ขณะที่โลกเต็มไปด้วยสีสันจัดจ้าน
# # # ชีวิตในวัยเยาว์ อีกเรื่อง ครูเล่าถึงเพื่อนคนหนึ่ง จบจาก ร.ร. เพาะช่าง ทำงานบริษัทเงินเดือน ๗-๘ พันบาท ซึ่งสมัยนั้นถือว่าสูงมาก ส่วน ครูเอง ได้เงินเดือน แค่พันกว่าบาท วันหนึ่ง เพื่อนมาขอยืมเงินครู ทั้งที่ก็ตัวคนเดียว ไม่มีภาระ แต่เงินเดือนหมดไปกับ การเที่ยวเตร่ อบายมุข ครูก็เล่าเปรียบเทียบ กับตัวเองว่า ครูมีครอบครัว เงินเดือน ก็น้อยกว่า แต่ยังพอใช้ เพราะเพื่อนของครู ใช้เงินไม่เป็น จึงไม่มีเหลือ และครูก็สรุปหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เรื่องการใช้เงินว่า ถ้าหาเงินมาได้ ให้แบ่งเป็น ๔ ส่วน ส่วนที่ ๑ เก็บออมไว้ ใช้ในยามจำเป็น ส่วนที่ ๒ เก็บไว้จุนเจือญาติพี่น้อง ส่วนที่ ๓ เก็บไว้ทำบุญ ส่วนที่ ๔ เก็บไว้ใช้ส่วนตัว ถ้าเรารู้วิธีบริหารเงิน แต่ละเดือน ก็จะเหลือเก็บ เหลือใช้ ฟังแล้ว ผมรู้สึก ศาสนาพุทธมีแนวคิด ที่เป็นเหตุเป็นผลดี ไม่ใช่ เรื่องของปาฏิหาริย์ พออยู่ชั้น ม.ศ. ๓ ได้เป็นสารวัตรนักเรียน ครูให้เฝ้าห้องสมุด ก็มีโอกาส ได้อ่านหนังสือ หลายเล่ม เกี่ยวกับ ปรัชญา และศาสนา เช่น ศิษย์โง่เรียนเซ็น นั่นเป็นจุดเริ่มต้น รู้จักหาหนังสือธรรมะอ่าน เมื่อเข้าเรียนต่อที่ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา มีโอกาสช่วยตั้งชมรมพุทธ ซึ่งแต่เดิมในโรงเรียนจะมีแต่ชมรมอื่นๆ เช่น ชมรม คณิตศาสตร์ บ้าง ภาษาบ้าง สังคมสงเคราะห์บ้าง แต่ไม่มี ชมรมพุทธ พอเข้ามหาวิทยาลัย ก็ได้ไปช่วยงาน ชมรมพุทธ ที่จุฬาต่อ เมื่อเรียนจบ ก็เลยช่วยงานที่ ธรรมสถานจุฬาฯ กับอาจารย์ระวี ภาวิไล อีก ๑ ปี และมีโอกาส ช่วยประสานการ จัดงาน วิสาขบูชาที่สวนลุมพินี เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๔ ด้วย
ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๘ พลตรีจำลองศรีเมือง ลาออกจากชีวิตราชการ ลงสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่ากทม. ในนามของ กลุ่มรวมพลัง ผมในฐานะ เคยทำงาน ร่วมอยู่ในองค์กร ของชาวอโศก กับท่าน พลตรีจำลอง ศรีเมือง ก็ได้ช่วยท่านหาเสียง พอชนะ การเลือกตั้ง ได้เป็นผู้ว่ากทม. ก็ต้องการคนช่วยทำงาน ทันตแพทย์หญิง อัปสร บุญประดับ ซึ่งเป็นข้าราชการ สังกัด กทม. ในขณะนั้น และเป็นญาติธรรมที่คุ้นเคยกับผม ได้แนะนำให้เข้าไปช่วยงาน นายแพทย์ฉลาด ถิรพัฒน์ รองผู้ว่าฯ กทม. สมัยนั้น ไปทำหน้าที่เป็น เลขานุการ รองผู้ว่าฝ่ายการสาธารณสุข ซึ่งเป็นตำแหน่ง ข้าราชการการเมือง ก็ได้ทำงานต่อเนื่อง ๔ ปีจนจบ สมัยแรก และในสมัยที่ ๒ ของท่านพลตรีจำลอง ศรีเมือง ท่านก็ตั้งให้เป็นเลขานุการผู้ว่ากทม. จนในสมัยที่ ๓ ผู้ว่าฯ กทม. อาจารย์กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา ผมก็ได้เป็น เลขานุการของผู้ว่าฯ อีกสมัยหนึ่ง เบ็ดเสร็จ ผมทำงานเป็นข้าราชการ การเมือง ของกรุงเทพมหานคร อยู่ถึง ๑๐ ปี
# # # ตำแหน่งปัจจุบันนี้มีบทบาทช่วยสังคมอย่างไร ๑. เน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกษตรกรที่ยากจนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารความรู้และตกผลึกจนเกิดปัญญาเข้าถึงแนว เศรษฐกิจพอเพียง เพราะในอดีต ที่ผ่านมา หลายๆ โครงการ ที่กระทรวงเกษตรเคยช่วยเหลือเกษตรกรนั้น เน้นการช่วยเหลือ ด้านวัตถุ โดยไม่ได้ช่วยให้ครบวงจร ไม่ได้ให้ปัญญ าและความรู้ ควบคู่ไปด้วย เช่น พอราคาปุ๋ย แพงขึ้น เราก็ส่งเสริม ให้เกษตรกร ทำปุ๋ยอินทรีย์ มีงบประมาณให้สร้างโรงปุ๋ยอินทรีย์จำนวนมาก โดยใช้งบประมาณ ท้องถิ่นบ้าง งบกระตุ้น เศรษฐกิจบ้าง งบประมาณ จากผู้ว่าราชการจังหวัดบ้าง แต่โรงปุ๋ยหลายแห่ง เมื่อก่อสร้างเสร็จ ก็กลายเป็นโรงปุ๋ยร้าง เพราะ ชาวบ้านไม่มีปัญญา บริหารจัดการต่อ บางแห่งชาวบ้าน ก็รู้จัก สูตรทำปุ๋ยที่ตายตัว พอวัตถุดิบหมด หรือขาดแคลน ก็ไม่สามารถ ประยุกต์ดัดแปลง เอาวัตถุอื่นในพื้นที่ มาใช้แทน เป็นต้น เพราะฉะนั้น นโยบายในการแก้ปัญหา ความยากจน ของกระทรวงเกษตร ตามที่เสนอคณะรัฐมนตรี จึงให้ความสำคัญแก่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ ของเกษตรกร เป็นข้อแรกเลย ๒. เน้นฝึกอบรมจากภาคปฏิบัติ การเรียนรู้ไม่ใช่การฟังบรรยายในห้อง แต่ต้องให้เกษตรกรได้ฝึกทำจริงด้วย ให้เกิดทักษะ ในการรู้จัก ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ๓. เน้นเอาที่ดินที่รกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้เกษตรกรยากจน ๔. เน้นส่งเสริมให้เกษตรกรร่วมกลุ่มเป็นสหกรณ์ เป็นวิสาหกิจชุมชนหรือเป็นกลุ่มเกษตรกร เพื่อช่วยเหลือพึ่งพาในเรื่องของ การผลิต ภายใต้หลักการ ๔ ประการนี้ ได้ผลักดัน ๒ โครงการใหญ่ คือ นิคมเศรษฐกิจพอเพียง กับศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง นิคมเศรษฐกิจพอเพียงจะเน้นเอาที่ดินจัดเป็นที่ทำกินถาวรให้แก่เกษตรกรเช่น ที่ สปก. เป็นต้น แต่เราจัดโดยทำแบบวงจร เพราะ องค์ประกอบ ของการผลิตต้องอาศัยแรงงาน ที่ดิน ทุน และการจัดการ เกษตรกรมีแรงงาน เมื่อบางคนไม่มีที่ดินทำกิน รัฐก็หาที่ดินทำกินให้ เขามีแรงงาน มีที่ดิน แต่ไม่มีทุน รัฐก็หาแหล่งเงิน หรือแหล่งเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำให้ จากกองทุน สปก.บ้าง กองทุนส่งเสริมสหกรณ์บ้าง จาก ธกส. บ้าง เมื่อเขามีแรงงาน มีที่ดิน มีทุน เราก็คิดว่า พอแล้ว จบแค่นั้น แต่สุดท้าย ชาวบ้าน ก็เอาตัวไม่รอด เพราะมีปัญหา เรื่องการจัดการ ฉะนั้น โครงการ จัดที่ทำกินของ สปก. ในอดีตที่ผ่านมา หลายโครงการ เมื่อเรา หาที่ทำกินให้เสร็จ หาแหล่งเงินกู้เสร็จ วางโครงการ พื้นฐาน ขุดบ่อน้ำให้ ปรับถนนให้เสร็จแล้วก็ปล่อยมือ ชาวบ้านก็ทำเป็น แค่ปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด พอขายไม่ได้ราคา ก็กลายเป็นหนี้สิน ไม่มีปัญญา จ่ายเงินคืน ธกส. สุดท้าย ก็ทิ้งที่สปก. ขายที่ดิน ให้นายทุนบ้าง ให้คนอื่นบ้าง ตัวเองก็ออกมาเป็นแรงงานรับจ้าง แนวคิดเรื่อง นิคมเศรษฐกิจพอเพียง คือ ต้องการช่วยแบบ ครบวงจร โดยถ้ามี ที่ว่างเปล่าของ สปก. ที่จะจัดสรรที่ให้คนยากจน ก็จะไม่ให้เป็นเอกสารสิทธิแบบเดิม แต่เราจะเน้น ให้ชาวบ้าน รวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ แล้วใช้สหกรณ์ มารับเอกสารสิทธิ จาก สปก. เพราะฉะนั้น สมาชิกที่ถือหุ้นของสหกรณ์ ก็เท่ากับเป็นเจ้าของที่ดินทั้งแปลงใหญ่ร่วมกัน แต่ใครจะเอาที่ของ สปก. ขายหรือไปให้คนอื่นเช่า ไม่ได้ เพราะโดยนิตินัย เป็นของ สหกรณ์ ก็ทำให้สามารถครอบครองที่ดินทั้งผืนใหญ่ โดยสามารถจัดรูปการใช้ที่ดิน ส่วนไหนเป็นเขตที่พัก ส่วนไหน เป็นเขตที่ทำกินรวม ส่วนไหน จะเป็นที่สาธารณูปโภคส่วนกลาง ก็สามารถจัดรูปการใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงได้ เราเรียก โครงการ แบบนี้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง โดยจะทดลอง นำร่อง ๑๐ แห่ง ทั่วประเทศ ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ เปิดไปแล้ว ๒ แห่ง และจะขยายต่อไปอีก ถ้าทำแล้วได้ผล หลักการนี้ สามารถนำไปใช้ได้ แม้กระทั่ง ในที่ดิน ที่มีเอกสารสิทธิ ชาวบ้าน ก็สามารถ รวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์ แล้วก็ใช้สหกรณ์ทำสัญญา เช่าที่ดินแปลงย่อย จากสมาชิก เพื่อรวมเป็นที่แปลงใหญ่ แล้วจัดรูป การใช้ที่ดิน ร่วมกันใหม่ ส่วนอีกโครงการเราเรียกว่าโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ซึ่งไม่ได้เป็นที่ทำกินถาวร อาจเป็นที่ดินสาธารณะบ้าง เป็นที่เอกชน ให้ใช้บ้าง เป็นที่ของ หน่วยราชการบ้าง ขนาดไม่จำเป็นต้องใหญ่ แค่ ๕ ไร่ ๑๐ ไร่ก็ดำเนินการได้ เป็นการต่อยอด ออกจากโครงการเดิม ที่กระทรวงเกษตรทำอยู่ ซึ่งเรียกว่า โครงการ ๑ ตำบล ๑ ฟาร์ม และ ๑ อำเภอ ๑ แปลง แต่ที่ผ่านมา โครงการเดิม เขาทำไม่ครบวงจร คือเอาชาวบ้านมาฝึกทำเกษตรเสร็จ ก็คิดว่าชาวบ้าน จะมีความรู้ แล้วไปทำกันเองได้ แต่จริงๆ แล้ว แค่นั้นยังไม่พอ เพราะเศรษฐกิจพอเพียง จะมีทั้งเรื่องของมิติความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม เช่น การที่จะลด รายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส นอกจากด้านความรู้แล้ว ต้องมีคุณธรรม ในการลดรายจ่าย คุณธรรมในการเพิ่มรายได้ และคุณธรรมในการขยายโอกาสด้วย โดยถ้ารู้จักลดรายจ่าย แต่ยังรั่วไหลออกไป ให้อบายมุข สิ่งเสพติด ก็ไม่มีทางลด รายจ่ายได้ หรือมีความรู้ในการเพิ่มรายได้ แต่ถ้าคนนั้น ขี้เกียจ ไม่อดทน ก็เพิ่มรายได้ไม่ได้ ส่วนการขยายโอกาสนั้น ในระบบ ทุนนิยม เป็นระบบ ที่อยู่ได้ด้วย Credit ถ้า Credit ดี คนนั้นก็จะมีโอกาส Credit เกิดจากพื้นฐานของความซื่อสัตย์ เพราะฉะนั้น การจะขยายโอกาสได้ ในเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยม เราต้องมี ความซื่อสัตย์อยู่ด้วย มิติของคุณธรรม จริยธรรม เหล่านี้ ที่ควรใส่เข้าไป เพื่อให้การเรียนรู้ครบวงจร และทำให้คน หายจนได้จริงๆ กระบวนการอบรมกล่อมเกลา ให้มีทั้งความรู้ และคุณธรรม เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชน และสมาชิก ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้แล้ว โครงการเดิม ไม่ได้วาง ระบบรองรับไว้ แต่แนวคิดใหม่ เมื่ออบรมจบไปแล้ว ไม่ต้องไปไหน ให้พวกเขารวมตัวกัน เป็นสมาชิกของศูนย์เรียนรู้แต่ละแห่ง แล้วตั้งเป็นกลุ่ม วิสาหกิจชุมชน หรือเป็นสหกรณ์ หรือเป็นกลุ่มเกษตรกร เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในด้านการผลิต และ การหาตลาด ให้ครบวงจร
นโยบายแต่ละเรื่องมีคนช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และช่วยกันผลักดันหลายคน จึงสามารถปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ ไม่ใช่เรา ทำคนเดียว จึงไม่ควรอ้างว่า เป็นผลงาน ของเรา ปกติธรรมชาติของคนเราแต่ละคนที่ยังมีกิเลสตัณหาอุปาทานนั้น ก็มักจะติดอะไรคนละแบบ สำหรับคนที่ติดลาภ ติด ความสุข ทางวัตถุ ก็จะมุ่งหาเงินมากๆ เพื่อมาซื้อหา ความสุขทางวัตถุ คนที่ติดยศ ติดสรรเสริญก็จะมุ่งแสวงหาชื่อเสียง เกียรติยศ อยากให้คนรู้จัก ส่วนผมจัดอยู่ในประเภทติดภพของความสุขสงบ เป็นพวกฤาษีเมือง การมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก ของคนอื่นมากๆ นั้น จะทำให้เราต้องมีภาระ การงานมากขึ้น ต้องติดต่อกับ ผู้คนมากขึ้น เลยชอบทำงาน เป็นกองหลัง ไม่ชอบเป็น กองหน้า แต่ก็รู้ตัวว่า นี่เป็นกิเลส ตัณหาอุปาทาน แบบหนึ่ง เพียงแต่ยังเลิกละไม่ได้
- เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๘๖ มกราคม ๒๕๔๙ - |