญ่ จำกัดประเภทสินค้า ที่ขายแข่งกับคู่แข่งของศูนย์การค้าขนาดใหญ่เพื่อที่จะขายสินค้าในราคาสูงโดยไม่ต้องแข่งขันกับคู่แข่ง อีกทั้งในและต่างประเทศ เคยมีผู้ผลิต บางรายใช้กลยุทธ์เสนอซื้อ พื้นที่ของห้างใหญ่ เอาไว้เพื่อให้สินค้า ของตนเองออก ไปตั้งขายและกำหนดไม่ให้ผู้ผลิตสินค้ารายเดียวกัน เข้าไปขายในห้างสรรพสินค้า ดังกล่าวนั้น

พฤติการณ์ของ ศูนย์การค้าใหญ่ ทำให้ผู้ผลิตสินค้าและผู้ค้าส่งเริ่มไม่พอใจ เพราะเห็นว่าถูกเอารัดเอาเปรียบ มากเกินไปและเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ จึงต้องมีการนำพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าปี ๒๕๔๒ เข้ามาพิจารณาถึง พฤติการณ์ ของธุรกิจ ค้าปลีกข้ามชาติ นอกจากนั้นธุรกิจค้าปลีก ยังมีผลกระทบ ที่เกิด กับ ธุรกิจ ค้าปลีกไม่เฉพาะผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีกเท่านั้นแต่กระทบเป็นวงกว้าง องค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่ารายได้ที่รัฐควรจะได้รับ ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การคมนาคม และผลกระทบต่อประชาชน ในด้าน การ ประกอบอาชีพ วิถีชีวิต ฯลฯ

ห้างขนาดใหญ่ มีการจดทะเบียนบริษัท ในส่วนกลางและได้ขยาย สาขาออกไปต่างจังหวัด ไม่ได้แยกบัญชี ให้ชัดเจน และไปจดทะเบียน ในต่างจังหวัดเพื่อให้การเสียภาษีเข้าสู่ท้องถิ่นไม่ใช่ภาษีเข้าสู่ส่วนกลาง ราคาสินค้าและบริการ กำหนดให้ ผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่มีปริมาณการสั่งซื้อคราวละมากๆ ต้องมีการ สำแดง ต้นทุน ช่องทางจำหน่าย กำไรดำเนินการต่างๆ เพื่อให้นำไปพิจารณาว่า จะไม่เป็นการบิดเบือน กลไกการตลาดหรือเอาเปรียบคู่แข่งโดยไม่เป็นธรรมและนำไปสู่การทุ่มตลาด ยังมีข้อเคลือบแคลงใจว่า การขายสินค้าในราคาถูกกว่าสินค้าเดิมมีความน่าเชื่อถือในด้านคุณภาพ ปริมาณ แหล่งผลิตของสินค้า ดังกล่าวเช่นสินค้าเดิมหรือไม่

ผู้ผลิตรายย่อยเคยร้องเรียนพฤติกรรมของห้างสรรพสินค้าหลายห้างว่าบังคับให้จัดส่งสินค้า ที่ศูนย์รวบรวม และกระจายสินค้ าเพียงแห่งเดียวจากที่เคยอนุญาตให้มีการจัดส่งไปตามสาขาต่างๆ ได้นั้น นับเป็น การเอาเปรียบ อีกประการหนึ่ง

รายได้อีกประการหนึ่ง ที่ห้างสรรพสินค้า ขนาดใหญ่ กำลังทำขณะนี้คือ เรียกเก็บส่วนลด เพื่อส่งเสริม การ ขาย เป็นกรณีพิเศษ การขอส่วนลด เพื่อจัดกิจกรรม ในวาระพิเศษ เรียกเก็บค่าโฆษณาสินค้า เรียกเก็บค่า วางสินค้า เรียกเก็บค่าวางสินค้าตามชั้นวางสินค้าในราคาที่ต่างกัน เงื่อนไข การจำหน่ายสินค้า ออกจากห้าง เรียกเก็บ ค่าจัดระบบ ข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ การนำสินค้าเข้ามา วางขาย คู่กับสินค้า ที่ทาง ห้าง ผลิต ขึ้นเอง ชนิดเดียวกัน หรือ สินค้าชนิดเดียว กับที่เป็นที่นิยม หรือติดตลาด หรือ ที่มียี่ห้อ ที่ประชาชนนิยม หรือ ต้องการของ ผู้ผลิตรายย่อย ซึ่งพฤติการณ์ ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นการเอาเปรียบ ผู้ประกอบการ หรือผู้ค้า รายย่อย เป็นอย่างยิ่ง

ห้างสรรพสินค้าบางแห่ง ยังเพิ่มการเรียกเก็บ เป้ายอดขายประจำเดือน ของสินค้า เป็นเปอร์เซ็นต์ หรือเมื่อ ทะลุเป้า ห้างสรรพสินค้าบางห้าง ได้ลดราคาสินค้า จากราคาข้างกล่องลง เช่น จากห้าสิบบาทเหลือ สี่สิบห้าบาท โดยไม่ได้บอกผู้ผลิต ที่นำสินค้าเข้ามาขาย แต่กลับไปเรียกเก็บ ในภายหลัง ถ้าขัดขืนไม่ยอมจ่าย ก็จะต้อง ถูกนำสินค้า ออกจากห้างสรรพสินค้า ดังกล่าว ไม่มีที่ระบายสินค้าตนเอง โดยเฉพาะ ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ มีอำนาจต่อรองสูงมาก และผู้ประกอบการรายย่อย ไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยงได้ ก็ต้อง ไปดำเนินการ ลดคุณภาพ หรือปริมาณ หรือ ไม่พิถีพิถัน ในแหล่งผลิต หรือการผลิต เพื่อลดต้นทุน หรือ มิฉะนั้น ก็ต้องไปกดราคา กับเจ้าของวัตถุดิบ หรือ ผู้ใช้แรงงาน เพื่อจะได้ขายสินค้า ให้แก่ห้างสรรพสินค้า ใหญ่ ในราคาที่ถูกลง ถ้ารายใด ไม่ยินยอม ก็ต้องได้รับผลกระทบ ต่อยอดขายของตนเอง ให้ลดลง

การล่มสลาย ของโชว์ห่วย หรือร้านขายของชำ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เรามองแต่ว่าคนไทยซื้อสินค้า ที่ราคา ถูกกว่าเดิม จึงอนุญาต ให้ห้างสรรพสินค้า ดังกล่าวนั้น เปิดขยายสาขา ได้อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่มีผู้ใด มองถึง เบื้องหลัง การเอาผลประโยชน์ จากผู้ประกอบการรายย่อย หรือ ร้านค้าที่นำสินค้า ไปส่งให้แก่ ห้างสรรพสินค้า ดังกล่าวนั้น จำหน่าย ว่าถูกเอาเปรียบอย่างไร โดยเฉพาะธุระกิจแฟรนไชส์ ขณะนี้ ได้รุกเข้าไป เต็มทุกห้างแล้ว ล้วนเป็นของต่างชาติทั้งสิ้น นักธุรกิจต่างชาติ ได้ประโยชน์ จากการขยาย การลงทุน ในไทย อย่างมาก ทั้งกำลัง จะกลาย เป็นยาพิษ หรือขบวนการทำลาย ระบบผู้ประกอบการ รายย่อย หรือ SME ของประเทศ ตามที่รัฐพยายามส่งเสริม ได้อย่างแนบเนียน ยิ่งมีห้างใหญ่ เพียงสอง หรือ สามห้างเมื่อใด อำนาจต่อรอง ของผู้ประกอบการรายย่อย ก็จะหมดลงทันที ซึ่งหมายถึง อำนาจการต่อรอง ของประชาชน ทั้งประเทศ ก็หมดลง

(เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๕๕ มิถุนายน ๒๕๔๖)