ค่ายหนุ่มสาว
พุทธทายาท
รุ่นที่ ๑๘

หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 235
เดือน เมษายน 2544
หน้า 1/1

ท่ามกลางความร้อนระอุของเดือนเมษายน หาเป็นอุปสรรค แต่อย่างใดไม่ ต่อคนหนุ่มสาว ที่มีไฟ รักการฝึกฝน ตนเอง

ค่ายหนุ่มสาวพุทธทายาท ได้จัดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นับเนื่องติดต่อกันมา ณ วันนี้ รุ่นที่ ๑๘ แล้ว บ้านราชฯ เมืองเรือ มีโอกาส ได้ต้อนรับธรรมทายาท คนหนุ่มสาว (อายุระหว่าง ๑๕-๓๐ ปี) อีกวาระหนึ่ง ระหว่าง วันที่ ๑๖-๒๑ เม.ย.๔๔ รุ่น คนกู้ชาติ โดยการสนับสนุน ของกองทุน เพื่อสังคม และชุมชน ราชธานีอโศก

ก่อนเริ่มงาน ทีมมวช. (สัมมาสิกขาลัยวังชีวิต) ทุกเขต ประชุม และระดมสมอง เตรียมงาน พุทธทายาท กันในงานปลุกเสกฯ เป็นครั้งสุดท้าย โดยมวช. บ้านราชฯ เจ้าของพื้นที่ รับผิดชอบ ในเรื่องสถานที่ อำนวย ความสะดวก และมวช. เขตศีรษะฯ เข้าพื้นที่ มาช่วยเตรียมงาน อีกครั้ง เพื่อให้งาน สมบูรณ์ที่สุด

๑๕ เมษายน คนหนุ่มสาวพุทธทายาท รวมทั้งพี่เลี้ยง จากจังหวัดต่างๆ ทยอยเดินทาง เข้าพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีนร. เตรียมสัมมาสิกขา ศีรษะอโศก (สสษ.) ๓๕ คน สัมมาสิกขา ราชธานีอโศก (สสธ.) ๒๕ คน และสัมมาสิกขา สีมาอโศก (สสม.) ๓๐ คน มาร่วมเข้าค่าย พุทธทายาทด้วย ซึ่งเป็นการ เข้าค่ายดูตัว ของนักเรียนทั้ง ๓ สัมมาสิกขา

๑๖ เม.ย. หลังจากลงทะเบียน เรียบร้อยแล้ว มีคนหนุ่มสาว พุทธทายาท รวมทั้งหมด ๒๒๒ ชีวิต (ไม่ รวม ๓ สัมมาสิกขา) เป็นพี่เลี้ยง ๔๐ คน และ ผู้ประสานงานอีก ๑๐ คน เมื่อเวลา ๖ โมงเย็น การอบรม จึงเริ่มขึ้น โดยแบ่งกลุ่ม ออกเป็น ๕ กลุ่มอาชีพ คือกลุ่ม ชาวนา - นักธุรกิจ - ตำรวจ - ทหาร และนักการเมือง มีตัวละคร เป็นตัวแทน ของแต่ละอาชีพ ออกมาพูด สะท้อนอาชีพทั้ง ๕ ใครชอบอาชีพอะไร ก เลือกอาชีพนั้นได้ แล้วให้พุทธทายาท ปฏิวัติอาชีพเหล่านั้น ให้มาเสียสละ เพื่อสังคม เสร็จแล้ว แยกย้าย เข้าบ้านพักในชุมชน ที่เตรียมไว้ โดยมีพี่เลี้ยง ชาย-หญิง พาไปพัก แยกชาย-หญิง

๑๗ เม.ย. มาพร้อมเพรียงกันที่ศาลา ด้วยสัญญาณเพลง คนสร้างชาติ เมื่อเวลา ๐๔.๑๕ น. เช้านี้ เป็นการปฐมนิเทศ โดย สม. กล้าข้ามฝัน อโศกตระกูล กระตุ้น และปลุกจิตสำนึก ของความเป็นไท ให้กลับคืนมา ว่าเรายังมีความเป็นไท เหลืออยู่เท่าใด ตั้งแต่เส้นผม จรดปลายเท้า รวมทั้ง ข้าวของ เครื่องใช้ เสื้อผ้า อาหารการกิน ยังมีวัฒนธรรม ของความเป็นไท หลงเหลืออยู่ หรือไม่

ฟังธรรมเสร็จ ออกกำลังกาย แล้วลงฐานงานต่างๆ บ้างก็ไปขนซาก ผักตบชวา มาทำปุ๋ย ถอนหญ้า ในแปลงผัก เก็บถั่วลิสง ที่ริมมูล และ ฯลฯ กลับมารวมตัวกัน อีกครั้ง เพื่อรับประทาน อาหารร่วมกัน ที่ศาลา เมื่อเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๓๐ น. อันเป็นวิถีชีวิต ประจำวัน ของชาวบ้านราชฯ พร้อมกับบทพิจารณาอาหาร ที่หลายคน ซาบซึ้ง และประทับใจ

หลังจากนั้น กตัญญูสถานที่ ด้วยหลัก ๕ ส. (สะสาง - สะอาด - สะดวก - สุขลักษณะ - สุขนิสัย) เป็นเวลา ๑ ชั่วโมง โดยแต่ละกลุ่ม ไปช่วยกัน ทำความสะอาด ที่ต่างๆ เช่น ศาลา โรงครัว โรงสี บ้านพัก ฯลฯ ต่อ ด้วยฝันกลางวัน ในเวลา ๑๒.๐๐-๑๔.๐๐ น. ซึ่งช่วงนี้ อากาศจะร้อนมาก ดังนั้น ไม่มีที่ไหน ที่จะหลบร้อน ได้ดีเท่า ที่ศาลาเฮือนใหญ่ (เฮือนศูนย์สูญ) พี่ๆมวช. นำเสนอรายการทอล์คโชว์ เป็นความบันเทิง ที่แน่นไปด้วย เนื้อหาสาระ เรียกเสียงหัวเราะ และยากที่หลับตาลงได้ ต้องขอชื่นชม ทีมมวช. ที่ทำรายการ ได้น่าสนใจจริงๆ แม้บางคน อยากไปเลบานอน แทบขาดใจ

เมื่อแดดเริ่มร่ม ลมเริ่มเย็น จึงพากันไปบริเวณริมมูล ใต้ต้นจามจุรี (หรือต้นฉำฉา) เพื่อฟังการบรรยาย ในห้องบรรยายธรรมชาติ ท่ามกลางสายลมเย็นๆ ใต้ร่มไม้ โดยหนุ่มสาว พุทธทายาท นั่งฟังอยู่บนพื้นหญ้า อย่างสบายๆ วันนี้ศิลปินไม้ร่ม ธรรมชาติอโศก บรรยายเรื่อง ประเทศอินเดีย ซึ่งเจาะลึกอินเดีย ในแง่มุมต่างๆ เช่น ทำไมประชากร อินเดียมีมาก แต่โรงพยาบาลมีน้อย คนไม่ค่อยเจ็บป่วย หรือมีคลินิก ทันตกรรมน้อย เพราะชาวอินเดียส่วนใหญ่ เป็นนักมังสวิรัติ รับประทาน แต่ธัญพืช สุขภาพจึงดี และ ความเป็นคน ประโยชน์สูง - ประโยชน์สุด ในเรื่องการใช้ทรัพยากร และ ฯลฯ ที่น่าสนใจเป็นข้อคิด ให้นำกลับไปประพฤติ ปฏิบัติตาม แม้บรรยากาศ จะชวนให้ ฝันกลางวันจริงๆ แต่ลีลาท่าทาง และเนื้อหา การบรรยาย ของคุณไม้ร่ม น่าสนใจกว่า เหล่าพญานาคริมมูล เลยเลื้อยลง แม่น้ำมูล ไปหมด ทุกคนสนใจฟัง ด้วยดี สนุกสนาน และได้สาระ เมื่อนั่งฟังมานาน ก็เปลี่ยนอิริยาบถ ไปลงแขก ถอนถั่วลิสง ที่ริมมูล เสร็จแล้วก็โตน (กระโดด) น้ำมูล อาบน้ำมูล ให้ชื่นใจ ปลดเปลื้อง ความเมื่อยล้า และถ่ายเทความร้อน ลงแม่มูล แล้วรับประทาน อาหารเย็น ที่บริเวณ หาดแนมตะเวน (ชมตะวัน) ด้วยอาหารพื้นเมือง อีสานบ้านเฮา ข้าวเหนียวส้มตำ และผัดผักบุ้ง ไฟแดง เก็บกันมาสดๆ และผัดกันร้อนๆ กระทะต่อกระทะ กันตรงนั้น ใครอยากโชว์ ฝีไม้ลายมือ ก็เชิญได้เลย ในขณะที่บางคน สนุกกับการพายเรือ เก็บสายบัว หวานกรอบ จากริมมูล มาแกล้ม เป็นผักสด กินกับส้มตำ แค่บรรยากาศ ก็อิ่มอร่อย เกินที่จะบรรยายแล้ว อาหารจึงเป็น แค่พระรอง บรรยากาศ กลายเป็น พระเอกไปแล้ว หาดแนมตะเวน จึงเป็นจุดขาย ของบ้านราชฯ ที่ทุกคนอยากซื้อ

เมื่ออิ่มหนำสำราญกับอาหารกายแล้ว ก็เป็นอาหารสมอง ฟังบรรยาย ประกอบการฉายสไลด์ ที่ริมมูล เช่นกัน ไทยจะเรืองอำนาจ เพราะไทยเป็นชาติ กสิกรรม โดย อ.อุดม ศรีเชียงสา ปรมาจารย์ ด้านกสิกรรมธรรมชาติ ของชาวอโศก ที่บรรยาย จากประสบการณ์จริง ทำจริง ได้ผลจริง ซึ่งไม่มีเขียนไว้ใน ตำราเล่มใดๆ

๑๘ เม.ย. ธรรมรับอรุณ โดยสมณะดวงดี ฐิตปุญโญ กระตุ้นเตือน ให้เหล่าพุทธทายาท ตระหนัก และ สำนึก ถึงความเป็นทาส ของคนไทย ณ วันนี้ ขอให้เหล่าพุทธทายาท จงสร้างความเป็นไท กลับคืนมา โดยเป็นคน ที่กล้าเริ่มต้น เปลี่ยนแปลงตัวเอง ระวัง!!! วิญญาณปู่ จะร้อง ไอ้ลูกหลานจัญไรๆ

การบรรยายภาคบ่ายวันนี้ ยังคงเข้มข้น โดยคุณหนึ่งแก่น บุญรอด ที่เดิม เวลาเดิม ห้องบรรยายธรรมชาติ ใต้ต้นจามจุรี ในหัวข้อ บางระจันภาค ๒ เนื้อหาสาระ กระตุ้นเตือน ให้คนหนุ่มสาวรัก ความเป็น ไท ไม่ซื้อ ไม่ใช้ของต่างชาติ เราจะเป็น ชาวบางระจัน รุ่นที่ ๒ ที่กล้าสละกิเลส ความเคยชิน หันกลับมา ใช้ของไทย เพื่อความเป็นไท แม้จะไม่สวย ไม่เท่ แต่เราก็ภูมิใจ ที่ได้ใช้ของไทย ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ ความหวังที่จะ ปลดปล่อยตัวเอง ย่อมมีหวัง ขอเพียงพวกเธอ กล้าเริ่มต้น เปลี่ยนแปลงตัวเอ งตั้งแต่วันนี้ อย่างน้อย เรามิได้มีส่วน ทำให้เงินตรา ไหลออก นอกประเทศ โดยไม่ไปซึ้อของ ที่ห้างต่างชาติ เช่น แมคโคร โลตัส คาร์ฟู เซเว่นอีเลฟเว่น ฯลฯ แต่จะช่วยกันอุดหนุน และ ซื้อสินค้าจากร้าน หรือห้าง ของคนไทยเท่านั้น

อาหารมื้อเย็นยังคงอยู่ที่ริมมูลเช่นเคย แม้เมนู จะเหมือนเมื่อวาน แต่ทุกคน ก็ยังคงเอร็ดอร่อยกัน เหมือนเดิม แซบอีหลีเด้อ!! และแน่นอน บรรยากาศที่นี่ กินขาด ทุกคนยิ้มแย้ม แจ่มใส ความเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า มลายหายไปสิ้น ความคุ้นเคย ความเป็นเพื่อน เริ่มเกิดขึ้น อาการคิดถึงบ้าน อยากกลับบ้าน หายไป ตั้งแต่เมื่อไหร่ ก็ไม่รู้

ภาคค่ำวันนี้ลมแรง ฝนฟ้าทำท่าจะตก จึงย้ายเข้ามาที่เฮือนใหญ่ ในรายการ จุดไฟชีวิต เป็นการ สัมภาษณ์ปฏิบัติกร หลากหลายลีลาของชีวิต ในโลกใบเก่า ซึ่งแต่ละคน มีเส้นทางชีวิต ที่แตกต่างกัน บ้างก็ถูกสังคมหลอก ให้หลงเลอะเทอะ เปรอะเปื้อน แต่เมื่อถึง จุดเปลี่ยนของชีวิต สู่โลกใบใหม่ใน สังคมบุญนิยม ที่มีแต่การเสียสละ ทำดี ไม่หวังสิ่งตอบแทน เป็นไฟชีวิต ที่ไม่มีวันมอดไหม้ ยิ่งให้ไป ยิ่งมีความสุข ผู้ที่ปฏิบัติเองเท่านั้น จึงจะได้รับผล ของไฟชีวิตนี้ ก่อนนอน พบกับการนั่ง เจโตสมถะ โดยมีสมณะ คอยอบรม บอกกล่าว

๑๙ เม.ย. ธรรมรับอรุณเช้านี้ ๒ ธรรมาสน์ โดยสมณะมือมั่น ปูรณกโร ได้ย้อนชีวิตวัยรุ่น ก่อนบวชว่า คนจะเลว หรือดี สิ่งแวดล้อมก็มีส่วน เป็นตัวกำหนด เช่นกัน และเมื่อได้ มาปฏิบัติธรรม ชีวิตก็เปลี่ยนไป ในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่ง ได้มาบวช และสมณะ แก่นเกล้า สารกโร ได้พูดถึง ความอดทน ของคนเรา มีมากมาย ตัวท่านเอง ก็เคยอดอาหาร ถึง ๒๒ วัน ดังนั้น ช่วงระยะเวลา ที่เหล่าพุทธทายาท มาฝึกฝน ขอให้อดทนให้ได้ เพราะไม่มีคำว่ายาก หากเราอดทน

ภาคบ่ายวันนี้ฟัง “ภัยยุคใหม่ สนิมวัยคะนอง” นำเสนอ ๓ รูปแบบชีวิต ในรูปของโมหะ โทสะ ราคะ โดยปฏิบัติกร ๓ ท่าน ซึ่งเมื่อเจอธรรมะ และลงมือปฏิบัติธรรม ตามคำสอน ชีวิตก็เปลี่ยน ไปสู่พุทธะ และเสียสละ ในสังคมบุญนิยม แห่งนี้

หลังจากนั้น แต่ละกลุ่ม พร้อมพี่เลี้ยง แยกย้ายกันไปพูดคุย สร้างความคบคุ้น เพื่อที่จะได้ เข้าใจกัน และ เป็นกำลังใจ ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิด ความอบอุ่นยิ่งขึ้น

และแน่นอน มื้อเย็นยังคงอยู่ที่ริมมูล เช่นเคย บรรยากาศที่นี่ เหมือนมีมนต์ขลัง กี่วันๆ ก็ไม่เบื่อ ภาคค่ำ ในวันนี้ แต่ละกลุ่ม พบสมณะ สิกขมาตุ ที่ริมมูล เป็นการเปิดใจ และบอกความในใจ ที่ตนเองตั้งใจ จะประพฤติปฏิบัติ หลังจากกลับไปแล้ว

๒๐ เม.ย. ธรรมรับอรุณในวันนี้ โดยสมณะกลางดิน โสรัจโจ เป็นการรำลึก ถึงพระคุณของพ่อแม่ โดย เฉพาะแม่ที่เลี้ยงเรามา บางคนหลงทำอะไรลงไป โดยลืมนึกถึงแม่ เมื่อผิดพลาดขึ้นมา ผู้ที่เจ็บปวด ยิ่งกว่าตัวเรา นั่นก็คือแม่ หลายคนน้ำตาซึม ที่ทำไม่ดีกับแม่ และหลายคน ตั้งใจจะเป็นลูก ที่ดีของแม่ โดย เปิดเพลง ค่าน้ำนม สลับกับการบรรยาย

ภาคบ่ายชมวิดิทัศน์ วีรบุรุษมหากาฬ การกู้ชาติที่ต้องทิ้ง ทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่ คนที่รักที่สุด การจะกู้ชาติได้ เราต้องกล้าเสียสละ เหล่าพุทธทายาท พร้อมที่จะเสียสละ เพื่อการกู้ชาติ แล้วหรือยัง พร้อมจะเริ่มต้น ปฏิวัติตัวเอง แล้วหรือยัง?

หลังจากนั้น ให้แต่ละกลุ่ม กลับไปซ้อมละคร เพื่อมาแสดง ในรายการรอบกองไฟ ณ ค่ คืนนี้ ที่ริมมูล

อาหารส่งท้าย ณ หาดแนมตะเวนในวันนี้ นอกจากเมนู อีสานรสเด็ด ข้าวเหนียวส้มตำ ผัดผักบุ้งไฟแดง เหมือนเดิมแล้ว ยังมีเมนูพิเศษ ก๋วยเตี๋ยวน้ำ รสแซ่บ แถมอีกด้วย บรรยากาศอย่างนี้ จะไม่มีอีกแล้ว หลายคนพยายาม ซับซาบ บรรยากาศ เหล่านี้เอาไว้ ให้ตราตรึง อยู่ในความทรงจำ

รายการรอบกองไฟ ณ หาดแนมตะเวน เพื่อสื่อถึงความสามัคคี ของแต่ละกลุ่ม ๔ คืน ๕ วัน ที่อยู่ร่วมกันมา เริ่มด้วย ซูลูเวอร์ชั่นใหม่ ในชุด บางระจัน พายเรือ พร้อมถือคบเพลิง มาขึ้นฝั่ง เดินไปรอบกองไฟ แล้วพูดย้ำ ให้ทุกคน กลับไปกู้ชาติ ต่อด้วยการแสดง ของแต่ละกลุ่มๆละ ๗ นาที และตกลงกันว่า หากกลุ่มใด แสดงเกินเวลา ชาวบ้านบางระจัน ก็จะมาก่อกวน ไม่ให้แสดง บางครั้งก็ขับรถ ๓ ล้อเครื่อง ชาร์จแบตเตอรี่มากวน เรียกเสียงหัวเราะ อย่างสนุกสนาน

๒๑ เม.ย. ธรรมรับอรุณในเช้านี้ เป็นการตอบทุกปัญหา โดยสมณะเดินดิน ติกขวีโร ทุกปัญหา ได้รับการไขข้อข้องใจ ที่มีมา ให้กระจ่างยิ่งขึ้น

แล้วกตัญญูสถานที่ ที่พัก ซักมุ้ง ผ้าห่มที่ริมมูล ร่วมกันตักบาตร ด้วยอาหารบุญ พร้อมกับถ่ายรูป ด้วยกัน เพื่อย้ำเตือนว่า ครั้งหนึ่งของชีวิต เราได้เคยมาอบรม รุ่น คนกู้ชาติ แล้วร่วมรับฟัง พรก่อนจาก โดยสมณะ-สิกขมาตุ รูปละ ๒ นาที

ไม่มีงานเลี้ยงใดไม่เลิกรา มีพบก็ต้องมีจาก ก่อนจากขอแง้มใจ แต่ละกลุ่ม เมื่อมาอบรม ร่วมกัน กินนอนร่วมกัน ทำงานเหน็ดเหนื่อยร่วมกัน เท้าพองทั้งสองข้าง เหมือนกัน บนพื้นถนนซีเมนต์ ดุจเดินลุย ไปบนก้อนถ่านร้อน ก็ไม่ปาน กับ ๖ วัน ๕ คืน ณ บ้านราชฯ เมืองเรือแห่งนี้ เป็นอย่างไรกันบ้าง

หลังจากนั้นเป็นพิธีอำลา พร้อมกับน้ำตาแห่งความซาบซึ้ง เราจะกลับ มาพบกันใหม่ หลายคน ให้สัญญา และไม่ลืมว่า เราคนหนุ่มสาว พุทธทายาท จะกลับไปกู้ชาติไทย กลับคืนมา โดยกล้าเริ่มต้น เปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อที่ลูกหลาน เหลนโหลน ภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย อนาคต จะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใด มาทำลาย “เราจะกู้ชาติ”

พี่เลี้ยงรุ่น ๑๘

อาริยะยุค ๒๐๐

ค่ายหนุ่มสาวพุทธทายาท รุ่นที่ ๑๘ (สารอโศก อันดับ ๒๓๕ หน้า ๑๔๓ - ๑๔๙ เมษายน ๒๕๔๔)