กติกาเมือง
- ประคอง เตกฉัตร - ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดยะลา

การตรวจสอบ

บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ ได้กำหนดมาตรฐานด้านคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อป้องกัน การทุจริตและประพฤติมิชอบและลักษณะต้องห้าม สำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ตามมาตรา ๗๗ การกำหนดให้ผู้ทุจริต และประพฤติมิชอบ มีลักษณะต้องห้าม สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งอื่นๆ โทษดังกล่าวนี้ บังคับใช้กับตำแหน่ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๐๙ และสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา ๑๒๖ รัฐมนตรีตามมาตรา ๒๐๖ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕๖ (๔) (๑๐) กรรมการ การเลือกตั้ง มาตรา ๑๓๗ (๔)

การห้ามดำรงตำแหน่งในวิสาหกิจเอกชนหรือลูกจ้างธุรกิจเอกชน ข้อห้ามดังกล่าวนี้บังคับใช้กับ ตำแหน่งรัฐมนตรี มาตรา ๒๐๘ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๕๘(๓) กรรมการการเลือกตั้ง มาตรา ๑๓๙ (๓)

การห้ามรัฐมนตรีถือหุ้นหรือเป็นผู้บริหารวิสาหกิจเอกชนตามมาตรา ๒๐๙

การห้ามรับสัมปทานจากรัฐหรือเป็นคู่สัญญากับรัฐ ข้อห้ามนี้บังคับใช้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๑๐ (๒) สมาชิกวุฒิสภา มาตรา ๑๒�๘ รัฐมนตรี มาตรา ๒๐๘

การห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือกรรมาธิการมีส่วน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ในการใช้งบประมาณรายจ่าย มาตรา ๑๐๘ วรรค ๖ ข้อห้ามนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะป้องกัน การใช้งบประมาณแผ่นดิน เพื่อสร้างคะแนนนิยมทางการเมือง

การห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก้าวก่ายการบรรจุแต่งตั้งหรือขึ้นเงินเดือนข้าราชการ และ พนักงานของรัฐ ข้อห้ามนี้บังคับใช้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๑๑ และสมาชิก วุฒิสภา ตามมาตรา ๑๒๘

การแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเปิดเผยต่อ สาธารณชน หมวด ๑๐ ส่วนที่ ๑ มาตรา ๑๙๑ ถึง ๒�๙๖

การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองและข้าราชการระดับสูงหมวด ๑๐ ส่วนที่ ๓ มาตรา ๓๐๓ ถึง ๓๐๗

การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหมวด ๑๐ ส่วนที่ ๔ มาตรา ๓๐๘ ถึง ๓๑๑

เห็นได้ว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าวนี้มุ่งหมายในการแก้ไขและป้องกันปัญหานักการเมือง ร่ำรวยผิดปกติ ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติป้องกันปัญหาความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ ระหว่าง ประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์สาธารณะ ด้วยการห้าม ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองถือหุ้น เป็นลูกจ้าง หรือเป็นผู้บริหารวิสาหกิจเอกชน ตลอดจนห้ามรับสัมปทานจากรัฐ หรือเป็นคู่สัญญา กับรัฐพร้อมกันนั้นก็มีบทบัญญัติให้แสดงทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณชน หากปรากฏว่า มีความร่ำรวยผิดปกติ ก็อาจถูกถอดถอน จากตำแหน่ง และถูกดำเนินคดีอาญา แต่การลงโทษ ดังกล่าวนี้เป็นการดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งมักจะไร้ประสิทธิผล อันเป็นผลจากการขาด หลักฐานและพยาน

การดำเนินนโยบายเพื่อเกื้อกูลประโยชน์แก่กลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นฐานเศรษฐกิจหรือฐานการเมือง โดยมีภาระ การดำเนินนโยบายดังกล่าวตกแก่แผ่นดิน หากเป็นการประพฤติมิชอบในเชิงจริยธรรม เพราะเป็นการกระทำเพื่อแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการเงิน หรือการสนับสนุน ทางการเมือง แต่เป็นการประพฤติตนในเชิงการเมือง สังคมการเมือง ภายใต้ระบบประชาธิปไตย ล้วนมีพฤติกรรม ดังกล่าวนี้หากถือว่าพฤติกรรมเช่นนี้เป็นการทุจริตตามกฎหมาย การดำเนินการลงโทษ ก็เป็นเรื่อง ยากอย่างยิ่งเช่นเดียวกัน

ขบวนการจัดจ้างจัดซื้อก็ดี หากจะถือว่าเป็นการทุจริตประพ�ฤติมิชอบและถือเป็นอาชญากรรม ที่ต้องลงโทษ การดำเนินการลงโทษ ก็เป็นเรื่องยากยิ่งเช่นกัน เพราะปราศจากผู้เสียหาย หากธุรกิจ เอกชนถือเป็นจารีตในการจ่ายเงินใต้โต๊ะ โดยที่เงินใต้โต๊ะ เป็นส่วนหนึ่ง ของต้นทุน การประกอบ ธุรกิจ เจ้าหน้าที่ดังกล่าวนี้ย่อมเกื้อกูลผู้มีอำนาจทางการเมือง

ผลจากระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในสังคมไทยที่จะไม่จำเป็นต้องมีทรัพยากรทางการเงิน ในการสร้าง สายสัมพันธ์และเครือข่าย ทางการเมืองในขณะนี้ หากต้องทำลายพฤติกรรม การแสวงหาผลประโยชน์ดังกล่าวนี้ จากผู้มีอำนาจ ทางการเมือง ก็ต้องทำลายระบบ ความสัมพันธ์ เชิงอุปถัมภ์ไปด้วย การที่มีบทบัญญัติ ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และ กรรมาธิการ หาผลประโยชน์จ ากกระบวนจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน เป็นบทบัญญัติ ที่ไร้ประสิทธิผล ในทางบังคับ เป็นเพราะสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร มีสิ่งจูงใจ ตามธรรมชาติ ที่จะผันงบประมาณแผ่นดิน ลงสู่ฐานที่มั่นทางการเมือง เพื่อสะสมคะแนนนิยมทางการเมือง และการกระชับสายสัมพันธ์ เชิงอุปถัมภ์ในอีกด้านหนึ่ง การหลีกเลี่ยงข้อห้ามนี้กระทำได้โดยง่าย โดยการผลักดัน ให้รัฐบาลกำหนดนโยบาย ผันงบประมาณหรือหน่วยราชการ ดำเนินการ ดังกล่าว ได้โดยง่าย โดยการผลักดันให้รัฐบาล กำหนดนโยบาย ผันงบประมาณ ลงสู่ฐานที่มั่นทางการเมือง หรือสั่งการด้วยวาจา ให้สำนักงาน งบประมาณ หรือหน่วยราชการ ดำเนินการดังกล่าวได้ ในประเด็นนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่สังกัดพรรครัฐบาล ได้เปรียบผู้ที่สังกัด พรรคการเมือง ฝ่ายค้าน

รัฐธรรมนูญเพ่งเล็งการหาประโยชน์จากการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินโดยไม่ได้สนใจ การหา ประโยชน์ จากเงินนอกงบประมาณ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ การจัดสรรงบพยุง หรือประกันราคาพืชผล ทางการเกษตรและกองทุนหมุนเวียนต่างๆ ดังเช่น กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร กองทุนรวม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ยังคงมีต่อไป เพราะไม่ได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ การแย่งชิง งบประมาณ พยุงประกันราคา ลงสู่ฐานที่มั่นทางการเมือง จะทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ในประการ สำคัญ การที่รัฐธรรมนูญ ไม่ได้อุดช่องโหว่ในประเด็น การหาประโยชน์ทางการเงิน นอกงบ ประมาณ มีผลในการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนต่างๆ มากขึ้น เพราะไม่เพียงแต่ จะไม่ต้องการขออนุมัติจากรัฐสภาในการใช้จ่ายกองทุนเท่านั้น หากจะปลอดพ้น จากบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญอีกด้วย

การดำรงตำแหน่งทางการเมืองสามารถใช้ทรัพยากรของแผ่นดินทั้งงบประมาณแผ่นดิน และเงิน นอกงบประมาณ ไปใช้จ่ายเพื่อสร้างสม คะแนนนิยม ทางการเมือง ก่อให้เกิดความได้เปรียบ เสียเปรียบระหว่างนักการเมืองหน้าใหม่ กับผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง อยู่ก่อนแล้ว ระหว่าง ผู้ไม่มีอำนาจ กับผู้มีอำนาจทางการเมือง

ข้อห้ามมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก้าวก่ายการบรรจุแต่งตั้งและขึ้นเงินเดือนข้าราชการ และ พนักงานของรัฐ ไม่ได้บังคับใช้กับ ผู้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีไม่ว่าโดยหลักการ รัฐมนตรีมีอำนาจ แต่งตั้งข้าราชการระดับสูง แต่ในข้อเท็จจริงนั้น มีการล้วงลูกไปถึง การแต่งตั้ง ข้าราชการ ระดับล่าง ตลอดจนข้าราชการที่สำคัญ บางครั้งเรียกว่าการซื้อขายตำแหน่งระดับล่างๆ โดยที่ราคา เพิ่มขึ้น ตามระดับตำแหน่ง และโอกาสในการหาผลประโยชน์ รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงหนึ่ง อาจจัดทำ บัญชีรายชื่อ แลกตำแหน่งกับ เจ้ากระทรวงอีกกระทรวง กล่าวโดยสรุป ก็คือการซื้อขาย ตำแหน่งราชการระดับสูง เป็นช่องทางหนึ่ง ในการหาผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจทางการเมือง รัฐธรรมนูญมุ่งเล่นงาน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มากกว่าข้าราชการประจำ ทั้งที่ข้าราชการ ระดับสูง ไม่ว่าปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดีและรองอธิบดี มีโอกาส หาประโยชน์ ส่วนบุคคล จากการบริหาร แต่ไม่ต้องปฏิบัติบนพี้นฐานเดียวกับ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แม้ข้าราชการระดับสูง อาจถูกคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ไต่สวน พฤติกรรม อันเป็นการทุจริต และประพฤติมิชอบตาม มาตรา ๓๐๑ (๓) แต่ไม่ต้องแสดง บัญชี ทรัพย์สินและหนี้สิน ไม่ต้องถูกถอดถอนจากตำแหน่ง และไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญา ตามกระบวนการที่ระบุไว้ ในรัฐธรรมนูญ การพิจารณาถอดถอน จากตำแหน่งก็ดี การดำเนิน คดีอาญาก็ดี อยู่ภายใต้กฎหมายอื่น มิใช่รัฐธรรมนูญ

ท้ายที่สุดการทุจริตและประพฤติมิชอบมิได้เกิดขึ้นในการปัจจุบัน แต่เกิดขึ้นในอนาคต ผู้ที่ได้ ประโยชน์จาก ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง อาจตกลงที่จะชำระ ผลประโยชน์ตอบแทนในอนาคต เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับได้ในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญ กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้บริหารท้องถิ่นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง ต้องยื่นบัญชี แสดงทรัพย์สิน และหนี้สินอื่นรวม ๓ ครั้ง คือก่อนรับตำแหน่ง และเมื่อพ้นจาก ตำแหน่ง และหลังพ้นจากตำแหน่ง๑ ปี แต่ทางหลีกเลี่ยง ชนิดที่คณะกรรมการป้องกัน และ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ด้วยการชำระตอบแทนกันภายหลัง การยื่นแสดง บัญชีทรัพย์สินก็สามารถ จัดทำได้อีกเช่นกัน ฉะนั้นแม้การตรวจสอบ จะวางมาตรการอย่างไร ถ้าเราไม่สร้างจิตสำนึก ให้คนในสังคมแล้วก็แก้ลำบาก

- เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๖๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗ -