อโศกยุคไตรสิกขา ตัวที่ ๓ |
หนังสือ สารอโศก |
|
|
เกริ่น อโศกเดินทางมายาวไกลถึง ๓ ชั่วรุ่น ภาษาเก๋ๆก็ต้องว่า ๓ ทศวรรษเข้าไปแล้ว ก็น่าจะสรุปประเมินทบทวน เพื่อจะได้เห็นภาพอดีต - ปัจจุบัน เลยไปถึงอนาคต เป็นอนาคตที่เป็นไปเอง(ตถตา) โดยไม่ต้อง "ตั้งเป้า" หรือ "วางแผน" อโศกเดินทางด้วยอิทัปปจยตามาตลอด เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็จะก่อเกิดอะไรสักอย่าง อะไรสักอย่างหลายๆตัว รวมกันเข้า ก็จะเกิดอะไรอีกสักอย่าง ไปเรื่อยๆ แม้วันนี้พ่อท่านจะมีพฤติกรรม "เร่ง" หรือ "เติม" พลังลงไปอีกก็ตาม นั่นเป็นเพราะ เรามีเหตุปัจจัยเพิ่มอีก ๑ ตัว นั่นคือ "กาลเวลา" กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ พ่อท่านจำเป็นต้องวางแนวทางให้เบ็ดเสร็จ เพื่อรุ่นต่อๆไป จะได้อาศัยต่อเชื้อ เรื่องภูมิปัญญา ของวิถีพุทธ เป็นเรื่องอจินไตย อโศกยกให้พ่อท่านอยู่แล้ว แต่ก็มีเหมือนกันที่บางคนปรับหรือวิ่งตามไม่ได้ ขอปลิดขั้วตัวเองลงสู่โคนต้น กลายเป็นคนนอก กลายเป็นฝ่ายตรงข้าม กลายเป็นหอกข้างแคร่ กลายเป็น ฯลฯ แต่ทั้งหมดคือปุ๋ยแห่งชีวพุทธที่อัดแน่นด้วยธาตุอาหาร! วันนี้ของพ่อท่าน (ก.ย.๒๕๔๔) เป็นอายุพรรษาจะได้ ๓๑ พรรษา (บวช ๗ พ.ย.๒๕๑๓) นับเป็นอายุในชาตินี้ได้ ๖๗ ปี การผลักดันการตั้งพรรคเพื่อฟ้าดิน ซึ่งถือเป็นอำนาจทางโลกที่มีบทบาทใหญ่ต่อสังคม ก็ด้วยเหตุนี้ อโศกสร้างคน และคนก็จะสร้างเมืองในวงเล็บว่าคนที่เสียสละเท่านั้น ที่จะสร้างบ้านแปลงเมืองได้สำเร็จ ไตรสิกขากับยุคสมัยชาวอโศก ในวันนั้นธรรมานุภาพจากผลแห่ง อนุศาสนีปาฏิหาริย์จะเห็นได้ชัดเจน ไม่ต้องอธิบายกันอีกต่อไป... ว่าศาสนาพุทธเป็นไปเพื่อประโยชน์ชนเป็นอันมาก (พหุชนหิตายะ พหุชนสุขายะ...) ทั้งนี้จะเป็นภาพรวม ภาพกว้างของอโศก แต่อโศกปัจเจกที่ยังเดินไม่ทัน ก็จำเป็นต้องพัฒนา โตให้ทันกับการโคจร ของดาวอโศก เพื่อที่จะได้วิ่งไปพร้อมกัน มิฉะนั้น แล้วก็อาจจะมีโอกาสตกรถด่วน ขบวนสุดท้ายได้ ผลดีในการมองวิเคราะห์ ยุคศีล (๒๕๑๓-๒๕๒๕) ยุคสมาธิ (๒๕๒๕-๒๕๓๗) ปรากฏการณ์ตาเนื้อ ยุคนี้หลุดจากตุ๊ดตู่อยู่ในรู ออกมาดูแสงเดือนแสงตะวัน อาจจะแสบตาไปนิด ก็เพราะไม่คุ้นเคย ต้องหยีตาเล็กน้อย อโศกเริ่มมีกิจกรรม มีการมีงานภายในพุทธสถาน ภายในชุมชน ทุกคนมีงาน ปฏิบัติธรรมไปด้วย ก็ต้องหางานมาอุปการะ มาเป็น "ภาระใส่ตัว" คนเสียสละ จะมีภาระมากขึ้น คนจับจด วันๆ มีแต่การลอยชาย ไม่ยอมรับงานเป็นภาระ ไม่ผูกมัดตัวเองกับงาน การปฏิบัติธรรม ต้องอาศัยการปฏิบัติงาน เป็น "อุปกรณ์" เป็น "อุปการะ" ยิ่งมีงาน ก็ยิ่งมีอุปกรณ์ดี! ยุคปัญญา (๒๕๓๗-๒๕๔๙) วันนี้ต้นไม้ที่ลงดิน เริ่มเติบโตแผ่กิ่งก้านสาขา สูงใหญ่โตออกดอกผล นกกาบินมาจิกกิน สัตว์ใหญ่น้อย วิ่งมาขออาศัยใบบุญ ศีลวันนี้เป็นอธิศีลแล้ว มรรคผลวันนี้ ได้เสวยหลายส่วนแล้ว "ประโยชน์ตน-ประโยชน์ท่าน"ไปด้วยกันได้แล้วอาวุธทั้ง ๒ ชนิด สามารถหล่อหลอม ให้เป็นหนึ่งเดียว แสงรัศมีเจิดจ้า จนตาเนื้อคนนอกสัมผัสได้ ข้อสังเกต ผลข้างเคียงของยุคที่ ๓ (อีกครั้ง) โลกโลกียะ กำลังก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตร ผู้ใหญ่หลายคนตกรุ่น เพราะปรับตัวเข้า กับสิ่งแวดล้อม เข้ากับเด็กรุ่นใหม่ไม่ได้ พูดกันคนละภาษา คิดกันคนละเรื่อง ขาดความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน ข้อสำคัญก็คือ การปฏิเสธความเจริญของโลก ย่อมมีแต่ความดักดาน และเจ็บช้ำ โลกโกุตตระ ก็มีปัญหากับชาวอโศกบางคน ที่ปรับความคิด ปรับพฤติกรรมไม่ทัน กลายเป็นคนเจ็บไข้ได้ป่วยไม่เลิกรา กลายเป็นจระเข้ขวางคลอง ในการทำงาน กลายเป็นตัวปัญหาในองค์กร และดึงการเข็นกงล้อธรรมจักร ให้ขลุกขลัก! มิติแห่งศีล รูปแบบที่ ๒ ศีลกิจกรรม เป็นกฎเกณฑ์ เป็นกติกาที่ต้องนำมาใช้ ในขณะปฏิบัติงาน งานแบบนี้ มีกติกาอย่างไร มีกฎระเบียบ แบบไหน ต้องอ่อนน้อม พร้อมนำมาปฏิบัติ การที่พ่อท่านตั้ง"ต.อ."ขึ้นมา ก็ด้วยเหตุนี้ มิฉะนั้นแล้ว เราก็จะมีแต่ กระทำตามอำเภอใจ แต่จะไม่มีโอกาส พัฒนาเข้าสู่ อุดมคติ ประณีต-ประหยัด ซื่อสัตย์ เสียสละ ได้เลย รวมไปถึงการสัมมนา เชิงปฏิบัติการ ตามแนวอริยสัจ ระบบ AIC *๑ [*๑ Appreciate Influence Control ระบบนี้ ถ้าจำไม่ผิด ผู้ที่นำมาใช้ในเมืองไทยคือ น.พ.ประเวศ วะสี กับ อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม] ซึ่งทางกรรมการ ต.อ. ได้ริเริ่ม (หมายเหตุ การประกาศนำจุลินทรีย์ กินรักษาโรค จึงเป็นความไม่ประณีต ไม่ระมัดระวัง มองชีวิตเป็นของเบาเกินไป) หน่วยงานต่างๆในรูปแบบของฐานอาชีพ การประชุม ๕ พาณิชย์ ของพุทธสถานสันติอโศก ซึ่งจัดประชุมได้ไม่ถึงปี นับเป็นการ แก้ไขปัญหา ของหน่วยงาน ได้อย่าง ยอดเยี่ยม นั่นแสดงว่า อโศกก็มิได้อยู่นิ่ง มีการติดตามสถานการณ์ และแก้ไขปัญหาอยู่เสมอ "ศีลกิจกรรมในฐานอาชีพ" มีอย่างไร นอกเหนือจากขบวนการ ๕ ส. เป็นเรื่องที่หากจริงใจ ก็จะแก้ปัญหาได้ง่ายดาย บุคคลากรที่ตกยุค (ระยะที่ ๓ ของไตรสิกขา) ต่างหาก ที่จะเป็นตัวปัญหาในการจัดการ เมื่อต.อ.ของพ่อท่านเข้ามาเสริม จึงถูกมองเป็นภาพลบ มองเป็นตัวก่อกวน! "ศีลกิจกรรมในฐานพาณิชย์" พนักงานบางคน ยังทำตัวเป็นค่ายอิสระ ไม่ผูกพัน ไม่รับผิดชอบ ไม่ทุ่มเท มองลูกค้า เหมือนคนด้อยค่า กว่าตัวเอง และไม่พยายามสร้างกติกา เพื่อเพิ่มคุณภาพของบริษัท *๒ [*๒ไม่ยอมรับ สายบังคับ บัญชา, ไปทำงานในวัด โดยไม่บอกหัวหน้างาน จิตตกก็เลิกทำทันที, ไม่พอใจก็ลาออก, ไม่ให้ความสำคัญ กับกฎระเบียบ ของบริษัท, ชอบขาดงานบ่อย ฯลฯ ] บางคนก็ยังถือวิสาสะของบริษัทเป็นของตัวเอง *๓ [*๓ไม่รักษา ผลประโยชย์ ของหน่วยงานของบริษัท, เลือกที่นัก มักที่ชัง,เอาของหน่วยงานไปแจกชาวบ้านโดยพลการ, ชอบคน ประจบเอาใจ, ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย] จะทำอะไรก็ทำไปโดยพละการ ขาดสำนึก "เป็นของส่วนรวม" *๔ [*๔เรียกร้องวันหยุด วันพักผ่อน, เรียกร้องค่าตอบแทน สูงขึ้น,เรียกร้องสวัสดิการสารพัด, ทำงานพอเอาตัวรอด, ไม่บุกงาน, ไม่เสียสละ ฯลฯ] ผลดีของศีลกิจกรรม ในความเป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งที่จะเกิดขึ้น ในการปฏิบัติธรรม ก็คือ "การเกิดสัลเลขธรรม พอเหมาะ" เพราะจะเป็นการขัดแย้ง ที่มีจุดยืน ที่มีจุดจบ ที่มีข้อยุติ ความยุ่งยากในการทำงาน จะลดทอนลงไปอย่างมาก ยิ่งทำงาน ก็จะยิ่งสามัคคี และมีความสุข! ปาฏิหาริย์แห่งการประชุม เป็นความมหัศจรรย์ และเป็นปาฏิหาริย์ เพราะสิ่งคิดไม่ออก ก็คิดออก สิ่งที่ยากก็ทำให้ง่าย สิ่งที่สับสนวุ่นวาย ก็ทำให้สงบชัดเจน และเป็นการสร้างพลังสามัคคี ได้อย่างดีเยี่ยม วัว ๑๐๐ ตัว ถ้าต่างคนต่างอยู่ ก็สู้เสือ ๑ ตัวไม่ได้ การประชุมกัน จะทำให้สมาชิกมีกำลังใจ มีความกระตือรือล้น มีความผิดชอบ และ รักหน่วยงาน ผลข้างเคียงของการประชุม หากไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ที่ช่วยกันวาง โอกาสที่จะแตกสามัคคี ก็มีมาก เช่นเดียวกัน พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น *๕ตกลงกันอย่างไร เอาให้แน่ แล้วปฏิบัติตามนั้น! การประชุมควรมีกำหนดเวลา ไม่เยิ่นเย้อ จนเมื่อยล้า ทุกคน ควรตรงเวลา หากมีวาระด้วย ควรกำหนดล่วงหน้า ผู้ดำเนินรายการ ต้องทำบรรยากาศให้กระชับ หาข้อยุติให้สำเร็จ [*๕นโยบาย การประชุมของพ่อท่าน ให้กับหน่วยงานต่างๆ ] อานิสงส์แห่งการทำงานในยุคของปัญญาไตรสิกขา
ย่อมเศร้าหมอง โทมนัส เป็นธรรมดา ย่อมเจ็บป่วย ไม่มีวันหายขาด เป็นของปกติ ย่อมเก็บข้าวของ ไปเข้าสังกัด ยังสำนักอื่น ที่ถูกต้องกว่า (ความจริงก็คือ ถูกใจตัวเอง ที่ได้ตั้งเกณฑ์เอาไว้) หรือยิ่งอยู่นาน ยิ่งกลับจะไม่มีภาระ ยิ่งว่างงาน! เป็นนิพพานรูป มากกว่านิพพานนาม!
ผลข้างเคียง ของการอุทิศ เพื่อองค์กร บทสรุป ทางศาสนายังต้องอาศัย"ปัญญา" ความเฉลียวฉลาด เป็นพี่เลี้ยงประคับประคอง รู้ตัวเองว่า "ไม่ฉลาด" ก็พึงหัดเดิน ตามเพื่อนฝูงบ้าง ไม่ควรอวดดีเดินคนเดียว เจ้ากวางน้อย! อย่าเชื่อมั่นตัวเอง การหัดฟังคำทักท้วงติงเตือนจากผู้อื่น จะทำให้เราพลาดน้อยลง รูปแบบเป็นแค่พ่วงแพก็จริง แต่ในรูปแบบ ก็มีแก่นแท้อยู่ภายใน สักกายทิฏฐิ ยังมีอีกหลายรูปแบบ จึงต้องระมัดระวัง อย่าเผลอไผล คิดว่า พ้นแล้ว ทางประมาท ย่อมเป็นทาง แห่งความตาย อโศกที่ร่วงหล่นจริงๆแล้ว แม้ระดับ"ศีล"ก็ยังไม่สำเร็จ ศีล ๕ ก็ยังไม่ลงตัว เมื่อศีลยังไม่พิสุทธิ์ แต่ความคิด กลับเป็นผู้บริหาร หัวกบาลก็อาจแยกเป็นเสี่ยงๆ! คนอยู่อโศกไม่ได้ เพราะมองว่าอโศกสูงไป และอโศกต่ำไป... ท่านอยู่ฝ่ายไหน? *๖ทฤษฎีเสือหลับต้องทำให้ชัดเจน เพราะทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่แตกต่าง จากสำนักอื่นๆ โดยสิ้นเชิง [ *๖เสือคือกิเลส ยามจิตใจสงบแปลว่าเสือกำลังหลับ ยามทุกข์แปลว่า เสือกำลังตื่น เป้าหมายของเราคือ"ฆ่าเสือ" การถือสาบุคคล ที่ทำให้เรา อึดอัดขัดเคือง จึงเป็น "มิจฉาทิฎฐิ" ในการปฏิบัติธรรม และการมีความสุขไปวันๆ โดยไม่เห็นกิเลสจึงคือ การ "กินบุญเก่า" ] บทสรุปก่อนจาก รักพงษ์อโศก
|
|
อโศกยุคไตรสิกขาตัวที่ ๓ หนังสือสารอโศก อันดับที่ ๒๔๐ เดือนกันยายน ๒๕๔๔ หน้า ๑๒๐ |