กติกาเมือง จากหนังสือ "คู่มือยุติธรรม เพื่อประชาชน" สำนักงานอัยการสูงสุด
สำนักงานอัยการฯ ช่วยคุณได้


สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย ๑ มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชน ได้แก่ การให้คำปรึกษาหารือทางกฎหมาย การให้ความช่วยเหลือ ในการจัดทำ นิติกรรม สัญญา การให้ความช่วยเหลือ ในการประนอม ข้อพิพาท การให้ความช่วยเหลือทาง อรรถคดี และ การเผยแพร่ ความรู้กฎหมายแก่ประชาชน

งานที่ประชาชนส่วนใหญ่มาขอรับบริการจากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย ๑ มี ๓ ประเภท คือ

() การขอให้ความช่วยเหลือทางอรรถคดี
ซึ่งส่วนมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว ได้แก่ ขอให้ช่วยเหลือฟ้องหย่า ฟ้องขอให้รับรอง บุตร เรื่องที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เกี่ยวกับที่ดิน ได้แก่ ขอให้เปิดทางจำเป็น ภาระจำยอม การบุกรุก และเรื่อง เกี่ยวกับละเมิด เรียกค่าเสียหาย ได้แก่ เรียกค่า เสียหายกรณีถูกรถชน เป็นต้น

การให้ความช่วยเหลือในทางอรรถคดี ดังกล่าว ต้องปรากฏว่าผู้ขอรับบริการเป็นผู้ยากจน ประกอบกับ มีหลักฐานเพียงพอว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย อันเนื่องจาก การไม่ได้รับ ความเป็นธรรม หรือเป็นคดีมีเหตุผล อันสมควร ให้ความช่วยเหลือ

ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือ มีดังนี้
๑.ผู้ขอรับบริการต้องแจ้งความประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่ว่ามาขอรับความช่วยเหลือเกี่ยวกับเรื่องอะไร เพื่อจะได้จัดให้พบกับ ทนายความอาสา เพื่อสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น

๒.เมื่อได้พบทนายความอาสาแล้ว ทนายความอาสาจะสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณสมบัติของ ผู้ขอรับริการ ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับเรื่องที่มาขอความช่วยเหลือ

๓.ผู้ขอรับบริการต้องมอบสำเนาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะให้ช่วยเหลือแก่ทนายความอาสา ดังนี้

๓.๑ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรับบริการ

๓.๒ สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ขอรับบริการ

๓.๓ เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มาขอรับความช่วยเหลือ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละเรื่อง ที่ขอความช่วยเหลือ เช่น

คดีที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว ได้แก่ สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาสูติบัตรของบุตร สำเนา หลักฐาน ที่แสดงกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สิน ทะเบียนรถยนต์ สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร เป็นต้น

คดีที่เกี่ยวกับที่ดิน ได้แก่ สำเนาหลักฐานที่แสดงกรรมสิทธิ์ หรือ สิทธิในที่ดิน เป็นต้น

คดีที่เกี่ยวกับการละเมิด เรียกค่าเสียหาย กรณีถูกรถชน ได้แก่ สำเนาคำฟ้อง สำเนาคำพิพากษา สำเนา ใบเสร็จรับเงิน ที่เกี่ยวข้องกับค่าเสียหาย ที่ต้องการเรียกร้อง เป็นต้น

๔.ผู้ขอรับบริการจะต้องระบุชื่อที่อยู่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรู้เห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ขอให้ช่วยเหลือ เท่าที่ จะทำได้

๕.ผู้ขอรับบริการจะต้องให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และส่งมอบเอกสาร ทางคดี ที่มีอยู่ทั้งหมด ให้ทนายความอาสา

๖.เมื่อสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย ๑ รับเรื่องไว้ดำเนินการช่วยเหลือแล้ว จะมอบหมาย ให้ทนายความอาสา ไปดำเนินการแก้ต่าง หรือว่าต่าง และดำเนินกระบวนพิจารณา ทางศาลให้

๗.ผู้ขอรับบริการจะต้องไปศาลตามนัดทุกครั้ง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถไปได้ ต้องแจ้งให้ทราบ ล่วงหน้า

๘.ผู้ขอรับบริการไม่ต้องเสียค่าจ้างทนายความ แต่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี เช่น ค่าฤชา ธรรมเนียมศาล ค่านำหมาย ค่าคำร้อง ค่าคำขอ ค่าป่วยการพยาน ค่าคัดถ่ายเอกสาร หรือค่าใช้จ่าย อื่นๆ ตามที่ศาลกำหนด เป็นต้น

() การให้คำปรึกษาหารือทางกฎหมาย
บริการให้คำปรึกษาหารือทางกฎหมายแก่ประชาชนทั่วไป โดยไม่นึงถึงฐานะรายได้แบ่งเป็น ๒ กรณี คือ

๑. ให้คำปรึกษาแก่ผู้ขอรับบริการที่เดินทางไปปรึกษาด้วยตนเองที่สำนักงาน โดยผู้ขอรับบริการ จะนำ หลักฐาน เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องที่ปรึกษา ไปมอบให้ตรวจสอบประกอบการให้คำปรึกษาด้วย

๒.การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ (Call Center) จะรับฟังข้อมูลของปัญหาทางโทรศัพท์ โดยผู้ขอ รับบริการ สามารถโทรศัพท์ ไปปรึกษาได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐-๒๕๔๑-๒๗๗๐ ต่อ ๑๒๐๐ และ ๐-๒๕๔๑-๒๘๓๐ หรือ หมายเลข ๑๑๑๑ ในเวลาราชการ

() การประนอมข้อพิพาท
บริการประนอมข้อพิพาทให้กับประชาชนทั่วไป ที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นและตกลงกันไม่ได้ โดยไม่คำนึง ฐานะ และรายได้ ของผู้ขอ ความช่วยเหลือ เพื่อยุติข้อพิพาท อันจะมีผลให้เกิดความสงบ เรียบร้อย ในสังคม

ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือ มีดังนี้
๑.ผู้ขอบริการมาพบพนักงานอัยการ นิติกร หรือทนายความอาสา เพื่อสอบข้อเท็จจริง ตรวจสอบ เอกสาร วัตถุ หรือสถานที่ ที่เกี่ยวข้อง

๒.เชิญผู้เกี่ยวข้องมาสอบข้อเท็จจริงในกรณีที่จำเป็น

๓.การประนอมข้อพิพาทจะดำเนินการประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับความแพ่ง หรือความอาญา ที่เป็นความผิด อันยอมความได้

๔.เชิญคู่กรณีมาพบเพื่อประนอมข้อพิพาท โดยเปิดเผยที่สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายช่วยเหลือ ทางกฎหมาย ๑

๕.ถ้าคู่กรณีตกลงกันได้ ผู้ทำหน้าที่ประนอมข้อพิพาทจะดำเนินการจัดทำสัญญาประนีประนอม ยอมควม และให้คู่กรณี ลงลายมือชื่อ ไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยานอย่างน้อย ๒ คน แล้วมอบสัญญา ประนีประนอม ยอมความนั้น ให้คู่กรณีถือไว้ ฝ่ายละฉบับ

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิ
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิ มีหน้าที่ในการยื่นคำร้องต่อศาล และดำเนินการ นำพยาน เข้าไต่สวน คำร้อง ในคดีแพ่ง ที่กฎหมาย กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของพนักงานอัยการ เช่น
๑.ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก
๒.ร้องขอให้ศาลสั่งเป้นคนสาบสูญ และร้องขอให้ศาลสั่งถอนคำสั่งแสดงความสาบสูญ
๓.ร้องขอให้ศาลสั่งการให้ทำไปพลางก่อนที่จำเป็น เพื่อจัดการทรัพย์สินของบคคลที่ไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือตั้ง ผู้จัดการทรัพย์สิน ของผู้ไม่อยู่
๔.ขอจดทะเบียนมูลนิธิเมื่อทายาท หรือผู้จัดการมรดก มิได้ขอจดทะเบียนก่อตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม ภายใน เวลาที่กฎหมาย กำหนด
๕.เป็นโจทก์ฟ้องคดีที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรฟ้อง เช่น ผู้สืบสันดานฟ้องบุพการี ทั้งคดีแพ่ง และ คดีอาญา เป็นต้น

งานที่ประชาชนส่วนใหญ่มาขอรับบริการ จากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิ ได้แก่
๑.การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก เนื่องจากเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายและมีทรัพย์มรดก ที่ตกทอด แก่ทายาท ไม่ว่าจะเป็น ทายาทโดยธรรม หรือทายาทโดยพินัยกรรมก็ตาม บรรดาทรัพย์สิน บางอย่างนั้น จำเป็นต้อง จดทะเบียนการได้มา มิฉะนั้น สิทธิของผู้ได้มา จะมีการเปลี่ยนแปลง ทางทะเบียนไม่ได้ เช่น เจ้ามรดกผู้ตายมีทรัพย์สิน ซึ่งมีทะเบียนเป็นโฉนดที่ดิน หนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (นส.๓) ทะเบียน อาวุธปืน ทะเบียนรถยนต์ ทรัพย์ดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะไม่ดำเนินการ เปลี่ยนแปลง ทางทะเบียนให้ หากไม่มี คำสั่งศาล ตั้งผู้จัดการมรดก ของเจ้ามรดกผู้ตายก่อน ดังนั้น จึงมีเหตุขัดข้อง ในการจัดการทรัพย์มรดก ของผู้ตาย จึงทำให้ประชาชนจำนวนมาก ได้มาขอ ความช่วยเหลือ รับบริการจากสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคุ้มครองสิทธิ ให้ยื่นคำร้องต่อศาล ตั้งผู้จัดการมรดก ของผู้ตาย

๒.การร้องขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ เนื่องจากปัจจุบันนี้มีบุคคลจำนวนมากได้ไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่ อยู่เกินกว่า ๕ ปี หรือเกินกว่า ๒ ปีในพฤติการณ์พิเศษ ที่กฎหมายกำหนดไว้ และไม่มีใคร รู้แน่ว่า บุคคลนั้น ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ตลอดระยะเวลา ไม่มีใครทราบแน่ว่า เป็นตายร้ายดีอย่างไร และบุคคลเหล่านี้ มีทรัพย์สิน จำนวนมาก ไม่มีผู้ใดสามารถที่จะทำ นิติกรรมต่างๆ ได้ ผู้มีส่วนได้เสีย จึงมีความจำเป็น ต้องร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งเป็นคนสาบสูญ เพื่อจัดการมรดก นอกจากนั้นแล้ว การยื่นคำร้อง ต่อศาล ให้มีคำสั่ง เป็นคนสาบสูญ ยังถือเป็นเหตุหย่า ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา ๑๕๑๖ () ดังนั้น จึงมีประชาชน มาขอความช่วยเหลือรับบริการ จากสำนักงาน อัยการพิเศษ ฝ่ายคุ้มครองสิทธิ ให้ยื่น คำร้องต่อศาล ในคดี ประเภทนี้เสมอ

ขั้นตอนการขอรับบริการจากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิ มีดังนี้
๑.ผู้ขอรับบริการติดต่อกับนิติการของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ คุณสมบัติ และสิทธิของผู้ขอรับบริการ

๒.ผู้ขอรับบริการมอบสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แก่นิติกร เอกสารที่เกี่ยวข้องในการร้องขอให้ศาล ตั้งผู้จัดการมรดก มีดังนี้
() สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย (มีภูมิลำเนา อยู่ในเขต อำนาจ ศาลแพ่ง)
() สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับบริการ
() บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรับบริการ
() ใบสูติบัตร ของผู้ขอรับบริการที่เป็นบุตรของผู้ตาย
() ใบสำคัญการสมรสระหว่างผู้ตายกับทายาทโดยธรรม (สามีหรือภรรยา)
() หนังสือการเปลี่ยนชื่อ เปลื่ยนชื่อสกุลของผู้ตายและผู้ขอรับบริการ
() พินัยกรรมในกรณีที่ผู้ตายได้ทำพินัยกรรม และได้ระบุไว้ในพินัยกรรมว่าผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก

() ในกรณียื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ จะต้อง มีคำสั่ง ของศาล ที่สั่งให้เป็นคนสาบสูญ

() ใบมรณบัตรของผู้ตาย

(๑๐) ใบมรณบัตรของทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก ของเจ้ามรดกผู้ตาย หากทายาทนั้นๆ ได้ถึงแก่ความตาย ไปแล้ว

(๑๑) หลักฐานทางทะเบียนของทรัพย์สินของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน ทะเบียนรถยนต์ สมุดบัญชีเงินฝาก ในธนาคาร เป็นต้น

(๑๒) หนังสือยินยอมของทายาทโดยธรรม หรือทายาทผู้รับพินัยกรรมที่จะให้ตั้งผู้จัดการมรดก

(๑๓) บัญชีเครือญาติ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิ ได้รับมรดก ของเจ้ามรดกผู้ตาย

เอกสารที่เกี่ยวข้องในการร้องขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ มีดังนี้
() สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ขอรับบริการ และผู้ที่จะขอสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือหายไป ในเขตอำนาจศาลแพ่ง
() สำเนาบันทึกประจำวัน ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับแจ้งว่าบุคคลนั้นได้หายไปจากภูมิลำเนา เกินเวลา ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยไม่ทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร
() นิติกรเขียนคำร้อง และรับเรื่องไว้ดำเนินการ
() ผู้ขอรับบริการความช่วยเหลือ จ่ายค่าธรรมเนียมศาลตามที่กฎหมายกำหนด
() สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิจะมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ขอรับบริการเพื่อแจ้งวันนัด ให้ไปเบิกความ ในการไต่สวน ที่ศาลแพ่ง ตามวัน เวลาที่ศาลกำหนด

อนึ่ง ในการดำเนินการยื่นคำร้องไต่สวนคำร้องดังกล่าว พนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคุ้มครองสิทธิ บริการให้โดย ไม่เสียค่าใช้จ่าย และค่าบริการใดๆ เพราะเป็นหน้าที่ของ พนักงาน อัยการ ตามกฎหมาย ประชาชนที่มาขอรับบริการ คงเสียค่าธรรมเนียม ในชั้นศาล ตามที่ศาล กำหนดไว้เท่านั้น

- เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๗๕ เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ -