กระบวนการวิเคราะห์และปฏิบัติตามแนว บทที่ ๔ มื่อเข้าใจโครงสร้างของมูลเหตุแห่งปัญหาตามกรอบแนวคิดที่กล่าวมาในบทที่แล้ว จะช่วยให้เห็นขอบเขต เป้าหมายของ "สัจจะ" ที่พึงประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม ๔ ประการ ชัดเจนขึ้น เปรียบเหมือนการจะยิงปืนใหญ่ไปที่เป้าหมายแห่งหนึ่งเพื่อทำลายฐานที่มั่นของข้าศึก ปัจจัยพื้นฐานของ ความสำเร็จก็คือ จะต้องกำหนด พิกัดเป้าหมาย ให้ถูกต้องก่อน ถ้าสำคัญมั่นหมายเป้าผิด คิดว่าอาคาร แห่งหนึ่งเป็นที่หลบซ่อนของข้าศึก ถึงจะใช้ความพยายาม ยิงไปที่ เป้าหมายนั้นได้อย่างแม่นยำเพียงใด ก็กลายเป็นความพยายามที่สูญเปล่า ซ้ำยังอาจสร้างความหายนะ อย่างมหันต์ให้เกิดขึ้นได้ หากอาคาร แห่งนั้น กลับกลายเป็นที่พักอาศัยของฝ่ายเดียวกัน เป็นต้น ๔.๑ ศีลัพพตุปาทาน ดังตัวอย่างขององคุลีมาลที่สำคัญมั่นหมายผิด หลงเชื่อในคำพูดของอาจารย์ที่ให้ไปฆ่าคน เพื่อปลดปล่อย คนเหล่านั้น ให้พ้นทุกข์ มาให้ครบตามกำหนด แล้วจะได้เรียนวิชาพิเศษล้ำลึกจากอาจารย์ เมื่อมุ่งมั่น ประพฤติปฏิบัติตามความตั้งใจ (สัจจะหรือศีลพรต) ที่สำคัญ มั่นหมายผิด เสียแต่เริ่มแรกแล้ว ถึงแม้ จะทุ่มเทชีวิตต่อสู้ เอาชนะอุปสรรคปัญหาต่างๆ เพื่อให้บรรลุถึงความตั้งใจ ด้วยความอดทน พากเพียร บากบั่น และเหนื่อยยากลำบากปานใดก็ตาม สุดท้ายก็กลับกลายเป็นความพยายามที่สูญเปล่า เพราะได้หลง ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เป็น "ศีลัพพตุปาทาน" นั้นๆ จากประวัติของบุคคลสำคัญในโลกหลายคนที่กลายเป็นจอมเผด็จการอย่างฮิตเลอร์ หรือมุสโสลินี (ดังที่ หลวงวิจิตรวาทการ เขียนไว้ ในหนังสือเรื่อง "มหาบุรุษ")ถึงแม้คนเหล่านี้จะมีจิตตานุภาพ และพลัง ความมุ่งมั่น ในการต่อสู้ เอาชนะอุปสรรค ปัญหาต่างๆ เพื่อให้บรรลุถึงความตั้งใจในชีวิต ได้เหนือกว่า คนทั่วไปทั้งหลาย แต่ด้วยความมุ่งหมายผิด ในที่สุดจิตตานุภาพนั้น ก็กลับนำชีวิตตนเอง และผู้อื่น ไปสู่ความหายนะ จากการก่อมหาสงคราม ดังเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเป็นต้น คุณธรรมประการแรกตามพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับการรักษาความสัจ จึงทรงขยายความกำกับไว้ว่า เป็นการ รักษาความสัจ ความจริงใจ ต่อตัวเอง (หรือตั้งสัจจะต่อตัวเอง) ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่ "สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นธรรม" การตั้งใจประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่จะช่วยคลี่คลายปัญหาของชีวิตให้ลดน้อยลง (ลดค่า P ตาม สมการ) ก็คือ "สิ่งที่เป็นประโยชน์" แต่การ ประพฤติปฏิบัตินั้นๆ จะอยู่ภายใต้ขอบเขตเป้าหมายที่ "เป็นธรรม" ก็ต่อเมื่อ สามารถนำไปสู่การลดละความเห็นแก่ตัว และลด ความต้องการ ส่วนเกินของชีวิต ดังตัวแบบการวิเคราะห์ ที่ได้กล่าวมา (ลดค่า D, เพิ่มค่า S ในสมการ) ขณะที่แบบวิถีชีวิตภายใต้อิทธิพลของลัทธิทุนนิยมบริโภคซึ่งครอบงำโลกปัจจุบัน มีเงินเป็นปัจจัยสำคัญที่ สามารถซื้อหา แลกเปลี่ยนสินค้า และบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ได้อย่าง ครอบคลุมกว้างขวาง แม้กระทั่ง สามารถใช้เงิน ซื้อหาอำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ ฯลฯ เงินจึงกลายเป็น สิ่งที่ทุกคนมุ่งแสวงหา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ อเนกประสงค์ ในการแก้ปัญหาต่างๆ ของชีวิตมนุษย์ ทุกวันนี้ แต่ถ้ากำหนดขอบเขตเป้าหมายไปในทิศทางของวิธีคิดที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติ เพื่อมุ่งหาเงินมาให้ได้มากๆ (เพิ่มค่า S โดยค่า D ก็เพิ่ม ตามด้วย) โอกาสที่อาจจะพลาดไปสู่เป้าหมายที่ "ไม่เป็นธรรม" จะสูง เช่น อาจจะนำไปสู่การทุจริตคอรัปชั่น การประกอบ อาชญากรรม การขายยาบ้า หรือ การกอบโกยเอากำไรมากๆ จากการเบียดเบียนเอารัด เอาเปรียบผู้อื่น เป็นต้น ในกรณีนี้การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของวิธีคิดใหม่ หันทิศทางมากำหนดขอบเขตเป้าหมายของสิ่งที่ตั้งใจ ประพฤติปฏิบัติ โดยไม่ได้มุ่งที่การ "หาเอามาใส่ตัว" มากๆ แต่สละหรือลดละความต้องการส่วนเกินจำเป็น ของชีวิต มากๆ แทน (ลดค่าD) เช่น ลดอบายมุขสิ่งเสพติด ลดค่านิยม การบริโภคฟุ้งเฟ้อเกินฐานะ เลิกกินเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน เที่ยวกลางคืน มั่วสุมคบมิตรชั่ว ตลอดจน เลิกเกียจคร้าน ทำการงาน เป็นต้น ก็จะมีโอกาสไม่พลาดเป้า ออกนอกขอบเขตของ "สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม" ทั้งนี้เพราะเมื่อมีความขยันไม่เกียจคร้านในการทำงาน ขณะที่รู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัดและอุดรูรั่วต่างๆ ของชีวิต ไม่ให้เงินที่หามาได้ รั่วไหลไปกับอบายมุข สิ่งเสพติดหรือค่านิยมฟุ้งเฟ้อของสังคม เงินก็ย่อมจะมี เหลือเก็บมากขึ้นๆ สำหรับใช้ในการลงทุน โครงการ ที่เป็นประโยชน์ หรือสะสมไว้ใช้จ่ายยามจำเป็น (ค่า S เพิ่ม = สิ่งที่เป็นประโยชน์) ในขณะเดียวกัน ก็สามารถปลดปล่อยตัวเอง ให้เป็นอิสระจากพันธนาการ ของความต้องการ ส่วนเกินจำเป็น ที่บีบคั้นครอบงำชีวิตให้หมดอิสรภาพด้วย (ค่า D ลด = สิ่งที่เป็นธรรม) ฉะนั้นจึงเป็นวิถีการประพฤติปฏิบัติที่ไม่เบี่ยงเบนออกนอกขอบเขตไปสู่สิ่งที่เป็น "ศีลัพพตุปาทาน" ของชีวิต ๔.๒ ภูมิธรรม ๔ ระดับ ๔.๒.๑ การลดความหลงติดในอบายมุขสิ่งเสพติด ๔.๒.๒ การลดความหลงติดในรูป รส กลิ่นเสียง สัมผัส
๔.๒.๓ การลดความหลงติดในลาภ ยศสรรเสริญ โลกียสุข
๔.๒.๔ การลดความหลงติดในตัวตน ๔.๓ ก้าวสู่โลกใบใหม่ เมื่อได้ออกไปเที่ยวบาร์เที่ยวผับ ดูหนังฟังเพลง เสพสุรายาเมา มั่วสุมทางเพศ ถึงแม้บรรยากาศใหม่ จะช่วย คลี่คลาย อารมณ์หงุดหงิด ได้ชั่วคราว แต่ในไม่ช้า เมื่อสิ้นแรง สิ่งกลบเกลื่อน อารมณ์ขุ่นมัวอึดอัด ขัดเคือง นั้น ก็จะปรากฏขึ้นมาใหม่อีก และจะบีบคั้น ให้ต้องดิ้นรน แสวงหาสถานที่ หรือบรรยากาศใหม่ๆ มากลบเกลื่อน อารมณ์นั้น ไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนหมาขี้เรื้อนที่คัน เพราะโรคผิวหนัง ถึงจะนอนที่ไหน ก็ไม่มีความสุข และจะดิ้นรน เปลี่ยนที่นอนไปเรื่อยๆ เพราะความหงุดหงิดจากอาการขี้เรื้อนนั้นๆ ภพภูมิของนรกสวรรค์ก็เช่นกัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ "โลกที่ถูกรู้" เพียงอย่างเดียว (เพราะถึงจะได้อยู่ ในปราสาท ที่ตกแต่ง อย่างงดงาม วิจิตรพิสดาร ดุจดั่งวิมาน บนสวรรค์ปานใด หากจิตใจถูกเผาไหม้ ด้วยอารมณ์ ที่รุ่มร้อน อึดอัดขัดเคือง วิมานนั้น ก็จะปรากฏต่อเรา เสมือนนรก ขุมใดขุมหนึ่ง ดังที่กล่าวมาแล้ว) แต่อยู่ที่จิต ซึ่งได้ฉายภาพ แห่งสภาวะของ "นรก-สวรรค์" ไปกระทบสู่ฉากของ "โลกที่ถูกรู้" แล้วจะสะท้อน กลับมาสู่ สภาวะ แห่งความรับรู้ ของจิตนั้นๆ (อ่านต่อฉบับหน้า) - เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๘๑ สิงหาคม ๒๕๔๘ - |