|
||||
สิบห้านาทีกับพ่อท่าน
โดย ทีม สมอ. ตอน... อโศกรำลึก '33 |
หนังสือพิมพ์สารอโศก
อันดับที่ 142 เดือนมิถุนายน 2533 "อโศกรำลึก'33" |
|||
|
||||
วันคืนหมุนเปลี่ยนเวียนวน แต่ไม่วนกับมาที่เก่าหรอก อาจจะวนชนวันชนเดือน หากปี พ.ศ.ย่อมเปลี่ยนไป อโศกรำลึก ๓๓ ก็ผ่านมาแล้วผ่านไปอีกวาระหนึ่ง หลังมรสุมที่กระหน่ำระลอกแล้วระลอกเล่า ราวจะทดสอบความมั่นคงของชาวอโศก ซึ่งผลกระทบจะเป็นอย่างไร เราก็มาคุยกับพ่อท่านกันดีกว่า...
อันไหนที่มันผิด อันไหนที่มันจะออกนอก อาตมาก็ตัดไว้ ตะล่อมไว้ มันจะพัฒนาไปเป็นวัฒนธรรม ก็ค่อยเป็นไป เจริญขึ้นเรื่อยๆ เป็นที่น่าพอใจ
พ่อท่านสังเกตไหมคะ ว่าอโศกรำลึกปีนี้แตกต่างกับปีที่แล้วอย่างไร การที่เรามีคดีนี่ ทำให้เกิดผลกระทบ เช่น คนน้อยลงหรือไม่?
การที่ทุกคนตั้งอกตั้งใจทำกัน มีมวล มีกำลังแบบรวมๆ แล้วก็นำพากันไปได้ มันก็ดีนี่
อย่างน้อยก็สร้างความอดทน สร้างกำลังใจ สูงไปกว่านั้น ก็ได้มีการได้รับสัมผัส ได้รู้รสชาติความอด เกิดความมั่นใจอย่างที่ว่า เราทำอะไรสักอย่างขึ้นมานี่ ภาวนาตบะธรรมหรืออะไรนี่มันไม่ง่ายนักสำหรับคนโลกๆเขา แล้วเราทำได้ อย่างนี้มันเหนือกว่าปกติอยู่นะ มันก็เกิดกำลังใจ
บางคนไม่ถึงป่ายหรอก แต่ร่างกายมันไม่สมบูรณ์ มันก็ผอมลง-ผอมลง แต่เขาก็ยังทำการทำงานได้ ไม่เป็นลมเป็นแล้งอะไร เรี่ยวแรงก็ยังไม่หมด แต่มันก็ผอมลงไป ธรรดาอดข้าว ๕ วัน ๘ วัน มันไม่ผอมถึงขนาดนั้นหรอก แล้วมันจะเป็นอะไรล่ะ ใจต่างหากที่มันจะไม่ไหวก่อน ใจนี่แหละที่มันจะทนได้หรือไม่ได้ มันจะเป็นลมแล้งอะไร ใจเป็นตัวการ ไม่ได้อยู่ที่กายเท่าไหร่หรอก เพราะฉะนั้น เราจึงต้องมาฝึกไง ปฏิบัติฝึกใจกันจริงๆ
จิตใต้สำนึกมันออเซาะ กิเลสน่ะมันออเซาะมากกว่านั้น แล้วมันก็ทนไม่ได้ ทั้งที่จริงๆข้างนอกนะ เขาไม่อยากเป็นลมนะ อยากจะเก๋ อยากจะโก้ อยากจะอดทนได้ แต่มันทนไม่ได้น่ะ
เพราะฉะนั้น ถ้าอย่างเราไปอดข้าวประท้วงอะไร โอ้ ! ถ้าเกิดเหตุการณ์ให้ไปนั่งทำจริงๆนะ สนุก ! จะเป็นปาฏิหาริย์ที่คนเขางงนะ เพราะพวกเรานี่อดกันได้ถึง ๑๐ วัน แต่คนข้างนอกเขาไม่ได้ แล้วเขาอดไม่เหมือนเรานะ เขาอดข้าวจริงนะ แต่เขากินน้ำผลไม้ กินโน่นนี่ ขนาดนั้นเขายังเป็นลมเลย ถ้าพวกเราไปอดอย่างนั้นบ้างนี่นะ รับรองเป็นเดือนเลย ซดน้ำอ้อยกันไป ก็ไม่กินข้าวนี่ คุณมานั่งดูได้ กลางวันกลางคืนก็ไม่กิน ซดอย่างนี้นี่นะ มีน้ำอะไรก็ล่อเข้าไปเรื่อยๆ ยิ่งซดกลูโค้สด้วยแล้ว เป็นปีๆก็อยู่ได้
อย่างน้อยก็เป็นเรื่องของส่วนรวม
เราก็ทำตาม เปลี่ยนไป ไม่เรียกว่าเป็นพระเป็นสงฆ์เป็นภิกษุ อนุโลมลงมาจนต่างคนก็ตกลงพอใจกัน ทั้งฝ่ายเรากับทางเลขารัฐมนตรีกระทรวงศึกษา ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลกรมการศาสนา ก็คิดว่ามันจะเรียบร้อย เราก็ทำตามในแง่นั้น ในแง่ของกฎหมาย ที่จริงตกลงกันว่าจะเปลี่ยนรูปแบบในวันที่ ๑๑ มิ.ย. แต่เราก็เห็นว่าทางโน้นจะทำงานไม่สอดคล้องกัน ทางกรมการศาสนาก็ผ่าออกมาเอาคำสั่งอะไรต่ออะไร มาให้เราสึกซ้อนอีก เราก็เลยเปลี่ยนเสียตั้งแต่วันที่ ๑๐ มิ.ย. แต่สุดท้ายเขาก็ยังไม่พอใจ มันเป็นเรื่องเป็นราวเหมือนนิยาย เป็นเหตุการณ์ เป็นประสบการณ์ที่ใครได้รู้ ได้อยู่ในเหตุการณ์ จะได้เล่าเป็นประวัติศาสตร์ ว่าทำไมต้องเป็นอย่างนี้ นี่ในอนาคตก็ยังไม่รู้ว่าจะต้องเปลี่ยนอีกกี่ชุด ขณะนี้อาตมาคิดว่ามันคงต้องเปลี่ยนไป แม้ว่าเราจะชนะคดี ก็คงไม่เข้ารูปรอยเดิมหรอก จึงให้รำลึกว่า กาละครั้งหนึ่งเรานี่ โอ้โฮ ! เปลี่ยนแปลงกันมานี่ทรมานทรกรรม ผิดใจของผู้ยึดผู้ถือนี่ ถึงขั้นจะต้องมาถอดจีวร จะต้องมาใส่เสื้อ เรื่องจิตวิญญาณนี่มันมากมายใช่ไหม
มันเป็นเรื่องอธิบายได้ ถ้าเผื่อต่อไปในอนาคตอีกยาวนานไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีผลต่อมนุษยชาติ ก็จะได้เห็นว่า ประวัติของพวกเรานี่ โอ้โฮ ! ต้องต่อสู้กันมาในสงคราม ธรรมาธรรมะสงคราม มันจะได้เป็นที่ระลึก แม้ว่าใครไปยึดไปคิด ปวดใจ เจ็บใจ ก็อย่าไปปวดไปเจ็บ มันต้องเป็นอย่างนี้แหละ เราก็อ่อนน้อมถ่อมตนถึงจำยอม แต่ก็มีการยืนหยัดอยู่ส่วนหนึ่ง มีการยอมอยู่ส่วนหนึ่ง ขนาดไหนๆก็เป็นตัวอย่างที่จะใช้คำนวนได้
ก็ควรขยันใช่ไหม ก็ทำไมไม่ขวนขวาย ขวนขวายมันเป็นบุญทำสิ่งนี้ไป เราแน่ใจว่ามันเป็นกุศลธรรม เป็นการกระทำที่มีคุณค่ามีประโยชน์ เราก็ไม่ถึงขนาดป่วยทำไม่ได้ เอ้า! เมื่อย เมื่อยเขาก็ให้พักอยู่แล้ว เราก็ไม่ได้ทรมานทรกรรม เป็นอัตตกิลมถานุโยค เราก็ไม่ต้องไปทำถึงขนาดนั้นอยู่แล้ว ทั้งๆที่มันก็มีเวลาการทำได้ โอกาสก็มีทำได้ ความสามารถฝีมืออะไรก็มี แต่เราไม่ทำเอง ปล่อยเวลาไปเอง เห็นความจริงเหล่านี้แหละให้ชัดว่า ทำไมล่ะ ทำไมเราไม่ทำ บอกตัวเองด้วยสำนึก ตระหนักรู้ความจริงว่า เกิดเป็นคนก็ต้องเจริญ ยังกุศลให้ถึงพร้อมไปเรื่อยๆ ทำไมจะปล่อยเวลาให้ล่วงไปๆ โดยเปล่าประโยชน์ เป็นโมฆะ ในเมื่อยิ่งทำก็ยิ่งเจริญ ยิ่งทำก็ยิ่งชำนาญ ก็ยิ่งดียิ่งเป็นบุญเป็นกุศล เป็นธรรมทายาโท เป็นกัมมัสโกมหิ เป็นมรดกของเรา เป็นทรัพย์ เป็นกุศล เป็นวิบากที่ดีของเราไป ส่วนที่ท้อนี่คืองานบางงานเราก็ไม่สามารถทำให้มันลุล่วง ด้วยตัวเราเองคนเดียว ต้องอาศัยคนอื่นด้วย-พระพุทธเจ้าสอนเราให้อัตตาหิ อัตโนนาโถ
แต่เราเองเราไม่เข้าใจ ยังมีกิเลส ถึงต้องพิจารณาให้เห็นเหตุเห็นผลจริงๆ แล้วก็พิจารณาให้ทะลุ อย่ามัวไปโง่ไปสับสน แรงเพียรนี่เราต้องเร่งของเราเอง แรงวิริยะนี่ เมื่อเรารู้อยู่ว่าเราเองก็ยังขี้เกียจ เราก็ต้องขยันขึ้นมาทดแทนอย่าอยู่เฉยๆซิ ขวนขวายเข้าไปมันจึงจะเจริญ จึงจะเดินไปได้ เราจะต้องบังคับตัวเอง
มันก็จะฉวยโอกาสตรงอยู่เฉยๆ ว่างๆดีกว่า มันเบาดี มันง่ายดี ซึ่งใครๆก็เข้าใจ แต่จะปล่อยให้มันผ่านไปทำไม เรายังมีกำลัง มีแรงงาน เราก็ควรต้องขยันหมั่นเพียรดีกว่า คิดให้ดีๆ ก็จะเข้าใจ แต่เสร็จแล้วกิเลสมันกลบปั๊บ มันก็จะเผลอ ไปหาไอ้ตรงที่ไม่ถูกต้อง ไม่เจริญอย่างนั้นจนได้ กิเลสมันจะผลักไปหาความไม่เจริญเพราะฉะนั้น เราอย่าเผลอสติ อย่าปล่อยให้กิเลสมันมาเล่นงาน มาแอบแฝง ทำให้เราเสียท่า เราต้องเห็นอย่างที่ว่านี่ อย่าชินกับการที่เราได้มุมแล้ว มาชมสวนอย่างที่เคยอธิบายตั้งหลายแง่หลายเชิงแล้วว่า มันทำให้เราประมาท เราพอมีพอกินพอใช้แล้ว แล้วมันก็มีเหตุผลหลายๆอย่าง ว่า เอ๊ะ! ถ้าทำไปจะกลายเป็นด้านผัสสะหรือเปล่า เป็นการไม่มักน้อยหรือเปล่า ก็เท่านี้ก็พอแล้วนี่ สันโดษแล้วนี่เหตุผลนี้มันจะย้อนกลับมาตี ย้อนเชิง แต่ที่แท้จริงมันไม่ถูก พระพุทธเจ้าท่านยังไม่สันโดษในกุศลเลย ขยันไปมันเสียหายอะไรเล่า เราสร้างสรรน่ะ ไม่ได้ตกต่ำ ถ้าเราขยันทำ มันไม่เกิน มันมีขีดตัดอยู่ตรงที่อย่าทรมาน อย่าโอเว่อร์โหลดเกินไปเท่านั้นเอง ก็ในเมื่อไม่มีตรงไหนเสื่อม ไม่มีตรงไหนทรุดโทรม มีแต่เจริญขึ้น แล้วทำไมเราไม่ทำความเจริญขึ้นอยู่อย่างนั้นล่ะ ใช่ไหม มันจำนนเหตุผลนะ เป็นแต่ว่า เราเองขี้เกียจเท่านั้นเอง คำตอบมันไม่มีอื่นเลย มันมีตัวขี้เกียจ ตัวอยากอยู่ว่างๆ ปล่อยเวลาไปเปล่าๆ โมฆะ สูญเปล่า ไม่เป็นประโยชน์คุณค่า ก็เท่านั้นเอง
ก็บังคับโดยตรง หรือไม่ก็ต้องใช้วิธีคัดออก คัดเลือก อยู่ยังไงมันไม่ได้มาตรฐาน มันแย่ มันฉุดกันศาสนาของพระพุทธเจ้าเป็นศาสนาอิสระเสรีภาพ ให้เกียรติ ให้มีสำนึก ให้เป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องไปเป็นทาส เป็นเจ้าเป็นนายของตัวเอง สำนึกเอง บังคับตัวเอง พยายามแนะกัน บอกกันให้รู้ความจริงชัดๆ เมื่อรู้แล้วคุณก็ไปทำเอง มันก็จะเกิดหิริ เกิดโอตตัปปะ จิตที่สูงขึ้นก็เห็นว่าละอายนะเรา ไม่ทำความเจริญ เราไปทำความไม่ดีนี่ เราจะละอายของเราเอง ก็พยายามขึ้น มันก็จะมีสภาวะก้าวหน้าที่ดีกว่า
สายที่ไม่ค่อยศรัทธานี่สิ พวกปัญญาที่ไม่ค่อยศรัทธานี่แหละหัวดื้อ พวกปัญญานี่นักเลี่ยง แล้วแรงที่จะศรัทธา ที่จะผลักดันก็ไม่ค่อยแรง เจโตไม่ค่อยแรง เมื่อศรัทธาไม่แรงก็ไม่ค่อยทำ แถมยังต้องมีตัวหาเหตุหาผลให้ตัวเองเสียด้วย เพราะอย่างนั้นพวกปัญญาถึงช้ากว่าเจโต แต่อาตมาชอบเอาชนะด้วยปัญญา ให้จำนน หมดทางเถียง ถ้าเถียงได้เขาจะเลี่ยงอยู่ ถ้าแย้งได้เขาจะแย้งอยู่ แต่ถ้าจำนนเขาจะละอาย เมื่อละอายก็จำเป็นต้องกระทำ เพราะมีปัญญารู้แล้วว่า เรานี่แหละไม่ดีเอง เรานี่แหละไม่ทำเอง จะมาโทษคนบังคับไม่ได้ เพราะไม่มีใครบังคับแล้ว ถ้าเผื่อว่าเขาศรัทธา เห็นเหตุผลจริงๆเลยนะ แต่ตัวกิเลสมันดันอยู่ จิตมันก็ยังไม่มีกำลัง คล้ายๆกับเครื่องยนต์ที่มันมีขี้สนิม กิเลสมันเป็นขี้สนิม คุณก็ต้องขัดขี้สนิมออก แล้วมันก็จะเกิดกำลังลื่น คล่อง คุณต้องทำของคุณ ซึ่งก็เท่ากับสร้างเจโตให้แก่ตนเองเพิ่มขึ้น
จริงๆ แล้ว ปล่อยเกินไปด้วยซ้ำ
ค่ะ , เพราะเป็นสายปัญญา (เฉโก) เสียส่วนใหญ่ พ่อท่านก็เลยต้องเหนื่อยอธิบายซ้ำซากอยู่อย่างนี้ วันคือก็ล่วงไปทุกขณะ สิ่งที่ควรกระทำยังไม่ได้กระทำ สิ่งที่ควรทำให้ลุล่วงก็ยังไม่ได้ทำให้ลุล่วง จึงเท่ากับย่ำเท้าอยู่กับที่ไม่ไปไหน ...."ยังอยากจะอยู่อย่างนี้" เอ้อ...เปลี่ยนซะทีดีไหม ตอนนี้เขากำลังฮิตเพลงใหม่ที่ว่า "ต้องดีกว่าเก่า" น่ะนะ |
||||
|
||||
อันดับ ๑๔๒ สารอโศก มิถุนายน ๒๕๓๓ |
||||