สิบห้านาที กับพ่อท่าน โดย ทีม สมอ. ตอน...
หนักแน่นให้นุ่มเนียน
หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 162 เดือนมิถุนายน 2536
ฉบับ "หนักแน่นให้นุ่มเนียน"

ธรรมชาติ ของทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ ล้วนแล้ว แต่มีความเป็นคู่ เพื่อสร้างความสมดุลให้แก่โลก ซึ่งเมื่อเราย่อโลกอันกว้างใหญ่ไพศาล ให้เข้ามาอยู่ในกาย ยาววา หนาคืบ กว้างศอก พร้อมสัญญา และ ใจนี้แล้ว ก็แน่นอนว่า ความสมดุลนี้ยังคงต้องมีอยู่ เป็นความสำคัญยิ่ง การผสมผสานระหว่างความร้อน กับความเย็น ให้แปรเป็นความอบอุ่น ความแข็งกระด้าง กับความอ่อนแอให้แปรเป็นความแข็งแรงที่อ่อนโยน เช่น เดียว กับ "หนักแน่นให้นุ่มเนียน" ก็เป็นสภาวธรรมแห่งความสมบูรณ์ลงตัว ที่พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ เน้นย้ำสอนให้พวกเราได้เข้าถึง

: ฉบับนี้สารอโศกชื่อ หนักแน่นให้นุ่มเนียน อยากให้พ่อท่านอธิบายสภาวธรรมในเรื่องนี้ค่ะ

: หนักแน่นก็บอกความหมาย ของมันชัดอยู่แล้ว หนักแน่น คือต้องทำตัวเองให้มีความหนักแน่น โดยเฉพาะในด้านนามธรรม ควรจะเป็นคนที่มีจิตใจหนักแน่นแม่นยำ หมายความว่า เราจะต้องทำความแน่ชัดในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้แม่นยำชัดเจน เมื่อแม่นยำชัดเจนแล้ว ก็มั่นใจลงไปในสิ่งนั้นให้หนักแน่น

ความหนักแน่นดูหยาบๆ มันจะเหมือนคนแข็งคนกระด้าง คนดื้อรั้นดันทุรัง เพราะฉะนั้นลักษณะภายนอก มันจะเหมือนค้านแย้ง กับความนุ่มเนียน ความสุภาพ อ่อนโยน

แต่ ความหนักแน่นจะเป็นแกนสำคัญ ที่ต้องให้เกิดมีขึ้นก่อน แล้วค่อยให้มีความนุ่มเนียนประกอบ ดังนั้นเราจะต้องระลึกเสมอ ถึงความหนักแน่น จริงจัง เราจะหนักแน่นถึงขั้นที่เราจะปักมั่น ซึ่งถ้าดูเผินๆ ก็อาจถูกกล่าวตู่ว่าเป็นคนยึดมั่นถือมั่น เป็นคนดื้อด้าน เป็นคนกระด้างอะไรนี่ก็ตาม แต่แท้จริงแล้ว ลักษณะเหล่านั้นเป็นลักษณะหนักแน่น เป็นลักษณะยืนหยัด เป็นลักษณะมั่นคง เป็นลักษณะที่ไม่รวนเรไม่ปรวนแปร เป็นสิ่งที่แม่นชัด เป็นสิ่งที่จริงจัง เป็นสิ่งที่เราเห็นว่าดีที่สุด ดียอด เป็นสิ่งที่เราเห็นว่า ถูกต้องที่สุดแล้ว เราก็ยืนหยัด ยืนยัน สิ่งนั้นๆ ด้วยความหนักแน่น

เมื่อคนอื่นเห็นตรงข้าม หรือ พยายามที่จะมาแย้งมาค้าน มาโต้เถียง มาทำให้ผู้ที่เขายืนหยัด ผู้ที่เขามั่นคงแล้วนี้ ให้เห็นเปลี่ยนแปลง เมื่อเขาไม่เปลี่ยนตาม ก็หาว่าเขาดื้อด้าน เขากระด้าง ดื้อรั้น ดึงดันอะไรต่างๆ นานาสารพัด ซึ่งความจริงมันคนละลักษณะกัน

ความหนักแน่น หรือ ความคงมั่น ความยืนหยัดพวกนี้ เป็นลักษณะคุณธรรมอย่างหนึ่ง ที่สำคัญเลิศยอด

ส่วนความดื้อด้านดึงดันนั้น มันประกอบด้วยความไม่ถึง ไม่แม่นยำ ไม่รู้ลึกซึ้ง ไม่รู้สุด รู้ยอด ไม่เป็นจริงสมบูรณ์ แล้วไปหลงใหล หลงระเริง ยึดติด ยึดมั่น ดึงดันอยู่ ดื้อด้านอยู่ เป็นความหลงตัว หลงตน หลงสิ่งนั้นๆ มันก็จริงในความหมายนั้น

ความหนักแน่น กับความยึดติด ดื้อรั้น ดูเผินๆ จึงเหมือนกัน แต่โดยแก่นสารสาระแล้วมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน

ฉะนั้นในความหนักแน่น จึงต้องพยายามให้มีความนุ่มเนียนด้วย เพื่อจะได้ให้เห็นต่างจากความดื้อรั้น เรา จึงควรจะรู้จักกิริยา รู้จักอิริยาบถ รู้ความเป็นอยู่ แม้ แต่การแสดงออก ซึ่งน้ำใจอะไรต่างๆ นานา ถึงจะเป็นความมั่นคง หนักแน่นก็จริงอยู่ แต่ควรให้มันได้นุ่มเนียน เป็นลักษณะอ่อนโยน มีลักษณะที่ไม่ดึงดัน แข็ง ให้มันเป็นไปตามที่เขาว่า เขาตู่ ซ้อนลงไปนั้นให้ได้ ซึ่งอธิบายเป็นภาษาคนขึ้นไปก็คงจะยาก เพราะว่า แต่ละกาละ แต่ละเทศะ แต่ละบุคคล ที่เราจะสนทนาด้วย สัมพันธ์ด้วย เราต้องประมาณเอา แล้วทำให้เกิดความพอเหมาะ พอดิบพอดี มีความหนักแน่น แต่ก็ไม่ใช่แข็ง หรือ แรงจัดจ้าน จนกระทั่งคนอื่นเหมือนโดนหวดโดนตี แต่มีลักษณะที่นุ่มเนียน ประกอบด้วยกิริยา วาจา แม้ แต่ใจ ที่เราพยายามปรับปรุงประสานกันไปด้วย จึงจะชื่อว่าเป็นความหนักแน่นที่นุ่มเนียน

: การงานที่ค่อนข้างหนัก และ มากมาย ของพวกเราชาวอโศก พ่อท่านคิดว่ามีส่วนทำให้พวกเราส่วนใหญ่ขาดความนุ่มเนียนไป หรือ ไม่คะ

: ถ้าเผื่อว่างานหนักแล้ว พวกเราไม่มีเรี่ยวแรงพละอินทรีย์พอ ก็จะมุ่ง แต่งาน โดยขาดการสังวร ไม่ระวังควบคุมกาย วาจา ใจ มันก็อาจจะทำอะไรด้วยความรีบร้อน หรือ มุ่งมุด้วยเรี่ยวด้วยแรง สมาธิก็จะไปรวมอยู่ แต่ กับงาน จนไม่มีการฝึกสังวร รู้กาย รู้วาจา รู้ใจ ของตนว่า มีกิริยาอย่างไร มันจะแข็งกระด้าง จะรุนแรง จะเร็ว จะร้อนรน และ ไม่นุ่มเนียน ไม่เรียบร้อย ไม่สุขุม ไม่สุภาพ ก็เป็นได้เหมือนกัน

เพราะฉะนั้น เรา จึงต้องฝึก ต้องสังวร ต้องประมาณงานด้วย ให้พอแรงพอเหมาะ ต้องสำนึก ต้องมีสติสัมปชัญญะ ที่สำคัญต้องเข้าใจด้วยปัญญาว่า จะฝึกอย่างไรในการทำงานที่ต้องรู้ตัวพร้อมไปหมด ทั้งการนึกคิด-วาจา-การกระทำ-การเป็นอยู่ กับงาน กับอาชีพ ต้องรู้ทันต่อสัมผัส ต่ออิริยาบถ ของกาย-วาจา-ใจ ต้องค่อยๆ ปรับมันให้ได้ทีละนิดก็เอา ทีละหน่อยก็ทำ ถ้ายิ่งได้ทีละมากๆ ทีเดียว ก็ยิ่งดีใหญ่ แต่จะต้องทำจริงๆ พยายามทำจริงๆ ฝึกจริงๆ จึงจะเป็นได้ อย่าไปตู่ไปโทษว่า เพราะงานมากอย่างเดียว แล้วเราไม่สังวรระวัง ไม่ฝึกฝน เราก็จะไม่ดีขึ้นได้

การฝึก กับงาน ฝึกสมาธิที่ได้ปรับความนึกคิดที่มีสัมผัสจริง ให้เป็นสัมมาสังกัปปะ ได้ฝึกปรับคำพูดในขณะที่มีงานจริง มีสัมผัสจริง ให้เป็นสัมมาวาจา ได้ฝึกปรับกิริยากาย วาจา ใจ ในขณะที่มีอิริยาบถ มีสัมผัสจริง ให้เป็นสัมมากัมมันตะ ได้ฝึกปรับตนอยู่ กับงาน อยู่ กับอาชีพที่หนักหนามากมายจริงให้เป็นสัมมาอาชีพ นี่แหละคือการสร้าง "สัมมาสมาธิ" ซึ่งเป็นสมาธิ ของพุทธ เป็นทางปฏิบัติอันวิเศษ ของพุทธ ที่จะเกิดความตั้งมั่น จนมั่นคง หนักแน่น แข็งแรง ซึ่งต่างจากสมาธิที่ได้จากการนั่งสะกดจิต หลับตาฝึกเอาทั่วๆ ไป "สัมมาสมาธิ" จะได้ความมั่นคงหนักแน่นที่วิเศษกว่ามาก

: พ่อท่านคะ ในภาวะที่งานหนัก จะทำให้เราหนักแน่นขึ้น หรือ ไม่คะ

: ยิ่งงานหนักงานวุ่นวายมากมายนั่นแหละ ยิ่งเป็นการพิสูจน์ความหนักแน่นว่าจะมีได้แท้จริงไหม ที่กำลังถาม นั่นมันหนักงานทางด้านวัตถุ แต่หนักแน่นที่เรากำลังหมายถึงนี่มันหมายถึง จิตใจ หรือ จิตวิญญาณที่หนักแน่น วัตถุก็เป็นเรื่อง ของวัตถุ ที่เราพูดถึง�ความหนักแน่น นุ่มเนียน นั่นเราหมายเอาทางด้านจิตวิญญาณ หรือ จิตใจ เพราะจิตเป็นประธาน ของสิ่งทั้งปวง เมื่อจิตมันเป็นไปได้ ก็จะมีลักษณะหนักแน่น นุ่มเนียน ปรากฏให้เห็น เป็นรูปธรรมตามมาด้วย

แต่บางคนก็ไม่รู้ หรือ ก จึงแบ่งไม่ออก ปฏิบัติไม่เป็น แต่นั่นแหละ มันก็เป็นบ้างในบางคน ถ้างานหนักเกินไป หรือ วุ่นมากไปจนไม่อาจตั้งสติกำหนดใจเพื่อรู้กายรู้วาจารู้ใจตนเองได้ทัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะกำหนดรู้กาย-วาจา-ใจ ในขณะงานหนักไม่ได้ งานหนักขนาดไหน ก็กำหนดใจให้รู้ตามอิริยาบถ กาย วาจา ใจ ของตนได้ ลองฝึกดูสิ มันอยู่ที่ฝึก ต้องเข้าใจให้ถูกต้อง แล้วฝึกจริงๆ แรกๆ อาจจะไม่ค่อยต่อเนื่อง ตั้งสติสังวรจริงๆ แล้วกำหนดรู้กาย รู้วาจา รู้ใจ ในขณะทำงานหนักๆ หรือ ทำงานทุกงานดูสิ แล้วจะรู้ว่าปฏิบัติธรรมคือปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือการปฏิบัติธรรม กับงานหนักขนาดไหนก็ได้ "สัมมาสมาธิ" นี้คือ ความหนักแน่นที่อยู่ กับงานหนักงานวุ่นโดยเราไม่วุ่นใจเลย ไม่หนักใจเลย เมื่อเข้าใจรู้แล้วอย่างที่อธิบายให้ฟังนี้ พยายามกระทำ พยายามฝึก กับงานทุกงาน ทั้งงานหนักงานเบา ให้มันได้สภาพหนักแน่นแม่นยำ

ดังนั้นคนที่มีญาณปัญญา มีปฏิภาณรับกันได้ เขาก็จะรู้ คนที่ไม่รู้ ถึงอย่างไรก็ไม่รู้ ยิ่งเขาเพ่งโทส ในเมื่อความหนักแน่น ต้องมีลักษณะที่มั่นคงสถิตเสถียรไม่คลอนแคลนที่ใจ คนละเรื่อง กับหนักงาน และ ไม่ใช่หนักใจ จะเบาใจด้วยซ้ำ มันจะปรากฏออกมาให้เห็นได้ ในขณะที่ทำงานหนักงานวุ่นอยู่ทีเดียว ว่ามันคนละเรื่องกันเลย... เจ้า "งานหนัก" กับเจ้า "ความหนักแน่น" นี่ แม้จะมีความนุ่มเนียนแฝงอยู่ในความหนักแน่นนั้น แต่คนเพ่งโทสก็อาจจะไม่รู้ถึงความนุ่มเนียนดังกล่าว หนักนิด หนักหน่อย เขาก็เพ่งโทสแล้ว เพราะฉะนั้นมันก็จะเผิน จะมองในแง่นุ่มเนียนไม่ออก เพราะหนักแน่น กับนุ่มเนียนยังเป็นเรื่อง ของกิริยาเหมือนกัน ซึ่งปรับให้ได้สัดส่วนพอเหมาะยาก และ จะอยู่ กับงานหนักได้ ทั้งหนักแน่น ทั้งนุ่มเนียน

แต่เอาเถอะนั้นก็เป็นเรื่อง ของเขา ถ้าเรารู้ว่าคนเขาเพ่งโทสมาก เราจะให้นุ่มเนียนมากเท่านั้น ก็ปรนปรุงออกมาให้พอที่จะสมานกันได้ ประสานกันได้ ถือว่าเราทำแค่นี้แหละ ถ้าเราจะให้มันนุ่ม หรือ อ่อนยอบแยบย่อแย่อะไรเกินไปกว่านั้นแล้ว จะดูเสียสภาพ จะดูไม่ดี ก็ทำให้มันดูแข็งแรงขึ้น โดยที่เราจะต้องมีเจตนารมณ์ เพื่อที่�จะให้มีการขัดเกลา หรือ ยืนหยัด ยืนยันอะไรบ้างเหมือนกัน

: ทำไมชาวอโศก จึงถูกมองว่าเป็นพวกหนักแน่น จริงจังค่ะ

: เพราะมันเป็นจริง ทำไมถูกมอง เพราะว่าเรามีลักษณะหนักแน่น และ มีลักษณะจริงจังจริงๆ ถ้าไม่หนักแน่น ไม่จริงจัง ป่านนี้ละลายแล้ว เขาตีไม่รู้จะตียังไง ถล่มทลาย ก็ไม่เบาเลย เขามีมวลมากด้วย มีทุนรอนแยะด้วย และ ก็ทำต่อเนื่องมานานด้วย เพราะฉะนั้นอโศก จึงต้องยืนหยัด ยืนยันให้หนักแน่น มั่นคงอย่างนี้จริงๆ ถึงจะอยู่ได้ในฐานะ ของคนมอง คนอ่าน เขาก็เห็นคุณลักษณะอันนี้ด้วยจริงๆ เพราะมันเป็นจริง

: พ่อท่านคิดว่าพวกเรายังขาดความนุ่มเนียน หรือ ต้องเสริมให้มีความพอเหมาะพอดีกว่านี้ไหมคะ

: มีด้วย ที่บางคนกระด้าง บางคนแข็ง จนกระทั่งเป็นการยึดมั่นถือมั่น ไม่รู้จักอนุโลม ปฏิโลม ไม่รู้จักยืดหยุ่น ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาอะไรบ้างเลย มันมีบ้างเหมือนกันที่พวกเราบางคนเน้นความหนักมากไป เลยกลายเป็นแรงมากๆ แข็งมากๆ ซึ่งก็ต้องศึกษากันไป

: ที่ผ่านมานี้ ความนุ่มเนียน ของพวกเราใช้ได้ไหมคะ

: ใช้ได้ ดี อยู่ได้พอประมาณไปเรื่อยๆ อาตมาถือว่า เราไม่ได้เสียอะไรนะ ในสภาพที่เกิดขึ้น เราประเมินประมาณทำมาตลอดเวลา ตั้ง แต่อโศกเกิดมานี่ เรามีความหนักแน่น และ นุ่มนวลได้สัดส่วน ได้มัชฌิมา มีความพอเหมาะพอดีมาเรื่อยๆ ส่วนที่คนเขาไม่เข้าใจ คนที่เพ่งโทสนี่ เขาจะไม่เข้าใจได้ง่ายๆ หรือ ก

แต่เราทำอย่างนี้เรารู้ตัว เราได้ประโยชน์จากขนาดนี้ อย่างนี้แหละ เท่าไรๆ เรารู้ อาตมารู้ดีว่า เราได้จากการประมาณอย่างพอเหมาะ เรียกว่ามัตตัญญุตา ที่พอเหมาะมาเรื่อยๆ แต่การจะเข้าใจเรื่องนี้ได้ มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เราทำอยู่เรา�ย่อมรู้ซิ เขาจะท้วงจะตู่ จะว่าอะไรต่ออะไร มันไม่แปลก หรือ ก เราเข้าใจแล้วเราก็รับฟังเขา รับมาเปรียบเทียบจริงๆ เอ...มันเสียหาย มันเลว มันไม่ได้ประโยชน์ตามที่มุ่งหมายจริง หรือ เปล่า

ซึ่งความจริงแล้วเราได้ประโยชน์ตามที่เรามุ่งหมาย แต่เป็นความเข้าใจผิด ของคนบางคน เพราะเขายังไม่สามารถ ที่จะมีปัญญารู้ลึก หรือ รู้ละเอียดลออในการประมาณ ของเราได้ ไม่รู้ว่าเรามีนโยบายอย่างนี้ และ ต้องทำอย่างนี้ๆ เพื่อให้ได้ผลอย่างนั้นๆ เขายังไม่สามารถเข้าใจได้ทั้งหมด เขา จึงกล่าวท้วงเราอยู่ และ เราก็ยังไม่ได้เปิดเผย อธิบาย หรือ ประกาศ ว่าที่เราทำอย่างนี้ๆ เพราะมีเป้าหมายอย่างนี้ หรือ เพื่อจะให้ได้ผลอย่างนี้ๆ นะ เนื่องจากเรื่องบางอย่างก็เป็นจิตวิทยาเหมือนกัน ที่เราจำเป็นจะต้องไม่เปิดเผยก่อน เพราะถ้าเปิดเผยไปแล้ว ก็ไม่อาจได้ประโยชน์ หรือ ไม่ได้ผลในการทำงานทางศาสนาเท่าที่ควร

: ความนุ่มเนียนจะให้ประโยชน์อะไร กับเราบ้างคะ

: ได้ประสาน เพราะความหนักแน่น ของพวกเรา มีอยู่แล้วขนาดหนึ่ง ซึ่งเราได้อาศัยแม้ แต่ในหมู่เราเองบางกาละ บางขณะ มันก็ต้องมีความนุ่มเนียนบ้างเหมือนกัน และ ยิ่งข้างนอก เรายิ่งต้องประมาณให้มีความนุ่มเนียนอีกขนาดหนึ่ง ซึ่งที่จริงเราก็มีความยืดหยุ่น มีกิริยาท่าทีที่เราสัมผัส สัมพันธ์ กับคนข้างนอกเขา มันก็มีอยู่จริงๆ กับพวกเราเองซะอีก ไม่เป็นอย่างนี้เสียด้วยซ้ำ

สังเกตดูซิ เวลาเราต้อนรับแขก เรามีกิริยา กาย วาจา อย่างไรบ้าง ต่างจากที่ปฏิบัติต่อคน ของเรากันเอง ธรรมดาสามัญ ของคนในโลกก็มีปฏิภาณรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว เวลาคนอยู่ด้วยกันในบ้าน ก็พูดจากันอย่างแฟรงค์ๆ อย่างเข้าใจ อย่างจริงใจ มีอะไรก็พูด พูดแรง พูดแข็ง พูดกระด้าง ความหนักแน่นมีมาก เรื่องนุ่มเนียนมีน้อย ก็ไม่มีปัญหาอะไร ไม่ถือสา กาย วาจา อะไรมาก หรือ แม้ แต่ใจก็ตาม

แต่ข้างนอกเวลาเรารับแขก เราไม่เหมือนกัน หรือ ก มันต้องนุ่มต้องเนียนให้มากขึ้นไปบ้าง เท่านั้น เท่านี้ คนข้างนอกเขาก็เข้าใจ ว่าอาการ ของความนุ่มนวลมากๆ ยิ่งดี �เขาก็จะแสดงความนุ่มนวลมากๆ ไปเลย มันก็เป็นอย่างนั้น ของโลก แต่ ของเรา ไม่มีนโยบายซ้อนอย่างนั้น เพราะถ้านุ่มเนียนมากเกินไป คนกรูเกรียว หลงใหล ผูกยึดอะไรมาก ซึ่งจะมี แต่ปริมาณโดยขาดคุณภาพ บางทีเราก็ต้องประมาณความนุ่มเนียนให้พอเหมาะเพื่อใช้เป็นเครื่องกั้น เครื่องกรองทดสอบอะไรๆ ด้วยเหมือนกัน ผู้คุมนโยบายอยู่นี้จะรู้ว่าประมาณพอเหมาะแล้ว หรือ ยัง ถ้าเห็นว่าประมาณพอเหมาะแล้ว ก็ให้ทำไปได้เลย แต่ถ้าเห็นว่ายังไม่พอเหมาะ ก็จะติงเตือน ผู้คุมนโยบาย หรือ ผู้ดูแลส่วนใหญ่ จะคอยบอกว่า มากไปแล้วนะ หรือ น้อยไปแล้วนะ

: พ่อท่านคะ ความนุ่มเนียนนี่มันจะเกิดเอง หรือ ไม่คะ ถ้าเรามีความหนักแน่นที่ถูกต้อง ความนุ่มเนียนจะเกิดขึ้น ของมันเองอย่างลงตัว หรือ ว่าเราต้องฝึกตัวนี้ขึ้นมาเอง

: ต้องฝึกการประมาณ คนเราต้องรู้องค์ประกอบ ของการเป็นสัตบุรุษ มันต้องรู้จัก ธัมมัญญุตา ต้องรู้ขั้นตอน ของอะไรทั้งหมดเลย ธัมมัญญุตา หมายความว่า ต้องรู้ทั้งเหตุ และ ผลทุกอย่าง อัตถัญญุตา คือผล คือเป้ามหาย หรือ เนื้อหาแท้ แก่นแท้ เราต้องรู้ธัมมัญญุตา รู้อัตถัญญุตา เราไปรู้แค่ที่เขาแปลว่า ธัมมัญญุตา คือเหตุ อัตถัญญุตา คือผล รู้เหตุ รู้ผล รู้ประมาณ ซึ่งมันยังไม่สมบูรณ์ อาตมาเห็นว่า แปล เช่น นี้ยังไม่สมบูรณ์ ธัมมัญญุตา รู้ทั้งเหตุ และ ผล รู้ความสลับซับซ้อน ชั้นเชิง ขั้นตอน องค์ประกอบถ้วนรอบ ธัมมะแปลว่า สิ่งทั้งหมด อัตถัญญุตา แปลว่า สาระ แปลว่า เนื้อแท้ที่เป็นเป้าประโยชน์ เพราะฉะนั้น เราต้องรู้เป้าหมายประโยชน์เนื้อแท้ รู้องค์ประกอบขั้นตอน ตื้นลึก หนาบาง กว้างไกลซับซ้อนอะไรก็ต้องรู้ให้ดี ผู้รู้จะต้องรู้สิ่งเหล่านี้ และ ประเมินประมาณให้ดี และ เราก็ต้องรู้ตัวเราเองด้วย อัตตัญญุตา รู้จักตน รู้ว่า เขาศรัทธาเราเท่าไร ถ้าเราแสดงเท่านี้ และ ถ้าเราจะกระด้างเท่านี้ หรือ เราอ่อนโยนเท่านี้ ผลจะเป็นอย่างไร หนักเท่านี้ นุ่มเนียนเท่านี้ น้ำหนักพอดี หรือ ไม่ รู้ตนว่าเราทำขนาดนี้ พูดขนาดนี้ พอเหมาะ กับคนกันเอง คนที่ไม่กันเอง คนที่ติดยึด ถือสา คนที่ไม่ถือสา คนที่เพ่งโทส คนที่ไม่เพ่งโทส หรือ ไม่ ซึ่งเราจะต้องรู้ตัวเราว่า ควรจะปรับขนาดไหน จะเป็นมัตตัญญุตา คือประมาณขนาดไหน ถึงจะพอเหมาะพอดี และ ยังต้องมีกาลัญญุตา มีสภาพที่รู้จักเวลา กาละโอกาส ซึ่งมันต้องประกอบไปด้วยกันทั้งหมด เรื่องนี้เป็นเรื่อง ของสัตบุรุษจริงๆ จากนั้นก็ต้องดูหมู่กลุ่ม �สภาพ ของบุคคล สภาพ ของสังคมส่วนรวม หรือ ปริสัญญุตา คือรู้ประมาณในบริษัท หมู่กลุ่ม ชุมชน สังคม วันสุดท้ายก็ต้องรู้จักบุคคล หรือ ผู้ที่เราจะแสดงออก กับเขา อันได้แก่ ปุคคลปโรปรัญญุตา

พวกนี้เป็นเงื่อนไขต่างๆ ที่เราต้องคำนึง คำนวณเอามาทั้งหมด นี่เป็นคำอธิบายเหมือนง่ายๆ แต่ที่จริงมันซับซ้อนกว่านี้อีกมาก ต้องเรียนจริงๆ ฝึกจริงๆ เรียนรู้ให้ละเอียดลออ จึงจะประเมิน ประมาณได้สภาพที่พอเหมาะพอดี สัตบุรุษต้องเป็นอย่างนี้

: การที่พ่อท่านให้เปิดโรงเรียนสอนเด็กขึ้นมา ก็เพื่อให้พวกเราได้ลดความหนักแน่นให้น้อยลงด้วยใช่ไหมคะ

: ไม่น้อย แต่กลับจะให้มีความหนักแน่นเพิ่มยิ่งขึ้น และ หัดปรับความนุ่มเนียนให้ดีขึ้นด้วยซ้ำเสียอีก พวกเราบางคนกำลังจะโอนจะเอนจะหวั่นไหวกันเยอะเหมือนกัน ก็ต้องปรับขึ้นมาให้หนักแน่น แข็งแรงเพิ่มขึ้นอีก การทำงาน กับเด็กจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ดีมากสำหรับการฝึกฝนคนให้ดีขึ้น

: เด็กทำให้เราหนักแน่นได้อย่างไรคะ

: เด็กเป็นโจทย์ให้เรา เด็กแก่เอา แต่ใจมาก มีอัตตามานะถือตัวเองมาก เพราะฉะนั้นถ้าเราจะไปบังคับกดขี่ ข่มเหง หรือ จะใช้อำนาจความเป็นผู้ใหญ่ไปลงโทษเขา เด็กก็จะมีภาวะต้าน เราก็ต้องมีจิตวิทยามากขึ้น เราจะทำอย่างไร ให้เด็กรัก ให้เด็กศรัทธา ให้เด็กเชื่อถือ สามารถบอกกล่าว สั่งสอนแนะนำเขาได้ ก็ต้องศึกษาในการประมาณให้พอเหมาะ เราจะต้องไม่อ่อนแอหวั่นไหว ต่อสภาพ ของเด็กที่ บางทีแกก็ดื้อ แกก็ซน จะยั่วโทสะเรา จะเอา แต่ใจตัว จะเอาอะไรต่างๆ นานา เราจะทนไหวไหม อ่อนแอไหม เราจะล้มคว่ำไหม พวกนี้มันเป็นตัวจริง เป็นโจทย์เป็นแบบฝึกหัดที่เราต้องทำอย่างสำคัญ ทั้งเพิ่มความหนักแน่น และ ฝึกหัดประมาณความนุ่มเนียนให้เก่ง

: นี่ก็เป็นแบบฝึกหัดที่จะทำให้เรามีทั้งความหนักแน่ และ นุ่มเนียนใช่ไหมคะ

: ใช่ ถ้าเราเข้าใจความหมาย ของคำว่า นุ่มเนียน ซึ่งโดยสัญชาตญาณ ทุกคนก็อยากให้มัน มีความนุ่มเนียน อยู่แล้ว แต่ต้องรู้จักคำว่านุ่มเนียน ตามที่อาตมาพูดมาแล้วตั้ง แต่ต้น ไม่ได้หมายความว่า ให้นุ่มนิ่มลงไปตะพึดเฉยๆ แล้วเรียกว่า ความนุ่มเนียนที่พอเหมาะพอดี เพราะอาจกลายเป็นความอ่อนแอ น่าเกลียด อาจจะนิ่มเกินไป นุ่มเกินไป เบาเกินไป จนไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีผล หลายคนอาจเข้าใจว่านี่เป็นความสุภาพ เป็นความนุ่มเนียนดี หวาน แต่บางทีหวานเกินไป ในเหตุการณ์อย่างนั้น องค์ประกอบอย่างนั้น มันไม่ควรนุ่มนิ่มขนาดนั้น มันควรแข็งแรงกว่านี้ เพื่อให้มันได้ทรงสภาพที่ดีไว้ ต้องศึกษาจริงๆ และ ไม่ตายตัวง่ายๆ จะไปยืนยัน ยืนหยัดกิริยาตายตัวอย่างเดียว ใช้ลูกเดียวไปทั่วทุกแห่ง ทุกสถาน ทุกกาลเทศะทุกฐานะไม่ได้

: เหมือน กับกรณีการเลี้ยงเด็ก หรือ การเลี้ยงคนก็ตาม ถ้าเราเลี้ยงเขาอย่างสุภาพอ่อนโยน แต่เด็กที่เลี้ยงไว้กลับลามปาม ไม่รู้ความดี ของเรา ไม่สำนึกบุญคุณ ของเราใช่ไหมคะ

: ใช่ การอ่อนเกินไปจะเป็นอย่างนั้น ถ้าไม่มีความพอเหมาะพอดีจะไม่มีฤทธิ์ ไม่มีศิลปะในการจะสร้างคนให้เจริญขึ้น เด็กจะกลายเป็นเด็กกระด้าง เอา แต่ใจตัว เด็กได้ใจ เด็กสปอยล์ไปได้เหมือนกัน แล้วแก้ไขไม่ได้ ฉะนั้น จึงต้องประสานสัดส่วน ของความหนักแน่น และ นุ่มเนียนให้พอเหมาะ คนทุกวันนี้ตั้งหน้าตั้งตาทำ แต่นุ่มอย่างเดียว ส่วนความหนักแน่น ความมั่นใจไม่มีเลย ความแข็งแรง มั่นคง ความแม่นชัดไม่มีเลย หวั่นไหว แปรปรวนได้ง่ายโดยไม่ได้เรื่อง ตัวอย่าง ของผู้นำที่หนักแน่นแม่นชัด จึงไม่ค่อยมีในทุกวันนี้ มี แต่โลเล และ ลดเลี้ยวเอาตัวรอดเก่ง

: ถ้า เช่น นี้ การที่ชาวอโศกมีความหนักแน่นไว้ก่อนก็เป็นการดีกว่าใช่ไหมคะ แม้เราจะขาดความนุ่มเนียนไปบ้าง แต่เราก็สร้างขึ้นง่ายกว่าคนที่เขามีความนุ่มหวาน แต่ขาดความหนักแน่น

: ใช่ ถ้าเรามีความหนักแน่นในจิตวิญญาณ ของเราแล้ว ก็หัดนุ่มเข้ามาผสมให้ได้สัดส่วนอย่างแนบเนียนให้มีความพอเหมาะที่ดี เช่น เรากินอาหารมังสวิรัติ และ มีความหนักแน่นในเรื่องนี้ ใครจะให้เราเปลี่ยนแปลง จะหาว่าเราดื้อด้านอย่างไร เราก็ไม่เปลี่ยนยังหนักแน่น ของเรา ยืนหยัด ของเรา แต่ถ้าเราจะให้นุ่มเนียนไม่ให้กระ�ด้าง เราก็ต้องมีกิริยาลีลา และ วาทศิลป์ เมื่อเวลาเข้าสังคม คบ กับหมู่กลุ่มที่กินเนื้อสัตว์ก็พยายามประมาณ และ ประสาน กับเขา ไม่ใช่มีมานะถือดีแล้วไปหวดไปฟาดไปทำประชดประชันเขา หรือ ไปแสดงท่าทีกระด้างๆ มันก็น่าเกลียด ซึ่งเราต้องปรับท่าทีในจุดนี้ ให้มีความหนักแน่นที่ประสมประสานให้นุ่มเนียน ไม่ให้คนอื่นรู้สึกว่าถูกข่ม หรือ ถูกขัดแย้ง ถือฉีกหน้า หรือ ถูกทำร้ายทำลาย แม้เราจะถูกข่มบ้าง ก็รู้จักศิลปวิทยาที่จะไม่ให้ถูกข่มจนกลายเป็นต่ำต้อยไร้ค่า

จากบทสัมภาษณ์นี้ คงทำให้พวกเราได้เพิ่มบทฝึกหัดกันขึ้นมาอีก ซึ่งหวังได้ว่า จะทำให้ชาวอโศกยุคใหม่ มีความสมบูรณ์ครบพร้อมยิ่งขึ้น

ทีมข่าว สมอ.

end of column
     

สิบห้านาที กับพ่อท่าน ตอน หนักแน่นให้นุ่มเนียน อันดับ ๑๖๒ สารอโศก มิถุนายน ๒๕๓๖