ชีวิตนี้มีปัญหา ๒ ดังนั้นการปฏิบัติก็คือ จะต้องสำรวมระวังให้ตนเองมีสติอยู่เสมอให้ได้ แล้วก็มีความพยายามปฏิบัติ "ลด-เลิก-ละ-เว้นขาด" (เวรมณี) ให้ได้ตามที่ตนมีความรู้ ความสามารถ อย่าให้ผิดศีล ให้เจริญ ให้ดียิ่งๆ เท่าที่จะทำได้ ซึ่งจะเป็นไปตาม "สัมมาทิฏฐิ" หรือ "มิจฉาทิฏฐิ" ที่เป็นประธาน ให้แก่ตัว ผู้ปฏิบัตินั้นๆ ตามที่มีจริงเป็นจริง "สัมมาทิฏฐิ" มรรค องค์ที่ ๑ นี้จึงสำคัญมาก ถ้า"ทิฏฐิ"ของผู้ปฏิบัติเป็น"มิจฉาทิฏฐิ" ก็แน่นอน "สติ และ ความพยายาม" ก็จะ"มิจฉา" (ผิด) ไปตามประธานช่วยปฏิบัติให้ผิดหนักซ้ำร้ายยิ่งๆขึ้นไปอีก เช่น ถ้าผู้ปฏิบัติ"มิจฉาทิฏฐิ" (เข้าใจผิด) ว่า การปฏิบัติ "ศีล" ก็เพียงสังวร หรือ ระวัง "กาย" กับ "วาจา" อย่าให้ละเมิด ตามข้อกำหนดของศีลจนเป็นผลสำเร็จ เท่านี้เองคือหน้าที่และความมีผลของศีล การอธิบาย จำกัดความเช่นนี้ก็เท่ากับว่า "ศีล" มีหน้าที่และมีผลเฉพาะแต่กับส่วนที่เป็น กายและวาจา เท่านั้น ส่วน "ใจหรือจิต" ต้องแยกไปนั่งทำ สมาธิ ต่างหากอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งก็แบบฤาษีดาบสเก่าแก่ นั่นแหละ จึงแตกต่างจาก "สัมมาสมาธิ" แบบพุทธ ที่มี "ไตรสิกขา" เป็นองค์รวมแน่ การปฏิบัติของคนผู้นี้ จึงเห็นกันอยู่ชัดๆว่า "ศีล-สมาธิ-ปัญญา" ไม่ได้ต่อเนื่องสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม กันแล้ว "ศีล"ถูกอธิบายจำกัดความให้เห็นว่า แยกจาก"สมาธิ" ไปเป็นคนละงานคนละเวลา คนละสถานที่ ขยายความกันดูอีกที เป็นต้นว่า ผู้ปฏิบัติสมาทานศีล ๕ ความหมายที่เรากำหนดกรอบปฏิบัติว่า เราจะเอาเพียงว่า ๑.ไม่ฆ่าสัตว์ ๒.ไม่เอาของผู้อื่นในลักษณะที่เป็นขโมย - เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๗๔ มกราคม ๒๕๔๘ - |