ชีวิตนี้มีปัญหา๑
- สมณะโพธิรักษ์ -
และสามารถรู้แจ้งเห็นจริงมั่นใจได้ ด้วย"ความเป็นเช่นนั้น"(ตถตา) ยังเป็นจริงถาวรในทุก "ปัจจุบัน" ที่ตนทำสำเร็จ จนเชี่ยวชาญชำนาญเด็ดขาด ยืนยันอยู่ [จากนี้อาตมาก็อธิบายกาลทั้ง ๓ ในแนวลึกต่อไปอีก] ดังนั้น เมื่อความจริงที่เข้าถึงได้จริงก็แค่ปัจจุบัน แล้วก็สั่งสมลงเป็นอดีต ซึ่งคนจะสัมผัส พิสูจน์ "ความจริง" ได้ ก็เฉพาะ "อดีตกับปัจจุบัน" เท่านั้น "อนาคต" นั้นเราสัมผัสพิสูจน์ไม่ได้ เราก็ต้องมาทำให้เกิด "สิ่งที่เราจะให้เป็น" กันที่ "ปัจจุบัน" สะสมลงเป็น"อดีต" ตามที่ต้องการ จะให้เป็น เพราะเราไม่สามารถ ไปกระทำกับ "อดีตหรืออนาคต" ได้ เรากระทำได้กับ "ปัจจุบัน"เท่านั้น หากสามารถทำให้ "ปัจจุบัน" ก็เกิด "ความจริงที่เป็นเช่นนั้นๆ" (ตถตา) ตามที่ต้องการได้จริง แล้วสั่งสมลงเป็น "อดีต" จน"อดีต" ก็กลายเป็น "ความจริงที่เป็น อย่างนั้นๆ" (ตถตา) เหมือนกัน เป็นเช่นเดียวกัน ตามที่ต้องการตรงกันได้จริง ชนิดเที่ยงแท้ (นิจจัง) คงที่, ถาวร (ธุวัง) ...ฯลฯ ไม่มีอะไรหักล้างได้ (อสังหิรัง) ...ไม่กลับกำเริบ (อสังกุปปัง) เป็นอื่นเด็ดขาด "อนาคต" อันจะเกิดจะเป็นก็ไปจาก "อดีต" และไปจาก "ปัจจุบัน" ที่มีจริงเป็นจริง รู้แจ้งรู้จริง สัมผัสได้ด้วย "วิชชา ๙" หรือด้วย"ญาณ ๓" (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๙๖ คือ ญาณหยั่งรู้ในอดีต-ในปัจจุบัน-ในอนาคต) ฉะนี้แล เช่น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ที่ได้ปฏิบัติสะสมบารมีเพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้า
เมื่อมีบารมี ถึงขั้นจะได้เป็น พระพุทธเจ้า แน่นอนแล้ว เที่ยง,คงที่,ถาวร,ไม่มีอะไรหักล้างได้,
ยั่งยืน, ตลอดกาล ฯลฯ นั่นก็คือ ได้ทำจาก "ปัจจุบัน"
จนสั่งสมลงเป็น "อดีต" ที่มีประสิทธิผลเที่ยง
คงที่ ถาวร ฯลฯ แน่วแน่เด็ดขาด จริงแล้ว "อนาคต"
ท่านก็ต้องได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ซึ่งจะเห็นได้จากที่พระพุทธเจ้า
ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ที่ท่านเป็น "นิยตโพธิสัตว์" ว่า
ใน "อนาคต" ท่านองค์นี้จะได้ตรัสรู้
เป็นพระพุทธเจ้าองค์นั้นองค์นี้ พระนามว่า อย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อถึงกาละนั้นใน
"อนาคต" เป็นต้น นัยสำคัญแห่งประสิทธิภาพที่เยี่ยมยิ่ง "ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต" ข้อที่ ๗ ก็คือ ผู้ปฏิบัติ ที่สามารถกำจัด กิเลสได้ จนกิเลสตายสนิท สามารถทำ"นิโรธ"สำเร็จนั่นเอง เมื่อทำได้ ๑ ครั้ง ก็สะสมลงไป "ในส่วนอดีต" เป็น ๑ วิบากหรือ ๑ ความสามารถ และปัจจุบันต่อไปอีก ก็กำจัดกิเลส ตายสนิทให้ได้อีก เป็น ๒ ครั้ง เป็น ๓ ครั้ง เป็น ๑๐ ครั้ง เป็น ๑๐๐ ... สะสมลงไปอีกๆๆ เป็นความสามารถ ยิ่งขึ้นๆ กระทั่งทุกปัจจุบันก็เป็นวสี มีทักษะ เชี่ยวชาญ แข็งแรง มั่นคง สถิตเสถียร สามารถทำได้สำเร็จเด็ดขาด ถึงขั้น "ตถตา" (เป็นเช่นนั้นเอง เป็นอัตโนมัติ) กระทั่ง มีประสิทธิภาพ "ในส่วนอดีต" แข็งแรงมั่นคงเข้าเขต..เที่ยง คงที่ ถาวร ฯลฯ แน่วแน่ อย่างประจักษ์สิทธิ์ และคุณภาพของทุกปัจจุบันก็ "เป็นเช่นนั้น" ดังเดียวกัน คือ กิเลสดับสนิทเป็น "อนัตตา" ไม่มีตัวตน (อนัตตา) เป็น"สุญญตา" หรือเป็น ๐ นั่นเอง ย้ำซ้ำยืนยัน ความเป็นศูนย์ จนเที่ยง คงที่ ถาวร ฯลฯ ก็เป็นอันแน่นอนว่า "ในส่วนอนาคต" ก็ต้อง "เป็นเช่นนั้น" (ความจริงที่เป็นตถตา) เที่ยง คงที่ ถาวร ฯลฯ แน่นอนเด็ดขาดจริงแท้ ไม่เป็นอื่น นั่นก็หมายความว่า ผู้ปฏิบัติมีวสีเชี่ยวชาญรู้จักรู้แจ้งรู้จริง"เวทนาในเวทนา"ตั้งแต่..เวทนา ๒ เวทนา ๓ เวทนา ๕ เวทนา ๖ เวทนา ๑๘ เวทนา ๓๖ กระทั่งครบ"เวทนา ๑๐๘" มีญาณ ละเอียดลออ ถึงขั้นสุดท้าย รู้จักรู้แจ้ง รู้จริงเกี่ยวกับ..เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เวทนาที่เป็น ปัจจุบัน สัมบูรณ์ (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๘ ข้อ ๔๓๐-๔๓๗) เมื่อถึงขั้นนี้ ก็จะเห็นได้ว่า "ในส่วนอดีต" มีความเป็น ๐ อย่างแข็งแรงมั่นคง... "ในส่วนปัจจุบัน" ก็มีความเป็น ๐ แข็งแรงมั่นคง... ความจริงของ "ในส่วนอนาคต" ที่ยืนยันได้จาก "อดีตกับปัจจุบัน" ก็เป็นคำตอบ ที่แน่นอนว่า "ในส่วนอนาคต" ต้องมีความเป็น ๐ แน่แท้ นั่นก็คือ "ส่วนอดีต" ก็เท่ากับ "ส่วนอนาคต" เพราะต่างก็ "ศูนย์" เท่ากัน เหมือนกัน เป็นอย่างเดียวกัน ถึงบรรทัดนี้ ก็เห็นแล้วว่า "ส่วนอดีตกับส่วนอนาคต" ในข้อที่ ๗ นั้นต่างจาก "ส่วนอดีต"ในข้อที่ ๕ และ "ส่วนอนาคต" ในข้อที่ ๖ อย่างมีนัยสำคัญแจ้งชัด ก็ตรงที่ "ส่วนอดีตกับส่วนอนาคต" ข้อที่ ๗ นั้น มีความเที่ยง คงที่ ถาวร ...ฯลฯ ไม่แปรเปลี่ยนแล้ว และจุดสำคัญแท้ก็คือ อดีตกับอนาคตที่ไม่ต่างกันเลย อดีตจึงคืออนาคต อนาคตอย่างเดียวกันกับอดีต ในจุด ๐ แต่ทำไมใน "อวิชชา ๘" นี้จึงไม่กล่าวถึง"ในส่วนปัจจุบัน"เลย กล่าวถึงแต่อดีตกับอนาคต เท่านั้น นั่นก็เพราะว่า "ส่วนปัจจุบัน"ในความเป็น"กาละ"นั้น มันสั้นที่สุด มันไม่ยืนยาว มันเป็นตัวปัจจุบัน แค่นั้น แล้วมันก็หมด ผ่านไปเป็น"ส่วนอดีต" ที่เหลืออยู่จึงมีแต่ "ส่วนอดีต" กับ "ส่วนอนาคต" เท่านั้น ที่ยืนยาว ต่อไป แม้ส่วนอดีตกับปัจจุบันจะสัมผัสได้ อนาคตสัมผัสไม่ได้ อนาคตยังไม่เคยมีเลย ก็ตาม เราก็สามารถ พิสูจน์ได้ และ สามารถรู้แจ้งรู้จริงได้แน่นอน มั่นแม่น เที่ยงแท้ ถาวร ไม่แปรเปลี่ยนเป็นอื่น ได้แน่แท้ ดังที่ได้จาระไน สัจจะกันมาแล้ว ดังนั้น เมื่อ"ในส่วนอดีต"ก็เป็นเช่นนั้น (ตถตา) และ แน่นอนแล้วว่า "ในส่วนอนาคต" ก็เป็นเช่นเดียวกันนั้น (ตถตา) เท่ากัน เหมือนกัน อย่างไม่ผิดเพี้ยน ชนิดแน่แท้ คงที่ ไม่เป็นอย่างอื่นไปได้ เด็ดขาดสัมบูรณ์ (absolute) ถึงปานฉะนี้ เราจึงยืนยันมั่นแม่นได้ว่า "อดีต" ที่ว่านี้ คือ "อนาคต" แน่นอนที่สุด สรุป นอกจาก "อวิชชาข้อ ๕ กับข้อ ๖" จะต่างจาก "อวิชชาข้อ ๗" เพราะข้อ ๕ และ ๖ เป็นแค่ของ โลกียปุถุชน สามัญเท่านั้น ยังไม่มีความเที่ยงแท้ มั่นคง ถาวร เด็ดขาด ส่วนข้อ ๗ นั้น เป็นของอาริยชน มีความเที่ยงแท้ มั่นคง ถาวร ...ฯลฯ แต่ก็ยังมี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งได้แก่ "ไม่ทำชั่วไม่ทำบาป ทำแต่ดีแต่บุญ" จะทำได้แข็งแรง ปานใด ยืนนาน เที่ยงแท้ คงที่ ถาวร เท่าใดก็เป็นส่วนของ "สัพพปาปัสสะ อกรณัง กุสลัสสูปสัมปทา" เป็น "กุศลส่วนโลกียะ" ส่วนอีกชนิดหนึ่งนั้น มีนัยสำคัญเป็นกุศลส่วนโลกุตระ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติได้ถึงขั้นปรมัตถธรรม "สจิตตปริโยทปนัง" ถ้าสัมบูรณ์ ก็ลดละถูก "ตัวตนของกิเลส" กระทั่งถึงขั้น "นิโรธอาริยสัจ" เป็น "อนัตตา" ศูนย์ถาวร เที่ยงแท้ ยั่งยืน ...ฯลฯ ผู้มีภูมิธรรมสูงถึงขั้นดังกล่าวนี้ จึงสามารถพ้น "อวิชชา" ข้อ ๕-๖-๗ เพราะได้พิสูจน์สัจจะ ที่เป็น "ปรมัตถธรรม" ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต อย่างประสบผลสำเร็จ และที่สามารถพ้น "อวิชชา" ข้อ ๕-๖-๗ ได้ ก็เพราะสามารถ ปฏิบัติจนพ้น "อวิชชา" ข้อ ๑-๒-๓-๔ อันคือ บรรลุ"อาริยสัจ ๔"นั่นเอง ความไม่รู้ใน อาริยสัจ ๔ หมดไป เรื่อง "อาริยสัจ ๔" อาตมา จะไม่ขยายความในที่นี้ เพราะว่า "อาริยสัจ ๔" เป็นหัวใจของ ศาสนาพุทธ อยู่แล้ว ซึ่งชาวพุทธ ทุกคนจะต้องพ้น "อวิชชา" ในหัวใจศาสนาที่ยังไม่รู้ตาม ๔ ข้อแรก คือ ไม่รู้อาริยสัจ ๔ นี้ให้ได้ อย่างสำคัญ และจำเป็นก่อนใดอื่น ผู้ที่เข้าใจว่า "หัวใจ" นั้นสำคัญมากที่สุด ทั้งในขั้น พื้นฐาน ทั้งในขั้นปลายยอด สำหรับคนที่ต้องมีความเป็นชีวิตฉันใด "อาริยสัจ ๔" ก็มีความสำคัญ มากที่สุด ทั้งในขั้นพื้นฐาน ทั้งในขั้นปลายยอด สำหรับคนที่ต้องมีความเป็นพุทธฉันนั้น และอาตมาก็ได้ บรรยาย เรื่องเกี่ยวกับอาริยสัจ ๔ อยู่เสมอตลอดมา ดังนั้น ที่จะสาธยาย กันต่อไป ก็ "อวิชชา" ข้อที่ ๘ คือ ไม่รู้ในธรรม ทั้งหลายที่อาศัยกันเกิด ตามหลักอิทัปปัจจยตา หรือ ความไม่รู้ใน "ปฏิจจสมุปบาท" "อิทัปปัจจยตา" นั้นคือ ความเป็นไปตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย เพราะสิ่งนี้มี... สิ่งนั้น จึงมี หรือ เพราะความเกิดขึ้น ของสิ่งนี้ สิ่งนั้นจึงเกิดขึ้น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ปฏิจจสมุปบาท" ได้แก่ ๑. เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี
"ปฏิจจสมุปบาท" ตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๒ ก็จะเห็นแล้วว่า "อวิชชา" คือ ต้นตอตัวแรกของเหตุ เพราะฉะนั้น ปัญหาก็คือ ทำอย่างไรจึงจะหมดอวิชชา หรือพ้นอวิชชา ผู้จะพ้นอวิชชา ก็ต้องมี "วิชชา" ขึ้นมาทดแทนนั่นเอง นั่นหนะสิ แล้วทำอย่างไรจึงจะมีวิชชา จะมีวิชชา ขึ้นมาได้ ก็ต้องมีการประพฤติธรรมตามแบบของพุทธ นั่นก็คือ ต้องถึงพร้อม ด้วยวิชชาและ จรณะ "วิชชาจรณสัมปันโน" ซึ่งต้องมี "จรณะ ๑๕" ตามที่เคยยืนยันมาแล้ว จึงจะเกิด "วิชชา ๙" การประพฤติธรรมให้เกิดวิชชา ตามทางดำเนินที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้นั้น หรือ การประพฤติธรรม ตามวิถี ของพระพุทธเจ้า เรียกเป็นภาษาศัพท์ว่า "จรณะ ๑๕" นี้ ก็คือ การศึกษาปฏิบัติ "ไตรสิกขา" หรือ การศึกษา ๓ นั้นแหละ เรื่องเดียวกัน ซึ่งได้แก่ ๑. ต้องมีการศึกษาเรื่อง"ศีล" และมีศีลหรือมีกรอบที่ตนจะยึดถือปฏิบัติ (สมาทาน) ให้บรรลุ มรรคผล การบรรลุ มรรคผล นั้นก็คือ การเจริญของ "อธิจิตและอธิปัญญา" แท้ๆ ไม่ใช่อื่นไกลใดเลย ๒. ต้องมีการศึกษาเรื่อง"จิต" เมื่อปฏิบัติ "ศีลที่เป็นกุศล ย่อมยังความเป็นอรหันต์ ให้บริบูรณ์ โดยลำดับ" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ ข้อ ๑ และข้อ ๒๐๘) ตามที่พระพุทธเจ้าตรัส แน่นอน นั่นคือ ปฏิบัติศีล ที่มีมรรคผล ทั้งกาย -วาจา-ใจ โดยเฉพาะ "ใจ" หรือ "จิต" ก็ต้องจิตเจริญเป็น "อธิจิต" ไปตามความเจริญของ "อธิศีล-อธิปัญญา" ซึ่งมีปฏิสัมพัทธ์กัน อย่างเป็นองค์รวม ๓. ต้องมีปัญญาเกิดตามรู้จักรู้แจ้งรู้จริงสภาวะ ไม่ว่า "อธิศีลและอธิจิต" โดยเฉพาะ "อธิปัญญา" เอง ก็จะเกิด จะเป็นจะรู้จัก รู้แจ้งสภาวะด้วยตนเอง ของตนเอง ในตนเอง ซึ่งก็คือ การเกิด "วิชชา ๙" นั้นแลโดยแท้ เมื่อประพฤติตาม"ศีล"ที่ตนสมาทาน ความเจริญอย่างสัมมาทิฏฐิ ก็จะเจริญไปทั้ง "อธิจิต-อธิปัญญา" "อธิจิต" ก็จะเกิด..วิราคะ ฌาน สมาธิ อนัตตา วิมุติ เป็นต้น ส่วน "อธิปัญญา" ก็จะเกิด..สัมมาทิฏฐิ สัมมาญาณ อภิญญา ปฏิสัมภิทาญาณ วิชชา ๙ เป็นต้น ผู้มี "วิชชา ๙" ซึ่งอาตมาขออนุญาตนับเอาตั้งแต่ "ฌาน" เป็น "วิชชา ข้อที่ ๑" ได้แก่ "ความรู้ยิ่ง" ของผู้ปฏิบัติ เพราะเป็น "อธิปัญญา" ที่สามารถหยั่งรู้ใน "ปฏิจจสมุปบาท" ทั้งหลาย ไปตามลำดับ จึงสามารถรู้จัก รู้แจ้งรู้จริงว่า เพราะเหตุใด จึงทำให้เกิดผลนั้น และ ผลนั้น ก็จะกลายเป็นเหตุ ที่จะก่อให้เกิดผล ต่อไปอีก ต่อสาย เป็นลูกโซ่แห่งเหตุปัจจัยทั้ง ๑๒ ที่จะศึกษากันต่อไป ได้กล่าวถึงมาแล้วว่า พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ ข้อ ๖๑ และ ๖๒ ว่า อวิชชา นั้นมีอาหาร อาหารของ "อวิชชา" คือ นิวรณ์
๕ และ... และพระพุทธเจ้าได้ทรงสรุปไว้ อย่างชัดเจน สมบูรณ์ที่สุดอีก ว่า ด้วยประการฉะนี้ การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อม ยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟัง สัทธรรม ที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจ โดยแยบคาย ให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจ โดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะ ให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวม อินทรีย์ ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง สติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชา และวิมุติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุติ" มี "อาหาร" อย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ (อ่านต่อฉบับ ๑๖๙) - เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๖๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗ -
|