เป็นเตาที่พัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถกำจัดขยะแห้งและสามารถผลิตถ่านจากไม้,
ฟืน หรือกะลามะพร้าว เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร โดยมีกระบวนการที่ทำให้เกิด
การเผาไหม้ ๒ ครั้ง ทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ จึงไม่มีควัน อาจเรียกได้ว่า
เป็นเตาที่ลดมลพิษ และเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม
๑. ฐานเตา
๒. ถังเตา (ถังน้ำมันขนาด ๒๐๐ ลิตร)
๓. ปล่องเตา (เส้นผ่าศูนย์กลาง ๔ นิ้ว เจาะรูรอบปล่อง
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางรู ๑ เซนติเมตร ตลอด ความสูง ๑๐ เซนติเมตร)
การเผาขยะ
หลักการทำงาน
เมื่อเชื้อเพลิงถูกเผาไหม้ ไฟจะลามไปถึงขยะที่อยู่บริเวณด้านล่างของเตาก่อน
และเกิดการเผาไหม้ เป็นการเผาไหม้ครั้งที่ ๑ ระหว่างการเผาไหม้จะเกิดควัน
ซึ่งประกอบด้วย ความชื้นและก๊าซ ซึ่งมีก๊าซมีเธน, ก๊าซคาร์บอนมอน็อกไซด์
และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยกลุ่มควันจะลอยตัว สูงขึ้น สู่ด้านบน แต่เนื่องจาก
ไม่มีทางออก ควันจึงย้อนกลับลงมาบริเวณด้านล่างของเตา โดยควัน จะออกทางบริเวณรู
ซึ่งอยู่บริเวณด้านล่าง ของปล่องเตาโดยอยู่ด้านล่างของเตา
(การเผาใน ระยะแรก จะยังคงเกิดควัน ไหลออกทางปล่องเตา)
กลุ่มควันจึงพบกับการเผาไหม้ ควันซึ่งประกอบ ด้วยกลุ่มก๊าซดังกล่าว
มีคุณสมบัติ ในการติดไฟ จึงเกิดการเผาไหม้อีกครั้ง เป็นการเผาไหม้ครั้งที่๒
ควันจึงลดลง กระบวนการนี้จะเกิดวนเวียน อยู่อย่างต่อเนื่อง จนกว่าขยะจะเกิดเผาไหม้จนหมด
วิธีการใช้งาน
๑. นำขยะที่ต้องการเผาทำลาย ใส่ทางช่องบรรจุ ซึ่งอยู่ด้านบนของเตาจำนวน ๒
ช่อง (ในการเผา แต่ละครั้ง สามารถบรรจุขยะได้ประมาณ
๑๐ กิโลกรัม) ปิดฝาช่องบรรจุให้สนิท
๒. นำทรายมาโรยบริเวณรอบเตา, ขอบปล่องเตา, และขอบฝาปิดช่องบรรจุ เพื่อป้องกันไม่ให้
ควันออก
๓. นำเศษไม้, ฟืน หรือเศษวัสดุ จากธรรมชาติที่สามารถติดไฟได้ ใส่ในช่องเชื้อเพลิง
ซึ่งอยู่บริเวณ ด้านล่าง แล้วก่อไฟ
๔. ขยะจะเริ่มลุกไหม้ หลังจากการก่อไฟประมาณ ๓๐ นาที ซึ่งเมื่อลุกไหม้แล้ว
ไม่จำเป็นด้องใส่ เชื้อเพลิง เพิ่มเติมอีก
๕. ขณะเผาสามารถนำขยะมาใส่เพิ่มเติมได้ แต่ควรระมัดระวังเปลวไฟ, ควัน และความร้อน
บริเวณตา
การผลิตถ่าน
หลักการทำงาน
การให้ความร้อนจากช่องเชื้อเพลิง เพื่อไล่ความชื้น, น้ำมันดิบ และสารประกอบอื่นๆ
ออกจากไม้ เมื่ออุณหภูมิ ภายในเตาสูงกว่า ๔๐๐ องศาเซลเซียส คุณสมบัติของไม้จะเปลี่ยนเป็นถ่าน
โดยเริ่มจาก ด้านหน้าไปด้านหลัง และด้านบนลงด้านล่าง การเผาไหม้จะก่อให้เกิดควัน
ซึ่งประกอบ ด้วยก๊าซมีเธน, ก๊าซคาร์บอนมอน็อกไซด์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
โดยกลุ่มควัน จะลอยตัวสูงขึ้นสู่ด้านบน แต่เนื่องจาก ไม่มีทางออก ควันจึงย้อนกลับลงมาบริเวณด้านล่าง
ของเตา โดยควันจะออกทางบริเวณรู ซึ่งอยู่บริเวณด้านล่างของปล่องเตา โดยอยู่ด้านล่างของเตา
(การเผาในระยะแรก จะยังคงเกิดควัน ไหลออกทางปล่องเตา เนื่องจากอุณหภูมิไม่สูงพอ)
กลุ่มควัน จึงพบกับการเผาไหม้ ควันซึ่งประกอบด้วย กลุ่มก๊าซดังกล่าว
มีคุณสมบัติในการติดไฟ จึงเกิดการเผาไหม้อีกครั้ง เป็นการเผาไหม้ครั้งที่
๒ ประกอบกับ อุณหภูมิภายในเตาสูง ควันจึงถูก เผาไหม้สะอาดขึ้น กระบวนการนี้จะเกิดวนเวียนอยู่อย่างต่อเนื่อง
จนกว่า ไม้ในเตาจะหมดความชื้น และเปลี่ยนเป็นถ่านทั้งหมด
วิธีการใช้งาน
๑. นำไม้หรือฟืนที่ต้องการ ใส่บริเวณช่องบรรจุ ให้เต็มเตา ปิดฝาช่องบรรจุให้สนิท
๒. นำทรายมาโรยบริเวณรอบเตา, ขอบปล่องเตา, และขอบฝาปิดช่องบรรจุ เพื่อป้องกันไม่ให้
ควันออก
๓. ก่ออิฐบล็อกโดยวางเรียงกัน ๓ ก้อน บริเวณรอบช่องเชื้อเพลิง แล้วใช้ดินเหนียวพอก
๔. นำเศษไม้, ฟืน หรือเศษวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติที่สามารถติดไฟได้ ใส่ในช่องเชื้อเพลิง
ซึ่งอยู่บริเวณ ด้านล่าง แล้วก่อไฟ
๕. ไม้ที่นำมาเผาจะติดด้วยตัวเองหลังจากเวลาผ่านไปประมาณ ๔๐ นาที
๖. ใช้อิฐมอญวางเรียงเพิ่มบริเวณช่องเชื้อเพลิง เพื่อลดช่องไม่ให้อากาศเข้าไปในเตามากเกินไป
โดยให้เหลือ ช่องว่างประมาณ ๒๐%
๗. เปิดวาล์วด้านข้างเตาเพื่อสังเกตควันเรื่อยๆ จนกว่าควันจะหมด
๘. หลังจากเผาไหม้ประมาณ ๓ ชั่วโมง ให้ปิดช่องเชื้อเพลิงและปากปล่องเตา เพื่อไม่ให้อากาศ
เข้าไป เผาไหม้ ทิ้งไว้ประมาณ ๘ ชั่วโมง จึงสามารถเปิดเตาและนำถ่านมาใช้ได้
ประโยชน์
๑. สามารถเผาขยะ, พลาสติกและผลิตถ่าน โดยอาศัยเชื้อเพลิงที่สามารถหาได้ง่าย
๒.ใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
๓.การเผาไหม้มีความสมบูรณ์ จึงเกิดมลพิษน้อย
๔.ขณะใช้งานจะเกิดควันน้อยมาก หรือไม่มีควัน จึงไม่สร้างความรำคาญ หรือรบกวนคนและสัตว์
ที่อยู่ใน บริเวณใกล้เคียง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน
พื้นที่ ๔ (ราชบุรี) ๑๗๘ หมู่ที่
๑ ต.หินกอง อ.เมือง จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๓๒-๓๙๑๑๒๔ โทรสาร ๑๓๒-๓๙๑๗๐๑