อริยสัจ ๔ พิสดาร
( ตอน ๒๓ : ภาค ๓ )

หนังสือพิมพ์สารอโศก
อันดับที่ 234 มีนาคม 2544

อริยสัจ ๔ พิสดาร นี้ บรรยายแจกแจงโดย สมณะโพธิรักษ์ ที่ แดนอโศก เมื่อวันที่ ๒-๕ สิงหาคม ๒๕๑๕ ได้อธิบาย ความจริงแท้ อันประเสริฐ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อย่างละเอียดลึกซึ้ง ซึ่งพิสดาร แตกต่าง จากเหล่าอาจารย์ และนักปราชญ์ทั้งหลาย เคยบรรยายไว้
(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

ภิกษุทั้งหลาย นี่แหละอริยสัจ อันว่าข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสนิท ของความทุกข์ก็จริง หนทางอันประเสริฐ ที่ประกอบ ไปด้วย องค์มรรค ๘ นี้ ผู้ที่มีความเห็นแจ้ง เป็นสัมมาทิฐิองค์ที่ ๑ เรียกว่า มีความเห็นถูกต้อง หรือ มีความรู้ถูกต้อง หรือ มีความได้ยินมาถูกต้อง เอาแต่แค่ ได้ยินมาถูกต้องก็ตาม และคุณจำเอา ความได้ยินนี้ไว้ ได้แค่สุตะ ฟังมา จำแม่น อย่างถูกต้อง คุณก็เอาสุตะนี้ไปพูด ให้คนอื่นฟัง โดยไม่ผิดเพี้ยน มันก็มีความถูก ที่ต่อความถูกไปอยู่ ถ้าไปขยาย สิ่งที่เราเองไม่มี เอาของเรา มาเทียบเคียงจิตของเราเข้า ก็ชักบีบเบี่ยงเบน และชักเบี่ยงเบน

แต่ถ้าจิตของคุณมีความเห็นจริง มีความเห็นอย่างนั้น และมีความรู้ฟังมาด้วย เห็นจริงด้วย เพราะคุณมีจิต เป็นจิตเป็นผล มีวิมุติ มีจิตนิโรธอย่างแท้จริง คุณก็เปิดจิตนิโรธนั้น ออกอธิบายให้แก่คนอื่น ไม่เบี้ยว คุณจะฟังภาษาไทยมา คุณเรียนรู้ภาษาไทยมา ตั้งแต่อ้อนแต่ออกมา แล้วก็ฟังภาษาไทย จนกระทั่ง อายุปานนี้ แล้วคุณก็ปั้น ภาษาไทยไปเลย คุณก็ปั้นตามสาระ ของนิโรธอย่างที่ คุณเข้าใจแน่

อย่างผมเข้าใจนิโรธของผมเป็นอย่างนี้ ผมเอานิโรธมาปั้นสู่ให้คุณฟัง มาตั้งแต่ต้น มาจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ไม่ได้เอานิโรธดับ เดินแข็งที่จะอยู่เฉยๆนั้น เอามาปั้น ผมเอาอันโน้น มาเป็นเบื้องต้น ให้พวกคุณมานั่ง พยายามกระทำนิโรธ หรือดับ ก็ดับไปเป็นขั้นๆ แล้วลืมตาให้ได้นี่แหละประเสริฐกว่า ไปหลับตานั้น มันไม่ประเสริฐอะไร แต่มันก็จะมีจุด ตัวสงบเหมือนกัน ไปทำสงบอย่างนั้น แล้วรู้ อะไรมากมายนักล่ะ ไม่รู้กิเลส แต่ไปรู้แต่ตัวสงบ

ผมก็เอานิโรธพวกนี้มาอธิบายสู่คุณฟัง แจกแจงตามภาษาที่ผมรู้ แม้ผมยังไม่ได้ ภาษาบาลีเลย ผมก็ส่งภาษาไทย ของผมเขรงๆ เพราะผมเรียน ภาษาไทยมาตั้ง ๓๐ กว่าปีแล้วนี่ ตั้งแต่เกิดมาจนอายุ ๓๐ กว่าแล้ว มาอธิบายธรรมะ ผมก็พูด ภาษาไทยของผม เหย็วๆอยู่กลางวัด คนรู้ภาษาบาลีมา เรียนภาษาบาลีมาเยอะ เรียนภาษามาเยอะ เขาก็ท้วงผมมา ว่าพูดเอาเอง อ้าว ก็ผมมีเอง ผมก็พูดเองน่ะซิ อย่างนั้นผมเอาอะไรมาพูดล่ะ ผมก็เอาของผมเอง มาพูดน่ะซิ ผมจึงเห็นว่า อ๋อ! เราต้องเรียนบาลีไว้บ้าง เรียนตำรา เขาบ้าง เรียนอะไรเขาบ้าง ก็ถึงเรียน แล้วผมก็เอามาพูด ประกอบด้านภาษาต่างๆ แล้วผมก็ขยายออก ขยายๆมา จนทุกวันนี้ มันก็ไม่เห็นผิดเพี้ยนอะไร มันก็ถูกต้อง ของมันอยู่ ตามที่ผมเห็นถูกต้อง แล้วพวกคุณ ก็มาเห็นถูกต้องด้วย คุณก็มาเอาตาม ด้วยความเห็น ด้วยความเข้าใจ อันนั้นจริง

ผมถึงยืนยันว่า มันเป็นผล มรรคนี้คือผล แล้วไม่มีใครอุตริมาพูดอย่างผมด้วย เพราะเขาไม่กล้าพูด เขาพูดแล้ว เขาอธิบาย ไม่ออก เพราะมรรคนี้คือผล แล้วเขาไม่รู้บาลีด้วยว่า มรรคนี้คือผลอย่างไร แม้อธิบายคำว่ามรรคะ มันมาจากจิตอันยิ่ง จิตอันประเสริฐ จิตอันบริสุทธิ์ สุดที่สุดของผลแล้ว ผมเอารากเหง้าของภาษา มาพูดกับคุณ คุณฟังมาจนป่านนี้แล้ว ก็ค่อยยังชั่ว

ผมเอาไปพูดกลางวัดมหาธาตุฯ เอาไปพูดกลางธรรมะข้างนอก เดี๋ยวนี้เขาก็หาว่าผมบ้า อยู่อีกนั่นแหละ พูดอะไรกัน มรรคคือผล ผลคือมรรค เขาก็หาว่าผมบ้า อยู่อย่างเก่าอีกนั้นแหละ กว่าคุณจะเข้าใจ คุณก็ได้มาทดสอบ คุณได้มาเห็นว่า ที่สุดใจของผม ผมเองผมพยายามจูง ให้คุณเข้าใจสิ่งที่สูง มันกลับตาลปัตรหมดแล้ว หัวเป็นหาง มันกลับไขว้เขวกันหมดแล้ว มันปนกันจนเลอะ หมดแล้ว กว่าจะแยกออก กำหนดหมายลงไป ให้คุณรู้เป็นชั้นๆ เชิงๆ เป็นชิ้นเป็นอันนี่ แหม! มันก็กี่ปีแล้วล่ะ นี่มัน ๓ ปีแล้ว ก็พูดเรื่องเก่านี่แหละ ก็เป็นอิติวุตกะนี่แหละ เป็นชาดก เป็นนิทาน เรื่องเดิมนี่แหละ ไม่ได้ไปไหนหรอก เรียนกันมานี่ ไม่ได้ไปไหนหรอก อีก ๓ ปี, ๕ ปี, ๘ ปี ถ้าคุณยังฟังอยู่ มันก็จะเป็นอย่างนี้ แต่มันจะมีสภาวะ พิสดารขึ้นอีก ตามฐานที่คุณได้

เพราะฉะนั้น ฐานนี้ก็จะใส่ลงไปได้ ใส่ลงไปได้ ตามฐานที่จะรับได้ละเอียดขึ้นนี้ เมื่อความเห็นถูกต้อง มันเป็นความเห็นที่จิต ความดำริก็ถูกต้อง ขณะนี้ คุณฟังผมไป คุณเกิดความเห็นอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น คุณจะไปดำริที่ไหน คุณก็ดำริได้ เท่าภูมิของคุณแน่ เพราะฉะนั้น คุณจะพูดมาเป็นภาษา เป็นวาจา มันก็จะเป็นสัมมาวาจา เป็นความมีวาจาถูกต้อง ตามภูมิของคุณเหมือนกัน

ถ้าคุณเห็นเริ่มต้นตั้งแต่สัมมาทิฐิ เป็นแบบอย่างของคุณ จะเอาเป็นภาษา เรียกว่าสัมมาก็ตาม ที่จริง มันมิจฉาทิฐิแล้วนะ มันไปเห็นอีกอย่างหนึ่ง คุณดำริแน่นอน เห็นไหมว่า สัมมาสังกัปโปมันต่อ ต่อจากทิฐิ มันก็ต้องดำริตามที่เข้าใจนั้นแหละ ออกมาเป็น ภาษา มันก็จะเป็นตามภาษา มันจะออกมาปั้น ให้สัมมาสังกัปโป ของคุณนั่นแหละ มันก็จะปั้นจิต ของคุณนั่นแหละออกมา ขยาย ออกมาตามความเห็น ตามความรู้ เพราะฉะนั้น แม้คุณจะทำกายกรรม แม้คุณจะทำ การงานทางกาย นี่ท่านแปลมาชัดเจน ท่านบอกว่า มีการกระทำทางกาย กัมมันโตท่านถือว่า เป็นการกระทำทางกาย ที่จริงกัมมันตะ มันเป็นทางจิตก็ได้ กายก็ได้ไม่ว่า ผมไม่สงสัย ผมไม่เดือดร้อน คือมันเป็นสิ่งโตแล้วก็จริง ชัดเจนเป็นที่สุด แห่งกายกรรมก็เอา

เราจะมากระทำอย่างนี้ออกมา มันก็จะต้องลงล่องลงช่องกัน อยู่กับจิตที่เรามีความรู้ตั้งแต่ต้น เพราะฉะนั้น อาชีวะ ชีวิตของ เราที่ยังเป็นอยู่ มันก็ต้องเป็นไปตามที่เรามี สัมมาทิฐิมาตั้งแต่ต้นอย่างไร สัมมาวายาโม คุณก็จะต้องพยายาม เพราะคุณเห็นดีแล้ว ว่าอย่างนี้เป็นสัมมา อย่างนี้เป็นความชอบ อย่างนี้เป็นความถูกต้อง อย่างนี้เป็น ความดี เขาแปลกันมา ตั้งแต่เดิมว่า มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ คำว่าชอบนี้ มันเป็นกิเลสไปหน่อยหนึ่ง เดี๋ยวนี้ ภาษามัน กลายเป็นกิเลสไปแล้ว ท่านเลยแปลว่า ถูกต้องก็ดีนะ ผมมาแปลว่าเหมาะควร

คำว่า “สัมมา” ผมแปลว่าเหมาะควร ว่าสิ่งนี้เป็นเหมาะเป็นควร เหมาะตัวนี้ ตามความเห็นของเรา ความเห็นใครเห็นก็ถูก ต้อง ถูกต้องของใครๆทุกคนๆ นั้นแหละ เขาทำสิ่งนี้ เขาว่าดีของเขา เขาก็ว่าทำถูกต้องของเขา มันก็เหมือนกัน ถ้าคนนี้ จะอธิบายว่า เหมาะควร ความเห็นของเขา ว่าเหมาะควรของเขา เขาก็เอาเหมาะควรของเขา ก็ว่าอย่างนั้นแหละ ทีนี้เราก็พยายาม จูงภาษาให้มัน ออกห่าง ออกห่างที่เข้าใจอีกอย่างหนึ่ง ออกไปเรื่อยๆ

มีความพยายามถูกต้อง แล้วก็มีการระลึกประจำใจ ท่านแปลสติว่า การระลึกประจำใจ ก็ละเอียดขึ้นดี มีการระลึกประจำใจ ถูกต้องคือมีสติ ระลึกประจำใจอยู่เสมอนะ ให้มีความระลึกรู้ วิเคราะห์มันอยู่เสมอ ตัวสติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ให้มันมีบทอันหนึ่ง หรือ ไตรลักษณ์อันหนึ่งนะ ให้เป็นสัมมาญาณอ ันหนึ่งนะ ก็พยายามมีธัมมวิจัย พยายามวิเคราะห์ แปลภาษาเดี๋ยวนี้ ก็คือวิเคราะห์ พยายามวิเคราะห์สิ่งที่ผัสสะ สิ่งที่กระทบรู้ ให้มีสติ ให้จิตมันทำงานเต็ม อย่าให้จิตมันตก สติให้จิตชัดๆ ทำงานอยู่เสมอๆให้ได้ มันจึงจะดำเนินไป ดำเนินไป ถ้าเรามีเป้าหมาย เป็นอุเบกขา เป็นที่สุดแล้ว มีปีติ มีปัสสัทธิเอง แล้วก็มีสมาธิ ตั้งมั่นลงที่จิต แล้วก็มี อุเบกขา โพชฌงค์ที่สุดแล้ว มีปีติ มีปัสสัทธิเอง แล้วก็มีสมาธิ ตั้งมั่นลงที่จิต แล้วก็มีอุเบกขา โพชฌงค์จะเดินอย่างนี้ สั่งสมลง อุเบกขา เป็นที่สุด แล้วก็อุเบกขานี่แหละ ลงไปหาสมาธิ จะไปย่นย่ออธิบาย เป็นแบบญาณ มีวิตกวิจาร ปีติ สุข อุเบกขา ก็เหมือนกัน ถึงอุเบกขาเป็นที่สุด เราจะพยายามอย่างนี้ แล้วจะมีการระลึกประจำใจ และ ความมีการตั้งใจมั่น อย่างถูกต้อง ท่านแปลว่า ตั้งใจมั่น ที่แปลว่า พึ่งเริ่มต้นปฏิบัติ พอตั้งใจก็คือเริ่มต้นทำ ใจที่ตั้งมั่นแล้ว ก็เป็นการบริบูรณ์

เพราะฉะนั้น สมาธิ อธิจิตตัวนี้ เมื่อเริ่มต้นตั้งใจ ก็คือสัมมาทิฐิ ให้มีสัมมาทิฐิเกิด คือตั้งใจ รู้แล้วว่าอย่างนี้ เข้าใจดีแล้ว แล้วก็ พยายามทำความเข้าใจดีอันนี้ ให้มันเป็นตัวตน เข้ามาอย่างจริงจัง จนกระทั่ง มันแน่แน่วที่จิต จิตตั้งมั่นแล้ว ทำความสงบระงับ ทำความเข้าใจรู้รอบ ตัดปล่อย วาง คืออย่างนี้ ยังยึดเอาไว้เป็นทุกข์ คืออย่างนี้ เห็นชัดที่จิต อย่างแน่นอนที่สุด สิ่งนั้นก็เป็นสมาธิ หรือ เป็นอธิจิต หรือเป็นจิต อันที่ได้ตั้งลงแล้วที่จิต ไม่ใช่ตั้งจิตขึ้น ไม่ใช่เพิ่งเริ่มต้นขึ้น แต่มันหยั่งลง ตั้งลง ยืนลง หยั่งลงอย่างมั่นคง แน่นอนแล้ว เป็นจริงแล้ว เป็นตัวแล้ว เป็นอันนั้นแล้ว จึงเรียกว่า อธิจิตตัวเต็ม เป็นสัมมาสมาธิ แม้ในจิตยังต้องอธิบายมันเอง แม้ใน สัมมาสมาธิ หรือในอธิจิต จะต้องอธิบายมันเอง ถ้าเข้าใจ

ถ้าจะอธิบายว่าเริ่มต้นตั้งก็ได้ ก็คือเริ่มต้นตั้งเป็นสัมมาทิฐิ คุณเข้าใจสัมมาทิฐิอย่างนี้แล้ว เพราะฉะนั้น คุณก็ไปทำ ทำให้ มันได้ เท่าที่ฐานของคุณได้แค่ไหน แล้วก็ต่อฐานไป ขณะนี้คุณก็เจียนก็จัด อันใดที่แล้วให้รู้แล้ว อบายมุขคุณรู้แล้วๆๆๆ แล้วเลิก ไม่ต้องไปวุ่นมันอีก แน่ใจแล้ว ไม่มีทางจะเวียนกลับ มันมาทำงานอะไร กับเราไม่ได้แล้ว แล้วเลิกรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แล้วรู้แล้ว จบไป ไม่มีปัญหา เพราะฉะนั้น เมื่อคุณแน่ใจในโลกต่ำๆ ทั้งหลายแล้ว ไม่มีในตัวคุณ เป็นสังโยชน์ อย่างหยาบ สังโยชน์อย่างต่ำ คุณปล่อยได้ วางใจได้ ไม่มีฤทธิ์ ไม่มีผล ไม่มีทำให้เราเวียนกลับได้ อย่างแน่นอน เรามั่นใจแล้ว

เหลือฐานต่อไป คุณหลงดี ยังเสพสิ่งดีนี้ ผยองตน มีปีติ มีอะไรแรงเกินไป จัดเกินไป จนสามารถที่จะทำให้ เราก่อเกิดได้ จนกระทั่ง ทำให้เราแตกหัก ทำให้เราทำความเลวได้ มีโทสะ มีโลภะได้ ก็ให้รู้ให้ได้ว่า เราทำดีนี้ มันดีเกินไป บางที มันก็ไม่ได้เรื่อง ถ้าดีพอประมาณขนาดนี้ดีแล้ว อยู่ในกลุ่มนี้ พอไปได้ เกิดผลดีก็กระทำ แล้วอย่าหลงตน อย่าติดตน อย่าหลงดีว่า นั้นเป็นตน

หรือแม้แต่ติดความสงบมากเกินไป ก็ให้รู้จักพออิ่มในความสงบนั้นบ้าง ถ้าไม่อิ่มในความสงบนั้น ตัดสลัดคืน ความสงบนั้น ไม่ได้ ความสงบนั้น ก็จะเป็นอัตตกิลมถานุโยค อีกส่วนหนึ่ง จะต้องเลาะอยู่ในป่า เหมือนปัญจวัคคีย์ นั้นแหละ รอพระพุทธเจ้าตรัสรู้ จนกระทั่ง มาขุดออกจากป่า ไม่งั้นจะกลายเป็นปัญจวัคคีย์ จมอยู่ในป่า ตลอดกาลอยู่ เหมือนเก่านั้นแหละ อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้ เราก็จะต้องเข้าใจให้ได้

เรารู้ความสงบแล้ว ทำความสงบไว้ที่จิตอยู่ด้วยเรา สงบนี้ไม่ได้ไปอยู่ที่อื่น สงบนี้ไม่ต้องอาศัยสถานที่ ไม่ต้องอาศัยเวลา เป็นสงบ อยู่ในตัวของมันเอง นิดหนึ่งน้อยหนึ่ง ก็ได้แล้วสงบ พอวางปั๊บก็สงบเลยทันทีที่จิต ทำให้ได้ ไม่ต้องอาศัยเวลา ไม่ต้องอาศัย อายุ ไม่ต้องอาศัยสถานที่ แม้อยู่กลางความดีดดิ้นของโลกียะ เราก็สงบได้ ไม่เกิดโทสะ ไม่เกิดโลภะในจิต ไม่เลย แล้วก็ไม่โมหะ ไม่หมุน ไม่วน ไม่หลงผิด ไม่เอาหัวเป็นหาง ไม่เอาถูกเป็นผิด ไม่เอาชั่วเป็นดี สะอาด ทำได้แจ้งชัด แข็งแรง ทำให้ได้จนปานนี้ จิตของคุณมั่นคงแล้ว ก็ไม่ต้องหลงดีนี้ ไม่ติดสงบ แล้วก็ไม่ต้องหลงดีที่เรา ทำได้นี้อีก คุณก็เป็นพระอรหันต์ ที่แกล้วกล้าสามารถ จะช่วยศาสนานี้ไปได้อย่างดีที่สุด อย่างเยี่ยมที่สุดจริงๆ (อ่านต่อฉบับหน้า)

     

(สารอโศก อันดับ ๒๓๔ มีนาคม ๒๕๔๔ หน้า ๘๐ - ๘๕ อริยสัจสี่พิสดาร )