สิบห้านาที กับพ่อท่าน โดย ทีม สมอ. ตอน...
.ประนีประนอม
หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 160 เดือนมีนาคม 2536
ฉบับ "ประนีประนอม"

"ประนีประนอม" ตามพจนานุกรมไทย แปลความได้ว่า ผ่อนหนักผ่อนเบาให้แก่กัน ปรองดองกัน อะลุ้มอล่วยกัน ซึ่งความหมายเหล่านี้ ให้ความรู้สึกที่อ่อนโยน อบอุ่น เป็นความสัมพันธ์ที่ดีงาม ของมนุษย์ พึงมีให้ ต่อกัน

แต่ที่เห็น และ เป็นอยู่ มนุษย์ในสังคมกลับอยู่กันอย่างแข็งกร้าว ร้าวลึกเป็นศัตรู ต่อกันอะไร คือ สาเหตุ? บทสัมภาษณ์วันนี้จะนำท่านผู้อ่านพบความกระจ่างชัด จากพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ เพื่อฉีกหน้าผีกิเลสตัวร้ายที่สุดตัวนี้ให้เห็นหน้ากันชัดๆ ณ บัดนี้

: ปลุกเสกคราวนี้พ่อท่านเน้น เรื่องประนีประนอม อยากทราบว่า ทำไมพ่อท่านเน้นเรื่องนี้คะ

: ต้องเน้นเรื่องนี้ เพราะว่าการจะแก้อัตตามานะ ของคน ก็ คือ แก้การถือตัว แก้การยึดตามความเห็น ของตัว อย่างงมงาย หรือ ดึงดัน การยึดถือเอา แต่ตัวเองเป็นหลัก การยึดตามใจตัวเองเป็นหลัก "เหมือนอย่างข้าคิด เหมือนอย่างข้าเป็น เหมือนอย่างที่ข้าต้องการ" อะไรที่มาขัดก็ไม่ยอมอนุโลม เมื่อไม่ยอม ก็ไม่เกิดการประสานกัน ซึ่งคนเรามีความคิด ความเห็นต่างกันได้

ถ้าต่างคนต่างยึดถือความเห็น ของตัว ของตน ชนิดไม่ลดราวาศอก ไม่ถ้อยทีถ้อยอาศัย หรือ ถอยมาหากันบ้าง มันก็เป็นเรื่อง ของกิเลสอัตตา-มานะธรรมดาธรรมชาติแท้ๆ

ยิ่งคนเรารู้ตัว หรือ เข้าใจว่า เราเองได้ทำดี เป็นคนดีขึ้นมา เป็นคนเสียสละ สร้างสรร หากไม่เข้าใจชัด ภาวะความซับซ้อน ของกิเลสก็จะเกิดขึ้น มันจะถือดีถือตัว ว่าเราเองไม่ทำเพื่อเอาให้ กับตัวเองแล้วนะ มันจะหลงตัวซ้อนขึ้น และ เกิดกิเลสตัวเก่งในจิตลึกๆ มันก็จะถือตัว ถือดี นี่เป็นเรื่อง ของอุปกิเลส ที่มันทวีซับซ้อน ซึ่งมันไม่รู้ตัวง่ายๆ

พวกเรามาอยู่ในฐานะผู้ที่เสียสละจริง ในเวลาที่ยังสังวรอยู่ สำรวมอยู่ มันก็ประนีประนอมกันได้ แต่พอนานๆ เข้าดีก็มีมากขึ้น ทำดีมากขึ้น เวลานานขึ้น เสียสละมากขึ้น มันก็ชักจะหลงๆ ตัวมากขึ้น

เป็นการหลงอัตตามานะ เป็นกิเลสที่ร้ายกาจมากในโลก เผลอไม่ได้ ถ้าขืนยิ่งเผลอ ถ้าไม่สำนึกสังวรล้างกิเลสซ้อนแล้ว มันจะต้องมีอัตตาตัวตนมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่เราเป็นกันทุกวันนี้ กลายเป็นลักษณะที่เมื่อปะทะกันแล้วก็เป็นทุกข์ ขัดแย้งกันแล้วก็เป็นทุกข์ พอมันเป็นทุกข์ เราก็วางอะไรนิดอะไรหน่อยเราก็วาง วางแล้ว เราก็เลยเฉื่อย มันก็ว่าง พอมันปะทะกันแล้ว เราจะเข้าไปอีกก็ทุกข์ ก็รวมกันไม่ได้ จิตลึกๆ ของตัวเอง ยังไม่ยอม ยังยึดถือเป็นตัวเรา ของเรา ความเห็น ของเรา "เอ็งก็ทำ ของเอ็งไปคนเดียว เมื่อข้าไม่เห็นด้วย ก็ไม่ไปทำด้วย" แล้วก็เลยวางเลย นี่ก็ คือ ความไม่ประสาน ความไม่ประนีประนอม ความไม่ยอม ความไม่ลดอัตตา มานะ ของตน แล้วพลังสร้างสรรก็ไม่สามารถรวมให้เกิดมากขึ้น อันที่จริงมันซับซ้อนกว่านี้ อธิบายละเอียดมากกว่านี้ก็ได้ อาตมาเข้าใจสภาวะนี้ดี แ ต่อธิบายคร่าวๆ แค่นี้ ก็คงพอเข้าใจได้

พวกเรา จึงต้องรู้อัตตามานะ ตัวตนให้มากขึ้นให้ได้ และ อาตมาก็จะต้องวิเคราะห์วิจัย พยายามแฉตัวอัตตามานะให้มากขึ้น ให้พวกเราเรียนรู้ ปฏิบัติ ประพฤติ พิสูจน์สภาวะปรมัตถ์ สภาวะ ของจริง และ เราจะได้ปฏิบัติตัว ปฏิบัติธรรม ลดละให้จริงขึ้น ถ้ารู้การยอม รู้การลดตัว ลดเอา แต่ตามใจเราเต็มที่ลง เขาบ้างเราบ้าง ก็จะเกิดการประนีประนอมที่พอเหมาะได้

: คำว่า "ประนีประนอม ที่พอเหมาะ" เป็นอย่างไร

: ประนีประนอมที่พอเหมาะ คือ ลดตัวลดตนลงไปให้ได้จริง และ ทำให้ต่างฝ่ายต่างโอนอ่อนเข้าหากัน ให้ได้จุดที่ดีที่สุด วิจัยเอาเนื้อหา ของเหตุผลที่ถูกที่ควรที่สุดเป็นหลัก ไม่ใช่เอา แต่เราเป็นหลัก ถ้าเข้าใจอย่างที่พูดไปเมื่อกี้ พยายามพากเพียร เรียนรู้กิเลส แล้วรู้จักอาการที่มันยึดเอา แต่ตนเอา แต่ตัว ไม่ยอมอ่อนไม่ยอมงอเลย แล้วยอมลดยอมละเสียบ้าง และ ต้องพยายามอ่อนน้อม อ่านอัตตา-มานะให้ออก ลดตัวลดตนให้ได้ มีการยอม มีการลดละกิเลสอัตตามานะ ก็จะเกิดการประสานประนีประนอม และ รวมกันได้

: มีนัยต่าง กับคำว่า"สมานัตตา"อย่างไรคะ

: ไม่ต่างกัน สมานัตตตา คือ การประนีประนอม มีการเสมอสมาน มัน คือ การประนีประนอมกันได้ มันก็สมานกันได้ ถ้าประนีประนอมไม่ได้ มันก็ประสานกันไม่ได้ สมานกันไม่ได้ เป็นเรื่องธรรมดา

: คำว่า "ประนีประนอม" กับคำว่า "อภัย" ต่างกันอย่างไรคะ

: เราจะประนีประนอมได้ ต้องมีอภัยก่อน เราต้องรู้ชัดในความเป็นภัย ความเสียหาย ความไม่เกิดกุศล ไม่เกิดคุณค่าแท้ แล้ว จึงปรับ ไม่ให้เกิดภัย ไม่ยอมให้เกิด การเสียหาย ไม่ให้เกิดการไม่ประสาน ไม่ให้เกิดการไม่สร้างสรรค์ ไม่ให้เกิดการไม่ร่วม ไม่รวม จะต้องให้เกิดการยอม เข้าไปประสาน เข้าไปรวม โดยเฉพาะเข้าไปร่วมทั้งกายกรรม วจีกรรม แล้วยังต้องร่วมด้วยจิต หรือ มโนกรรมด้วย ไม่ไปขัดแย้งในจุดหนึ่ง ไม่ต้านในจุดสุดท้าย จิตโน้มน้อมประสาน เชื่อมโยง เห็นด้วย เห็นดีวิจัยวิจารณ์อย่างที่จะไม่พยายามให้มันเป็นเรื่องแตกแยก ไม่ให้มันเป็นเรื่องที่เสียหาย ใช้วิจารณญาณให้ดี เพราะฉะนั้น อภัย นี้สำคัญมาก ถ้าใจไม่ยอม ใจไม่ยกโทษให้ ใจไม่เลิกถือสา ใจไม่เลิกตั้งข้อรังเกียจ ตั้งข้อ ต่อต้านกัน แข็งกร้าวไม่ลดอภัยกันอย่างที่ว่า การประนีประนอมก็ไม่มีทางเกิด

: ใครจะเป็นผู้ใช้หลักการนี้ได้คะ เมื่อมีคู่กรณี ๒ ฝ่าย อีกฝ่ายถูกทำร้าย ถูกกระทำ ฝ่ายกระทำก็พูดว่า ประนีประนอมกันเถิด เลิกแล้ว ต่อกันเถิด อีกฝ่ายก็เสียเปรียบสิคะ

: มันต้องละตัวตน ต้องยอม อย่าไปเอาตัวเองเป็นหลัก ฉันงอไม่ได้ ฉันได้ แต่แข็งเป๊กอยู่อย่างนี้ ถ้าถามว่าใครต้องยอมก่อน ทั้ง ๒ คนจะต้องงอเข้ามาหากัน จะต้องพยายามพร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่าย โดยจะต้องใช้ปัญญาใช้ความจริง วิเคราะห์วิจัย ให้เข้ามาหาตัวที่สุด ถูกต้องที่สุด ดีที่สุด จริงที่สุด ใช้ปัญญาอย่างไม่เอาตัวเองเป็นหลัก ปักมั่น กูจะไม่เปลี่ยนแปลง กูจะต้องยืนหยัดยืนยัน โดยไม่พิจารณาลดละให้จริง ไม่ลดละความเห็น ไม่ลดละความยึดมั่นในความเข้าใจ ของตน ต้องมาทำความเข้าใจ หาเหตุผล เข้ามาสัมผัสความจริง ตรวจสอบทุกอย่างเพื่อที่จะให้เห็นความจริงให้ได้ว่า เออ...อย่างนี้ดีกว่าจริง ๆ อย่างนี้ถูกต้องกว่า อย่างนี้ดีที่สุด ให้เกิดจิตอย่างนั้นจริง ๆ ถ้าไม่เกิดจิตอย่างนี้ก็จะยัง "อภัย" และ ประนีประนอมกันไม่ได้

: คนที่เป็นฝ่ายกระทำมีสิทธิพูด หรือ คะว่า ให้มาประนีประนอมกัน ในเมื่อเป็นฝ่ายกระทำให้เขาเสียหาย

: ฝ่ายกระทำก็มีสิทธิพูด และ ฝ่ายกระทำก็ต้องพยายามที่จะลดอัตตาตัวตนด้วย ต้องสำนึกก่อน ถ้าตัวเองไม่สำนึกก่อน ตัวเองจะเอา แต่เป็นอย่างข้าอย่างเดียว มันก็จะไม่เกิดการประนีประนอมตั้ง แต่ต้น อย่างไรก็ตามในการประนีประนอม ก็ต้องคำนึงถึงความถูกต้อง และ ความดีงามด้วย

สมมติว่าฝ่ายยืนหยัดยืนยันนั้นไม่ถูกต้อง และ อีกฝ่ายเอา แต่ยอม ๆ ก็แสดงว่าจะต้องไปยอมสิ่งที่ไม่ถูกต้อง มันก็จะเกิดความเสียหายเหมือนกัน

เพราะฉะนั้นขีดขีดหนึ่ง ผู้รู้ที่แท้จริง จะไม่ยอมแล้ว ถ้าขืนอนุโลม ต่อไป จะเกิดความเสียหาย ผู้ที่รู้จริง จะไม่ยอมเกินขีดนั้นไป จะยืนหยัดยืนยันโดยไม่หมายความว่าเป็นการดึงดัน แต่ว่าเป็นการกระทำด้วยปัญญา ด้วยความรอบรู้ เห็นจริงว่า ถ้าขืนยอมเปลี่ยนแปลงไปตามความที่เห็นแล้วว่ามันผิด ถ้ายอมอนุโลมไปอีก มันจะเกิดความเสียหายมากไป เสียหายใหญ่ เราก็ไม่ทำ ก็ไม่โต้แย้งปล่อยให้เป็นต่างฝ่ายต่างทำ ต่างคนต่างพิสูจน์ โดยไม่ต้องยึดว่าเขาผิด เราถูก หรือ เขาถูก เราผิดกันอีก เราก็เชื่อ ของเราเขาก็เชื่อ ของเขา ต้องให้เกียรติกัน

: กรณีเช่นนี้ เรียกว่า ไม่มีการประนีประนอมกันแล้วใช่ไหมคะ

: จะว่าใช่..ก็ใช่ สุดท้ายก็จะไม่มีการประนีประนอมกันในเนื้อหา แต่ก็มีลักษณะ ของการประนีประนอมอีกอย่าง ก็ คือ สิ่งที่เรียกว่า " นานาสังวาส " คือ หยุดไปกดดันกันอีก ไม่มีการ ต่อรอง ไม่มีการเรียกร้อง ไม่มีการฟ้องร้อง ไม่มีการเพ่งโทษกันอีก ไม่มีการถือโทษกันเลย "อภัย"กันเลย ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างแสดงความเห็น ต่างคนต่างยืนยันความจริงออกมา ต่างคนต่างพิสูจน์ วางใจไม่ถือเ คือ งกัน เพราะมันถึงที่สุด คือ ต้องเป็น "นานาสังวาส" แล้ว นี่แหละ คือ หลักการประนีประนอมขั้นสุดยอด หลักการนานาสังวาส ก็ คือ มันมีความต่างกันแล้ว

นานา แปลว่า ต่างกัน

สังวาส แปลว่า อยู่ร่วม หรือ รวมกันอยู่

นานาสังวาส จึงหมายถึง การอยู่ร่วม หรือ รวมกันอยู่อย่างมีความแตกต่างอันพอเหมาะ แล้วต่างคนก็ต่างทำเพื่อพิสูจน์ยืนยันความถูกต้อง สุดท้ายเวลาก็จะเป็นตัวพิสูจน์ว่า อันใดมันดีแน่ อันใดมันถูกแท้ เมื่อถึงเวลาวาระที่การกระทำนั้นๆ แสดงผลให้เห็น

: ถ้าอยู่ต่างสังคม อยู่คนละบริษัท แล้วบอกว่า นานาสังวาสก็เป็นเรื่องธรรมดา อาจจะไม่กระทบกระเทือนกันมากนัก แต่ถ้าอยู่ในหมู่เดียวกัน แล้วบอกว่า นานาสังวาส อันนี้ค่อนข้างจะวางตัวลำบากนะคะ

: นี่แหละ คือ ความสามารถ ของสังคม ว่าเราอยู่ร่วมกันแล้ว เราก็ต้องประสาน หรือ ประนีประนอมกันให้ได้มากที่สุด สิ่งที่สุดวิสัยที่มันยอมให้แก่กัน ต่อไปไม่ได้อีกแล้วเท่านั้น จึงต้องต่างคนต่างพิสูจน์ แล้วก็ต้องเข้าใจจิตมนุษย์ได้ได้นะว่า ในเมื่อต่างคนต่างพิสูจน์ ก็วางกันซิ ให้เข้าใจกันให้ได้ ในความหมายนี้ คุณก็ว่าดี ฉันก็ว่าดี ต่างคนต่างเชื่อตัวเอง ก็ตกลง! คุณก็ทำไป ฉันก็ทำไป แล้วอย่ามาทะเลาะกัน อย่ามาถือสากัน อย่าโกรธกัน ไหน ๆ มันก็ต่างกัน มันไม่เหมือนกันแล้ว ก็ต่างคนต่างทำให้สำเร็จให้เด่นชัด ปล่อยให้มันเป็นผลสำเร็จขึ้นมาก่อน แล้วค่อยเอาผลสำเร็จนั้นมาเปรียบเทียบพิสูจน์ เพื่อยืนยันว่า อะไรมันถูกต้องกว่า อะไรมันดีกว่า

: แต่ กับบางงานที่ต้องร่วมมือกัน จะทำอย่างไร

: การประนีประนอมในส่วนที่เป็นนานาสังวาส ไม่ได้หมายความว่า ต่างคนต่างอยู่กันคนละบริษัท ทำกันคนละอย่างก็จริง แต่ก็มีสิ่งที่ยึดที่ถือที่อาศัยร่วมกันอยู่เป็นแกนเป็นหลัก ไม่ใช่จะเป็นศัตรูกันเลย ต่างกันไปหมดคนละแกนคนละหลักไปเลย แถมทำตนเข่นฆ่าล้มล้างกันเลย ไม่ใช่อย่างนั้น มันมีความร่วม มันมีสังวาส มีการร่วมกันทำในระดับหนึ่ง ฉะนั้น ส่วนที่ต่างกันจะเป็นส่วนย่อย แต่ส่วนใหญ่มันจะรวมกัน จึงเรียกว่าเป็นนานาสังวาส ไม่ใช่เป็นศัตรู ต่อกัน จริง ๆ แล้ว แม้ แต่คนละบริษัท สังฆเภทแท้ ๆ คนละลัทธิแท้ ๆ ถ้าหยุดถือสาต่างคนต่างวางกันจริง ๆ แล้ว มันยังร่วมทำกันในบางสิ่งบางอย่าง หรือ อยู่รวมกันได้เลย

: ในกรณีที่มีข่าวคนแอบอ้างเป็นชาวอโศก แล้วไปเรี่ยไรเงินสร้างศาลาวิหาร คนเหล่านี้เราควรประนีประนอม หรือ ไม่อย่างไร

: จะประนีประนอมอย่างไร ก็ต้องพูดกัน อย่าไปทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะมันผิดรูปแบบ วัฒนธรรม ผิดลักษณะ ของพวกเรา เราถือว่าการกระทำเช่นนั้นไม่ดี เพราะฉะนั้น ถ้าเขาจะทำอย่างนี้ก็อย่าไปอ้างชื่อเรา บอกเขาว่ามันไม่ดีมาอ้างชื่อเราได้อย่างไร ถ้าคุณจะเป็นพวกเรา คุณก็ต้องทำอย่างที่พวกเราทำ พวกเราเป็น เรื่องอย่างนี้เราไม่ทำหรอก ถ้าจะทำ คุณก็ต้องใช้ชื่อ ของคุณเอง การเรี่ยไรอย่างนั้น ไม่ใช่วิธี ของพวกเรา ถ้าไปทำมันก็ผิด มันเป็นการแอบอ้าง เพราะพวกเราไม่มีการเรี่ยไร พฤติกรรมแบบนี้ไม่มี

: การประนีประนอม จะทำให้เกิดวิญญาณสัมพันธ์อันสนิทได้ไหมคะ

: การจะทำให้เกิดวิญญาณสัมพันธ์สนิทได้ จะต้องทำให้เกิดปัญญา และ ก็ต้องมีอภัย ใครทำใจได้อย่างนี้ เรียกว่า ประนีประนอม คนที่ไม่มีปัญญา ไม่มีอภัย จะไม่เกิดการประนีประนอมใด ๆ

: คนทั่วไปอาจจะยังไม่ให้อภัยกันได้จริง แต่ก็พยายามทำท่าทีประนีประนอม เพราะเกรง ต่อโลกธรรม ทั้งที่จิตใจยังไม่ได้ยอมจริง อย่างนี้จะถือว่าเป็นการประนีประนอมไหมคะ

: มันก็ประนีประนอมได้แค่รูปแบบ อาจจะยอมผู้มีอำนาจเหนือกว่า แต่จริง ๆ มันเป็นการเก็บกด และ ยอมไปอย่างนี้เอง เป็นการยอมที่ยังไม่บริสุทธิ์ อาจจะมีปัญญาฉลาด ตกลงกันได้ ประนีประนอมกันส่วนหนึ่ง แล้วก็อยู่กันอย่างเรียบร้อยระดับหนึ่ง แต่ลึก ๆ ก็ยังมีเล่ห์กล เพราะจิตมันยังไม่อภัย [แม้ปัญญาจะเข้าใจความประนีประนอม (ปัญญาวิมุติ) แต่ถ้าจิตยังไม่สามารถเข้าถึงตัวอภัยได้จริง (เจโตวิมุติ) ความประนีประนอมนั้นก็ยังไม่สมบูรณ์]

ความฉลาด กับความมีปัญญานั้นแตกต่างกัน ปัญญา หมายถึง ความซื่อสัตย์ สุจริต ลึกซึ้ง ส่วนความฉลาดมันลึกก็ได้ แต่ไม่สุจริต เรียกว่า " เฉโก " เป็นความฉลาดที่มีทุจริตผสม หรือ อกุศลผสม เป็นความฉลาดที่เห็นแก่ตัวที่เอาตัวรอด แล้วก็ไม่มีสาระเนื้อหาที่ดีงามสูงสุดซึ่งคนในสังคมทุกวันนี้เป็นแบบนี้มาก นี่ คือ ความล้มเหลว ของสังคม ซึ่งคนประเภทนี้อาจมีรูปแบบเป็นคนประนีประนอมได้ด้วยนะ กลบเกลื่อนไปเรื่อย ๆ เสร็จแล้วทุกอย่างก็ไม่เจริญอะไร ไม่มีอะไรชัดเจน จริงจัง ไม่มีอะไรสำเร็จ ปัญหาก็ยังคลุมเครืออยู่แล้วก็ไม่รู้ชัด รู้จริง แก้ไขอะไรไม่ตก

: นั่นน่ะซีคะ ดิฉันกำลังมองว่า ถ้าประนีประนอมมากๆ แล้ว มันจะไปไม่รอด

: นั่นแหละความประนีประนอม ที่ไม่มีความฉลาดที่เป็น "ปัญญา" แท้ ๆ เป็นความฉลาดแบบ"เฉโก" กับไม่มี "อภัย" ที่แท้จะไปไม่รอด ถ้ามีปัญญาที่แท้ ฉลาด หลักแหลม สุจริต ซื่อสัตย์ ไม่ใช่เอาความเห็นแก่ตัวเป็นหลัก ไม่เลี่ยง ที่สุด คือ "หมดตัวตน" จึงจะจริงสมบูรณ์ เมื่อจำนนก็ยอมรับว่า จำนนแล้ว แพ้ คือ แพ้ ชนะ คือ ชนะ แล้วใจก็แข็งแรงพอที่จะอภัย ที่จะหยุด ที่จะไม่ ต่อต้าน ไม่ ต่อสู้ ดึงดันอีก ถ้าจะยืนหยัดในความดี ความถูกต้อง ก็ต่างคนต่างทำ แล้วก็วางใจด้วยอภัย และ ทำให้เป็นผลสำเร็จขึ้นมา แล้วเอามาพิสูจน์กัน สุดท้ายก็จะได้ผลสรุป หรือ ผลจบ ไม่ใช่ทำอะไร ไม่สำเร็จสักอย่างแล้วก็คลุมเครือชั่วกาลนาน อย่างนี้ เรียกว่า ไม่มีความสำเร็จอะไรเลย.

ค่ะ, ก็คิดว่า ได้รายละเอียด ของคำว่า "ประนีประนอม" และ หลักการที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมสมบูรณ์แล้ว ผู้ที่คิดว่าตัวเองเป็นนักประนีประนอม ก็คงจะตรวจสอบตัวเองได้ว่า เราเป็นเช่นนั้นจริง หรือ เปล่า...ถูกต้องตามธรรมแล้ว หรือ ยัง

ส่วนผู้ที่ไม่ได้มีคำว่า "ประนีประนอม" อยู่ในพจนานุกรม ของตนเลย ก็ลองเปลี่ยนทัศนะ และ การปฏิบัติตนเสียใหม่ บางทีเราอาจได้พบความสุขในมิติใหม่ที่ลึกซึ้งกว่าเก่าก็เป็นไปได้นะคะ.

ทีมข่าว สมอ.

end of column
   

๑๕ นาที กับพ่อท่าน ตอน ประนีประนอม (อันดับ ๑๖๐ สารอโศก มีนาคม ๒๕๓๖)