' การสำนึกในบุญคุณของผู้มีพระคุณ ก็นับว่าเป็นเรื่องหาได้ยากในสังคมนี้แล้ว แต่การเต็มใจ พร้อมที่จะ ลงมือทดแทนบุญคุณของท่าน ได้ตลอดเวลา นี่สิ! หาบุคคลอย่างนี้ได้ยากที่สุด ในโลกเลยทีเดียว ' สำนึกบุญคุณ (มหาอัสสาโรหชาดก) ในอดีตกาล ณ นครพาราณสี พระราชาแห่งแคว้นกาสีทรงครองราชสมบัติโดยธรรม
ทรงให้ทาน และทรงรักษาศีลสม่ำเสมอ จึงรับสั่งให้เตรียมทัพ แล้วทรงแวดล้อมด้วยไพร่พลโยธาเสด็จไปสู่ชนบทนั้น แต่เหตุการณ์เกินคาด ได้อุบัติขึ้น พระองค์ทรงรบพ่ายแพ้แก่พวกกบฏ ต้องทรงม้าเสด็จหนีไปถึงปัจจันตคาม หมู่บ้านชายแดน อีกแห่งหนึ่ง ทั้งๆ ที่ทรงประดับตกแต่งด้วยเครื่องออกศึกพร้อมพรั่ง เมื่อเสด็จเข้าไปภายในหมู่บ้านนั้น เหล่าพวกชาวบ้านในหมู่บ้านประมาณ ๓๐ คน กำลังประชุมกันอยู่ ถึงเรื่องราวภารกิจต่างๆ พอเห็นนักรบมีอาวุธครบมือขี่ม้าศึกตรงเข้ามาหา ก็พากันตกใจกลัว ส่งเสียง ร้องวุ่นวาย ต่างแยกย้ายกันหลบหนีเข้าเรือนของตนไปอย่างรวดเร็ว แต่...ในกลุ่มคนเหล่านั้น มีชายคนหนึ่งไม่หนีจากไป กล้าอยู่ทำการต้อนรับพระราชาด้วยไมตรี
โดยเขา ได้ถามว่า เขาคอยเอาใจใส่ดูแลพระราชากับม้าเป็นอย่างดี กระทั่งล่วงเลยไป ๔ วัน พระราชาจึงตรัสกับเขาว่า "สหายของเรา เห็นทีเราจะต้องไปจากที่นี่ในวันนี้แล้ว" เขาจึงตระเตรียมสิ่งของทั้งปวง ให้แก่พระราชากับม้าไว้พร้อมสรรพ ครั้นพระราชาเสวยเสร็จแล้ว เมื่อจะเสด็จจากไป ได้ทรงกำชับเขาไว้ว่า "สหายเอ๋ย เราชื่อว่า มหาอัสสาโรหะ บ้านของเราอยู่กลางพระนครพาราณสี ถ้าท่านไปยังพระนคร ด้วยกิจอะไรๆ ก็ตาม ท่านจงยืนที่ประตูเมืองด้านใต้ แล้วกล่าวถามกับนายประตูว่า คนชื่อ มหาอัสสาโรหะ อยู่บ้านหลังไหน นายประตูนั้นจะพาท่านไปยังบ้านของเราเอง" ตรัสแล้วก็เสด็จจากไป ทรงเดินทางจนกระทั่งใกล้ถึงพระนคร ก็พบเข้ากับไพร่พลของพระองค์ ที่แตกพ่าย กลับมา ซึ่งตั้งค่ายพักอยู่นอกพระนคร เหล่าทหารได้เห็นพระราชาปลอดภัยกลับมา ต่างก็ดีใจ พากันโห่ร้องต้อนรับ พระราชาจึงทรงนำทหารทั้งหมดเสด็จเข้าพระนคร แต่...ขณะที่ทรงเข้าประตูเมืองทิศใต้นั้น ทรงหยุดชะงักประทับยืนที่ระหว่างประตู รับสั่งให้เรียก นายประตู มาเข้าเฝ้า แล้วตรัสสั่งหนักแน่นจริงจังว่า "หากมีชาวบ้านปัจจันตคามคนใดมาที่ประตูนี้ แล้วแจ้งความประสงค์ว่า ต้องการรู้จักเรือนของท่าน มหาอัสสาโรหะ อยู่ที่ไหน เจ้าจงต้อนรับเขาให้ดี แล้วจูงมือเขานำมาพบเรา หากเราได้พบหน้าเขา เมื่อใด เมื่อนั้นเจ้าจะได้รางวัลทรัพย์หนึ่งพัน เจ้าจงจำไว้ให้ขึ้นใจในเรื่องนี้" แล้วพระองค์ก็เสด็จเข้าสู่ พระราชนิเวศน์ ครั้นเวลาผ่านไประยะหนึ่งแล้ว ชายคนนั้นก็ยังไม่มีวี่แววว่า จะมายังนครพาราณสีเลย เมื่อเขาไม่มาสักที พระราชาจึงทรงคิดอุบายขึ้นว่า ให้เพิ่มค่าส่วยในบ้าน ที่เขาอาศัยอยู่นั้น หากเขาเดือดร้อน ย่อมต้องการความช่วยเหลือ เขาจะต้องมาที่พระนครแน่ แต่เขาก็ยังคงไม่มา พระราชาจึงทรงให้เพิ่มส่วยอีกเป็นครั้งที่สอง...ครั้งที่สาม...เขาก็ยังไม่มาอยู่นั่นเอง ในเวลานั้น...ที่หมู่บ้านของชายคนนั้น ชาวบ้านทั้งหลายกำลังประชุมกัน มีผู้กล่าวกับเขาว่า "ดูเอาเถิด นับตั้งแต่นายอัสสาโรหะของท่านกลับไปพระนครแล้ว พวกเราก็ถูกกดขี่ขูดรีดเก็บส่วย จนไม่อาจ จะโงหัวขึ้นได้แล้ว ท่านน่าจะไปหาเขาที่พระนคร เพื่อบอกให้เขาช่วยปลดเปลื้องส่วยแก่พวกเราบ้าง เขาคงจะมี เส้นสาย ของทางการช่วยเราได้" ชายคนนั้นขบคิดไตร่ตรองสักครู่ ก็ตกปากรับคำเพื่อนๆ ทั้งหลายว่า ชาวบ้านทั้งหมดก็รับคำ พากันจัดหาข้าวของต่างๆ เป็นของฝาก เท่าที่จะหามาได้ดีที่สุด ตามฐานะ ของตน ส่วนชายคนนั้น มีแต่ขนมทอด จากเรือนของตน เป็นของฝากเท่านั้น เดินทางไปจนกระทั่งถึง ประตูเมือง ทางทิศใต้ เขาก็ถามนายประตูคนนั้น นายประตูก็พาเขาไปยัง พระราชนิเวศน์ ราชบุรุษ จึงส่งข่าวให้พระราชาทรงทราบว่า "นายประตูได้พาชาวบ้านปัจจันตคามผู้หนึ่งมาขอเข้าเฝ้า พระเจ้าข้า" พอพระราชาทรงสดับเช่นนั้น ก็ทรงดีพระทัยยิ่งนัก รีบเสด็จลุกขึ้นจากพระอาสน์
(ที่นั่ง) ทันที ตรัสว่า พอทรงเห็นหน้า เข้าเท่านั้น ถึงกับเป็นสุขเหลือล้น ราวกับเจอสหายสนิทที่ไม่ได้พบกันนานปี ทรงจัดการ ต้อนรับสหาย เป็นอย่างดี แม้สีหน้าเขาจะมีอาการตื่นเต้น ประหลาดใจอยู่ก็ตาม ก็ทรงตรงเข้าทักทายเขา อย่างดีพระทัยว่า "เพื่อนเรายังแข็งแรงดีอยู่หรือ ภรรยากับลูกๆ
ของท่านยังอยู่เป็นสุขสบายดีอยู่หรือ" แม้พระนางจะทรงสงสัยยิ่งนัก แต่ก็ทรงยินดีที่จะทำตามรับสั่ง ดังนั้นพระราชาจึงทรงราดน้ำ
ด้วยพระเต้าทองคำ ส่วนพระเทวี ก็ทรงล้างเท้าให้ แล้วยังทาด้วยน้ำมันหอมให้อีก
เสร็จแล้วพระราชาทรงถามถึง ด้วยอาการตื่นเต้นว่า ชายคนนั้นยิ้มอย่างรู้ใจเพื่อน นำขนมออกมายื่นส่งให้ พระราชาก็ทรงเอาจานทองมารับไว้ แล้วตรัสด้วยพระพักตร์ เป็นสุขว่า "ท่านทั้งหลาย ขนมนี้มีรสเลิศยิ่งนัก พวกท่านจงกินขนมที่สหายของเรานำมานี้เถิด" เมื่ออำมาตย์ได้กระทำตามนั้นเสร็จสิ้นแล้ว พระราชาจึงให้ตีกลองร้องป่าวทั่วพระนคร
ให้อำมาตย์ทั้งหลาย มาประชุมกัน ทรงให้พาดด้ายแดงไว้กลางเศวตฉัตร แล้วทรงประกาศพระราชทาน
ราชสมบัติ ครึ่งหนึ่ง ให้แก่ชาย นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา พระราชาทั้งสองก็ทรงร่วมกันเสวย ร่วมดื่ม ร่วมบรรทมด้วยกัน
ความคุ้นเคย สนิทสนม ยิ่งแน่นแฟ้นมากขึ้น กระทั่งยากเกินกว่าที่ใครๆ จะทำให้แตกแยกกันได้
ต่างสมัครสมานรื่นเริง บันเทิงใจอยู่เสมอ "ข้าแต่พระราชกุมาร พระราชาของเราได้ทรงมอบราชสมบัติครึ่งหนึ่งให้แก่ชายชนบทคนนี้ ซึ่งพวกเรา มิเคย ได้รู้จักอะไรเขา มาก่อนเลย แล้วก็ทรงร่วมคลุกคลีกันอย่างสนิทสนม ซ้ำให้ใครๆ มาเคารพ กราบไหว้เขา อยู่อย่างนี้ ข้าพระบาททั้งหลาย รู้สึกละอายใจยิ่งนัก เพราะไม่รู้เลยว่า เขาได้กระทำ ความดีอะไรไว้ พระราชาถึงได้ ทรงยกเขาไว้ปานนั้น ขอพระองค์โปรดทูลถาม พระราชาด้วยเถิด" พระราชโอรสเอง ก็ทรงสงสัยอยู่เช่นกัน จึงทรงรับคำ แล้วหาโอกาสที่จะกราบทูลถามพระราชา กระทั่ง วันนั้นมาถึง...ท่ามกลางหมู่อำมาตย์ทั้งหลาย พระราชโอรสก็ทูลถามเหตุที่คับข้องใจนั้น พระเจ้าพาราณสี จึงตรัสเล่าว่า "ดูก่อนโอรสของเรา ก็ในคราวที่บิดาพ่ายศึก ต้องหลบหนีเอาชีวิตรอดนั้น ก็ได้อาศัยเรือนของสหายเรา ผู้นี้แหละ เป็นที่พำนักอันปลอดภัย เขาได้คุ้มครองดูแลบิดาเป็นอย่างดีเยี่ยม โดยที่มิได้รู้เลยว่า บิดาคือพระราชา และช่วยเหลือโดยมิได้หวังผลตอบแทนใดๆ เลย จนกระทั่งบิดาได้กลับคืนมา ครองราชย์อีก เมื่อเป็นเช่นนี้ เขาย่อมเป็นผู้มีคุณแก่บิดา แล้วบิดาจะไม่ตอบแทนคุณแก่เขาหรือ จะไม่ยกสมบัติให้แก่ผู้มีอุปการะแก่เราหรือ" ตรัสถึงตรงนี้ ทุกคนพากันฟังอย่างนิ่งเงียบ เริ่มเข้าใจเหตุผลทั้งมวลแล้ว แต่พระราชายังตรัสอีกว่า "ผู้ใดให้ทานแก่คนที่ไม่ควรให้ ไม่ให้แก่คนที่ควรให้ ผู้นั้นถึงจะได้รับทุกข์ในคราวมีอันตราย ก็จะไม่ได้สหายช่วย หากผู้ใดไม่ให้ทานแก่คนที่ไม่ควรให้ให้แก่คนที่ควรให้ ผู้นั้นถึงจะได้รับทุกข์ในคราวมีอันตราย ย่อมจะได้ สหายช่วย การแสดงคุณวิเศษแห่งความเกี่ยวพัน และความสนิทสนมกันฉันมิตร ในชนทั้งหลายผู้ไม่มีอารยธรรมนั้น ผู้มักโอ้อวดย่อมไร้ผล แต่การแสดงคุณวิเศษแห่งความเกี่ยวพัน และความสนิทสมกันฉันมิตรในอารยชนทั้งหลาย ผู้ซื่อตรงคงที่แม้เพียงเล็กน้อย ก็ย่อมมีผลมาก หากผู้ใดได้ทำความดีงามไว้แต่กาลก่อนแล้ว ผู้นั้นชื่อว่าได้ทำกิจที่ทำได้แสนยากในโลก แม้ภายหลัง เขาจะทำหรือไม่ทำอีกก็ตาม ยังชื่อว่าเป็นบุคคลผู้ควรบูชายิ่งนัก" พระราชโอรสและเหล่าอำมาตย์ได้ฟังดังนั้นแล้ว ก็เข้าใจแจ่มแจ้งเรื่องราวทั้งปวง
ก็มิได้มีความคิดเห็น คัดค้านแต่ประการใดอีกเลย (พระไตรปิฎก
เล่ม ๒๗ ข้อ ๕๐๖
- เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๗๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ - |