ขอนำเสนอ...คิดใหม่
ทำใหม่
๑.โครงการส่งเสริมการปลูกพืชไร่ไร้สารพิษ
ให้มีกินตลอดปี
ปัญหา
๑. ชาวอโศกมีญาติธรรมเป็นเกษตรกร ประมาณ ๗-๘๐ % แต่กลับไม่มีโอกาสได้บริโภค
ผลิตผลที่ไร้สารพิษ ตลอดทั้งปี
๒. ชาวอโศกปลุกระดม การทำเกษตรธรรมชาติหลายสิบปี แต่เราก็ยังไม่มีความสามารถ ที่จะบริโภคได้ตลอดปี
๓. เราไม่มีแหล่งผลิต-แหล่งรับซื้อ ที่ชัดเจน
แนวทางแก้ไข
๑.
กรณีผักสวนครัว ควรให้ทุกบ้านปลูกให้มากเข้าไว้
ขั้นอุดมคตินั้นก็คือ ไม่ต้องไปจ่ายตลาด เราก็ทำกับข้าวได้ (ท่านติกขวีโร ได้เทศน์เรื่องนี้ที่ศีรษะอโศก เมื่อเดือน ม.ค.๔๔)
๒. กรณีพืชไร่
๒.๑) ให้ทุกชุมชนของชาวอโศก เป็นแหล่งรับซื้อผลิตผลของญาติธรรม
ชุมชนจะกลายเป็น ตลาดกลางของญาติธรรม ไปโดยปริยาย (ให้ส่งเองขายเอง ก็ไม่ปลูกแน่ๆ)
๒.๒) ญาติธรรมเมื่อมั่นใจในตลาด ก็จะมีกำลังใจเพาะปลูก เขาจะแยกไว้ ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งบริโภคเอง ส่วนที่ ๒ ส่งมาขายที่ชุมชน โดยไม่ต้องลงมาที่กรุงเทพฯ
๒.๓) การรับซื้อจากญาติธรรม จะไม่เน้นปริมาณ แต่เน้นคุณภาพ (ไร้สารพิษจริงๆ)
ญาติธรรม ถ้าปลูกมากก็อาจเหนื่อย หรือเป็นเรื่องใหญ่โตเกินไป ปลูกสบายๆก็คือ
แบ่งพื้นที่บางส่วน เช่น ๑๐๐ ตารางวาบ้าง ๒๐๐ ตารางวาบ้าง ๔๐๐ ตารางวาบ้าง
๒.๔) จากสายน้ำแต่ละสาย สายเล็กๆมารวมกัน ที่ชุมชนชาวอโศก ชุมชนจะปฏิบัติตัว
เหมือนเป็นพ่อค้าคนกลาง รับซื้อไว้ บริโภคเอง ๑ ส่วน และที่เหลือจัดส่งไปขาย
ตลาดของเรา
ทุกชุมชนของชาวอโศก จะมีรถกระบะอยู่แล้ว และไปมาระหว่าง
พุทธสถานอื่นๆ เป็นประจำ ๓ วันบ้าง ๔ วันบ้าง ต่อ ๑ ครั้ง สินค้าจะมีการถ่ายเทตลอดเวลา
๑. ส่งไปขายยัง ชุมชนอโศกที่ต้องการ
๒. ส่งไปขายยังบริษัทระบบบุญนิยมของเรา เช่น แด่ชีวิต, ขอบคุณ, พลังบุญ,
ศาลา ๑ ฯลฯ
๓. ส่งไปขายญาติธรรมอโศกกลุ่มต่างๆ
๔. ส่งไปยังตลาดอื่นๆ ที่มิใช่ชาวอโศก
กรณีสินค้าล้นตลาด
๑. หาตลาดระบายสินค้าให้มากขึ้น
๒. ปลุกระดมญาติธรรม ให้ช่วยกันซื้อไปบริโภคเป็นกรณีเฉพาะกิจ โดยสมณะแต่ละพุทธสถาน เป็นผู้ช่วยบอกกล่าว
๓. ในกรณีญาติธรรม ปลูกซ้ำซ้อนจนมากเกินไป ซึ่งจะมีในอนาคต เมื่อถึงเวลานั้น
ต้องวางแผนจัดการเป็นสัดส่วน มีโควต้าให้ปลูก
๔. ญาติธรรมกลุ่มต่างๆ อาจมีใบสั่งสินค้าล่วงหน้า ทำให้การจำหน่ายสะดวกมากขึ้น
อาจจะสั่งเองโดยตรง หรือ ผ่านร้านระบบบุญนิยมต่างๆ
๕. การสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า จะทำให้ผู้ผลิต-ผู้จำหน่าย คล่องตัวมากขึ้น
ผลดี
๑. ญาติธรรมจะมีสุขภาพดี กินอาหารไร้สารพิษ เพราะเป็นคนปลูกเอง
๒. ชุมชนชาวอโศก ก็จะมีสุขภาพดี
๓. ชาวอโศกก็จะมีสุขภาพดีถ้วนทั่ว
๔. ชุมชนอโศกได้มีโอกาส ฝึกวรรณะพ่อค้าคนกลาง ในระบบบุญนิยม ซึ่งในระยะยาว
เราจะมีประสบการณ์ค้าขายพืชไร่ ตลอดจนการจัดการ ในระบบบุญนิยม ที่เก่งกล้า
และสามารถมากขึ้น
๕. ชุมชนจะมีค่า เพราะมีบทบาทต่อสังคม ชัดเจนขึ้น (ยกระดับชุมชน)
ผลพลอยได้
๑. เป็นอีกบทบาทหนึ่ง ที่โลกจะชื่นชมในธรรมฤทธิ์ ที่กลั่นออกมาเป็นรูปธรรม
๒. จะเกิดการเกื้อกูล ระหว่างชุมชนกับชุมชน และชุมชนกับเกษตรกรทั่วไป
(ชาวธรรม : ชาวโลก) จนเกิดเป็นเครือข่าย
๓. มีส่วนช่วยแก้ปัญหาระดับประเทศ ที่หมักหมมมานาน
อุปสรรค
๑. ชุมชนไม่ร่วมมือ ไม่เห็นคุณค่า
๒. ผู้ปฏิบัติงานบางคน กลัวบุญหนัก
๓.สมณะไม่ร่วมมือผลักดัน
๒. โครงการปลูกผักพื้นบ้านของชาวอโศก
เหตุผล
-พ่อท่านเทศน์อยู่เสมอ เน้นผักพื้นเมือง เป็นผักที่แข็งแรง
ผักที่ปลูกขายทุกวันนี้ เป็นผักปัญญาอ่อน -ผักพื้นบ้านมีคุณค่าสูงกว่าพืชผัก ที่ปลูกขายทั่วไป
ญาติธรรมหรือผู้บริโภค จะมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น -การไม่มีผักพื้นบ้านทานกัน
เป็นความน่าอับอาย(มีแต่ทฤษฎี)
-เป็นการสนับสนุน เศรษฐกิจพอเพียง
-เป็นการสร้างคุณค่าวัฒนธรรมไทย-วิถีชีวิตไทย
-ยังไม่มีการจัดการที่ดีพอ ผักพื้นบ้านจึงเป็นเพียง... ความฝันในสายลม!
ความจริงในม่านหมอก!
แนวทางการจัดการ
๑. พุทธสถานทุกแห่ง
(รวมถึงชุมชน) ควรเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ ด้วยการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
๑.๑ แบ่งพื้นที่ปลูกผักพื้นบ้าน ออกเป็นสัดส่วน
๑.๒ หรือระดมปลูกแซมไปเรื่อยๆ แล้วแต่จะเหมาะสม
๑.๓ ลงทะเบียนให้ชัดเจน ปลูกอะไรกี่ต้น และสรุปความก้าวหน้าทุกเดือน
๑.๔ กำหนดวันรณรงค์ ปลูกเป็นคราวๆ
๑.๕ กำหนดวันกินผักพื้นบ้านเป็นคราวๆ โดยวันนั้นบนศาลาฉัน จะมีแต่ผักพื้นบ้าน
๑.๖ แบ่ง-แจกจ่าย-ไหว้วาน ให้ญาติธรรม ไปเพาะเลี้ยงใส่กระถาง(ถุง) เพื่อเตรียมปลูกลงดิน
๑.๗ พุทธสถานจัดแปลงเพาะชำ,พักฟื้น หรือสถานที่วางผักพื้นบ้าน เป็นกิจลักษณะ
มีกิจกรรมเพิ่ม ตรงส่วนนั้นก็คือ ทำร้าน ปรับสถานที่ เพื่อจำหน่าย-แจก
แก่ผู้สนใจ หรือขายถูกๆ
๒.หาสมาชิกญาติธรรม เข้าโครงการปลูกผักฯ
โดยสมาชิกทุกคน จะทำสมุดทะเบียนผักฯที่ปลูก ให้เห็นเป็นรูปธรรม และควรปลูกเพิ่มขึ้นในด้านปริมาณ-ความหลากหลาย ในทุกๆเดือน
๓.รายงานผลความก้าวหน้า
ลงในวารสารของชาวอโศก เดือนละครั้ง เพื่อสร้างบรรยากาศ สร้างกระแสความตื่นตัว
ให้กับญาติธรรม
๔.การปลูกผักพื้นบ้าน จะลำบากในช่วงแรก
แต่เมื่อต้นไม้เจริญแล้ว การดูแลก็จะลดลงเอง
๕.จัดประกวดผักพื้นบ้านเป็นคราวๆ
แบ่งเป็นประเภทๆ เช่น ประกวดการปรุงอาหาร, ความสวยงาม, ความแข็งแรง ฯลฯ
งบประมาณ
๑.ไม่ต้องใช้ ช่วยกันเอง
๒.วานญาติธรรม ช่วยเพาะหรือหาเมล็ดมา
๓.กรณีจำเป็น อาจต้องลงทุนซื้อมาบ้าง
อุปสรรค
งานสำคัญด้านอื่นมีมาก จนทำให้โครงการลดความสำคัญ
ระยะเวลา
ทำตลอดชีวิต เพราะเป็นวิถีชีวิต รู้กิน-รู้อยู่
สมพงษ์