ชีวิตไร้สารพิษ ตอนที่ ๔ - ล้อเกวียน - หน้าตาบ่งบอกชีวี II )ด้านหน้าและด้านหลังของลำตัว หลักการสัมพันธ์นี้คือ ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นส่วนด้านหน้าของลำตัว เช่น ที่อวัยวะภายในด้านหน้า ก็จะปรากฏ ที่ด้านหลังด้วย เมื่อเราสังเกต สภาพของกระดูกสันหลัง หรือผิวที่หลัง เช่น.... ลักษณะที่กระดูกสันหลังโค้ง หรือริ้วรอยชนิดต่างๆ หรือสีที่ผิดเพี้ยนของผิวหนัง ก็จะสามารถระบุได้ว่า อวัยวะไหน ที่ทำงานผิดปกติ III) ด้านซ้ายและด้านขวาของลำตัว IV) ด้านในของลำตัว (ตอนกลาง) กับบริเวณโดยรอบ V) ส่วนต่างๆ ของลำตัวกับลำตัวโดยรวม เราจะมาพิจารณากันว่า ทำอย่างไรจึงจะเข้าใจสภาพของลำตัวทั้งหมด ด้วยการสังเกตที่ส่วนขวาของนัยน์ตาได้ "ตา" ส่วนใน ที่เป็นหยางกว่า ตรงกับส่วนของร่างกาย ที่มีลักษณะโครงสร้างกระชับกว่า นั่นคือบริเวณหลัง หรือกระดูกสันหลัง ส่วนนอก ที่เป็นหยินกว่า ก็ตรงกับด้านหน้าของร่างกาย ซึ่งโดยโครงสร้างแล้ว เป็นหยินอ่อนนุ่ม และขยายกว้าง เราแบ่งตา ออกเป็น ๑๒ ส่วน บนพื้นตาขาว เพื่อจะระบุบอกสภาพอวัยวะที่มีปัญหา ซึ่งจะปรากฏออกมาให้เห็น ได้อย่างจำเพาะ เจาะจงยิ่งขึ้น บริเวณที่ตาแดง จะบ่งชี้ถึงปัญหาอันเกิดขึ้นที่อวัยวะอันตรงกัน ตัวอย่างเช่น อาการตาแดงในบริเวณที่ตรงกับสมอง ก็หมายความว่า เส้นโลหิตฝอยในบริเวณนี้อักเสบ และขยาย ในบางกรณี ผู้หญิงอาจจะเกิดอาการตาแดงขึ้น ในบริเวณนี้ ในช่วงมีประจำเดือน ทว่าอาการตาแดงนี้ ก็ควรจะหายไป เมื่อหมด ประจำเดือนแล้ว ถ้าหากว่าตาแดงอยู่ตลอดเวลา ก็แสดงว่ามีปัญหาเรื้อรังเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ จุดดำๆ ที่บริเวณตอนบนของตา ชี้บ่งถึงการเกิดนิ่วแข็งเป็นไตขึ้นในไซนัส จุดดำ ที่เห็นตรงบริเวณตอนล่างของตาเป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่า กำลังจะเกิดนิ่วก่อตัวขึ้นที่ไต หรือเกิดซีสต์ขึ้นที่รังไข่ หากว่าตาขาวมี........ มะเร็งยังอาจจะสะท้อนออกมาให้เห็น ที่ลูกนัยน์ตา ในลักษณะเป็นแผ่นใสๆ ในบริเวณตรงกับบริเวณของร่างกาย ส่วนที่เป็นมะเร็ง อาการที่พบทั่วไปอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การเกิดปื้นสีขาวหรือเหลืองที่ลูกนัยน์ตา ตรงบริเวณข้างใต้เปลือกตาล่าง ซึ่งบ่งชี้ว่ามีไขมัน และมูกสั่งสมอยู่ในบริเวณตอนล่างของลำตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอบๆ อวัยวะเพศ สำหรับผู้หญิงลักษณะเช่นนี้ บ่งชี้ว่ามีการขับของเหลวออกมาทางอวัยวะเพศอย่างเรื้อรัง ในกรณีของผู้ชาย บ่งชี้ถึงปัญหาต่อมลูกหมาก จะลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อยๆ ในช่วงที่นอนหลับตอนกลางคืน การพิจารณาวินิจฉัยจาก "หน้า"-"ตา"- "ลิ้น" อาจจะทิ้งร่องรอยของอดีตเอาไว้ได้ แต่ในส่วนของปัจจุบัน ต้องตรวจสอบ จากชีพจรของ แต่ละบุคคล เพื่อจะได้วินิจฉัยโรคให้ได้ครบอย่างแม่นยำไม่ผิดเพี้ยน
- เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๘๘ มีนาคม ๒๕๔๙ - |
---|