ชีวิตนี้มีปัญหา๒ - สมณะโพธิรักษ์-


"ความประพฤติภายนอก" ตามศีลที่สมาทานก็สามารถเห็นได้รู้ได้ ส่วนเนื้อแท้เนื้อธรรมของความเป็นพุทธ ก็ต้องตรงปรมัตถธรรม คือ "มีศีลอันเป็นอาริยะ" หรือ "ศีลนั้นได้ขัดเกลากิเลสของผู้ปฏิบัติ เริ่มมีมรรค มีผลจริง" (นับตั้งแต่เริ่มมีความจางคลาย หรือ ลดลงไปเป็นลำดับ จนกิเลสดับสิ้นหมดสนิท)

ต้องเข้าใจให้ชัดๆกันก่อนว่า "ศีลอันเป็นอาริยะ" นั่นคือ "ศีลได้ขัดเกลากิเลสอันอเยู่ในจิตของผู้ปฏิบัติ จ นมีสัมมามรรค - สัมมาผล ชนิดมีวิชาร่วมรุ้เห็นเป็นปัจจัตตัง" ทีเดียว มิใช่แค่มี "การถือศีล" ตาม "จรณะ ข้อ ๑" อย่างยึดมั่นถือมั่น เคร่งได้ดีเท่านั้น แต่มีผล แค่ "ความประพฤติภายนอก" ตามศีลที่สมาทาน มันก็สามารถ เห็นได้รู้ได้ว่า ดีกันที่ภายนอก ถ้าเพียงเท่านี้มันก็แค่ "สีลัพพตุปาทาน" หมายความว่า ปฏิบัติศีลและพรต ไปตามคนส่วนใหญ่ หรือตามที่แวดวง สังคมชาวพุทธทั้งหลายทำกันอยู่ อันยังไม่ถูกต้อง ถูกถ้วน (ยังไม่"สัมมา" หรือ ยัง"มิจฉาทิฏฐิ"อยู่)

กล่าวคือ ผู้สมาทานศีล (ถือศีล) แล้วก็ปฏิบัติมี "การระมัดระวังตามศีลที่ตนสมาทาน" (ศีลสังวร) ซึ่งก็ปฏิบัติ ไปตามจารีตประเพณี ที่มันได้ผิดเพี้ยนไปแล้วในทุกวันนี้ หรือปฏิบัติตามครูบาอาจารย์ ที่ยังไม่สัมมาทิฏฐิ สอนๆกันมา ผลที่ได้คือ "ศีลนั้นได้ขัดเกลากายกับวาจาของผู้ปฏิบัติเท่านั้น" ซึ่งก็ดีทีเดียว ที่กายกับวาจา ไม่ละเมิดศีล ทว่ายังไม่เข้าถึงมรรคผล เป็นอาริยผล จึงยังไม่ชื่อว่า "ศีลอันเป็นอาริยะ"

เพราะผู้ปฏิบัติยังไม่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง "จิต" ของตน ยับอกไม่ได้ว่า ในขณะที่ดำเนินชีวิตเป็นอยู่ มีสัมผัส ทางทวารทั้ง ๖ ที่ได้สำรวมกายและวาจานั้น "กายในกาย - เวทนาในเวทนา - จิตในจิต - ธรรมในธรรม" ของเรา เราได้พิจารณา ไปด้วยไหม และ "สติ-ธัมมวิจัย-วิริยะ" ของเรา มีคุณวิเศษถึงวขั้น "สติสัมโพชฌงค์ - ธัมมวิจัยสัมโภชฌงค์ - วิริยสัมโภชฌงค์" หรือไม่ และในขณะเดียวกันกับที่ ปฏิบัติ "สติปัฏฐาน๔ " นั้น มี "สัมมัปปธาน๔ - อิทธิบาท ๔" และโพธิปักขิยธรรมข้ออื่นๆ ทำงานร่วมอยู่ด้วย อย่างเป็นองค์รวมหรือไม่ ที่สำคัญมี "อธิปัญญา หรือ วิชชา๙" รู้จักรู้แจ้งรู้จริงถึงการบรรลุศีล (ศีลสัมปทา) เข้าถึงความเป็นศีล ซึ่งมีกุศลมีผลพร้อมทั้งกายวาจาโดยเฉพาะ"ใจ" (ศีลสัมปทา) อันหมายถึงภายใน"ใจ" หรือจิตได้ถูกขัดเกลา ไปด้วย เพราะการปฏิบัติเต็มสูตร "จรณะ ๑๕" ขนิดเป็นองค์รวม (holistic) มิใช่แยกกัน ปฏิบัติไปแต่ละข้อ ต่างก็ไม่เกี่ยวกัน ไม่มี"ปฏิสัมพัทธ์" (interaction) ไม่มี "สัมพันธภาพ (relative) มิใช่เช่นนั้น

หากการปฏิบัติผิด เพราะได้รับการสอนมาผิด ก็แน่นอน ย่อมไม่เกิดมรรคผลอันเป็นอาริยะเด็ดขาด

(มีต่อฉบับ ๑๗๐)

- เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๖๙ เดือน สิงหาคม ๒๕๔๗ -