ชีวิตไร้สารพิษ - ล้อเกวียน -
เนื้อเยื่อถูกทำลาย
โครงสร้าง หน้าที่ เสียสมดุล (Soft Tissue Injury
* Disequilibrium)
สาเหตุ
การคลอดรุนแรง ดึงศีรษะ,แขน,ขา ถูกสารเคมี ไฟฟ้าช้อร์ต
ภายในบ้าน ล้มศีรษะฟาด ล้มก้นกระแทก ถูกของตกกระแทกศีรษะ
ตกต้นไม้ ตกภูเขา ตกตึก ตกบ้าน ตกบันได ตกเก้าอี้
รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถสิบล้อ รถไฟ โหนรถเมล์ จักรยาน
บาดเจ็บที่เกิดจากเล่นกีฬา รักบี้ ฟุตบอล บาสเกตบอล กระโดดน้ำ ขี่ม้า สควอทซ์ แบดมินตัน
มวย
อาการ
ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดไหล่,ไหล่ติด ชาตามมือ,เท้า ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม เจ็บหน้าอก
หัวใจเต้นไม่ปกติ
ขากระตุก ปวดแสบปวดร้อน มือแข็ง (กำยาก) ปวดข้อนิ้วมือ,แขน เก๊าท์
ตาพร่า ตาลาย ตากลอกไปมา ต้อหิน หูอื้อ มีเสียงในหู คันในหู เวียนศีรษะ มึนงง บ้านหมุน
ลมชัก
โรคเฉพาะสตรี
< ประจำเดือนผิดปกติ
< ปวดประจำเดือน
< ถุงน้ำที่รังไข่
< มีบุตรยาก
โรคที่ควรผ่าตัด
< นิ่วในไต
< นิ่วถุงน้ำดี
< กระดูกหัก
โรคที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน
< โรคแพ้ภูมิตัวเอง(SLE)
< รูมาตอยด์
< สมาธิสั้น
< ออทิสติก
< ไทรอยด์เป็นพิษ
< เนื้องอกที่รุนแรงและไม่รุนแรง
< หลอดเลือดโป่งพอง (AVM)
< ถุงลมโป่งพอง
กลืนน้ำลายลำบาก คัดจมูก,น้ำมูกไหล จมูกไม่รับกลิ่น หน้ากระตุก ปวดหน้าครึ่งซีก
เหงื่อออกที่มือเท้า
นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า ท้องอืด,ท้องเฟ้อ
ท่ากายบริหาร
ท่าเตรียม นั่ง ๑ ใน ๓ ของเก้าอี้หลังไม่พิงพนัก กางขาทั้ง ๒ ข้าง วางเท้าทั้ง
๒ ข้าง ให้ขนานกันให้เข่า และเท้าอยู่ในแนวเดียวกับหัวไหล่ทั่ง ๒ ข้าง
ท่าที่ ๑
มือทั้ง ๒ ข้างจับเข่าทั้ง ๒ ในลักษณะช้อนเข่า
เหนี่ยวหรือดึงเข่าทั้ง ๒ เข้าหาตัว ให้แขนและศอกตึงทั้ง ๒ ข้าง
ยืดตัวขึ้นให้ตรง แอ่นหน้าอกไปด้านหน้าให้ไหล่ทั้ง ๒ ผายออก
ก้มคางเล็กน้อย ยืดคอขึ้น เม้มริมฝีปากล่างประกบริมฝีปากบน
หายใจเข้าอย่างช้าๆ ให้เต็มที่พร้อมแขม่วท้อง
ผ่อนหายใจออกให้ยาวๆ ช้าๆ พร้อมกับผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่เกร็งอยู่ให้คลายทั่วตัว
บริหารในท่านี้ประมาณ ๕-๑๐ ครั้ง
ท่าที่ ๒
ประสานมือทั้ง ๒ ข้างเข้าด้วยกันแล้วหงายมือออก ดันแลเหยียดแขนออกไปข้างหน้าให้ศอกตึง
เหยียดแขนที่ประสานกันขึ้นเหนือศีรษะหงายมือขึ้นเหยียดแขนขึ้นให้สุดให้แขนทั้ง
๒ ข้างตึง
ผ่อนลมหายใจออกให้ยาว ช้าๆ พร้อมลดมือลงวางบนศีรษะโดยมือทั้ง ๒ ยังประสานกันอยู่
ให้แขนและไหล่ทั้ง ๒ ข้าง ผายออกให้กว้าง
ทำซ้ำโดยเหยียดแขนขึ้น และหายใจเข้าอีกประมาณ ๑๐ ครั้ง
ท่าที่ ๓
เหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหน้าให้อยู่ต่ำกว่าระดับหัวไหล่
ใช้มืออีกข้างจับนิ้วมือของข้างที่เหยียดออกจับระหว่างนิ้วชี้, นิ้วกลาง, นิ้วนาง
โดยให้ข้อมือของแขนที่เหยียดออกตั้งขึ้นในลักษณะหลังมือตั้งฉากกับข้อมือ
ดันมือที่เหยียดออกให้เต็มที่ ส่วนมือที่จับให้ดึงเข้าหาออกแรงต้านกัน โดยให้แขนเหยียดตึงทั้ง
๒ ข้าง
นับ ๑ ถึง ๑๐ แล้วปล่อยมือที่จับลงวางบนหน้าขา ส่วนแขนข้างที่เหยียดและตั้งข้อมือนั้นให้กางนิ้วออก
ให้เต็มที่ เกร็งนิ้ว และคว่ำข้อมือลงให้ขนานกับพื้น จากนั้นกรีดนิ้ว เริ่มจาก
นิ้วนาง นิ้วกลางนิ้วชี้ ทำซ้ำ ๓ ถึง ๕ ครั้ง
ทำสลับแขนกันจนครบ ๕ ถึง ๑๐ ครั้ง
ท่าที่ ๔
มือ ๒ ข้างที่จับขอบเบาะเก้าอี้เหยียดแขนให้ตึงพร้อมผายไหล่
เหยียดเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ยืดตัวให้ตรงกระดกปลายเท้าเข้าหาตัวให้ตึงที่น่องเต็มที่เกร็งเท้าใว้
นับ ๑ ถึง ๑๐
จิกปลายเท้าลงให้สุดนับ ๑ ถึง ๑๐
จากนั้นหมุนข้อเท้าให้เป็นวงกลมให้รอบ โดยหมุนตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ และทวนเข็มนาฬิกา
๓ รอบ
สลับเท้า ทำการบริหาร ดังข้างต้น จนครบ ๕ ถึง ๑๐ ครั้ง
ท่าที่ ๕
่่ท่าเตรียม นอนหงายหนุนหมอนให้พอเหมาะ ใช้หมอนใบเล็ก รองใต้ขาพับเข่า
๑. สองมือประสานกันเหยียดขึ้นเหนือศีรษะ แขนทั้ง ๒ ตึง และตรง ให้ฝ่ามือหันออก
ปลายเท้าจิกลงให้สุดพร้อมกับหายใจเข้าให้ลึก แขม่วท้อง ยืดต้นคอ กดคางลงเล็กน้อย
ท่าผ่อนคลาย หายใจออก ผ่อนคลายทั้งตัว เอามือวางบนศีรษะ
๒. สองมือประสานกัน ดันลง ให้ฝ่ามือลงมาทางปลายเท้าอย่าให้มือหลุดจากกัน ปลายเท้ากระดกขึ้นให้สุด
หายใจเข้าให้ลึก
แขม่วท้อง ยืดต้นคอ กดคางลงเล็กน้อย
ท่าผ่อนคลาย หายใจออก ผ่อนคลายทั้งตัว เอามือวางบนหน้าอก ทำซ้ำตั้งแต่ ๑ ถึง ๒
ทำ ๕ ถึง ๑๐ ครั้ง
** ข้อมูลจาก มูลนิธิดุลยภาพบำบัดเพื่ออายุและสุขภาพ
- เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๗๙ มิถุนายน ๒๕๔๘ -