สิบห้านาทีกับพ่อท่าน โดย ทีม สมอ. ตอน...
.ตลาดอาริยะ ปีใหม่อโศก พ.ศ.2544
หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 231 เดือนธันวาคม 2544

ตลาดอาริยะ ของ ชาวอโศก นอกจากเพื่อส่งความสุขปีใหม่ด้วยการจำหน่ายสินค้า ในระบบบุญนิยมระดับที่ ๓ ขายต่ำกว่าทุนแล้ว เรายังเลือกสินค้าปัจจัย ๔ ซึ่งจำ เป็นแก่ชีวิต สนอง ความต้องการแก่ ผู้บริโภค อัน คือ พี่น้องคนไทย ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป ผู้ด้อยโอกาส และเสียเปรียบในทุกๆ ด้าน เพื่อตอบแทนด้วยสำนึกแห่งความกตัญญู ต่อชาวไร่ ชาวนา กระดูกสันหลัง ของ ประเทศ คือ ชาวบ้านนับหมื่นที่ทยอยมาร่วมขานรับนโยบายบุญนิยม ของ เรา เราจึงควรปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างอ่อนโยน ด้วยความขอบคุณ ขอบคุณผู้รับน้ำใจจากเรา ขอบคุณผู้ให้โอกาสเราได้ทำดี

เชิญพบกับบทสัมภาษณ์พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ ว่าด้วยเนื้อหา ของ ตลาดอาริยะปี’๔๔ และการเกิดขึ้น ของ บริษัทขอบคุณ จุดประสงค์และนัยะที่สำคัญ

: บรรยากาศปีใหม่ เป็นอย่างไร และมีอะไรพิเศษกว่าปีก่อนๆ หรือ ไม่คะ

: บรรยากาศอุ่นหนาฝาคั่งขึ้นมากกว่าปีก่อนๆ เยอะ ส่วนเรื่องพิเศษกว่าคงไม่มี ยัง เป็นงาน ปีใหม่ ของ ชาวอโศกตามแบบปีก่อนๆ นั่นแหละ คือ มี "ตลาดอาริยะ" เป็นจุดเด่นเช่นเคย มีการฟังธรรม เป็นเนื้อหาหลัก มีความรู้จากวิทยากรที่สรรหามาแต่ละปี และมีการแสดงบันเทิงต่างๆ ที่ไม่ใช่มหรสพอนาจาร ส่วนการเลี้ยงอาหารนั้น ก็เลี้ยงมังสวิรัติกันตลอดงาน สำหรับคุณภาพ ของ งาน ก็มีการพัฒนาขึ้น ปรากฏการณ์ที่เกิด ก็ เป็นความก้าวหน้าขึ้น เช่น งานจัดได้ลงตัว แต่ละคนรู้จักหน้าที่ รู้จักการงาน ค่อยๆ ขยายพื้นที่ ขยายสินค้า ขยายผู้ที่มา เป็นพ่อค้าแม่ขาย พร้อมกันนั้น ลูกค้า ก็มากันแน่น มากันมากกว่าเก่า มีอัตราการก้าวหน้าในกิจการขึ้นมาได้จริงๆ ทุกๆ อย่างดูดีขึ้น ถ้าบอกว่ามีอะไรใหม่ ก็คงแปลกใหม่อยู่นั่นเอง เพราะไม่มีที่ไหนเขาทำอย่างนี้ โดยเฉพาะ ”ตลาดอาริยะ” อันที่จริง ก็ คือ หลักการเดิม นโบบายเดิม วิธีการเดิม เพียงแต่มีการโต มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพยิ่งๆ ขึ้นเท่านั้นเอง

: พ่อท่านบอกว่างานปีใหม่ คือ งานสอบไล่ ของ ชาวอโศก หมายความว่าอย่างไรคะ?

: สอบไล่ใหญ่ ก็เพราะว่า ทุกคนต้องมาปฏิบัติ ต้องมาร่วมมือ ต้องมาแสดงทุกอย่าง ทั้งในด้านรูปธรรม หรือ นามธรรม รูปธรรม คือ มาทำทั้งลงแรง ลงทุน มีวัตถุมาช่วยทั้งการก่อ การสร้าง การทำ จะต้องเตรียมงานกันทุกคน โดยไม่ใช่ให้เฉพาะชาวราชธานีฯเท่านั้น ชาวอโศกทุกกลุ่มต่างเห็นว่า เป็นงานที่จะต้องมาร่วมกันทำ ร่วมกันก่อ ร่วมกันสร้าง ทุกคนร่วมมือ เป็นเจ้าภาพ

นอกจากมาร่วมมือทางด้านแรงงานแล้ว ยังรับผลประโยชน์ทางด้านจิตวิญญาณด้วย อย่างน้อยต้องมีสำนึก ของ แต่ละคนว่า เราจะต้องมาร่วมมือกัน

เมื่อมาร่วมมือกันแล้ว มัน ก็ต้องมีการผัสสะ มีการกระทบกระทั่งกัน มีการแสดงกิริยาอะไรๆ ต่อกัน นั่น ก็ คือ ภาคปฏิบัติธรรม ของ พวกเรา ซึ่งมีผัสสะ เป็นปัจจัย ใครได้มากได้น้อย ใครมีอาการอย่างไร ก็ได้รู้ได้พิสูจน์ เพราะ เป็นงานหนัก เป็นงานใหญ่ งานกว้าง ของ พวกเรา มัน ก็ต้องมีการกระทบแรง มีการลงทุนแรง ทั้งลงทุนทางด้านวัตถุ ทางด้านแรงงาน ทางด้านทุนรอน และแม้แต่ทางด้านจิตใจ ก็ต้องได้รับความกระทบกระเทือน ได้รับการกระทบ กระแทก จากแรงกระทบที่มันใหญ่ มันมาก มันกว้าง เป็นปฏิสัมพัทธ์ หรือ เป็นเรื่อง ของ ปฏิกิริยาที่มีขึ้น

เมื่อผลออกมาแล้วเรียบร้อย งาน ของ เรามีทุกอย่างทั้งที่สัมพันธ์กับคนข้างนอก สัมพันธ์กับคนข้างใน ตั้งแต่เด็ก เอารวมมาหมด มาช่วยกันให้มากที่สุด ทำงานร่วมกันทุกระดับ เหมือนงานมหกรรมที่ยิ่งใหญ่ ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องทั้งเรื่องเงินเรื่องทอง เรื่องเข้า ของ วัสดุ เรื่องการกินการอยู่ ซึ่งจะต้องรู้จักวิธีช่วยกัน เอาวัตถุดิบ อาหารสด ผักพืชผลไม้ อาหาร ต่างๆ นานา เอามาร่วมกันจัดงาน เพราะว่างานนี้เริ่มต้นเตรียมงานเตรียมการ ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม เจ้า ของ พื้นที่ ก็ทำกันก่อน พอมาถึงกลางเดือน ชาวอโศกจากถิ่นต่างๆ จากเหนือจากใต้ จากกรุงเทพฯ ที่มีจิตสำนึก ก็เข้ามาในพื้นที่ เพื่อช่วยเตรียมงานกัน พอตกประมาณวันที่ ๒๐ คน ก็เริ่มมากแล้ว มีนักเรียน ของ พวกเราเรียกชื่อว่า กลุ่ม ยอส. (ย่อมาจากยุวชนอโศกสัมพันธ์) ทยอยมาจากทุกแห่ง และที่มากันก่อนกลุ่มยอส. ก็ เป็นพวกอุดร- ศึกษา นักเรียนรุ่นโตมารวมกันจากทุกเขต เพื่อเตรียม เป็นพี่เลี้ยง ของ เด็กนักเรียนพวกนี้ ถ้าจะบอกว่า เป็นการก้าวหน้า ก็มีสิ่งเหล่านี้ ที่ เป็นการพัฒนา ซึ่งจะว่าใหม่ หรือ อะไร ก็แล้วแต่ เป็นการก้าวหน้าต่อจากเดิม

วิธีการพวกนี้ เรา ก็รู้อยู่แล้ว แม้แต่ฆราวาส ชาวบ้านพวกเราจากทั่วประเทศ ผู้ที่มีผลไม้ ผักพืชเครื่องใช้เครื่องนุ่งห่ม ก็ขนมาด้วย ทีนี้เมื่อคนมาร่วมกันมากมาย ราชธานีเพิ่งโดนน้ำท่วมไปใหม่ๆ พืชพันธุ์ธัญญาหารอะไรต่างๆ ก็ไม่มีกินมีใช้อะไรเองหรอก แต่ได้จากตรงนี้ จากพี่น้องชาวอโศกทั่วประเทศ ขนกันมามากมาย ไม่อดไม่อยากอะไรเลย อุดมสมบูรณ์ จนต้องแบ่งแจกกันด้วยซ้ำ แม้แต่เด็กๆ มารวมกัน เป็น ๔๐๐-๕๐๐ คน ก็ทำกินกันไปตลอดงาน ไม่มีการจ้าง ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ร่วมกันทำ เป็นพันๆ คน ซึ่งจะเห็นชัดเจนว่า สิ่งเหล่านี้ เป็นผลจากการที่พวกเรา มีแนวสังคมระบบบุญนิยม ซึ่งเกี่ยวข้องถึงจิตวิญญาณ ที่มีการสัมพันธ์กัน ช่วยเหลือเกื้อกูลอย่างรู้หน้าที่ รู้งานรู้กิจที่ควรทำ ว่ามันควรจะ เป็นอย่างไร ทำอย่างไร โดยเราไม่ได้บังคับ หรือ ไปชี้อะไรเขาหรอก แต่เขาสำนึกรู้เอง เข้าใจเอง คิดเอง โดยมีบทบาท ของ การระลึกถึงกัน เกื้อกูลกัน รักกัน เคารพกัน ตามพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในสาราณียธรรมสูตร

: สถานการณ์โลก มีปัญหาทั้งทางด้านเศราฐกิจและการเมืองหนักขึ้นเรื่อยๆ

: มัน ก็มี ของ เดิม หลักการเดิมนั่นแหละ ในการปฏิบัติส่วนตน ประโยชน์ตน เรา ก็ทำอยู่แล้ว เราจะขยันขึ้น จะมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น เราจะลดกิเลส ของ เราให้ได้จริงๆ ยิ่งๆ ขึ้น ชำนาญในการปฏิบัติมีวสี มีความสามารถในการปฏิบัติรู้เท่าทันกาย วาจา ใจ รู้เท่าทันผัสสะ ๖ สามารถวินิจฉัย วิเคราะห์วิจัย เก่งในธัมมวิจัย สัมโพชฌงค์ เก่งในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ให้มากยิ่งขึ้น

เรา ก็จะได้ประโยชน์ตนเพิ่ม ส่วนประโยชน์ท่าน เรา ก็สามารถที่จะรวมกัน เกื้อกูลกัน สามารถที่จะนำพากัน เป็นผู้สร้างสรร เสียสละจริงๆ และ ก็ เป็นการแข่งขันกันในทีแบบอาริยะ ไม่ใช่แข่งขันกันแบบโลกีย์เพื่อจะได้ลาภยศสรรเสริญ แต่เพื่อความเจริญ ของ พวกเรา จะขยันสร้างสรร ในสิ่งที่สมควรจะสร้างสรรให้แก่สังคม สร้าง ของ จำ เป็น ของ ที่มีคุณค่าสาระแก่นสาร แก่มวลมนุษยชาติ ไม่ใช่ ของ มอมเมา ไม่ใช่ ของ เฟ้อ ของ เกิน ของ ฉาบฉวย แต่เน้นเข้าหาแก่นสารสาระพร้อมกันนั้น เรา ก็มีจิตใจ เสียสละ เห็นแก่ตัวน้อยลง ชีวิตแต่ละผู้แต่ละครอบครัว ก็มีความจำ เป็นที่จะกอบโกย ที่จะมีเอาไว้สำหรับอุปถัมภ์ค้ำชูตัวเองน้อยลง มักน้อยสันโดษได้มากขึ้น กินน้อยใช้น้อย สร้างสรรได้มาก และ ก็มีน้ำใจตระหนี่น้อยลง เผื่อแผ่เพิ่มขึ้นกระจายผลสะพัดสิ่งที่ควรจะเกื้อกูลแก่ผู้ที่ควรจะได้ ผู้ที่ด้อยโอกาสอะไรต่างๆ พวกนี้ มัน เป็นเศรษฐศาสตร์ที่บริบูรณ์ เศรษฐศาสตร์ที่สูงส่ง เศรษฐศาสตร์โลกุตระ หรือ เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ ลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อยๆ อาตมามองเห็นว่า บทบาททางสังคม ของ ชาวอโศกเรา มีความเจริญ ของ เศรษฐศาสตร์แนวนี้ชัดเจนมีผลพิสูจน์ยิ่งๆ ขึ้น เรา ก็ดำเนินอย่างนี้แหละให้มันทวีขึ้น เพราะว่าในหลักปัจเจก หรือ ส่วนรวม ก็ตาม การดำเนินนโยบายนี้ การดำเนินวิธีนี้ ไม่ออกนอกหลัก ของ พระพุทธเจ้า เพียงแต่ว่าในรายละเอียด ในความลึกซึ้ง แต่ละคนอาจเข้าใจไม่เท่ากัน ซึ่งจะต้องพากเพียรสร้างสมสมรรถนะ ของ แต่ละคนให้ยิ่งๆ ขึ้น ศาสตร์ ของ พระพุทธเจ้ามันซับซ้อน คือ ถ้าปัจเจกบุคคลพัฒนาตัวเองขึ้น จะเกิด เป็นผลกระทบให้สังคมเจริญขึ้นตามด้วย เมื่อประโยชน์ตนดีขึ้น ประโยชน์ท่าน ก็จะเจริญตาม เกิดผลดีในการสร้างสรรเสียสละ ทำให้อุดมสมบูรณ์ ทำให้สงบ เรียบร้อย ผู้คน ก็จะ เป็นสุข

: ความเจริญทางเศรษฐศาสตร์ที่พ่อท่านหมาย คือ อย่างไรคะ ?

: ความเจริญทางเศรษฐศาสตร์ หมายความว่า มีสิ่งที่มารองรับชีวิต หมุนเวียนอยู่ในชีวิต

ที่อยู่ท่ามกลางสังคมนั้นๆ ได้อาศัยอยู่ อาศัยกินดีขึ้น ไม่ขาดแคลน ไม่เดือดร้อนทั่วถึงกัน มีการเฉลี่ยลาภ เป็น "ลาภธัมมิกา" ซึ่งเรายึดหลัก "สาธารณโภคี” พิสูจน์แก่นแกน ของ สังคม หมายความว่าผู้ที่อยู่ในส่วนกลาง ของ แต่ละชุมชน ที่จะยอมทำงานฟรี ไม่ต้องมีส่วนตน เสียสละ เป็นส่วนกลางจริงๆ ทั้งหมด คนที่มีภูมิถึงขนาดนั้น ก็ เป็นแก่นได้ เป็นผู้เจริญแท้ที่นำพาความ เป็น "สาธารณโภคี" ยืนยันหัวใจระบบบุญนิยม อย่างเข้มแข็งและเข้มข้นยิ่งๆ ขึ้น เป็นการยืนยันความประเสริฐ ของ มนุษย์จริง ให้แก่สังคมในโลก แต่ ก็มีปลีกย่อยที่ เป็นระดับ ของ คน ที่ยังไม่ถึงแก่นจริง ที่ยังมีส่วนตน ยังเห็นแก่ตัวอยู่บ้าง ยังมีอะไรๆ ที่ เป็นโลกีย์อยู่ มัน ก็จะมี เป็นระดับ เป็นชั้นๆ เบาบาง-กลาง-หยาบ เป็นระดับๆ เชื่อมโยงกัน เป็นเชิงชั้นออกไปๆ ก็รวม เป็นรูปธรรมดังที่เห็น แต่ ก็มีตัวโยงใย ตัวเกี่ยวข้อง ตัวสัมพันธ์ เป็นรูปแบบ ของ สังคมที่ดูดี ดู เป็นภาวะที่เจริญขึ้น

กิจการทั้งหลายแหล่ทุกอย่าง เมื่อแต่ละคนลงมือทำด้วยความเสียสละ ก็จะมีผลต่อจิตวิญญาณ ด้วยกันทางนามธรรม พวกเราที่ละลดถึงขีดถึงขั้น เมื่อสร้างวัตถุ ก็ไม่ได้คิดราคา เป็นเงิน เป็นทองอะไร สร้างแล้ว ก็นำมาแจกจ่ายเจือจาน นำมาแบ่งกินแบ่งใช้กัน เป็นเศรษฐศาสตร์ที่ต่างจากโลกียะ ซึ่งมีกิเลส เป็นตัวบงการ เป็นตัวกำหนด เพราะจิตมนุษย์ที่ เป็นปุถุชน มีกิเลส เป็นตัวกำหนด มัน ก็ต้องล่าลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ล่าเอามาบำเรอตน โลภเอาเปรียบให้ได้เสมอและมากๆ เป็นหลัก ซึ่งเขาไม่รู้ว่า การเอามาบำเรอตน เอามา เป็น ของ ตน แล้ว เป็นสุข นั้น คือ ความไม่ดี เป็นเวรกรรม เป็นวิบากบาป ชัดๆ ก็ คือ เป็นความชั่ว ความต้องการนี้ มีอยู่ทุกผู้ทุกคน มากบ้างน้อยบ้าง กิเลสใครแรง ก็เอามาก คนที่ฉลาด ก็หาวิธีเล่ห์เหลี่ยม เอาเปรียบเขามามากๆ คนฉลาดน้อย ก็พยายามจะเอามาก แต่ได้น้อย ก็แล้วไป ส่วนคนไม่ฉลาด ก็ยิ่ง เป็นเบี้ย ถูกข่มขี่เอาเปรียบเอารัดอยู่ในสังคมมาก โดยไม่มีการนึกคิด สังวร ไม่มีการศึกษา ไม่มีความจริงจังในระบบที่จะลดกิเลส แม้แต่ในสถาบันศาสนา เขา ก็พูดกว้างๆ ฟ่ามๆ ไปอย่างนั้นเอง จนเกือบจะไม่มีหลักวิธีตามที่พระพุทธเจ้ามีอยู่แล้วอย่างชัดเจนกันแล้ว มีแต่ประโลมใจกันไปให้หลงลาภยศสรรเสริญโลกียสุข หนักไปกว่านั้น ก็มอมเมาหลอกล่อให้จมอยู่ในลาภยศสรรเสริญสุขอย่างงมงายด้วยตรรกศาสตร์ ไสยศาสตร์ เครื่องราง ของ ขลังยิ่งๆ ขึ้น แต่ในขณะที่เรารู้ชัดเจน ว่า เป็นทฤษฎีที่ถูกต้องตรงทางที่สุดแล้ว เป็นอริยสัจ หรือ เป็นสัจจะที่ประเสริฐที่สุดแล้ว เรายังเห็นว่าไม่ง่าย ถ้ายิ่งไม่เห็น เป็นสัมมาทิฐิด้วยแล้ว จะไม่มีผลต่อจิตวิญญาณต่อการพัฒนา ในทางปฏิบัติจริงๆ สำหรับคนสำนึกดี คนมีบุญบารมี ที่เขามีความรู้สึกสำนึกว่า เขาควร เป็นคนที่ละลดกิเลส พยายามพากเพียรหลากหลายวิธี แต่เมื่อ เป็นวิธีปฏิบัติ ที่ไม่ เป็นสัมมาทิฐิเท่าใด มัน ก็ไม่มีผลจริง ขนาดพวกเรารู้ว่า เป็นทฤษฎีที่มีสัมมาทิฐิมากแล้ว กว่าจะขึ้นไปแต่ละขั้น แต่ละตอน กว่าจะมาถึงวันนี้ ๒๐-๓๐ ปี ก็เห็นอยู่ว่า ไม่ใช่ง่ายๆ

ที่พูดนี้ ก็ไม่ใช่ไปว่าเขาไม่มีผลเลย ก็มีผลอยู่บ้าง แต่ถ้ามีแค่สำนึก แล้วเอามาคุยโวด้วยปฏิภาณรู้ แต่ไม่รู้เรื่องการละลดกิเลส มีกิเลส คือ อะไร ลดกิเลส คือ อะไร เห็นแก่ตัว คือ อะไร มักน้อยสันโดษ คือ อะไร อย่าง เป็นโลกุตระ ทว่าด้วยตรรกศาสตร์ผิวๆ เผินๆ รู้ดีหมดแต่ทำไม่ได้ เพราะอำนาจกิเลสมันแรง และไม่มีทางยับยั้งกิเลสตัวเอง

ถ้ายิ่งมีโอกาสขึ้นไป เป็นผู้บริหาร ขึ้นไป เป็นผู้ได้เปรียบทางธุรกิจ ทางการเมือง แม้แต่ทางสังคมทางศาสนา ก็ยิ่งจะ เป็นตัวกลุ่มตัวแกนเกาะกลุ่ม รวมหัว เข้าห้ำหั่นกัน เข้าไปเข่นฆ่ากัน มัน ก็ไปไม่รอด

ทางด้าน ของ พวกเราที่ทำอยู่ อาตมายิ่งเห็นชัด เป็นรูปธรรมที่โตขึ้น แม้ทางโน้นเขา ก็โตไม่หยุดเหมือนกัน ทางโลกียะเขา ก็พัฒนาเติบโต ขึ้นมาในรูปแบบ ของ เขา พวกเรา ก็โตขึ้นมา ในลักษณะ ของ โลกุตระแบบ ของ เรา ก็จะยิ่งเห็นความแตกต่างระหว่างโลกุตระกับโลกียะ ชัดเจนยิ่งๆ ขึ้น

: บริษัทขอบคุณที่ตั้งขึ้นมาใหม่นั้น มีจุดประสงค์ในการทำงานอย่างไรคะ ?

: บริษัทขอบคุณจำกัดตั้งขึ้นมา เพื่อที่จะ เป็นบริษัท ซึ่งยกฐานะประสิทธิภาพ ของ ระบบบุญนิยมเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่นบริษัทต่างๆ ของ เรา ไม่ว่าจะ เป็น บริษัทพลังบุญ บริษัทฟ้าอภัย บริษัทแด่ชีวิต ยัง เป็นบริษัทที่ทำงานแล้ว มีเงินเดือนตอบแทน แม้จะ เป็นเงินเดือนต่ำแค่ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ก็ตาม ก็ยัง เป็นบุญนิยมระดับเกรดที่ยังรับรายได้ ยังไม่พ้นมิจฉาอาชีวะในระดับขั้นที่ ๕ คือ

ลาเภนะ ลาภัง นิชิคิงสนตา ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ยัง เป็น "มิจฉาอาชีพ” อยู่ เพราะฉะนั้น อันนี้มัน ก็เข้มข้นขึ้นไปกว่า ของ เก่า เป็นบริษัทที่ยกมาตรฐานบุญนิยมขึ้นไปอีกสูงขึ้น

บริษัทขอบคุณ ตั้งขึ้นมา เป็นบริษัท ที่ทำการค้าขาย โดยเน้นสินค้าแบบขายส่ง เหมือนบริษัทแด่ชีวิต แต่บอกแล้วว่า แด่ชีวิตยังมีเงินเดือน ตอบแทนสำหรับบุคคลที่ทำงาน ส่วนบริษัทขอบคุณพนักงานที่ทำงานจะถือศีล ๘ เป็นหลัก เป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้น จะยกฐานะ ของ บุคคลที่ทำงาน ให้มีศีลมากขึ้น มีความเสียสละมากขึ้น อย่างนี้ เป็นต้น ก็ เป็นภาคปฏิบัติที่จริง บริษัทจดทะเบียนเหมือนบริษัททั่วไป แต่เวลาดำเนินการไปแล้ว ผลจะ เป็นอย่างไร จะเกิดการเฉื่อยชา จะเกิดการไม่ทำงาน อย่างพอคุ้มพอ เป็นพอไป หรือ ไม่ จะไปรอดไหม หรือ จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร เรา ก็คาดว่า มันน่าจะมีผลดีขึ้น เพราะคนที่จะมาทำงาน เป็นคนที่มีความตั้งใจสูงขึ้น มีความเสียสละมากขึ้น และจะมีความอดทนมากขึ้นไหม จะมีความขยันหมั่นเพียรมากขึ้นไหม โดยเฉพาะเมื่อทำงานไปแล้ว การพาณิชย์ชนิดนี้ มันจะเกิดการหมุนเวียนอย่างไร มันจะมีระบบอะไรๆ ขึ้นมาซับซ้อน เหมือนที่บริษัทพลังบุญตั้งขึ้นมา ที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลสังคม เป็นระบบที่มีอะไรซ้อนแทรกอย่างไม่น่าเชื่อ จนกลาย เป็นบริษัทส่วนรวม เป็นบริษัทที่มีส่วนเกิน ส่วนเหลือที่กระจายออกไปสู่ประชาชนได้มากขึ้น เพราะการเสียสละ ของ คนที่ทำงาน รับรายได้น้อย ไม่เหมือนรายได้ทางทุนนิยมเขา แม้ผ่านมา ๑๔-๑๕ ปีแล้ว ก็ยังมั่นคง นี่ เป็นการพัฒนา หรือ วิวัฒนาการ ของ การพาณิชย์เชิงบุญนิยม ของ เรา ที่ก้าวขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ซึ่งอาศัยคนที่ได้ปฏิบัติธรรมมีภูมิ มักน้อย สันโดษจริง เต็มใจทำจริง ไม่ใช่ถูกบังคับ หรือ มีอามิสใดๆ หลอก

: ในแง่หนึ่ง คือ เป็นการทำงานซ้ำซ้อนกับบริษัทแด่ชีวิต ในเชิงการปฏิบัติ หรือ ไม่คะ ?

: ไม่ เป็นไร มันยังเพิ่มได้อีก เหมือนกับในโลกนี้ มีบริษัทที่ทำงานเช่นเดียวกันมากมาย เมื่อเจริญขึ้น กิจการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ก็ต้องมีการขยายหน่วยงาน ขยายองค์กรออกไป ซึ่งไม่แปลกอะไร

แต่ในการทำงานร่วมกันต้องถือหลักเกื้อกูลกัน ในความขัดแย้ง หรือ การผสมผสานส่วนนั้นส่วนนี้ ก็ให้ปรับตัวกันนี่แหละ เป็นเรื่องสังคมศาสตร์ ของ มนุษย์ในโลก อย่างพวกเรา เป็นนักปฏิบัติธรรม มีจิตใจอย่างนี้ ไม่ได้ล่าลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขจัดจ้าน เหมือนชาวโลกียะทั่วไปอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นบทบาทที่จะผสานกัน จะช่วยกันอย่างไร จะประนีประนอมกันส่วนไหน ก็น่าจะช่วยกันส่งเสริมดู เราตอบไม่ได้ทีเดียว เพราะไม่มีสูตรสำเร็จ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย-ภูมิปัญญา และสัจจะ ในรายละเอียดต่างๆ ที่จะก่อเกิด เป็นพฤติกรรม เป็นเรื่องราวอะไรๆ ขึ้นมา นี้จึง เป็นเรื่องจริง ที่เราต้องค่อยๆ เรียนรู้ และค่อยๆ ปรับตัวให้เกิดบูรณาการต่อไป

เป้าหมายการทำงานในระบบบุญนิยม ไม่ได้มุ่งค่าตอบแทนที่เม็ดเงิน ยิ่งไปกว่าการได้รู้จักตัวเอง รู้กิเลสอัตตามานะ หลงดี หลงเก่ง จนกลาย เป็นยึดดี ยึดเก่ง

ยึดดีใครว่าไม่ดี ซึ่งรู้ยากกว่า การเห็นโทษภัยในยึดดี ยิ่งรู้ยากกว่า แต่ด้วยอาวุธแห่งการตรวจตน มองตน มีสัญชาติแห่งคนตรง เราจะไม่กลัวเกรงต่อกิเลสตัวใด เพราะถ้าไม่เห็นกิเลส ไม่รู้จักตัวเอง เราจะพัฒนาตัวเองให้พ้นกิเลสได้อย่างไร

และนี่ต่างหาก คือ คำตอบแทนที่สูงค่า มอบแด่ผู้ทำงานทุกคน

end of column
     

ตลาดอาริยะ ปีใหม่อโศก’๔๔ (สารอโศก อันดับ ๒๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๓ หน้า ๑๓ สิบห้านาทีกับพ่อท่าน โดยทีมสมอ.)