กติกาเมือง - ประคอง เตกฉัตร -

รัฐมนตรี

รัฐบาลผสมเป็นรูปแบบรัฐบาลที่ค่อนข้างลงตัวในสังคมการเมืองไทยนับจากการเปลี่ยนแปลง การเมืองเป็นต้นมา รัฐบาลผสม นับว่าเป็นศิลปะทางการเมืองที่สำคัญ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันเป็นไปได้ที่เราจะมีรัฐบาลเพียงพรรคเดียว ในอนาคต เพราะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ ส่งเสริมการเติบโตของพรรคการเมือง โดยมุ่งหมายให้มีพรรคการเมืองเพียง ๒ หรือ ๓ พรรคเท่านั้น กระบวนการควบคุม และดูแลพรรคการเมือง กลุ่มการเมืองจะทำให้การเมือง คงเหลือพรรค การเมืองขนาดใหญ่ ประมาณ ๒ ถึง ๓ พรรคเท่านั้น แต่พรรคการเมือง ขนาดใหญ่ อันเป็นผลจาก กระบวนการควบและกระบวนการรวมนั้น ไม่สามารถดำรงไว้ ได้นาน ตราบเท่าที่พรรคการเมือง ขนาดใหญ่ มิได้เกิดจากการผนวกบนพื้นฐาน อุดมการณ์ที่ร่วมกัน

พรรคการเมืองที่เป็นแกนนำในรัฐบาลจะต้องพยายามยึดพื้นที่ในสภาผู้แทนราษฎร ให้มากกว่า พรรคการเมืองอื่นๆ จารีตของสังคมการเมือง ยึดถือปฏิบัติมาแต่ดั้งเดิม คือให้โอกาส พรรคการเมือง ที่มีจำนวน ส.ส. มากที่สุด เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล แม้รัฐธรรมนูญ จะไม่มีบทบัญญัติว่าด้วย การจัดตั้งรัฐบาลก็ตาม หากปรากฏว่า พรรคอันดับที่ ๑ ชนะอันดับที่ ๒ ขาดลอยก็ย่อมเป็น ธรรมชาติ ที่พรรคอันดับที่ ๓ ลงมาจะต้องพยายามผสมกับ พรรคแกนนำ อันดับ ๑ การผสมตั้ง รัฐบาล กับพรรคอันดับที่ ๒ ย่อมไม่สามารถเปลี่ยนไปได้ เพราะขาด ความชอบธรรม และอาจ เป็นเหตุ ให้สูญเสีย ความน่าเชื่อถือ และ ความนิยม ทางการเมืองในกรณีที่พรรคอันดับที่ ๑ และ อันดับที่ ๒ มีคะแนนคู่คี่ ไปร่วมกัน ตั้งรัฐบาล

การจำกัดจำนวนรัฐมนตรีมิให้เกิน ๓๖ คน ยังผลในการแข่งขันแย่งชิงตำแหน่งเข้มข้นขึ้น เมื่อข้อ ตกลง ในการจัดตั้งรัฐบาล บรรลุผลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว หรือ รัฐบาลผสม การแย่งชิง ตำแหน่งรัฐมนตรี ย่อมเกิดขึ้น และเข้มข้น มากกว่า ที่เคยปรากฏ มาก่อน เนื่องจาก รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ จำกัดจำนวนรัฐมนตรี ด้วยคณะรัฐมนตรี มีขนาดเล็ก อำนาจต่อรอง ทางการเมือง เป็นปัจจัย สำคัญที่กำหนดโควตาจำนวนรัฐมนตรี ระหว่าง พรรคร่วมรัฐบาล และ ภายในพรรคเดียวกัน อำนาจต่อรองนี้ กำหนดโดยขนาด กำลังคน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ จำนวนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ของแต่ละพรรค และแต่ละกลุ่ม พรรคการเมือง การจัดสรร ตำแหน่งรัฐมนตรี ระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล และระหว่าง กลุ่มภายใน พรรคเดียวกัน จึงถูกกำหนด โดย อำนาจต่อรอง ดังกล่าวนี้

การลดจำนวนรัฐมนตรีในขณะที่ความต้องการเก้าอี้รัฐมนตรีมีแต่จะเพิ่มเติมย่อมทำให้เก้าอี้ รัฐมนตรีดังกล่าวนั้น มีความสำคัญขึ้นมาก พรรคการเมืองที่จัดตั้ง หรือร่วมรัฐบาลจะต้อง เข้มงวดมากขึ้น ในการจัดสรรบุคคล เข้าสู่ตำแหน่งรัฐมนตรี ผู้ที่ต้องการตำแหน่งรัฐมนตรี ก็ต้องทำทุกวิถีทาง เพื่อให้ตัวเองได้เข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกของ คณะรัฐมนตรี โดยแบกภาระ ค่าใช้จ่าย ของพรรคการเมือง ที่ตัวเองสังกัดด้วย

การลงทุนทางการเมืองเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐจะต้องใช้ทุนจำนวนมาก ทั้งการดำรง เสถียรภาพ ทางการเมือง ก็ต้องใช้เงิน อีกจำนวนไม่น้อย ผลตอบแทน จากการลงทุน ทางการเมือง ตามช่องทาง ปกติด้วยการรับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และ สิทธิประโยชน์อื่น ไม่พอเพียง และไม่คุ้มทุน แรงกดดันทางด้านระบบความสัมพันธ์ ที่ตราตรึง จนสังคมการเมืองไทย ถูกครอบงำ ด้วยระบบ ประชาธิปไตยอุปถัมภ์ มีส่วนผลักดัน ให้นักการเมือง และพรรคการเมือง แสวงหาส่วนเกิน จากระบบ กระบวนการกำหนด และบริหารนโยบายเศรษฐกิจด้วย นักการเมืองถูกบังคับ ให้เปิดเผย บัญชีทรัพย์สิน และหนี้สิน และถูกตรวจสอบการทุจริต และประพฤติมิชอบ รวมตลอดถึง กระบวนการ ถอดถอน ออกจากตำแหน่ง และการดำเนินคดีอาญา แต่กระบวนการเหล่านี้ เพียงแต่ทำให้ กระบวนการแสวงหา ส่วนเกินทางเศรษฐกิจซับซ้อน มากขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น การถีบตัว ของเงินลงทุนการเมือง ยังสร้างเงื่อนไข ให้ต้องแสวงหาส่วนเกิน ทางเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้น ตามกาลเวลา ข้าราชการ จะกลายเป็นกลไกสำคัญ ในการแสวงหาผลประโยชน์ ส่วนบุคคล ของนักการเมือง

ช่องทางดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นช่องทางเก่าๆ ที่เคยใช้อยู่ เช่น กระบวนการจัดจ้าง จัดซื้อโดยใช้ งบประมาณแผ่นดิน และเงิน นอกระบบงบประมาณ การผันงบประมาณแผ่นดิน สู่ฐานที่มั่น ทางการเมือง การผันงบพยุงประกันราคาพืชผล สู่ฐานที่มั่นทางการเมือง หรือผันให้หัวคะแนน การให้สิทธิประโยชน์ในด้านภาษีอากร แก่ธุรกิจที่อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ หรือกลุ่มถิ่นที่เป็นฐาน ธนกิจการเมือง การจัดสรรสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ แก่ธุรกิจที่อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ หรือ กลุ่มทุน ที่เป็นฐานธนกิจการเมือง การจัดสรรสัมปทานให้แก่กลุ่มทุน ที่เป็นฐานของพรรค รวมทั้ง ผลประโยชน์ จากกระบวนการ จัดสรรสัมปทาน การดูดทรัพย์ส่วนเกินทางเศรษฐกิจ จากกระบวน การจ่ายโอน การผลิตจากภาครัฐบาล ไปสู่ภาคเอกชน ดังเช่น การขายกิจการ ของรัฐ ให้แก่บริวาร ในราคาต่ำกว่าที่ควรเป็น การรับส่วยจากการถ่ายโอนการผลิต การยึดคุมรัฐวิสาหกิจ เป็นฐาน เศรษฐกิจ การหาประโยชน์ส่วนบุคคล จากกระบวนการจัดจ้าง จัดซื้อ ของรัฐวิสาหกิจ การใช้กอง เงินทุนหมุนเวียน ในการแสวงหา ประโยชน์ส่วนบุคคล รวมทั้ง การผันเงิน นอกงบประมาณ เพื่อประโยชน์ทางการเมือง การดูดทรัพย์ส่วนเกิน ทางเศรษฐกิจ จากการแต่งตั้ง ข้าราชการ ระดับสูง ตลอดจนระดับปานกลาง และล่าง

- เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๖๗ มิถุนายน ๒๕๔๗ -