ชีวิตไร้สารพิษ
- ล้อเกวียน -
ร่างกายของคนเรา มีส่วนประกอบอันเป็นอวัยวะน้อยใหญ่ที่มีสีอยู่หลายสี
คือ : ฉะนั้นสีต่างๆ เราจะหาได้ใน "อาหาร" เพื่อนำมาใช้เสริมสร้างร่างกายให้คงอยู่ได้ อาหารที่บำรุงกระดูก ไขกระดูก ฟัน เล็บ เส้นเอ็น สมอง ปอด หาได้จากพืชที่มีสีขาว ได้แก่ ถั่วสีขาว (ถั่วปี ถั่วแปบ ถั่วพู ถั่วพร้า ถั่วขอ) งาขาว (งาขาวปี งาขาวคอ) เนื้อมะพร้าว ข้าวพันธุ์ต่างๆ (ขณะที่ยังเป็นน้ำนม) ข้าวฟ่างหางช้าง (มีลักษณะพิเศษต้นคล้ายข้าวโพด สูง ๒-๕ เมตร มีความแข็งแรง ทนแล้งได้ดีมาก ให้เมล็ดเป็นช่อ แก่จัดในเดือนมกราคม (ปลูกพฤษภาคม-กรกฎาคม) ต้นที่แข็งแรงเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะสามารถออกและเจริญเติบโตได้ถึง ๓ ปี เมื่อได้รับน้ำฝน (วิธีปลูก หยอดหลุมละ ๓ เมล็ด ลึกประมาณ ๑ ซม. ห่างกัน ๑ ศอก ดูแลหญ้า ๑ ครั้งในระยะแรก) อาหารที่บำรุงน้ำเหลือง ได้แก่ พืชที่มีสีเหลือง เหลืองเข้ม เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย มะเขือขื่น ดอกดาวเรือง ดอกคูน ทุเรียน มะม่วง แก่นขนุน ข้าวเหลืองต่างๆ (เหลืองประทิว เหลืองคอ เหลืองอีสุ่ม เหลืองพม่า ฯลฯ) อาหารที่บำรุงเลือด เป็นพืชที่มีสีแดง ได้แก่ ถั่วแดงเมล็ดเล็ก ถั่วปี เมล็ดแตง เมล็ดอีหล่ำ ดอกเข้มแดง ดอกกุหลาบแดง ฝางแดง กระเจี๊ยบแดง ข้าวเหนียว-ข้าวเจ้าแดง อาหารที่บำรุงผิวหนัง เป็นพืชที่มีสีน้ำตาล ได้แก่ ข้าวกล้อง เมล็ดกระบก ถั่วลิสง เมล็ดฉำฉา ถั่วมะแฮะ ถั่วพู ถั่วปี ถั่วฝักยาว มะรุม อาหารที่บำรุงผม ขน เป็นพืชที่มีสีดำ-ม่วง
ได้แก่ ข้าวเหนียวดำ ข้าวเจ้าดำ งาดำ ถั่วขอดำ ถั่วปีดำ ถั่วมะแฮะดำ ถั่วพูดำ
ดอกอัญชัน อาหารตามฤดูกาล ดังนั้นไม่ว่าอาหารรส-สี ต่างๆ ควรรับประทานทุกรส-ทุกสี แต่เน้นมากตามฤดูกาล ตามธาตุเจ้าเรือน เราจะสังเกตพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดโรคได้ ๘ ประการ (ตามหลักแพทย์แผนไทย)
อาหารที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวัน สามารถใช้เป็นยารักษาโรคอันเกิดจากสภาพร่างกายที่ไม่สมดุลได้ โดยเฉพาะโรคง่ายๆ เช่น * ไข้ รับประทานอาหารที่มีรสขม เช่น ขี้เหล็ก สะเดา เพกา มะระขี้นก มะแว้ง ลูกใต้ใบ ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด หวาย เป็นต้น * หวัด -หวัดเย็น เกิดจากถูกกระทบความเย็น ตากฝน ให้รับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน ได้แก่ ขิง ข่า พริกไทย ดีปลี กะเพรา ตะไคร้ เปราะหอม เป็นต้น -หวัดมีน้ำมูก ให้ปอกหัวหอมแดง เคี้ยวพร้อมกับข้าว มื้อละ ๒-๖ หัว จนกว่าจะหาย ในหอมหัวแดงจะมีน้ำมันระเหยช่วยลดน้ำมูก นอกจากนั้นยังใช้ทาแก้พิษเมลงสัตว์กัดต่อยได้ * แผลสด-แผลมีหนอง ใช้พืชที่มีรสฝาดและขมมาตำพอก เช่น เปลือกแค-ฝรั่ง ใบฝรั่งแก่ เปลือกมังคุด หมาก เป็นต้น (แผลเน่าใช้น้ำขมิ้นล้างแผลและตากแดดจะแห้งและหายเร็ว) * ท้องเสีย ท้องเดิน นำพืชที่มีรสฝาดมาย่างไฟให้แห้ง แล้วต้มเอาน้ำดื่ม เช่น ใบฝรั่งแก่ เปลือกต้นแค-ต้นฝรั่ง เปลือกมังคุด ฯลฯ * ท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง ให้รับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน จะช่วยขับลม เช่น ขิง ข่า พริกไทย ดีปลี ตะไคร้ กะเพรา เปราะหอม * ไอ ฝนขิงด้วยน้ำมะนาวเอาน้ำจิบ หรือขิงแก่โขลกกับเกลือคั้นเอาน้ำจิบ ถ้ามีอาการเจ็บคอด้วย ให้อมพืชที่มีรสขม เช่น ลูกมะแว้ง ฟ้าทลายโจร * โรคกระเพาะ รับประทานพืช-ผักที่มีรสฝาด และเผ็ดร้อน เช่น ขมิ้น กล้วยดิบ เม็ดมะม่วง มะขามดิบ ขิง ข่า พริกไทย ดีปลี กะเพรา เปราะหอม (อาหารจำพวกยำ เมี่ยงต่างๆ รับประทานกับผักหลายๆ รส) น้ำ น้ำที่เหมาะแก่การบริโภค ทั้งการดื่มและประกอบอาหาร และน้ำอุปโภคใช้สอยในชีวิตประจำวัน ได้แก่ "น้ำตามธรรมชาติ" ดังต่อไปนี้ * น้ำฝนที่สะอาด จากหลังคาที่สะอาด และอากาศไม่สกปรกจากฝุ่นละออง * น้ำที่ไหลมาจากป่า ที่ยังมีสภาพป่าสมบูรณ์ ไม่มีการใช้สารเคมี ไม่มีโรงงานหรือบ้านคน น้ำที่ไหลผ่านป่าจะผ่านมาหลายที่ จะมีธาตุอาหารมาด้วยและสะอาด เพราะผ่านกระบวนการไหลหมุนตกตะกอนด้วยวิธีธรรมชาติ * น้ำจากสระน้ำ ฝาย ชลประทาน เขื่อน ที่ไม่มีการใช้สารเคมีในพื้นที่รับน้ำ * น้ำจากบ่อดิน ที่มีดินสะอาด อาจจะใช้วิธีขุดใกล้แหล่งน้ำที่ไม่มีสารเคมี * น้ำที่ไม่ควรใช้ ได้แก่ น้ำที่มีส่วนผสมของโลหะหนัก (มีสารตะกั่ว ดีบุก ปรอท สังกะสี ทองแดง) หรือสารเคมีอื่นๆ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมาจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือเหมืองแร่ และน้ำจากหลังคากระเบื้องทุกชนิดที่ต้องใช้ใยหินเป็นส่วนประกอบ (ยกเว้นกระเบื้องดินเผา) น้ำบาดาล ไม่เหมาะที่จะใช้ดื่มหรือประกอบอาหารเป็นอย่างยิ่ง (ก่อให้เกิดนิ่ว) เนื่องจากเป็นน้ำกระด้าง บางแห่งมีหินปูนมาก ไม่มีธาตุอาหาร ไม่เหมาะแม้แต่จะใช้รดผัก ดิน การนอนกับพื้นดิน จะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เพราะกระดูก กล้ามเนื้อ จะได้ถูกปรับให้แน่น (การอยู่กับปูนตลอดเวลาจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ) บ้านดินจึงเหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยอย่างมาก การใช้ชีวิตทำกสิกรรมไร้สารพิษ อยู่กับดิน ทำงานอยู่กลางแดด
ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารที่แข็งแรง เป็นอาหารบำรุงดิน ก็จะบำรุงร่างกายของเราให้แข็งแรงด้วย - เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๗๔ มกราคม ๒๕๔๘ - |