-ประคอง เตกฉัตร- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดยะลา การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเมีอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในทางการเมืองหลาย ประการ ไม่ว่าในฐานะประชาชนผู้มีสิทธิ เลือกตั้ง นักการเมืองที่สมัคร รับเลือกตั้ง นักการเมืองที่ส่งสมาชิกออกสมัครรับเลือกตั้ง ตลอดจนสมาชิกรัฐสภาที่ได้รับ การเลือกตั้ง จากประชาชนมาแล้ว รัฐบาลซึ่งเข้า บริหารประเทศชาติ และกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่เข้าสนับสนุนในแต่ละฝ่าย ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง มิสามารถดำรงคงอยู่ตามแบบในระบบเดิมได้ รัฐธรรมนูญและกฎหมาย เลือกตั้งฉบับใหม่เข้มงวดในการป้องกัน และปราบปราม การซื้อเสียง แต่อย่าลืมว่าการ ซื้อเสียงนั้นเป็นความผิด ที่ไม่มีผู้เสียหายชัดเจน ซึ่งโดยธรรมชาติยากแก่การจะนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ เพราะผู้รับเงิน จะไม่ยอมมาเป็นพยาน โดยเฉพาะการเมืองปัจจุบันนี้ มีการแลกเปลี่ยน คะแนนเสียง กับนโยบาย หรืองบประมาณในการพัฒนาในพื้นที่เลือกตั้ง คือการบริหารในทาง เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มบุคคล หรือคณะบุคคลที่สนับสนุนให้ได้รับการเลือกตั้ง เพราะไม่ได้ผิดกฎหมาย เช่นการแลกกับเงิน และผลประโยชน์อื่นก่อน หรือขณะ มีการเลือกตั้ง ประชาชนจำนวนมากที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ ได้กำหนด ให้เป็นหน้าที่ และต่อมาก็มีกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญ กำหนดโทษให้ประชาชน ที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ถูกตัดสิทธิทางการเมือง และจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะประชาชน จะใช้สิทธิเลือกตั้งก็ต่อเมื่อ ประเมินแล้วว่าประโยชน์ที่คาดว่า จะได้จากการใช้สิทธินี้มีมากกว่าต้นทุนที่ต้องเสียไป ในการเดินทางไปเลือกตั้ง เห็นได้ว่าข้อห้าม ดังกล่าวนี้ ขัดกับธรรมชาติของมนุษย์ ทั้งบทลงโทษนั้น ก็ไร้ความหมาย สำหรับประชาชนที่ไม่ต้องการจะมีส่วนร่วม ในทางการเมืองด้วย พรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองก็จะจัดตั้งองค์กรของประชาชนขึ้น ซึ่งอ้างว่า เพื่อทำการตรวจสอบ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และหน่วยงานดังกล่าวนี้ จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะกลุ่มที่ไม่พอใจนักการเมือง และกลุ่มของนักการเมือง ด้วยกันเอง ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ ตรวจสอบฝ่ายตรงข้าม หรือทำนาย กลไกดังกล่าวนี้ ถ้าใช้ไปในทางสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ของ ประชาชนส่วนใหญ่ ก็จะไม่มีปัญหา มากนัก แต่ถ้าใช้เพื่อทำลายคู่แข่ง ทางการเมืองเพื่อ ให้ตนเอง สามารถเข้าบริหาร ประเทศชาติ หรือชนะการเลือกตั้งแต่เพียงอย่างเดียวนั้น ย่อมเป็นมหันตโทษ อย่างร้ายแรง นักการเมืองจะย้ายจากพรรคการเมืองที่ให้ผลตอบแทนต่ำหรือที่เสี่ยงต่อการ ไม่ได้รับ การเลือกตั้ง ไปสู่พรรคการเมืองที่ให้ผล ตอบแทนสูงหรือมีโอกาส ได้รับการเลือกตั้ง มากขึ้น ผลตอบแทนดังกล่าวนี้แม้จะบางครั้งไม่ใช่ตัวเงิน ผลตอบแทนนั้น อาจเป็น เงินอุดหนุน ในการทำกิจกรรม ในทางการเมือง เงินเดือนหรือผลตอบแทน ที่ให้เป็น รายคาบ รายเดือนหรือ ค่าใช้จ่ายในโอกาสต่างๆ ที่สนับสนุนการ ทำงานในพื้นที่ ก็สามารถเป็นไปได้ การย้ายพรรค มิได้มีลักษณะแตกต่าง จากการเปลี่ยนสถานที่ ทำงาน ทำให้มองดูเหมือนพรรค การเมืองในลักษณะ เป็นธุรกิจการเมืองมากขึ้น กลไกราคา จึงเข้ามามีบทบาท ในการจัดสรร นักการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง หาได้ มีบทบาทในการจัดสรรนักการเมือง ระหว่างพรรคต่างๆ ไม่ การย้ายพรรค จะมีมากขึ้น ก่อนการเลือกตั้งสมัยแรก ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ ปี ๒๕๔๐ พ้นไปจาก การย้ายพรรค จะมีน้อยลง เนื่องจากการติดขัด ด้วยเวลาตามรัฐธรรมนูญ และ กฎหมายเลือกตั้ง ประกอบกับสภาวะความไม่แน่นอนทางการเมือง อันเป็นเหตุให้ ผู้ย้ายพรรค ต้องรับภาระการเสี่ยงมากขึ้น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต เขตเดียว คนเดียว สำหรับนักการเมือง จำนวนไม่น้อย การเลือกตั้งเขตการเลือกตั้ง ยังไม่ลงตัว แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดคุณสมบัติผู้สมัคร รับเลือกตั้งว่า ต้องมีชื่อใน ทะเบียนบ้าน และจังหวัดที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า ๑ ปี แต่การย้าย ทะเบียนบ้าน มิได้เป็นเหตุให้ขาด สมาชิกภาพ ส.ส. หากพบว่า มีเขตเลือกตั้งอื่น ที่เหมาะสมกว่า ก็สามารถย้ายทะเบียนบ้านได้ทุกเมื่อ การสืบทอดมรดกทางการเมืองตาม สายโลหิตปรากฏอย่างเด่นชัด ตระกูลนัก การเมือง ที่มีฐานะการเมืองท้องถิ่น ปรากฏโฉมให้เห็น มากขึ้น การสืบทอด ตำแหน่ง ทางการเมือง ตามสายโลหิต เกิดจากการสร้างแบรนด์เนม หรือยี่ห้อของตัวเอง ในวงการเมือง การใช้จ่ายการโฆษณาทางการเมือง และการใช้จ่าย ในการสร้าง สัมพันธ์ ในเชิงอุปถัมภ์เป็นการใช้จ่ายในการสร้างยี่ห้อ หรือแบรนด์เนมของตนเอง รายจ่ายเหล่านี้ มีลักษณะเป็นรายจ่ายที่ ไม่สามารถ กลับคืนมาได้ หากราษฎร ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ติดต่อกับตระกูลดังกล่าว หรือกลุ่มการเมืองดังกล่าว รายจ่ายนี้ ก็จะก่อให้เกิดทุนขึ้น แต่ทุนก็ไม่อาจ ซื้อขายในตลาดได้ ในเมื่อทุนเป็นสินทรัพย์ ที่มิอาจเปลี่ยนแปลงได้ นักการเมืองจึงไม่อาจถอนทุน ด้วยการขายยี่ห้อได้ ฉะนั้น การสืบสายโลหิต เป็นหนทางเดียว ที่จะถอนทุนคืน จากการจ่ายที่จ่ายไปแล้ว โดยการสืบทอดไปสู่บุคคลอื่นๆ ในตระกูลเดียวกัน การสืบทอดมรดกทางการเมืองตาม สายโลหิตก่อให้เกิดตระกูลนักการเมืองที่ ยึดกุมตำแหน่ง ทางการเมือง ในระดับชั้นต่างๆ ทั้งการเมืองท้องถิ่น และการเมือง ระดับชาติ ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ทั้ง การเลือกตั้งแบบแบ่งเขต เขตเดียวคนเดียว และการเลือกตั้ง ระบบบัญชีรายชื่อ การใช้ยี่ห้อหรือตระกูลเพื่อประโยชน์ทางการเมืองเป็นพฤติกรรมที่ก่อตัว หลังการ เปลี่ยนแปลง ทางการเมือง เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๑๖ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ ไม่มีบทบัญญัติที่มีผลในการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมดังกล่าว แต่คณะผู้สมัคร รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกวุฒิสภา หาเสียง ก็มีผลในการส่งเสริม การหาประโยชน์ จากทุนยี่ห้อมากขึ้น หากกติกาการเมืองปรากฏชัดเจนว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากระบบ บัญชี รายชื่อ ของพรรค ย่อมเป็นไปอย่างเข้มข้น ความเข้มข้นในการแย่งชิง ก็จะมีมากขึ้น โดยเฉพาะแย่งกันเป็นผู้รับสมัคร ในลำดับต้นๆ ของพรรค หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากระบบเลือกตั้งแบบแบ่งเขต สามารถดำรง ตำแหน่ง รัฐมนตรีได้ เมื่อการเลือกตั้งสิ้นสุดลง พรรคที่สังกัด ได้เข้าร่วมรัฐบาล บรรดาผู้นำ ส.ส.ก็จะเล่นเกมต่อรอง ขอตำแหน่งรัฐมนตรี โดยอาศัย ส.ส.บริวาร เขย่าพรรคด้านหนึ่ง และบรรยาย สรรพคุณผู้นำ ส.ส.ที่เป็นผู้อุปภัมภ์อีกด้านหนึ่ง อันเป็นภาพที่ปรากฏ จนชาชินในสังคมการเมืองไทย พรรคการเมืองที่ประกอบด้วยกลุ่ม การเมืองหลายมุ้งแต่ละกลุ่มย่อมต้องต่อรอง ขอตำแหน่ง รัฐมนตรีและพฤติกรรมใหม่ที่ ปรากฏภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันนี้ ก็คือการต่อรอง ขอจำนวน ส.ส.ในระบบบัญชี รายชื่อพรรค -เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๖๙ สิงหาคม ๒๕๔๗ - |