|
||||
สิบห้านาที กับ พ่อท่าน
โดย ทีม สมอ. ตอน... ฉีกหน้ากาก ฤาษี |
หนังสือพิมพ์สารอโศก
อันดับที่ 167 ฉบับ เดือนพฤศจิกายน 2536 ฉบับ ".." |
|||
|
||||
เมื่อกล่าวถึง ฤาษี ภาพที่ทุกคนรู้จักก็คือ ผู้บำเพ็ญเพียรเคร่งตบะ มักน้อยสันโดษ นุ่งห่มน้อยชิ้น มีผลหมากรากไม้เป็นอาหาร ร่างกายแม้ซูบผอม แต่นัยน์ตา กลับกล้าแข็ง อาศัยนอนตามโคนไม้ ใบหญ้า อยู่เพียงผู้เดียว โดดเดี่ยว ไม่มีการคบหาสมาคม กับ ใครๆ และ ไม่ทำงานทำการอะไร ที่จะเป็นประโยชน์ สร้างสรร ให้แก่สังคม ใช้ชีวิตผ่านไป วันแล้ววันเล่า ในป่าใหญ่ จนกระทั่งตาย จากโลกนี้ไป ถามว่าโลกได้อะไร จาก ฤาษี เหล่านี้? เมื่อหันมองมายังชาวอโศก ผู้มีปฏิปทาการประพฤติปฏิบัติในแนวทางพุทธศาสนาที่ถูกตรง เพื่อบรรลุสู่จุดหมายแห่งการทำประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อม อันก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาลแห่สังคมแก่มวลมนุษยโลก ก็พบว่า "ความเป็น ฤาษี " ได้แพร่กระจาย ระบาด ครอบคลุมอยู่ในแต่ละคนกันมิใช่น้อยเลย ซึ่งมีผลทำให้การปฏิบัติธรรมเนิ่นช้าออกไป หรือ ผิดเพี้ยนเสื่อมเสียเป็นเดียรถีย์เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ ตราบเท่าที่ไม่หาทางขจัด "ความเป็น ฤาษี " ออก จากตน บทสัมภาษณ์วันนี้จึงได้กราบขอให้พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ จัดการฉีกหน้า ฤาษี ออกมาให้พวกเราได้รู้กันอย่างจะๆ แจ้งๆ ณ บัดนี้! : คำว่า ฤาษี ที่พ่อท่านกล่าวถึงมีความหมายอย่างไรคะ : คำว่า "ฤาษี" โดยจริงแล้วคือผู้บำเพ็ญพรต ผู้ปฏิบัติธรรม แต่การบำเพ็ญพรต ปฏิบัติธรรมต้องมีทิฐิ มีทฤษฎีมีแนวทางการศึกษา แล้วก็มีเป้าหมาย หรือ มีจุดสุดยอด ของ ผล แต่ละคน แต่ละคณะ แต่ละเจ้าสำนัก เป็นภาษาเรียกขานกันมาก่อนพระพุทธศาสนาจะเกิด สรุปแล้ว ฤาษี ก็คือ ผู้ที่เจตนา หรือ ตั้งใจมาประพฤติปฏิบัติธรรมมาพัฒนาทางจิตวิญญาณ และ มาล้างกิเลส เพื่อเป็นคนประเสริฐนี่แหละ แต่ ฤาษี ต่างๆ นั้น จะไม่มีจุดสุดยอดเหมือน ของ พระพุทธเจ้าเลย จุดดีพื้นฐานที่ ฤาษี ต่างๆ มีพุทธเราก็มี แต่จุดดีที่พุทธมี ฤาษี มีไม่ได้นั้นก็มีอีก ทีนี้ที่เราเอามาคำว่า "ฤาษี" นี้ใช้ในหมู่อโศก ก็เอามาใช้ในความหมายว่า เป็นนักเป็นปฏิบัติธรรมนี่แหละ แต่เจาะจงไปในทางที่ยังบกพร่องกล่าวคือ ผู้เป็น "ฤาษี" หมายความว่าผู้มีทิฐิมีความเห็น หรือ รู้แล้วแต่ยังมีพฤติกรรมที่ยังไม่ตรง กับ พุทธสมบูรณ์ ตั้งแต่ไม่ตรงอย่างชนิดตรงข้ามกันเลยอย่างหยาบ อย่างสุดขั้วกันเลย จนกระทั่งขนาด ตรงบ้าง ไม่ตรงบ้าง ตลอดจนตรงมาก เหลือเศษนิดเศษน้อยเท่าไรๆ ก็ยังมีความเป็น ฤาษี อยู่เท่านั้นๆ นี่คือความหมาย ของ คำว่า "ฤาษี" ที่เป็นคำสแลงในหมู่พวกเรา ฉะนั้นผู้ที่ยังไม่เป็นสัมมาทิฐิสมบูรณ์สุด หรือ แม้สัมมาทิฐิสมบูรณ์แล้ว แต่ยังมีกรรมกิริยาเป็นมิจฉาอยู่ยังฝึกฝนตนไม่ได้ตามที่รู้ที่เข้าใจ ก็นับว่าเป็น ฤาษี ทุกราย ไม่ว่าหยาบ หรือ และ เอียดปานใด : ในความรู้สึก ของ คนทั่วไป เขานับถือยกย่องว่า ฤาษี เป็นผู้วิเศษสูงส่งแล้วเราเอาเป็นคำสแลงแบบนี้ มันสอดคล้อง กับ สิ่งที่ ฤาษี ในความหมายทั่วๆ ไปเป็นอยู่ หรือ เปล่าคะ : จริงๆ แล้วสองคล้องนะ เพราะพุทธจริงๆ ต้องรู้ว่าอะไรเป็นมิจฉาทิฐิ อะไรที่ยังไม่สมบูรณ์ก็เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข ข้อนี้ที่เขาเห็นว่า ฤาษี วิเศษน่าหลงใหลนั่นแหละ ส่วนมากมันหลงใหลไปในเชิงที่ซับซ้อนเข้าไปเป็นโลกีย์ ไม่ได้หลงใหลในเชิงมาล้างกิเลสโดยตรง เพราะทฤษฎี ของ พุทธเรานี่ต้องล้างกิเลสสะอาดหมดจด ซับซ้อนลึกซึ้ง ถึงขั้นสุด ตั้งแต่ "กามตัณหา" จนสะอาดสิ้น "ภวตัณหา" แม้ที่สุดเป็นพระอรหันต์แล้วก็ต้องรู้จักใช้ "วิภวตัณหา" เพื่อประโยชน์โลก อนุเคราห์สังคมอย่างไม่มี "ตัวตน" จึงจะถึงปรินิพพานได้ เพราะฉะนั้นอะไรที่ยังไม่สมบูรณ์สูงสุด ก็เรียก "ฤาษี" แทนที่จะเรียกว่า "เดียรถีย์" แต่ใช้คำว่า "ฤาษี" ยังดีกว่า "เดียรถีย์" เพราะเดียรถีย์ แปลว่านอกพุทธเลย มันแรง เขารับกันไม่ได้เลย คำว่า "ฤาษี" มันกลางๆ แต่โดยนัยะแล้ว ฤาษี ก็คือเดียรถีย์ในระดับหนึ่ง เพราะความเป็นจริง ของ พุทธศาสนาในทุกวันนี้นั้นมี "ฤาษี" คือผู้ปฏิบัติธรรมอย่างที่ว่านี้เต็มไปหมด เพราะเนื้อหา ของ ศาสนา ยังไม่ใช่พุทธแท้ ยังไม่สัมมาทิฐิสมบูรณ์ แม้แต่ในหมู่ ของ พวกเราก็มีส่วนที่ยังไม่ลงตัว เราก็เรียกส่วนที่ไม่สมบูรณ์นั้นว่าคือความเป็น ฤาษี : ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็เป็น ฤาษี ใช่ไหมคะ : ใช่ แต่สุดท้ายก็บรรลุธรรม เมื่อพระพุทธเจ้ามาโปรด เมื่อยังไม่ได้ฟังธรรม จากพระพุทธเจ้า ก็ยังเป็น ฤาษี อยู่นั่นแหละ แม้มาฟังธรรม จากพระพุทธเจ้าแล้ว มีสัมมาทิฐิบางส่วนแล้ว ก็ทำสัมมาทิฐินั้นไปเรื่อยๆ ส่วนใดที่ยังไม่สัมมาทิฐิ ส่วนใดที่ยังไม่มีผลสมบูรณ์ ก็ยังเป็นส่วน ของ ความเป็น ฤาษี ที่ปนอยู่ในความเป็นพุทธ แม้แต่ในชาวพุทธเอง ก็ยังมี ฤาษี อยู่มหาศาลมากมายเยอะแยะเลย : แล้ว "ฤาษี อโศก" ในความหมาย ของ พ่อท่าน คืออย่างไรคะ : ก็อย่างที่กล่าวแล้วนี่แหละ แต่เจาะลึก บรรยายละเอียดให้เห็นถึงกิเลสตัณหา อุปาทาน ที่เราต้องรู้ให้เป็นสัมมาทิฐิแล้วก็ลดละ อะไรที่ยังไม่รู้ก็ยังเป็น ฤาษี ที่ยังไม่รู้อะไรรู้แล้วแต่ยังทำได้ไม่หมด ก็ยังเป็น ฤาษี ที่ล้างออกไม่หมดจนกว่าจะล้างออกหมด จนเป็นเนื้อพุทธแท้ คำว่า "ฤาษี" อาตมาแบ่งออกเป็นเดียรถีย์แท้ๆ คือนอกพุทธหยาบๆ นั่นอย่างหนึ่ง แล้วขั้นต่อมาไม่ใช่เดียรถีย์แท้ เป็นชาวพุทธนี่แหละก็ไปแตกคำว่า ฤาษี ที่อยู่ในพุทธออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ "ฤาษี ป่า" กับ "ฤาษี กรุง" ฤาษี ป่าก็เป็นเชิงเจโต หรือ สายศรัทธา หนีโลก สงบสงัด หนีไม่หยุด จบดื้อๆ เอาง่ายๆ ไม่เอาถ่าน กับ อะไรเลย เป็นพวกนัตถิกทิฐิเป็นส่วนใหญ่ พวกนี้อะไรก็ไม่มี ไม่เอาอะไรทั้งนั้นจะอยู่ กับ ตัวเอง อยู่ กับ อัตตาตัวเอง ไม่ได้ศึกษาลึกซึ้งถึงกิเลสกามถึงกิเลสอัตตาว่ามีหยาบ-กลาง-ละเอียด ซับซ้อนมากมายอย่างไร เพราะฉะนั้น แม้แต่กามตัณหา ภวตัณหา ก็ไม่ได้ละไม่ได้ล้างจริง เพียงแต่สะกดไว้ มีวิธีกดข่มและหนี หรือ ลืมมันได้เก่งเท่านั้น บางคนจะดูเหมือนว่ากามไม่มี โลกธรรมลาภยศ สรรเสริญก็ไม่มี ภพชาติอะไรก็ไม่มี ไม่เอาอะไรเลย แต่แท้ที่จริงเป็นการสะกดจิต เป็นการกดข่มไว้ทั้งหมด ไม่ได้เรียนรู้รายละเอียด เพราะฉะนั้น ฤาษี ที่เก่งขนาดไหนๆ พระพุทธเจ้าจึงไม่รับรองแม้ในฐานะเป็นพระอริยะแค่โสดาบัน ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลในระดับต้น ของ พุทธเท่านั้น เราอาจเห็นว่าโสดาบัน ของ พระพุทธเจ้าดูหยาบกว่า ฤาษี พวกนี้เยอะเลย เห็นได้ว่ามีกิเลสแสดงตัวกว่า ฤาษี พวกนี้แยะเลย แต่พระพุทธเจ้ากลับไม่รับรอง ฤาษี เหล่านั้นแม้แต่โสดาบัน อันนี้ลึกซึ้งซับซ้อนอยู่หลายชั้น ส่วน ฤาษี กรุง ก็คือ ฤาษี ที่มีเฉกตา หรือ มีความเฉลียวฉลาดที่ไม่ใช่ปัญญา มีความฉลาดเป็นโลกีย์ซับซ้อน กลบเกลื่อน เลี่ยงเชิง โดยรู้มีสำนึกสามัญ ของ โลกอยู่ว่า ถ้ากามจัดจ้าน ถ้าโลกธรรม ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขจัดจ้าน หรือ เป็นตัวกู ของ กู อัตตามานะจัดจ้านเป็นสิ่งไม่ดี เขาก็เข้าใจแล้วทำมารยาท หรือ มารยา พราง ไม่ให้คนอื่นจับได้ ดูเหมือนเป็นคนเสียสละมีน้ำใจ แต่แท้จริงแล้วเป็นกิเลสต้องการผลประโยชน์คือภายหลัง พวกนี้มักจะอยู่ในฐานะร่ำรวย หรือ มีความรู้ในศาสตร์ทางโลก มีเกียรติยศอยู่ในสังคม ฤาษี พวกนี้ถ้าเผื่อเป็นพุทธศาสนิกชน หรือ เป็นนักบวช ของ พุทธ ก็เป็นนักบวชที่มี ทั้งทุนและศักดิ์ เต็มไปด้วยอำนาจบาตรใหญ่ มีศักดิ์มีศรีทางสังคม หรือ มีทรัพย์ศฤงคารเยอะโดยที่สังคมยอมรับ เก่งเท่าไรสังคม(โลกียะ)ก็ยอมรับเท่านั้น แล้วตนเองก็สะสมโลกธรรม ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ได้อย่างเต็มที่ นี่คือ ฤาษี กรุง ทีนี้พวกเราก็มาศึกษาทั้ง ๒ ด้าน จนกระทั่งละลด ไม่เอาทั้งอย่าง นัตถิกทิฐิ และ ไม่เป็นทาสโลกียะทั้ง ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขด้วย ลดลงมาตามขั้นตอนอย่างรู้เหตุ รู้ปัจจัย รู้กิเลสที่ชัดเจน จึงเลื่อนฐานขึ้นมาเป็น โสดาฯ สิกทาฯ อนาคาฯ ขึ้นมาตามลำดับ แต่แม้จะเป็นโสดาฯ ก็ยังมีความเป็น ฤาษี ส่วนหนึ่ง คือส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งมีมากกว่าสกิทาฯ พอเป็นสกิทาฯก็ยังมีความเป็น ฤาษี อีกส่วนหนึ่ง ก็คือสิ่งที่ยังไม่สมบูรณ์ซึ่งมากกว่าอนาคาฯ และ อนาคาฯก็ยังมีความเป็น ฤาษี ส่วนหนึ่ง ที่ยังทำให้ไม่เป็นอรหันต์สมบูรณ์ ต่อเมื่อเป็นอรหันต์สมบูรณ์เมื่อใด จึงจะหมดความเป็น ฤาษี เมื่อนั้น แม้แต่ในชาวอโศกเองก็มีทั้ง "ฤาษี กรุง" และ "ฤาษี ป่า" ซึ่งอาตมาเรียกเสียใหม่ว่า "ฤาษี ทำวัตร" กับ ฤาษี ทำงาน" "ฤาษี ทำวัตร ได้แก่พวกสายปัญญา มีการลงทำวัตร ฟังบรรยาย เหมือนฟังเล็คเช่อร์ ศึกษาอ่านหนังสือ หนังหา วิเคราะห์วิจัย วิจารณ์ พูดสัมมนาพวกนี้ชอบ ถ้าในมรรคมีองค์ ๘ ก็จะชอบไปในทางสังกัปปะ (นึกคิด) และ วาจา (พูด) ส่วนกัมมันตะ (ทำ) กับ อาชีวะ (อาชีพ หรือ ทำอย่างมีผลผลิตสำเร็จ) ที่ได้แก่การลงมือลุย ลงมือทำงาน พวกสายปัญญาจะไม่ชอบ ส่วน "ฤาษี ทำงาน" ซึ่งได้แก่ สายเจโต หรือ สายศรัทธา ก็ถนัดทางกัมมันตะ(ทำ) กับ อาชีวะ(อาชีพ หรือ ทำอย่างมีผลผลิตสำเร็จ) พวกนี้มักจะ คิดน้อย วิจัยไม่เก่ง แต่ทำ ซึ่งอันที่จริงก็ต้องมีปัญญาประกอบทั้งนั้น แต่อาจจะไม่มากเท่าสายปัญญา ที่เอาแต่พูด กับ คิด แต่ไม่ลงมือทำ ถ้าโลกมีแต่สายพูด กับ คิดนี่นะ ตายลูกเดียว แต่สายทำงานถึงอย่างไรก็ลอยตัว เพราะยังมีผลผลิตให้ กับ โลก เพราะฉะนั้น อาตมาจึงตี"สาย ฤาษี ทำวัตร" นี่แหละมาก แต่ "สาย ฤาษี ทำงาน"ก็ติดงานได้เหมือนกัน เป็นกัมมรามตา ก็จะต้องมาเรียนรู้ นอก จากนี้รายละเอียด ของ ฤาษี .....ไม่ว่าจะทั้งสายทำงาน หรือ ทั้งสายทำวัตร อาตมาตั้งชื่อเรียกอีกประเภทว่า เป็น "ฤาษี จัญไร" คือ "ฤาษี แก้ตัว" เพราะฉะนั้น ฤาษี สายทำวัตรที่ชอบแก้ตัวให้แก่ตัวเอง โดยไม่ยอมรับความเป็นจริง แล้วก็ไม่แก้ไขมันก็ตกต่ำ ฤาษี สายทำงานที่เอาแต่แก้ตัวให้ตัวเองโดยไม่พยายามแก้ไขปรับปรุง ก็เป็น ฤาษี จัญไรที่เนิ่นช้าและไปไม่รอดเช่นกัน : แต่สาย ฤาษี ทำงานที่ช่วยงานวัด ก็ต้องมีปัญญาเป็นพื้นฐานอยู่บ้างใช่ไหมคะ : ก็เป็นปัญญาเท่าที่เขาทำได้ "ฤาษี ทำงาน" จึงดีกว่า "ฤาษี ทำวัตร" คือถ้าพูดกันจริงๆ พูดกันให้กว้างแล้ว ผู้ลงสนามลงมือทำเลยจะดีกว่าผู้ได้แต่คิด สรุปแล้ว ลึกซึ้งเข้าไปอีก ฉีกหน้า ฤาษี ในโลกนี้เลย ก็คือ กรรมกรดีกว่าปัญญาชน และ ขอบอกซ้อนลงไปเลยโดยไม่ต้องถาม เพราะว่าอันนี้คิดว่าคงถามไม่ถึงหรอก แต่ขอบอกเลยว่า ปัญญาชนส่วนใหญ่ ทุกวันนี้ เป็นคนมีบาป เพราะ ปัญญาชนทุกวันนี้ เป็นผู้ "เอาเปรียบ" มนุษยชาติ ในโลก ด้วยความฉลาด จึงไม่มีคุณค่า ประโยชน์แท้จริง ต่อสังคม (การที่จะมีประโยชน์ ต่อสังคมนั้น ต้องศึกษา ทฤษฎี กำไร-ขาดทุน ของ อาริยชนให้เข้าใจ) เพราะ พวกนี้ทำงานแล้ว เอาทั้งค่าวัสดุ ค่าแรงงาน ค่าความคิด ค่าคำพูด และ ค่าลงมือทำไปหมด เอาส่วนที่เป็นบุญกลับคืนไปหมด โดยแลกเปลี่ยน เป็นตัวเงิน หรือ เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนกลับคืนไปหมด เมื่อเขาเอาค่าวัสดุค่าแรงงาน ของ เขาไปหมดสิ้นแล้ว คนเหล่านี้จึงไม่มีอะไรเหลือเลย ที่จะเรียกว่า "เป็นประโยชน์ ให้แก่ ประชาชน" ซึ่งตามวิธีคิดค่าแรง ของ เขา เขาคิดเกินทุนจนเป็นการ "เอาเปรียบ" ไปด้วยซ้ำ แม้ค่าโสหุ้ยต่างๆ ค่าสึกหรอ ค่าโน่นค่านี่ บกแม้แต่ค่า error เขาก็บวกเผื่อไว้หมด แล้วยังบวกส่วนที่เรียกกว่า"กำไร" ซึ่งก็คือส่วนที่ "เอาเปรียบ" แท้ๆ นั่นเอง เพราะฉะนั้น เขาจะคิดเกินทุนไปหมด แสดงว่านอก จากเขาจะเอาค่าวัสดุ ค่าแรงงานแท้ๆ ของ เขาไปเกลี้ยงแล้ว เขายังเอาค่าขูดรีด ที่เขาเรียกมันว่า "กำไร" หรือ คือส่วนที่"เอาเปรียบ"แท้ๆ นั่นแหละไปจนเหลือเฟือ เพราะฉะนั้น คนเหล่านี้คือพวกขูดรีดสังคมอยู่ ไม่ได้ให้อะไรแก่สังคมเลย : พ่อท่านคะ ปัญญาชนที่ดีไม่ก่อบาปมีไหมคะ : ปัญญาชนที่ไม่ก่อบาปนั้นมีบ้างแต่น้อย จะต้องเป็นปัญญาชนที่มีภูมิธรรมเข้าใจทฤษฎี "กำไร-ขาดทุน ของ อาริยชนแท้" และ สู้กิเลสได้จริง มีจิตใจลึกๆ ที่เสียสละอย่างสะอาดที่แท้จริง คนที่จะสามารถเข้าใจธรรมะสัจโลกุตระ ของ พระพุทธเจ้า ที่มีความสันโดษพอสมควร ไม่สะสมไม่กอบโกย ไม่เอาเปรียบมาให้ตัวตน ไม่หลบลี้สังคม ไม่หนีงาน และ มีความรู้ความสามารถอยู่ในสังคม ขยันสร้างสรรเสียสละเป็นประโยชน์ กับ สังคม ซึ่งมีทั้งฆราวาส และ เป็นพระ แม้จะมีน้อยก็ตาม ก็มีอยู่บ้างแต่ยังไม่ค่อยชัดเจน หรือ ยังไม่ชัดแจ้งในเป้าแท้ และ ในรายละเอียดกันดีนัก : ถ้าบ้านเมืองมีแต่กรรมกรเป็นระดับพื้นฐานหมดเลยจะเป็นอย่างไรคะ : ก็แจ๋วหนะซี! ถ้าเข้าใจเนื้อหา ของ คำว่า"กรรมกร"ได้ลึกซึ้งพอ กรรมกรก็จะมีปัญญาที่เขาสร้างได้แต่ละระดับ และ "กรรมกร" นั้นก็มีต่ำสูงหลากหลาย ระดับมาก ในสังคม คือ หมายถึง คนที่ทำด้วยความรู้และความสามารถที่ต่ำสูงต่างกัน ไม่ใช่ "คนที่มีแต่ความรู้ แต่ทำไม่ได้ หรือ ไม่ทำ" ถ้าโลกนี้มีแต่กรรมกรที่สร้างจริง คนที่เป็นกรรมกรแม้จะชั้นต่ำขนาดไหนก็ไม่โง่กว่าสัตว์เดรัจฉานหรอก เพราะฉะนั้น สังคม หรือ บ้านเมืองที่มีแต่กรรมกร ก็จะเป็นบ้านเมืองที่ดี จะไม่อดตาย ถ้าโลกนี้มีแต่กรรมกรจริงๆ นะ! คือแม้จะไม่มีพวกฉลาดคิด แต่ไม่ทำ หรือ ทำไม่เป็นในสังคมเลยนี่แหละ แต่คนที่มีแต่ปัญญา มีแต่ความเฉลียวฉลาด แล้วก็พูดสาธยายโดยทำไม่เป็น หรือ ทำเป็นแต่ไม่ทำ ถ้ามีแต่คนพวกนี้มากๆ จะอดตาย สังคมเดือดร้อน มีมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเดือดร้อนมากเท่านั้น สังเกตดูเถิดแค่ในสังคมทุกวันนี้มีปัญญาชนน้อยกว่ากรรมกร ยังเดือดร้อนกันขนาดนี้ ถ้าปัญญาชนดังกล่าวนี้มากขึ้นๆ ก็จะยิ่งเดือดร้อนอย่างคิดไม่ถึงทีเดียว ที่อยากเตือนก็คือ อย่าคิดว่า"กรรมกร"นั้นเป็นคนโง่ หรือ ทาสทั้งหมด กรรมกรมีปัญญาไม่ได้!! อย่าคิดอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จะเห็นว่าในสังคมที่เจริญ แม้แต่คนประเภทที่เขาสร้างสรรเจริญร่ำรวย เขาก็ลงมือทำงานกันจริง ที่เห็นเด่นก็คือ แต่ก่อนก็เป็นชาวเยอรมัน อเมริกา เดี๋ยวนี้ก็ญี่ปุ่น เป็นต้น คน ของ เขาลงมือทำงานกัน โดยเขาไม่ได้หลงให้ค่า ของ นักคิด นักพูด เหนือชั้นกว่าพวกที่ลงมือทำอย่างงมงายอย่างนี้ เขาก็จะมีฐานะร่ำรวย แต่นั่นแหละ เมื่อยังไม่เข้าใจสัจธรรมมากมาย เขาก็จะต้องเอาไปขูดรีดคนอื่นต่ออยู่นั่นเอง อย่างเช่นต่างคนต่างทำในประเทศญี่ปุ่น มันก็เกิดผลผลิตมากมาย เมื่อต่างคนต่างอุดมสมบูรณ์แล้ว เขาก็ต้องระบายออกมาขายขูดรีดเอา จากคนต่างประเทศที่เป็น"กรรมกร"สู้เขาไม่ได้ ญี่ปุ่นจึงร่ำรวยเพราะขูดรีด จากคนต่างประเทศ เขาขูดรีดไม่ไว้หน้าหรอก แต่เขาร่ำรวยเพราะเขาสร้าง เพราะเขาเป็น "กรรมกร" และ เขาก็ศึกษาวิชาความรู้ด้วยศาสตร์ต่างๆ ที่เขาสร้างจริงนั่นเอง ที่สำคัญ เขาต่างลงมือทำ คือ เขาเป็น"กรรมกร"กันเก่ง และ เขาก็ขูดรีดคน ที่จะรองรับ ต่อไป เป็นอย่างนี้อยู่ในโลก นี่คือคนโลกีย์ที่ใช้ระบบทุนนิยม ก็จะขูดรีดกันนิรันดร "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" ตลอดโลกแตก จะไม่มี "ปลาใหญ่เสียสละอุ้มชูเกื้อกูลปลาเล็กจริง" ได้เลย ถ้าไม่มาเรียนโลกุตรธรรม จนพัฒนาจิตให้เกิดโลกุตรจิตกันอย่างเป็นจริง : ฤาษี จะเรียนรู้ความเป็น ฤาษี ของ ตัวเองได้อย่างไรคะ : ก็ต้อง ศึกษาสัจธรรม ฤาษี จะต้องศึกษาสัจธรรมจริงๆ เพื่อให้รู้ความเป็น ฤาษี เพราะศาสนา ของ พุทธสอนไว้ลึกซึ้งมาก เมื่อรู้ความเป็นจริงแห่งกิเลสแล้ว เมื่อคนเราเป็นพระอาริยะเป็นพระอรหันต์แล้ว มันเหมือนหุ่นยนต์วิเศษ ที่มีตัวปัญญาเป็นตัวสั่งการ ตัวปัญญานี้ไม่หลงในความเป็น ของ ตัว ของ ตน ตัวปัญญานี้อัตตาลดลงจริง จนที่สุดหมดอัตตา มีแต่ความเฉลียวฉลาดในการช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่บำเรอตน ไม่เห็นแก่ตัว เพราะอาริยะพระอรหันต์นี่จะมีเครื่องกล คือตัวร่างกายขันธ์ ๕ ของ ท่านเป็นหุ่นยนต์วิเศษ ที่จะขับเคลื่อน โดยมีปัญญาที่เห็นแก่ตัวน้อยลงๆ จนที่สุดไร้ความเห็นแก่ตัว เป็นตัวสั่งการให้มันทำงาน เพราะฉะนั้นท่านจะขยันหมั่นเพียร สร้างสรรตามภูมิปัญญาที่ท่านมีอยู่โดยไม่ขี้เกียจ ไม่ท้อแท้ มีแต่ความอุตสาหะ วิริยะ มีอิทธิบาทสมบูรณ์อยู่เสมอ ดังนั้นคนที่บรรลุธรรม ของ พระพุทธเจ้าอย่างสัมมาทิฏฐิแต่ละระดับ จนกระทั่งเป็นพระอรหันต์แล้ว จะเป็นคนเอาใจใส่ ไม่ทำอะไรเหลาะแหละ มีการพิจารณาไตร่ตรอง จะรู้เศรษฐศาสตร์ ของ สังคม จะรู้รัฐศาสตร์ ของ สังคม จะรู้ศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นความรู้แต่ละแขนงไปตามลำดับ ซึ่งอาจไม่สามารถรู้จนครบแต่หลักๆ ที่รู้ชัดเจน คือพระอรหันต์จะรู้สังคมศาสตร์ จะมีเจโตปริยญาณ รู้จักมนุษยชาติ รู้บุคคล (ปุคคลปโรปรัญญุตา) จะเฉลียวฉลาดรู้ฝูงชน หมู่ชน กลุ่มชน (ปริสัญญุตา) เรียกว่ารู้จักสังคมศาสตร์ ต่อมาก็จะรู้รัฐศาสตร์ รู้เศรษฐศาสตร์ สามศาสตร์ใหญ่นี้จะรู้ดีขึ้นมาได้ จากศึกษาปฏิบัติศาสนาพุทธอย่างสัมมาทิฏฐิ ส่วนศาสตร์อื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมศาสตร์ หรือ ศาสตร์ที่ก่อ ที่สร้าง อะไรต่ออะไร ซึ่งเป็นศาสตร์ในการสร้างสรรสิ่งเป็นวัตถุต่างๆ พระอาริยะ หรือ พระอรหันต์แต่ละรูปก็จะเก่งบ้างไม่เก่งบ้างตามที่ตนได้เรียนได้ผ่านศาสตร์ หรือ งานนั้นๆ มาจริง : พ่อท่านคะ แล้วเราจะพ้น จากความเป็น ฤาษี ได้อย่างไรคะ : ถ้าเป็น ฤาษี "ทำงาน" ก็ต้องหัดมา "ทำวัตร" เป็น ฤาษี "ทำวัตร" ก็ต้องออกมา "ทำงาน" ขาดอะไรเราก็ต้องมาเสริมอันนั้น นั่นแหละจะเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสเรา เพราะโดยสรุป ประเภท ของ ตัณหาแล้ว มันมี ๒ ประเภทคือ ตัณหาชอบ กับ ตัณหาไม่ชอบ ตัณหาชอบก็อยู่ในหมู่ ของ โลภะ กับ ราคะ ส่วนตัณหาไม่ชอบก็อยู่ในสายโทสะ สำหรับโมหะนั้น คือ ความไม่รู้ตัว หรือ หลงตัวเอง หลงลืม หลงผิด หลงใหล หลงเหลือ เมื่อศึกษาเข้าไปในตัวเอง รู้ตัวแล้ว วิจัยออกแล้ว เราก็มาแก้ให้หมดทั้งความชอบ และ ความไม่ชอบ หมดทั้งความผลัก และ ความดูด จนเป็นกลาง แล้วก็เอาเนื้อหา ของ มนุษยชาติอื่นมาเป็นข้อมูลในการตัดสินว่า อะไรควร อะไรดีที่สุด แล้วก็ช่วยสร้างสิ่งที่ดีที่ควรให้แก่โลกให้แก่มนุษยชาติ : ช่วงนี้พ่อท่านเทศน์กระแทก เรื่อง ฤาษี หนัก ก็เพื่อจะช่วยพวกเราใช่ไหมคะ : ใช่ ที่กระแทกมาตลอด ที่สอนที่พูดอะไรอยู่นี่ โดยวิธีการศิลปะที่อาตมาพูดกระแทก พูดด้วยดี พูดสุภาพ แรงบ้างเบาบ้างก็ตามควร อาตมาก็ดูที่น้ำหนัก ของ สิ่งเหล่านี้ว่ามีผลต่อมนุษย์อย่างไร กระแทกหนักขนาดไหน ที่ไม่เกิดพิษเกิดภัย ให้แก่ตัวเอง แต่หนักพอที่จะเกิด การชำระขัดเกลา ให้แก่มนุษย์ ทั้งหลาย หรือ เบาพอที่จะเกิด การชำระ ขัดเกลากิเลส และ พฤติกรรม ของ คน คนมีจริตและกาละไม่เหมือนกัน บางกาละ บางอารมณ์ ต้องใช้หนัก บางกาละบางอารมณ์ต้องใช้เบา หรือ จริตบางจริตต้องใช้หนัก บางคนบางจริตชอบเบาไม่ชอบหนัก ซึ่งต้องประมาณให้เหมาะสมในแต่ละเหตุปัจจัย : คำถามสุดท้ายนะคะ ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงการให้ภิกษุปลีกเดี่ยว เพื่อหาความสงบ มีหลายคนเข้าใจว่า คือ การให้ภิกษุ ออกไปอยู่ในป่า แต่เพียงลำพังผู้เดียว เพื่อทำความสงบ พ่อท่านมีความเห็นอย่างไรคะ : "ความสงบ" ของ ศาสนาพุทธนั้นคือ "จิตใจที่สงบ จากกิเลส" ไม่ใช่สงบเพราะอยู่คนเดียวไม่มีอะไรรบกวน และ ทางปฏิบัติ หรือ วิธีปฏิบัติให้ "จิตสงบ จากกิเลส" จนเกิด "สัมมาสมาธิ" และ เกิดญาณเกิดวิมุติ ก็คือ "สัมมาอริยมรรคอันมีองค์ ๘" เป็นหลักสำคัญ ไม่ใช่ปฏิบัติ โดยหนีไปอยู่คนเดียว แล้วเอาแต่นั่ง สะกดจิตหลับตาทำ "สมาธิ" แบบลัทธิ ฤาษี เป็นหลัก ตามที่ได้หลงผิดๆ กันมานั้นไม่ "หลักมรรคองค์ ๘" ของ พระพุทธเจ้านั้น ต้องปฏิบัติอย่างรู้เท่าทันเมื่อมีอายตนะ ๖ มีสัมผัสรับรู้อะไรต่ออะไรในโลกตามปกติ ของ มนุษย์ในสังคม ไม่ต้องหนีสังคมหลบลี้ปลีกเดี่ยวดังลัทธิ ฤาษี เพราะ จะต้องปฏิบัติรู้เท่าทัน "สัมผัส" แล้วเกิด "เวทนา" ต้องเรียนรู้ "เวทนาในเวทนา" วิจัยธรรมในเวทนาต่างๆ ออกตามหลัก "สติปัฏฐาน ๔" จนเกิดญาณรู้แจ้งในเวทนา ๓ เวทนา ๕ เวทนา ๖ เวทนา ๑๘ เวทนา ๓๖ กระทั่งเวทนา ๑๐๘ ซึ่งครบสูตร"โพธิปักขิยธรรม ๓๗"โน่นแหละ ต้องศึกษากันให้ดีๆ ปลีกเดี่ยว หรือ อยู่แต่ผู้เดียว เขาเอาไปแปลกันผิด จากเป้าหมายสำคัญว่า คือการอยู่คนเดียว ห่างไกลผู้คนก็เลยไปอยู่ป่าซะเลย เป็น ฤาษี ชีไพร คำว่า"ปลีกเดี่ยว" หรือ "อยู่ผู้เดียว"นี้ เขาแปลมา จากคำบาลีที่เป็นราก หรือ เป็นต้นศัพท์สำคัญ คำว่า"เอก"ซึ่งที่จริงหมายถึง หนึ่งเดียว หรือ เดี่ยวก็ได้ หมายถึงการทำให้เป็นเอก ทำให้เป็นหนึ่งไม่มีสอง หรือ ทำให้ถึงยอดสุดก็ได้ ผู้จะปลีกเดี่ยวได้นั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ชัดว่า ต้องเป็นผู้ที่มีภูมิธรรมแล้วมีสมาธิเพียงพอ มีอินทรียพละถึงขั้นที่จะไปศึกษาพิสูจน์บทเรียนบางอย่าง โดยปกติก็ศึกษาฝึกฝนอยู่ กับ ครูบาอาจารย์และเพื่อนๆ นักปฏิบัติธรรมด้วยกัน พระพุทธเจ้าทรงย้ำยืนยัน กับ พระอานนท์ไว้อย่างสำคัญว่า "มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดีนั้น เป็นทั้งหมดทั้งสิ้น ของ พรหมจรรย์" และคำสอนอีกประเด็นหนึ่ง ของ พระพุทธเจ้าก็คือ อย่าคลุกคลีเกี่ยวข้อง กับ หมู่คนพาล แต่ก็อยู่ กับ หมู่บัณฑิต หรือ ถ้าคลุกคลีอยู่ใกล้สัมผัส กับ เหตุที่จะก่อให้เกิดกิเลส ก็ต้องพรากห่างออกไปเสียก่อน โดยพระองค์เปรียบคนผู้ยังมีกิเลสชุ่มในตัวผู้นั้น เหมือน กับ ไม้ที่ชุ่มด้วยยาง ดังนั้นจะนำไม้ที่ชุ่มด้วยยางนี้ไปขัดสีให้เกิดไฟก็ยาก ถ้ายิ่งเอาไปแช่ไว้ในน้ำก็ยิ่งจะยากในการจะขัดสีให้เกิดไฟ จึงต้องพรากไม้ที่ชุ่มด้วยยางนั้นออก จากน้ำ หรือ ปลีกห่าง จากเหตุที่ไม่ควรคลุกคลีก่อน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ให้ปลีกเดี่ยว ก็ต้องอยู่ กับ ครูบาอาจารย์ หมู่เพื่อนนักปฏิบัติธรรมด้วยกันนั่นเอง เรื่อง "ปลีกเดี่ยว" นี้เป็นค่านิยม หรือ วัฒนธรรม ของ ฤาษี ชีไพรมาแต่ไหนๆ ต้องศึกษาธรรมะ ของ พระพุทธเจ้าให้ลึกซึ้ง ซึ่งถึงครั้งคราจะอาศัยการปลีกเดี่ยวเพื่อปฏิบัติก็มีอยู่เหมือนกัน แต่ไม่ใช่เข้าใจหลวมๆ ง่ายๆ อย่างแบบลัทธิ ฤาษี ทั้งหลาย บทจบ จากบทสัมภาษณ์นี้ คงได้รู้จักหน้า ฤาษี กันแล้ว ก็คงต้องนำไปตรวจตนว่ามี "ลาย "ฤาษี แบบไหน อยู่มากน้อยเพียงไร แล้วก็คงต้องเริ่มต้นแก้ไข ปรับปรุง จัดสรร ความพอเหมาะให้แก่ตนเพื่อการเข้าถึงความเป็นผู้มีสัมมาทิฐิที่ถูกต้องตรงทางสมบูรณ์ และ ฝึกฝน กรรมกิริยา มีพฤติกรรมงามงดหมด "ลาย ฤาษี " ตามที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงสอนไว้ -ทีม สมอ.- |
||||
|
||||
๑๕ นาที กับ พ่อท่าน ตอน ฉีกหน้ากาก ฤาษี (อันดับ ๑๖๗ สารอโศก พฤศจิกายน ๒๕๓๖) |
||||