ชีวิตไร้สารพิษ
- ล้อเกวียน -
เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เพื่อปลูก
การแยกเมล็ดออกจากเนื้อ
เมล็ดมีเนื้อติดมาด้วย เช่น แตง ฟัก พริก มะเขือเทศ ให้ใส่ทั้งเนื้อและเมล็ดในตุ่มหรือถังน้ำ
ปล่อยทิ้งไว้ ๒-๓ วันกวนเป็นครั้งคราว ส่วนที่เป็นเนื้อจะลอยขึ้น ส่วนที่เป็นเมล็ดดีจะอยู่ข้างล่าง
เทส่วนที่เป็นเนื้อออก ล้างเมล็ดอย่างเบามือนำไปผึ่งลมตากแห้งบนตะแกรงหรือกระดาษ
การทำให้แห้ง
เมล็ดที่มีชีวิตนำไปปลูกได้ จะมีการหายใจอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้เกิดความชื้น
และก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ยิ่งเก็บนานก็จะมี ๒ สิ่งนี้มาก น้ำที่ได้จากการหายใจ
จะทำให้เมล็ดเปียกชื้น มีราขึ้นและอ่อนแอต่อแมลงศัตรูพืช ควรทำให้แห้งก่อนนำไปปลูก
เช่น
๑.เมล็ดข้าวโพด
ข้าวไร่ กระเทียม หอม ให้แขวนผึ่งลมไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
๒.เมล็ดถั่วต่างๆ และเมล็ดผัก
- ปูเสื่อหรือแผ่นพลาสติกลงบนพื้นที่มีแสงแดดส่องตลอดทั้งวัน
- เขี่ยเมล็ดที่เปียกชื้นให้กระจายบางๆ
บนเสื่อให้ทั่วถึง
ใน ๑ วันให้เขี่ยพลิกเมล็ดกลับไปกลับมา ๔-๕ ครั้ง
- ทำจนกว่าเมล็ดจะแห้งดี
(กลางคืน หรือเมื่อมีฝน ให้เก็บเข้าที่ร่ม ให้หาพลาสติกคลุมไว้ ตากจนกว่าจะแห้ง)
- จะทราบว่าเมล็ดแห้งดีแล้วให้ลองบีบเมล็ดดู
- เมล็ดที่มีขนาดใหญ่และบางจะแตกออกดังเผาะเมื่อบีบด้วยนิ้ว
- เมล็ดที่หนาและใหญ่จะแตกออกมีเสียงดังแครกเมื่อให้ฟันหน้ากัด
- เมล็ดที่มีขนาดเล็กจะแตกออกมีเสียงดังแครกเมื่อใช้เล็บมือบีบ
ทำความสะอาดเมล็ดก่อนเก็บ
เลือกเก็บเฉพาะเมล็ดที่แห้งดีแล้วเท่านั้น เพราะจะเป็นเมล็ดที่มีชีวิตอยู่ได้นานกว่าเมล็ดที่ยังชื้นอยู่
คัดเลือกเอาเมล็ดที่มีขนาดเล็ก แตก และมีลักษณะไม่ดีออกไป ร่อน ฝัดเพื่อแยกหิน
กรวด ทราย ฝุ่น ฟาง หญ้าหรือเศษขยะอื่นๆ ออกไป เก็บแต่เมล็ดที่มีลักษณะดี
การป้องกันเมล็ดจากการรบกวนของแมลง
๑.ขี้เถ้าแห้งจากไม้
ผสมขี้เถ้าสดและแห้งที่ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วประมาณครึ่งกิโลกรัมปนไปกับเมล็ดที่เก็บไว้ทุกๆ
๑ กิโลกรัม เมื่อผสมขี้เถ้าแห้งกับเมล็ดเสร็จให้โรยขี้เถ้าคลุมปิดทับหน้าเมล็ดอีกที
๒. ปูนขาว
ผสมปูนขาว ๑๕ ช้อนชา หรือครึ่งขีดกับเมล็ดที่เก็บไว้ทุก ๑ กิโลกรัม
ผสมให้ทั่วโดยเขย่าภาชนะ ที่เก็บเมล็ดนั้น
๓. น้ำมันพืช
พวกเมล็ดถั่ว ใช้น้ำมันพืช น้ำมันมะพร้าว ๒ ช้อนชา ต่อถั่ว ๑ กก.ผสมกับเมล็ดถั่ว
จนมองเห็นว่า เมล็ดถั่วใส ก็นำเมล็ดถั่วนั้นไปเก็บได้
๑-๓ นี้เหมาะสำหรับการเก็บเมล็ดพืชผัก
ที่มีขนาดเล็ก และมีจำนวนน้อยซึ่งจะเก็บเมล็ดไว้ในขวด หรือกระป๋องขนาดพอเหมาะ
ใส่เมล็ดไว้แล้วปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่มและเย็น (ไม่วางเหนือเตาไฟ หรือให้ถูกแสงแดด)
เมื่อเปิดใช้แล้วควรรีบปิดฝาทันที เพื่อกันไม่ให้ความชื้นเข้าไป
สารดูดความชื้นในภาชนะเก็บ
ข้าวสารที่คั่วสุก ขี้เถ้า (ขี้เถ้าสีขาวที่แยกเศษไม้เศษถ่านออกก่อน)
ผงถ่าน ใบเหมือดแอ่แห้ง ใบมะนาวแห้ง สารเหล่านี้สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้
ให้ใส่ข้าวสารคั่วลงในภาชนะ ที่จะเก็บเมล็ดประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วนของภาชนะเมื่อข้าวสารเย็นแล้ว
ให้นำถุงหรือซองใส่เมล็ด มาเก็บในภาชนะและปิดฝา เมื่อเปิดขึ้นมาก็ให้ใสสารดูดความชื้นเหล่านี้แทนของเดิม
ถ้าเมล็ดผักมีมาก
ก็อาจเก็บในปี๊บ โอ่งปิดฝายาด้วยเทียนไข ถ้าเป็นเมล็ดผักพวกพืชไร่
เช่น ข้าวโพด แขวนตากลมไว้ในอากาศปลอดโปร่ง ถ่ายเทสะดวก
สำหรับเมล็ดผักยืนต้น
ก็เก็บไว้ในที่อุ่นและชื้น เช่นเก็บในขี้เลื่อย หรือถ่านบดในอุณหภูมิ
๒๑ -๒๘ องศาเซลเซียส พวกนี้ใช้เก็บเมล็ดไม้ผลหรือผักยืนต้นต่างๆ เช่น
มังคุด มะม่วง ทุเรียน มะพร้าว
หลักในการเก็บเมล็ดผักให้ได้นานๆ
ก็คือ เมล็ดพันธุ์ผักประเภทล้มลุก ควรเก็บไว้ในที่อากาศ ถ่ายเทสะดวก
และเย็นไม่ชื้น แต่เมล็ดผักที่เป็นไม้ยืนต้น หรือพืชไร่ เราก็สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้
ในอุณหภูมิปกติมีความชื้น ส่วนเมล็ดพันธุ์ผักพวกพืชไร่ สามารถเก็บไว้ในที่ร้อนกว่าปกติได้
ดังต่อไปนี้
๑.เก็บรักษาแบบไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น
เช่น หลังจากตากให้แห้งแล้ว ก็นำไปเก็บ ในถุงผ้า กระสอบ ตะกร้า กระบุง
โอ่ง ซอง ถุงกระดาษ ส่วนใหญ่จะเก็บเมล็ดผัก
๒.เก็บไว้ในที่ที่มีความชื้นต่ำ
แต่ไม่ควบคุมอุณหภูมิ เช่น เก็บในกระป๋อง ปี๊บ ถังเหล็ก ขวดแก้ว ที่ปิดสนิท
เก็บเมล็ดพันธุ์
๓.เก็บในที่อุณหภูมิต่ำจะควบคุมความชื้นหรือไม่ก็ได้
โดยเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทในอุณหภูมิต่ำสุด ๐ องศาเซลเซียส ใช้เก็บเมล็ดพันธุ์
๔.เก็บในที่เย็นและชื้น
คือเก็บไว้ในขวดที่พื้นรองด้วยผงถ่านหรือขี้เถ้า ใบเหมือดแอ่ หรือ
ใบมะนาวแห้ง แล้วเก็บไว้ในอุณหภูมิ ๐-๑๐ องศาเซลเซียส ผงถ่านและขี้เถ้า
จะดูดความชื้นไว้ เหมาะสำหรับเมล็ดผัก...
๕.แบบอุ่นและชื้น
เก็บในขี้เลื่อยหรือถ่านบด ในอุณหภูมิ ๒๑-๒๘ องศาเซลเซียส พวกนี้ใช้เก็บ
เมล็ดไม้ผล หรือผักยืนต้นต่างๆ เช่น มังคุด มะม่วง ทุเรียน มะพร้าว
๖.เก็บในที่โล่งอากาศถ่ายเทสะดวก
โดยแขวนห้อยไว้ในที่ร่ม หรือเก็บในที่โล่งที่อุณหภูมิค่อนข้างสูง เช่น
วางบนหิ้งเหนือเตาไฟ ใช้เก็บเมล็ดข้าว เมล็ดข้าวโพด
��� เมล็ดพันธุ์เก็บไว้ได้นานสักแค่ไหน?
เมล็ดพันธุ์จะมีประสิทธิภาพการงอกลดลงเมื่อเวลามากขึ้น ดังนั้นจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้
ได้นานแค่ไหน จึงจะเหมาะสมเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดมีอายุต่างกัน ดังยกตัวอย่าง
อายุของเมล็ดพันธุ์ไว้ ดังตารางข้างล่างนี้
เมล็ดผัก
|
ระยะที่มีชีวิตอยู่ได้
โดยไม่ทำให้
ประสิทธิภาพการงอกเสียไปมาก |
ถั่วแขก
|
๔
ปี |
แตงกวา
|
๕
ปี |
หัวหอม
|
๒
ปี |
ถั่วทั่วไป
|
๒
ปี |
ผักกาดหัว
|
๓
ปี |
มะเขือเทศ |
๓
ปี |
แตงและน้ำเต้า |
๔
ปี |
อย่าลืมว่าเมล็ดพันธุ์ที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูก
เกษตรกรควรให้ความสำคัญ ในเรื่องนี้ให้มาก หากยังจำเป็นต้องซื้อเมล็ดพันธุ์
ก่อนปลูกก็ควรทดสอบความงอกก่อน และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงพันธุ์พืชผักผลไม้ด้วยตนเอง
เพื่อให้ได้พันธุ์ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ทนทานต่อสิ่งแวดล้อม และผู้บริโภคต้องการ
เริ่มทำเสียตั้งแต่วันนี้เถิด
(ข้อมูลจาก
ชมรมศิษย์เก่าบูรณะชนบท+เพื่อน)
(เราคิดอะไร
ฉบับที่ ๑๕๙ ตุลาคม ๒๕๔๖) |