หน้าแรก >[09] การสื่อสาร > การเผยแพร่ธรรมะ >สารอโศก

เปิดหน้าต่างต.อ.
ต.อ.๒๐๐๒
ศักราชใหม่กับการจัดระเบียบทางสังคม


จัดระเบียบหน่วยผลิต
พ่อท่านให้นโยบายต่อทิศทางการผลิตของหน่วยผลิตชาวอโศกในการประชุมต.อ.ครั้งที่ ๑/๒๕๔๕ เมื่อวันพุทธที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ ช่วงงานพุทธาภิเษกฯ ที่ศาลีอโศก ที่ผ่านมาดังนี้

๑.วัตถุดิบ ควรมาจากแหล่งวัตถุดิบของเราเองก่อน หากเป็นไปได้ จะผลิตอะไรควรให้ เชื่อมโยงกับเครือข่ายที่ปลูก ให้ประมาณการปลูก วัตถุดิบให้เพียงพอ กับการผลิต ถ้าเราไม่ได้ผลิตผลผลิต โดยใช้วัตถุดิบ จากแหล่งของเราเอง ก็ยากที่จะเชื่อถือได้ ทำอย่างไร เราจะหา แหล่งวัตถุดิบ หรือหาแนวร่วม ที่เป็นเครือข่าย ที่มีวัตถุดิบ ที่ปลอดภัย ไร้สารพิษ (เช่น เครือ ข่าย เกษตรกร ที่ผ่านการอบรม ในโครงการพักหนี้ เกษตรกรของธ.ก.ส.)

๒.ผลผลิต
๒.๑ การผลิตควรจะลงลึกในปัจจัยหลักของชีวิต
ของประเล้าประโลมเล่นๆ อย่าพึ่งไปลงแรงมากนัก จริงอยู่ ของพรรค์นี้ขายดี เพราะเข้ากิเลสคน อยากให้เข้าใจ ปัจจัยหลักของชีวิต ให้ดี ให้แข็งแรง เป็นรากฐานของชีวิต ต้องเข้าใจสาระแก่สาร ทำให้แข็งแรง ทั้งการผลิต และการตลาด มีเวลาแรงงาน ทุนเหลือค่อยเพิ่มเติมทีหลัง ในส่วนที่ไม่จำเป็น แม้เราจะจน ก็จะทนกัดก้อนเกลือกินไปกันก่อน เอาหลักๆก่อน เราเป็นนักสร้างให้แก่โลก โดยไม่ได้เอาโลกีย์ สรรเสริญมาเป็นเครื่องล่อ แต่พิจารณาสิ่งที่ควรจะมี ควรจะสร้างสรร ให้กับสังคม คนรุ่นหลัง ตามมา จะได้ง่ายขึ้น เราทำเพราะ เห็นสาระแก่นสาร ของมนุษยชาติ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมสูงส่ง

๒.๒ การผลิตผลผลิตซ้ำซ้อนกันเป็นเรื่องน่าคิด แหล่งผลิตใหญ่ๆ ควรมารวมแรงกัน ต่างคนต่างทำไม่ดี เช่น ศีรษอโศก ได้คิดเลิกสร้าง โรงงานผลิตยา แต่สร้างโรงผลิตอย่างอื่นแทน ไม่ควรจะต้องไปชนกันเอง ให้ปฐมอโศก ทำไป แต่ยังควรทำอุตสาหกรรม ประจำครอบครัว ประจำชุมชน ให้พึ่งตนเองได้ เช่น แชมพูทำทุกชุมชน ถ้ามอง ในแง่ดี ก็ดีในเรื่องค่าขนส่ง ถ้าเป็นอุตสาหกรรมครอบครัว หรือชุมชนก็ไม่เป็นไร แต่อะไรที่เป็นเรื่องใหญ่ เรื่องหลัก เป็ ภาคอุตสาหกรรม ก็ควรต้องพัฒนา ให้ได้มาตรฐานยิ่งๆขึ้น เพียงแห่งเดียว

ส่วนโรงงานผลิตขวดพลาสติกให้มีที่สีมาอโศกเพียงแห่งเดียว ขวดแชมพู น่าจะเป็นของชาวอโศกด้วยกันเอง ฝาปิดก็เช่นกัน แม้มีปัญหา เรื่องรูปแบบ (บางแห่งใช้ขวดหลายรูปแบบ และเรื่องมาตรฐานของผลผลิต ก็ต้องมา ช่วยกันคิด พวกเราต้องการ ๑.สะดวก ๒.ประหยัด ๓.ถูกใจ ซึ่งเป็นความเห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว ไม่มีน้ำใจจะสร้างสรร ถ้ามองการลงทุน ระยะยาวเกินคุ้ม แต่เราไม่มีทุนลง ถ้ามีการลงทุน ลงขันช่วยกัน ก็จะสามารถทำได้ หากต้องใช้ขวด หลายรูปแบบ ก็ใช้โมลหลายตัว ซึ่งในระยะยาวก็จะคุ้มทุน ถ้าไม่มีน้ำใจ ก็จะไปไม่รอด ขอให้นำวัฒนธรรม ของคนจีน ลักษณะเด่น ที่เขาช่วยกันมา จะทำให้ไปรอด ช่วยกันร่วมมือกันได้ไหม

๓.การตลาด ควรหาตลาดของพวกเราเองก่อน ควรเชื่อมต่อกันเอง ระหว่างเครือข่ายชุมชน มากกว่าไปพึ่งผู้อื่น มันจะไปตามกำลังจริง ส่งในประเทศก่อน จึงส่งต่างประเทศ ถ้ามีผลผลิต เพื่อข้างในก็พอควร ออกข้างนอกก็มีเหลือ ก็จะไปต่างประเทศเอง (ให้ชาวอโศกกันเอง ใช้เองก่อน แล้วเกื้อกูลกับเกษตรกร ในชนบทให้ได้ บริโภคของในราคาถูก จึงจะส่งขายต่อคนเมือง มีเหลือจึงส่งต่างประเทศ)


จัดระเบียบองค์กรกลาง
คณะทำงาน ต.อ.กลาง เสนอให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหาร ต.อ. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ชุมชน มีส่วนร่วม ในการกำหนดทิศทาง และแนวทาง การดำเนินงานพัฒนา ระบบการตรวจสอบ และพัฒนาคุณภาพผลผลิต ให้มากขึ้น

บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร ต.อ.
๑. กำหนดทิศทางและแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบ และพัฒนาคุณภาพผลผลิต ของชาวอโศก ตามนโยบาย ของพ่อท่าน
๒. พิจารณาแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ในระบบการตรวจสอบ และพัฒนาคุณภาพผลผลิต ของชาวอโศก
๓. กำหนดตัวชี้วัด เกณฑ์มาตรฐานด้านคุณภาพ และความปลอดภัยของผลผลิต และกระบวนการผลิต
๔ .กำหนดข้อตกลงร่วมกันในการผลิต การตลาดและอื่นๆ
๕. ร่วมติดตามสนับสนุน และรับรู้สถานการณ์ ปัญหาของหน่วยผลิต ในรูปแบบ ต.อ.สัญจร
๖. ประสานแหล่งทรัพยากร บุคลากรองค์ความรู้ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้เกิดคุณภาพการตรวจสอบ และการผลิตที่ดี
๗. พิจารณากฏเกณฑ์ การจดแจ้ง การรับรองให้วางจำหน่าย การขึ้นทะเบียนผลผลิต การอนุญาต และการเพิกถอน เครื่องหมาย ต.อ.

องค์ประกอบและรายชื่อของคณะกรรมการบริหาร ต.อ.
๑. ผู้แทนองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง ๙ คน ดังนี้

ลำดับที่
ผู้แทนองค์กร
สังกัด
รายชื่อคณะกรรมการ
๑-๒

หน่วยผลิต ๒ คน

ชุมชนปฐมอโศก
ชุมชนสันติอโศก

ท.ญ.ฟากฟ้าหนึ่ง อโศกตระกูล
น.ส.บุสดี เผ่าพงษ์

๓-๔
ต.อ.ชุมชน ๒ คน

ชุมชนราชธานีอโศก
ชุมชนสีมาอโศก

คุณใบลาน นาวาบุญนิยม
(หรือคุณเพชรตะวัน หรือ คุณพรตะวัน)
น.ส.พานทอง ศิริโชติ

๕-๖

ผู้นำชุมชน ๒ คน

ชุมชนศีรษะอโศก
ชุมชนศาลีอโศก

น.ส.ขวัญดิน สิงห์คำ
น.ส.ต้นกล้า มากสุข

ร้านค้า ๑ คน

๕ พาณิชย์

นายสมพงษ์ ฟังเจริญจิตต์

ผู้บริโภค ๑ คน

บจ.ฟ้าอาภัย

น.ส.ลัดดา ปิยะวงศ์รุ่งเรือง

ผู้ทรงคุณวุฒิ ๑ คน

ร.พ.หาดใหญ่

น.พ.วีรพงษ์ ชัยภัค

๒. ผู้แทนคณะทำงาน ต.อ.กลาง ด้านต่างๆ ๙ คน ดังนี้

ลำดับที่
ผู้แทนคณะทำงานต.อ.กลาง
รายชื่อคณะทำงาน

ที่ปรึกษา

น.ส.ปัทมาวดี กสิกรรม

ประธาน

นายสงกรานต์ ภาคโชคดี

เลขานุการ/ด้านอาหารแปรรูป
/ด้านเครื่องสำอางค์ผสมสมุนไพร
และน้ำยาทำความสะอาด

น.ส.น้อมขวัญ ปัฐยาวัต

ด้านยาจากสมุนไพร

ภญ.สมหมาย จเร (หรือพญ.วัชรี วานิชดี)

ด้านวัตถุดิบธัญพืช

นายสุวรรณ์ บุญแท้

ด้านพัฒนาน้ำหมักชีวภาพ

นายแก่นฟ้า แสนเมือง

ด้านร้านค้า

น.ส.น้อมนบ ปัฐยาวัต

ด้าน ๕ ส.

นางอาภรณ์ วิชัยดิษฐ์

ด้านห้องปฏิบัติการ

น.ส.ชุติมา อโศกตระกูล

หมายเหตุ
๑. ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร ต.อ. ได้แก่ คุณสมพงษ์ ฟังเจริญจิตต์
๒. วาระในการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการชุดนี้ คือ ๑ ปี
๓. กำหนดการประชุมคณะกรรมการบริหาร ต.อ. ประมาณ ๓ เดือนครั้ง ได้แก่ งานปีใหม่ (ม.ค.) งานปลุกเสกฯ (เม.ย.) งานอโศกรำลึก (มิ.ย.) และ งานมหาปวารณา (ต.ค.)
๔. การประชุมครั้งแรกอย่างเป็นทางการ จะมีขึ้นในงานปลุกเสกฯ ที่จะถึงนี้ (ระหว่าง ๓๑ มี.ค. - ๖ เม.ย. ๔๕)


จัดระเบียบตนเอง
ในการประชุม ครั้งนี้ หน่วยผลิต และ ต.อ.ชุมชน นอกจากได้ทบทวนบทบาท และภารกิจของตนเอง ในรอบปี ที่ผ่านมาแล้ว ยังได้สรุปบทเรียน ในการทำงานไว้ดังนี้

ต.อ.ชุมชนปฐมอโศก (คุณตำนานบุญ นาวาบุญนิยม)

- ไม่ค่อยมีเวลาไปตรวจเยี่ยมหน่วยผลิต เนื่องจากมีงานอบรม ธ.ก.ส. เข้ามา

- สินค้าของชุมชนได้ทำใบจดแจ้งส่งครบแล้ว ส่วนใหญ่มีปัญหาที่ฉลาก ที่ต้องปรับแก้ ซึ่งยังมีฉลากเก่าเหลืออีก เป็นจำนวนมาก ถ้าหากพิมพ์ใหม่ คงต้องทิ้งหมด ยังตัดสินใจไม่ได้ว่า จะทำอย่างไรดีต่อไป

- ศูนย์เจาะวิจัยสมุนไพร ชั้น ๓ เป็นห้องปฏิบัติการ เริ่มตรวจทางจุลชีววิทยาได้แล้ว แต่มีผู้ปฏิบัติงานเพียงคนเดียว จึงยังไม่สามารถ เอื้องานตรวจ ให้ชุมชนอื่นได้

หน่วยผลิตชุมชนศาลีอโศก (คุณอนงค์ คชสารทอง) ขณะนี้ยอดขายแชมพูลดลง แชมพูผสมมะกรูด ซึ่งเดิมเคยมีกรด ค่อนข้างสูง ได้ปรับค่า ความเป็นกรด ลดลงแล้ว

ต.อ.ชุมชนราชธานีอโศก (คุณใบลาน นาวาบุญนิยม)

- เนื่องจากมีหลายหน้าที่ จึงทำงานในหน้าที่ ต.อ.ชุมชน ยังไม่ค่อยสมบูรณ์

- แชมพู และครีมนวดผสมสมุนไพร ได้รับการตรวจสอบจาก สสจ. ผ่านได้มาตรฐานแล้ว

- ศูนย์วิทย์ฯ ทำโครงการวิจัย ที่หม่องค้าผง เดิมพบเชื้อรากับยีสต์ ขณะนี้ปรับปรุงคุณภาพ ตามที่ศูนย์วิทย์ แนะนำแล้ว แต่ยังไม่ได้ นำไปตรวจ

- ขณะนี้มีผลผลิตใหม่มานำเสนอ ซึ่งได้แก่เครื่องสำอางสมุนไพรล้วนๆ ซึ่งทางต.อ.ชุมชน ได้แนะนำให้ไป ปรับปรุง สูตร และทดลองใช้ ภายในชุมชนก่อน

- ขณะนี้ชุมชนต้องการเภสัชกรแผนโบราณประจำร้าน ผู้ใดมีความพร้อม ขอเชิญสมัครได้

ต.อ.ชุมชนสีมาอโศก (คุณพานทอง ศิริโชติ)

- ได้พยายามติดตามเรื่องใบจดแจ้งของหน่วยผลิต สินค้าที่มีคุณภาพดี คือ ยาสีฟันสมุนไพร และชาใบหม่อน (แต่ยังไม่มีกำลังผลิตต่อ)

- ส่วนเรื่องเครื่องสำอางสมุนไพร เช่น ผงขัดหน้าต่างๆ ยังต้องควบคุมการผลิต ให้ได้มาตรฐาน จึงมีมติ จากคณะ กรรมการชุมชน ให้หยุดผลิตก่อน

-ขณะนี้ทางชุมชนเน้นการผลิตเฉพาะวัตถุดิบที่มีอยู่ และเท่าที่มีผู้มาติดต่อ

- ปัญหาภายในชุมชนขณะนี้ คือ การไม่สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้ ในบางฐานงาน

ต.อ.ชุมชนศีรษะอโศก (คุณฝนไท ชาวหินฟ้า)

- งานด้านเอกสารส่ง ต.อ.กลาง ยังไม่ค่อยเรียบร้อย

- ผลผลิตด้านอาหารแปรรูป ได้เครื่องหมาย อย.จากจังหวัดทั้งสิ้น ๒๙ รายการ ขณะนี้ รอปรับแก้ไขฉลาก จากทางจังหวัดอยู่

- ด้านการตรวจสอบ มีห้องปฏิบัติการ ทางวิทยาศาสตร์แล้ว แต่การตรวจยาฆ่าแมลง สารพิษอะฟลาท็อกซิน ยังไม่มีความคืบหน้า จะแก้ไข โดยปรับปรุง เอาภาระให้มากขึ้น

-การตลาด เน้นผลิตใช้ ที่ชุมชนศีรษะอโศกก่อน

ต.อ.ชุมชนสันติอโศก (คุณธาตุบุญ ข่าทิพย์พาที)

- ส่งใบจดแจ้งเป็นส่วนใหญ่แล้ว และขณะนี้ ฉลากของชุมชน ได้ทยอยแก้ไข ให้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่แล้ว เช่นกัน

ต.อ.ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ (คุณใบจริง)

-ปัจจุบันผักที่ใช้ปรุงใน ชมร.เชียงใหม่ ไม่ใช้ผักตลาดแล้ว

- เภสัชกรแนะนำให้ลดการจำหน่ายยาในร้านค้าลง เนื่องจากยังไม่มีการแขวนป้าย ใบประกอบโรคศิลป์

ผู้แทนชุมชนหินผาฟ้าน้ำ ยังไม่ทราบเรื่อง ต.อ. และยังไม่ได้ส่งอะไรตรวจ กับทาง ต.อ.กลาง

ผรช. เชียงรายอโศก (คุณน้ำนวลดิน)

-ตอนนี้กำลังทำแชมพู และปรับปรุงฉลาก ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้

โอวาทจากพ่อท่าน
"ชาวอโศกเรามีต.อ.ขึ้นมา มีความสำคัญทุกด้าน พวกเราเองทำให้เจริญ(ผู้ผลิต) ด้านผู้รับประโยชน์ ดีทั้งฝ่ายเขา และเรา ผู้ผลิต มีกิเลสของตัวเอง มีใครมาตรวจสอบก็ไม่ค่อยชอบ ถือเป็นการปฏิบัติธรรม อาตมาเชื่อ อย่างจริงจัง เลยว่า ต.อ.ไม่มีใครชิงชังใครหรอก ไม่มีเจตนาแกล้งใคร แต่กิเลสของตัวเองไม่ยอม ต้องพยายาม หัดวางใจ เพราะว่าเป็นความจำเป็นจริง เป็นความเจริญ ผู้ทำงาน ต.อ.กลาง เหน็ดเหนื่อยอีกต่างหาก โดนด่าด้วย พยายาม เสียสละอย่างนี้ น่าอนุโมทนา ที่มีคนอย่างนี้ อาตมายังขอบคุณ พระพุทธเจ้าอยู่เลย "บาตรเดียว รักษาทุกโรค" ธรรมะของพระพุทธเจ้า คลุมทุกอย่าง จนทำให้เห็นความจริง เข้าใจมาร่วมไม้ร่วมมือกัน ทำโดยไม่โลภ ไม่เห็นแก่ตัว มีความปรารถนาดี ดีใจที่มีคนมาเอาภาระ

อนาคตเราต่างมีอาชีพ มีงานเป็นหลักฐาน พยายามผลิตให้ออกมาเป็นของดี ต.อ.กลางเอง ก็ต้องรู้กาลเทศะ เห็นอยู่ว่า ผู้ผลิต ก็ระมัดระวังอยู่ มีอะไรรัดแรงนัก ผู้ผลิตก็ต้องออกมาบ้าง ก็มาพิจารณากัน เป็นธรรมชาติ ทนได้ ก็ทนไป จนที่สุด สามารถพัฒนา จิตวิญญาณ เราทำก็ไม่ได้เงินเราเอง เป้าหมายหลักนโยบายก็คือ ให้เกิด ให้มันเป็น ให้มันได้ ก็ขอให้ตั้งใจทำ ก็แล้วกัน

ต.อ.ของเราเหมือน อย.เถื่อน แต่เราทำจริง ด้วยเจตนาจริงใจ เท่าที่สามารถทำได้ จำเป็นต้องผ่านทั้งอย. และตอ. อย่าไปคิดว่า ยุ่งยากเลย บางอย่าง อย.ไม่ได้ตรวจ แต่ต.อ.ตรวจ อย่าคิดว่าทำไม ต้องซ้ำซ้อนเลย ขอให้คิดว่า เป็นความเจริญของมนุษยชาติ ขอให้ช่วยกันหน่อย

ขอบคุณจริงๆ ที่ผู้ผลิตโดยเฉพาะต.อ.เอง ถูกด่ามาตลอด มันไม่ได้ชื่นใจอะไรเลย เหนื่อยและถูกด่างานเดียว อาตมาภาคภูมิใจ ที่เอาทฤษฎี ของพระพุทธเจ้ามาให้ทำ แล้วทำจนป่านนี้ มันประหลาดยิ่งกว่า สิ่งมหัศจรรย์ยิ่งใหญ่ อาตมามั่นใจ ในสัจจะของพระพุทธเจ้า ในเรื่อง จิตวิญญาณ ที่ชัดจริงมั่นคง ยั่งยืน ถ้าไม่จริงก็จะล้มเหลวไปเอง จนถึงวันนี้ อาตมายิ่งมั่นใจว่าจริง คนไม่ขึ้นกับโลกธรรม ขึ้นกับสัจจะ โดยจริง แต่มันยาก ขอบคุณกันทุกคน เหน็ดเหนื่อยกัน ปีกลาย อาตมายังมีเวลานอนตอนบ่าย แต่ปีนี้ยังไม่มีเวลานอน อาตมายังอยาก พูดซ้ำว่า "อายุยืน" ทำคนให้ประเสริฐ แล้วทำได้ ทำได้ดีด้วย บาตรเดียวรักษาได้ทุกโรค ทำให้มันเกิด รู้เท่าทัน ลดละให้ได้จริงๆ จะเกิดภูมิปัญญา จะเข้าใจจริง ยากแสนยาก เพราะสังคมทุกวันนี้ ยอดนักฉลาด ขอให้มีกำลังวังชา สดชื่นๆกัน ต่อไปละกัน"

จริงใจ - ไมตรี
ชาวอโศกเพื่อมวลมนุษยชาติ
ต.อ.กลาง

(สารอโศก อันดับที่ ๒๔๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕)