กระบวนการวิเคราะห์และปฏิบัติตามแนวพระบรมราโชวาท ส่วนเหตุผลจากการอนุมานอีกแบบหนึ่งคือ แบบอุปนัย (Induction) จะอาศัยข้อมูลจากตัวอย่าง หลายๆ ตัวอย่าง เช่น หยิบส้มในเข่งผลที่ ๑ มากิน แล้วพบว่าส้มหวาน เมื่อสุ่มหยิบส้มผลที่ ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗,... มากิน ก็พบว่าหวานอีก จึงได้ข้อสรุปว่าส้มเข่งนี้หวาน เป็นต้น ถ้าหากผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีโอกาสสัมผัสกับตัวอย่างชีวิตหลายๆ ชีวิต ทั้งจากตัววิทยากรและผู้ช่วย ปฏิบัติงานด้านต่างๆ ซึ่งสามารถพัฒนาตัวเอง ให้มีชีวิตที่เป็นอิสระ จากภาวะความบีบคั้น เป็นทุกข์ อันเนื่องมาจาก ปัญหาที่เคยเผชิญได้เป็นผลสำเร็จหลายๆ ตัวอย่าง ความเชื่อมั่น ที่จะเปลี่ยนแปลง พัฒนาตัวเอง ตลอดจนมองเห็นปัญหา ในความเป็นปัญหา ด้วยกระบวนการฝึกอบรม ตามแนวทาง แบบนี้ ก็จะเพิ่มพูนมากขึ้น อันเป็นความเชื่อมั่นที่เกิดจากการอนุมาน แบบอุปนัย ตามที่กล่าวมา ด้วยเหตุนี้ การมีตัวอย่างของบุคคลหลายๆ คน ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาเป็นอาสาสมัคร ช่วยการ ฝึกอบรม ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้เป็นวิทยากร บรรยายอะไร แต่ก็จะมีคุณค่าความสำคัญ ต่อกระบวนการ ฝึกอบรม ในฐานะเป็นมวลพลัง ที่จะช่วยเหนี่ยวนำ ให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด และพฤติกรรม ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ด้วยการอนุมานแบบอุปนัยดังกล่าว เสริมการบรรยาย ของวิทยากร ที่จะหนักไปในด้านการชี้ให้เห็น ด้วยเหตุผลแบบนิรนัย ๒.๒.๓ กัลยาณมิตร ๑. ด้านที่เรามองเห็นและคนอื่นก็มองเห็น มิติของชีวิตด้านนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน ถ้าเป็นจุดอ่อนที่สามารถ ปรับปรุงแก้ไขได้ไม่ยาก ปรกติเราก็พยายามปรับปรุง แก้ไขอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นเรื่องที่ คนอื่นรับรู้ด้วย จึงมีแรงบีบทางสังคม คอยช่วยกระตุ้นเตือน ให้เราปรับปรุงแก้ไขตัวเอง ๒. ด้านที่เรามองไม่เห็นแต่คนอื่นมองเห็น มิติของชีวิตด้านนี้จำเป็นต้องอาศัย คนที่เขามองเห็น จุดบกพร่อง อันเป็นปัญหาของตัวเรา ให้คำชี้แนะ จึงจะสามารถมองเห็นปัญหา และนำไปสู่ การปรับปรุงแก้ไขได้ ๓. ด้านที่เรามองเห็นแต่คนอื่นมองไม่เห็น มิติของชีวิตด้านนี้มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยถึงแม้จะเป็น จุดอ่อน ที่ตัวเรามองเห็น แต่บ่อยครั้งเมื่อขาดแรงกระตุ้น จากคนรอบข้าง (เนื่องจากคนอื่น เขามอง ไม่เห็นจุดบกพร่องดังกล่าว เหมือนที่เรามองเห็น) พลังความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงแก้ไข ก็อาจมีลดน้อยลง ๔. ด้านที่เรามองไม่เห็นและคนอื่นก็มองไม่เห็น มิติของชีวิตด้านนี้เป็นส่วนที่ต้องปล่อยวางไว้ก่อน
เพราะอยู่ นอกเหนือศักยภาพ ที่เราจะไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรได้ ในขณะนี้ ความหมายของคำว่า "กัลยาณมิตร" ในที่นี้ อาจเป็นพ่อ แม่ ครูอาจารย์ เพื่อนสนิท ญาติพี่น้อง นักบวช หรือบุคคล ที่เราเคารพนับถือ ตลอดจนสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่ง ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม ด้วยกัน ที่จะช่วยทำหน้าที่เป็นเหมือนกระจก สะท้อนให้เราเห็นหน้าตา ตัวตนของปัญหา ที่เรามอง ไม่เห็น หรือมองข้ามความสำคัญมาก่อน ในการฝึกอบรมประพฤติปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทเรื่องคุณธรรม 4 ประการ เราอาจสร้างเงื่อนไข ให้เกิด กัลยาณมิตร ที่ช่วยให้มีการเรียนรู้ จากประสบการณ์ ของสมาชิกที่เข้าร่วมการอบรม ด้วยการ ใช้กระบวนการกลุ่ม ช่วยในการฝึกอบรม โดยให้มีกิจกรรมกลุ่ม ตลอดจนใช้วิธีการเรียนรู้ เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) ในแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะเป็นวิธีหนึ่ง ที่ช่วยเสริม ให้สมาชิก แต่ละคน มีโอกาสได้เรียนรู้แง่มุมของปัญหาบางอย่าง ที่ตัวเองเคยมองข้าม จากประสบการณ์ ของกันและกัน กระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ตามตัวแบบที่ เดวิด เอ โคล์ปนักการศึกษา ที่มีชื่อเสียง ได้เสนอไว้ จะประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน คือ ๑. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Share Experience) โดยให้สมาชิกของกลุ่มมีโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ตามประเด็นหัวข้อที่กำหนด (ซึ่งอาจสัมพันธ์กับ กิจกรรม ที่ให้แต่ละกลุ่มทำ) การแบ่งกลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่ม มีจำนวนสมาชิกพอเหมาะ จะทำให้สมาชิกทุกคนในกลุ่ม มีโอกาส พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้มากขึ้น ๒. การสะท้อนความคิดและการถกเถียง (Reflex and Discussion)จากการพูดคุยแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ ภายในกลุ่ม สมาชิกจะเริ่มมีโอกาสถกเถียง และแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ ซึ่งอาจสะท้อน ให้สมาชิกบางคน ได้เรียนรู้มุมมองใหม่ๆ ของปัญหาที่ตนมองไม่เห็นมาก่อน จากเพื่อนสมาชิกคนอื่น ที่เห็นแตกต่างจากมุมมอง ที่เราเคยเห็น ๓. การสรุปความเข้าใจและสร้างความคิดรวบยอด (Understanding and Conceptualization) เมื่อได้เห็น แง่มุมต่างๆ ของปัญหาในมิติที่กว้างขวางขึ้น จากการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ และ ถกเถียงกันแล้ว ที่ประชุมกลุ่มจะช่วยกันสังเคราะห์ความเห็น เพื่อสรุปความเข้าใจ และความคิด รวบยอด ซึ่งจะตอบโจทย์ตามที่ได้รับมอบหมาย ในการแบ่งกลุ่ม ทำให้ทุกคนได้เห็นข้อสรุป ที่ครอบคลุมมิติต่างๆ ของประเด็นปัญหาในแง่มุมที่กว้างขวางขึ้น ๔. การนำไปทดลองปฏิบัติ (Experiment /Application) ข้อสรุปที่เป็นกรอบความคิดตามข้อ ๓. จะเป็น แนวทางที่ช่วยให้เราเห็น ประเด็นปัญหาชัดขึ้น และเชื่อมโยง ไปสู่การทดลองปฏิบัติ ในขั้นตอนต่อไป กระบวนการกลุ่มนี้ ถ้านำมาใช้กับการเรียนการสอนในชั้นเรียน ซึ่งนักเรียนรู้จักกันดี เพราะต้องเรียน ร่วมกัน ตลอดปีการศึกษาอยู่แล้ว ก็อาจจะช่วยให้นักเรียน ที่มีความคุ้นเคยกันพิเศษภายในกลุ่ม สามารถพัฒนา ไปสู่การเป็น "กัลยาณมิตร" ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลในการแก้ปัญหาของกันและกัน ต่อไปในระยะยาว ๒.๒.๔ การศึกษาดูงาน การเลือกสถานที่ฝึกอบรมซึ่งสามารถจะเป็นแหล่งดูงาน หรืออยู่ใกล้กับแหล่งดูงานที่จะเดินทางไปได้ โดยสะดวก จึงเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ต้องคำนึงถึง ในการจัดกระบวนการฝึกอบรม ขณะเดียวกันการทำโครงการนำร่องหรือสร้างต้นแบบ ไม่ว่าจะเป็นต้นแบบของตัวบุคคล ชุมชน หน่วยงาน โรงเรียน ฯลฯ ที่มีการพัฒนา และแก้ไขปัญหาต่างๆเป็นผลสำเร็จ ด้วยกระบวนการปฏิบัติ ตามแนวพระบรมราโชวาท เรื่องคุณธรรม ๔ ประการนี้ สำหรับเป็นแบบอย่างอ้างอิงที่มีนัยสำคัญ ตลอดจนเป็นตัวอย่างของการเรียนรู้ หรือเป็นแหล่งดูงาน ที่กระจายอยู่ ตามจุดต่างๆ จะเป็นกลยุทธ์ สำคัญ ประการหนึ่ง ในการขยายกระบวนการฝึกอบรม ตามหลักสูตรนี้ให้กว้างขวางออกไป ๒.๒.๕ บรรยากาศของการเรียนรู้ หากใช้สมองซีกซ้ายมากเกินไป โดยเน้นการใช้เหตุผลทางตรรกะในการแก้ปัญหาเพียงด้านเดียว ถึงแม้ จะให้ประสิทธิภาพการทำงานสูง (เพราะระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกิดจากเหตุผลทางตรรกะ จะช่วย ให้เกิด ความประหยัด ในการใช้ทรัพยากร) แต่จะให้ประสิทธิผลต่ำ เพราะขาดพลังความศรัทธา มุ่งมั่นรองรับการทำงาน ในระยะยาว เหมือนขวานที่ถึงแม้ จะลับจนคมกริบปานใด แต่หากขาดเรี่ยวแรง ในการฟัน ก็ย่อมไม่อาจฟันต้นไม้ให้ขาดได้โดยง่ายฉันใด การอาศัยแต่เหตุผลหรือปัญญา โดยขาด พลังความศรัทธา เป็นองค์ประกอบ ก็ยากที่จะสามารถ แก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วง อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลฉันนั้น ในทางกลับกัน ถ้าใช้สมองซีกขวามากเกินไป โดยเน้นการใช้อารมณ์ความรู้สึกในการแก้ไขปัญหาเพียง ด้านเดียว แต่ขาดเหตุผล หรือปัญญาเป็นเครื่องชี้นำ ลำพังการมีแต่พลังความมุ่งมั่น ในการแก้ไข ปัญหา อย่างเดียว พลังความมุ่งมั่นหรือความศรัทธานั้น ก็อาจถูกทุ่มเทไปมาก โดยได้ผลตอบแทนน้อย เนื่องจากใช้ในการแก้ปัญหา อย่างไม่ตรงจุด เหมือนขวานที่ทื่อ ถึงแม้จะมีเรี่ยวแรง ในการฟันมาก ก็ยากที่จะฟันต้นไม้ขาดได้ อย่างมีประสิทธิภาพฉันใด ความศรัทธาที่ขาดปัญญาเป็นเครื่องชี้นำ ก็จะมีลักษณะ ดุจเดียวกัน ฉันนั้น กระบวนการเรียนรู้ที่มีพลัง จึงต้องอาศัย "ศิลป"
ในการผสมผสานสัดส่วนของเนื้อหาด้านเหตุผล ที่เกิดจากการฟัง หรือการอ่าน
เข้ากับองค์ประกอบอื่นๆ ในกระบวนการเรียนรู้ ที่ช่วยสร้างอารมณ์ ความรู้สึกประทับใจ
เพื่อให้เกิดพลังความมุ่งมั่น ที่อยากเปลี่ยนแปลงแก้ไขพัฒนาตัวเอง โดยไม่รู้สึก
เคร่งเครียด จนกลายเป็นความเบื่อหน่าย ท้อถอย เช่น ในกระบวนการฝึกอบรม อาจจะอาศัยสัญลักษณ์
ของพิธีกรรมบางอย่าง เสียงเพลง กิจกรรมกลุ่ม การแสดง ตลอดจนการให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
มีโอกาสใช้จินตนาการบางช่วง ฯลฯ เพื่อช่วยสร้าง บรรยากาศ ของการฝึกอบรม ที่ผสมผสานระหว่าง
"ปัญญา" กับ
"ศรัทธา" ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมนั้นๆ - เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๗๖ เดือน มีนาคม ๒๕๔๘ - |