สิบห้านาทีกับพ่อท่าน โดย ทีม สมอ. ตอน...
คุรุสร้างเด็ก เด็กสร้างชาติ
หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 232 ฉบับ เดือนมกราคม 2544
หน้า 1/1

ตราบใดที่สังคมยังนิ่งนอนใจต่อปัญหาเยาวชน ทั้งยาเสพย์ติด และ การคุกคามทางเพศ เด็กวันนี้ย่อมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่บกพร่อง และ แน่นอน จะไม่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนรุ่นต่อไป

วัฏจักรเสื่อมทรามนี้ จะเป็นภัยอย่างใหญ่หลวงต่อมวลมนุษย์ในอนาคต ถ้าทุกฝ่ายไม่เร่งรุดหากทางออก

บทสัมภาษณ์พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ เสนอแนววิถีแห่งพุทธศาสนา ซึ่งมีบทปฏิบัติพิสูจน์ จนเกิดเห็นผลขึ้นแล้ว แม้เป็นเพียงรูปแบบจำลองเล็กๆ แต่ก็ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้แสวงหาทางออก

งานอบรมที่ผ่านมา พ่อท่านให้เปลี่ยนจากการเรียกครู มาเป็นคุรุ เพราะ อะไรคะ

เป็นพัฒนาการอย่างหนึ่ง ของ มนุษย์ ถ้ามันซ้ำซากอย่างนี้ มันก็เฉื่อยๆเท่านี้แหละ เรื่องนี้เป็นการกระเตื้องอะไรขึ้นมาอย่างหนึ่ง อีกอย่างเพื่อชี้ยืนยันให้เห็นลงไปว่า คนที่ทำหน้าที่อย่างครูนี่แหละ ซึ่งเราจะเรียกภาษาต่างไป แต่ก็มีหน้าที่ มีอะไรพิเศษขึ้นมาบ้าง อย่างน้อยเราเป็นครู ที่จะตั้งใจพัฒนาคน ไม่ใช่เป็นแค่ผู้จะสอนเพื่อเอาเงินเอาทองให้ตัวเองเท่านั้น แต่โดยเราจะเป็นผู้สอนด้วยความปรารถนาดี เป็นผู้ที่มีเลือด ของ ครูจริงๆ ยิ่งกว่าครูทั่วๆไป ซึ่งเราคิดว่า น่าจะแตกต่างจากเขา เราก็เรียกให้แยกแตกต่างออกมาหน่อยหนึ่ง ว่าครู ของ พวกเราเป็นคนพิเศษ ทำงานกันไม่เอาเงินเอาทองแลกเปลี่ยน ไม่ใช่เป็นผู้รับจ้าง แต่ผู้มีจิตใจที่ต้องการจะให้ความรอบรู้ มีความชำนาญในการสร้างคน สร้างเยาวชนขึ้นมา หรือ ช่วยให้ผู้ยังไม่รู้ ได้รู้ขึ้นมาจริงๆ เรา จึงอยากจะเรียกครูแบบนี้ว่าคุรุ ซึ่งความจริงก็เป็นคำเดียวกับคำว่าครูนั่นแหละ แต่เรียกแตกต่างกันออกมานิดหน่อยเท่านั้น เอง มันเป็นจิตวิทยาสังคมอย่างหนึ่ง

เน้นอะไรกับครูเป็นพิเศษไหมคะ

เน้นให้เอาจริงเอาจังขึ้นมา แล้วก็ให้เข้าใจในเรื่องแนวทางการศึกษาบุญนิยม ซึ่งเราพาทำ

กันอยู่ บุญนิยม ของ เราหมายลึกซึ้งในเรื่องการศึกษา ให้มันเป็นชีวิตการศึกษาในเรื่องความมีคุณค่า ความมีประโยชน์ต่อชีวิตที่แท้จริง ไม่ใช่ศึกษาเพื่อที่จะรู้มากรู้มาย รู้เลอะเทอะอะไรไปกว้างๆลึกๆเฉยๆ เราบอกว่าจะไม่เอาอย่างนั้น เอาให้รู้ในสิ่งจำเป็น สิ่งที่สำคัญ สิ่งที่เป็นประโยชน์คุณค่าต่อชีวิต เพื่อที่จะยังชีพไปได้ดี เพื่อที่จะเกื้อกูลมวลมนุษย์ที่อยู่ในแวดวงเรานี่แหละให้ได้ดียิ่งๆขึ้น อยู่กันอย่างไม่ใช่เอาโด่งเอาดัง รู้มากรู้มาย รู้สูงรู้ส่ง เราไม่เน้นอย่างนั้น เราจะเน้นในเรื่องที่เป็นสาระ ที่เหมาะสมกับชีวิตมนุษย์ ที่นำมาใช้จริงใกล้ตัวก่อน ซึ่งมีพื้นภูมิกลุ่มชนสังคมที่เราเกี่ยวข้องนี่แหละ ให้ได้มากที่สุด แล้วเสริมความรู้มากรู้กว้างต่อไปตามความจำเป็น และ โอกาส และ ก็เป็นการศึกษาที่จะเป็นไปเพื่อไม่ต้องแยกการดำเนินความเป็นอยู่จริงกับการเรียน ไม่ต้องแบ่งการเรียนออกไปจากชีวิตปกติที่เป็นอยู่ ไม่ใช่เรียนก็ไปเรียนต่างหาก ส่วนชีวิตที่เป็นอยู่จะเป็นอย่างไรๆ ก็ไม่สัมพันธ์กัน อย่างนี้ทำให้ชีวิต และ สังคมแตกแยกล้มเหลว

เพราะ ฉะนั้น การศึกษาเราจะเอาสิ่งที่เกี่ยวข้องกันกับชีวิต ของ เรา กับสังคม ของ เรา กับหมู่ชน ของ เรามาเรียนมาสอน เราจะเน้นให้หาความสำคัญกับการศึกษา ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันให้มันชำนาญ ให้มันแคล่วคล่อง ให้มันเป็นคุณค่าประโยชน์ ให้มันเจริญงอกงาม พัฒนาการขึ้นไปให้ดีๆ เป็นการศึกษาที่เน้นเข้าหาชีวิตที่แท้ที่จริง ได้ใช้ประโยชน์จริงๆ ไม่ใช่เรียนมา ๑๐๐ เอามาใช้จริงๆแค่ ๑๐% อีก ๙๐% ทิ้งไป อย่างนี้นับเป็นความสูญเปล่าทางการศึกษา เสร็จแล้วก็ได้แต่เอาความรู้นั้น ไปคุยโม้โอ้อวด เป็นนักวิชาการที่เป็นนักรู้เฉยๆ แต่ทำอะไรไม่เป็น มันเลอะไปหมด รู้มากแต่ใช้ประโยชน์กับสิ่งที่เป็นจริงในชีวิตได้น้อย แต่ให้ราคา”คนรู้มาก”แพงๆ การศึกษา จึงกลายเป็นสร้าง”คนรู้มาก”ขึ้นมาแย่งรายได้ และ ตำแหน่งยศศักดิ์กัน เนื้อหาสาระแท้ ของ การศึกษาที่จะเป็นประโยชน์ต่อชีวิต และ สังคม จึงเพี้ยนออกไปยิ่งๆขึ้น

ถ้าข้อสรุปการศึกษาทางทุนนิยมมุ่งไปเพื่อหาเงินมากๆ ข้อสรุปการศึกษาบุญนิยมคืออะไรคะ

การศึกษาบุญนิยม เป็นการศึกษาที่ใช้กับชีวิตให้ได้มากที่สุด ให้สอดคล้องกับชีวิตมาก ที่สุด โดยไม่ขึ้นกับรายได้เงินทอง ไม่ขึ้นกับว่าเราจะไปล่าลาภยศ เราจะเน้นให้เกิดคุณค่าประโยชน์ ต่อสภาวะจริง ของ การดำเนินชีวิตมนุษย์เป็นหลัก อันนั้น แหละเป็นเนื้อเป็นแก่นกว่าที่เราจะเรียนรู้สูง รู้มาก รู้กว้าง ไปรู้เกร็ดความรู้อะไรเลอะๆเทอะๆ แล้วก็เอาไปตอบปัญหาชิงรางวัลเงินล้าน ดูเหมือนเก่งวิเศษ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตเท่าไร!

เยาวชนที่เป็นอย่างทุกวันนี้ จะสร้างชาติได้อย่างไรคะ

เด็กทุกวันนี้จะสร้างชาติได้ ก็ต้องทำตนเองให้มีทุนทางสังคม คำว่าทุนทางสังคมนั้น คือ คนที่มีคุณธรรม และ ปฏิบัติตามระบบบุญนิยม คุณธรรม คือ ความดีงาม ไม่โลภไม่โกรธไม่หลง หรือ โลภน้อยลงๆ เห็นแก่ตัวน้อยลงๆ เห็นแก่ได้น้อยลงๆ มีความเสียสละมากขึ้นๆ สร้างสรรค์มากขึ้นๆ ขยันเอื้อเฟื้อเกื้อกูล เจือจาน และ มีเมตตา

คนที่มีคุณธรรมอยู่ในตัวเอง นั่นคือคนที่มีทุนในตัวแล้ว ยิ่งสร้างตนให้มีคุณธรรมสูงยิ่งๆขึ้นก็เป็นคนมีทุนทางสังคมมากยิ่งขึ้นๆ นี่เป็นทุนแท้เริ่มที่ตน

และ เมื่อตนเป็นทุนที่ดี สังคมก็จะได้รับสิ่งดีๆนั้น ด้วย เช่นคนอื่นที่เห็นคนดีนี้ ก็จะเอาอย่างตาม ก่อเกิดเป็นทุนทางสังคมเพิ่มขึ้น เป็นการแพร่ทุนกระจายทุนในสังคมออกไปอีกนัยะหนึ่ง

และ คนที่มีคุณความดี มีศีลธรรมในตัวเองนี้ ก็ยังจะประกอบบทบาทลีลา ที่เป็นกรรมกิริยา ของ ตน เป็นพฤติกรรมสร้างสรรสิ่งที่ดีให้แก่สังคมอยู่อีกตามการกระทำที่เกิดขึ้นจริง ตราบที่ยังไม่ตาย ก็เป็นทุนทางสังคมต่อเนื่องออกไปหลายนัยะเป็นต้น

ทีนี้ ยิ่งมาปฏิบัติตามแบบ ของ บุญนิยม คือเป็นคนที่ลดกิเลสอย่างแท้จริง ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ได้ เป็นคนเสียสละ สามารถได้เป็นร้อยเป็นพัน แม้เป็นหมื่นเป็นแสน แต่ตัวเองก็เอาไว้น้อย ตามระบบบุญนิยมเช่น ทำได้ ๑ หมื่นตัวเองเอาไว้ ๒ พัน อีก ๘ พัน สละให้แก่สังคม ให้แก่คนอื่น ไปเรื่อยๆ อย่างน้อยเป็นการช่วยทั้งเศรษฐกิจ และ สังคมจริงๆ

เพราะ ฉะนั้น ถามว่าจะทำอย่างไร ก็ต้องสร้างเด็กให้มีคุณธรรมขั้นอาริยธรรม ของ พุทธ ให้เด็กเป็นงาน ขยันหมั่นเพียร ไม่เห็นแก่ได้ ไม่เอาเปรียบ เป็นโลกุตรบุคคลให้ได้จริง จึงจะเป็นไปได้ ไม่จำเป็นต้องฉลาด หรือ มีเกร็ดความรู้รอบตัวกว้างขวาง พูดได้มาก คิดได้มาก แต่ทำอะไรไม่เป็น อย่างนี้ไม่มีทางกอบกู้สังคม ทำให้สังคมไปไม่รอด ยิ่งคิดมากก็ยิ่งมีอัตตาตัวตน ยึดว่าตัวเองรู้ ตัวเอง ฉลาด ตัวเองเก่ง ตัวเองดี ยิ่งแย้งยิ่งเถียง ยิ่งทะเลาะกันวิวาทกัน เสียเวลาอยู่อย่างนั้น เช่นที่การศึกษายุคนี้ผลิตเยาวชนขึ้นมาให‰แก่สังคม และ เป็นอยู่ในสังคมขณะนี้

เพราะ ฉะนั้น ถ้าผู้ใดสามารถเรียนรู้ชนิดมีคุณธรรม จากเด็กโตเป็นผู้ใหญ่ที่บรรลุธรรม มีสัจธรรม ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่พรรคแก่พวก ไม่โลภโมโทสัน ก็จะเป็นคนที่มีใจไม่ลำเอียง มีปัญญาที่มองอะไรได้อย่างคมชัดถูกต้อง เพราะ ไม่มีกิเลสตัณหาไปอำพราง ไปบิดเบี้ยวทำให้ความเข้าใจ ผิดเพี้ยน มันก็จะทำให้อะไรต่ออะไรถูกตรงสัจธรรม เมื่อกิเลสลดลง ก็จะเป็นเด็กดี โตเป็นคนดี เป็นผู้สามารถสร้างสังคมในอนาคตได้

หลักการ ของ ศาสนาพุทธนั้น ถ้าเข้าใจถูกต้องเป็นสัมมาทิฐิแล้ว ศาสนาจะช่วยสังคมได้ ดังที่กล่าวแล้วจริงๆ เพราะ ฉะนั้น ทุกวันนี้ต้องหันมาทางพุทธศาสนากันให้จริงๆ และ เข้ามาช่วยสร้างเด็กสร้างเยาวชน ให้เป็นอย่างนี้จริงๆ

เมื่อสร้างเด็กให้เป็นคนดี เด็กก็จะไปสร้างชาติ เป็นกำลัง ของ ชาติในอนาคต แต่ก่อนอื่นผู้ใหญ่ที่เป็นคุรุ ที่จะเป็นผู้สอน เราไม่เรียกครู เพราะ เดี๋ยวนี้ครูก็เพี้ยนไปแล้ว มันเลอะเทอะกันไปหมดแล้ว เช่น ครูที่พ่ายแพ้ต่ออำนาจโลกธรรม ทำงานเพื่อล่าลาภ ยศ โลกียสุข ไม่มีจริยธรรม และ คุณธรรม ของ ความเป็นครูที่ดีแล้ว อย่างนี้สังคมก็ล้มเหลวไปหมด

เพราะ ฉะนั้น ต้องมาเป็นครูที่ดี ต้องฝึกฝนปฏิบัติธรรมจริงๆ เพื่อให้เกิดคุรุก่อน ครูต้องเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ที่มีธรรมะก่อน ธรรมะ ของ พระพุทธเจ้า ไม่ได้เป็นธรรมะที่ละลดการงาน ไม่ได้เป็นการรู้โลกน้อยลง ตรงข้ามช่วยให้รู้โลกมากขึ้น ลึกขึ้น รู้เท่าทันโลกียะ เป็นโลกวิทูยิ่งขึ้นด้วย และ ก็ขยันหมั่นเพียร มีความสามารถมีความรู้ ทำงานกับสังคมได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านเศรษฐกิจ การเมืองสังคม การศึกษา หรือ เรื่องศาสตร์ต่างๆ ก็มีความสามารถอย่างเต็มที่ เพียงแต่ลดกิเลสให้ถูกต้อง ลดกิเลสให้จริง ตามที่พุทธศาสนาสอนก็แล้วกัน

end of column

สิบห้านาทีกับพ่อท่าน ทีมสมอ. (สารอโศก อันดับ ๒๓๒ หน้า ๑๒ - ๑๖ เดือนมกราคม ๒๕๔๔)