หน้าแรก>สารอโศก

จากโลกีย์ถึงโลกุตระ
ชื่อเดิม น.ส.นุชรี นิลมณี
ชื่อใหม่ น.ส.งามใบตอง นิลมณี
เกิด ๒ มกราคม ๒๕๐๗
พี่น้อง ๙ คน เป็นคนที่ ๗
ภูมิลำเนา อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
การศึกษา ปวช.พาณิชยการ
อาชีพครั้งสุดท้าย พนักงานบริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด สาขาแก้งคร้อ

พบธรรมะชาวอโศก เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๒๙ ในห้องสมุดที่ทำงาน (บริษัทยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอจำกัด สมุทรปราการ)

ประทับใจหนังสือแสงสูญ ฉบับ "ขยะเอ๋ย" ปกด้านในที่บอกว่า ไม่เรี่ยไร ไม่รับบริจาค ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ และในเล่มที่นำคำตรัสของรัชกาลที่ ๕ มาลง "คนยิ่งเรียนสูง ยิ่งเอาเปรียบ และโกงประเทศชาติได้มากกว่า"
"ต่อจากนั้น ได้พบพยาบาลที่บริษัท ซึ่งเป็นญาติธรรมชาวอโศก และชวนมาสันติอโศก ในอีกสัปดาห์ต่อมา ประทับใจความอ่อนน้อมถ่อมตนของญาติธรรม แม้ผู้สูงอายุ ก็เจริญธรรม ผู้อายุเยาว์กว่าได้ สถานที่ร่มรื่น จึงกินมังสวิรัติ ตั้งแต่นั้นมา มาฟังธรรมทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ช่วงนั้นทำงานไป ปฏิบัติธรรมไป มีความสุข กับชีวิต ขยันขึ้น ลดการเอาแต่ใจตัวเองลง

ในปี ๒๕๓๑ เปลี่ยนงานมาอยู่บริษัทประกันชีวิตศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่

ปี ๒๕๓๒ กลับไปอยู่บ้าน ดูแลคุณยายและพี่สาวที่ป่วย ปีนี้พ่อท่านและสมณะ ชาวอโศกถูกจับ (คดีกรณี สันติอโศก) ทุกข์มากที่สุด แต่ปรับใจได้ว่า "คนดีอยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่เดือดร้อน" ต่อมา ทำงานที่บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด สาขา แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ

ปี ๒๕๓๗ ลาออกจากงาน แล้วเข้ามาอยู่ที่พุทธสถานสีมาอโศก เพราะชอบบรรยากาศบ้านป่า ช่วยงานที่ ร้านอาหาร มังสวิรัติ สีมาอโศก

ปี ๒๕๓๙ เข้าโรงพยาบาล ๒ ครั้ง เจ็บคอและน้ำท่วมปอดอย่างแรง พักผ่อนที่วัด ๒ ปี
ปี ๒๕๔๒ ฟื้นจากป่วยกลับมาทำงานที่ร้านมังสวิรัติเช่นเดิม
ปี ๒๕๔๔ เป็นเจ้าหน้าที่การเงิน
ปี ๒๕๔๕ เป็นเจ้าหน้าที่การเงิน และผู้รับใช้กลุ่มร้านอาหารมังสวิรัติสีมาอโศก

ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
๑. สุขภาพไม่แข็งแรง ป่วยบ่อย เพราะไม่เคยทำงานหนัก
๒. จัดสรรเวลาไม่เป็น รับงานหลายอย่าง จึงกังวลและทุกข์
๓. ชอบอยู่เงียบๆ ติดภพ

แนวทางแก้ไข ฟังเท็ปธรรมะพ่อท่าน พูดคุยกับสมณะสิกขมาตุ ทำกิจวัตร และเอาจริงกับตนเองให้มากขึ้น

ข้อปฏิบัติที่คิดว่ายากที่สุด เรื่องกินอร่อยและติดอาหารบางอย่าง เช่น ข้าวเหนียวส้มตำ และเรื่องนอน เช่น นอนไม่พอ จะป่วยง่าย

คติประจำใจ ร้องไห้กับบัณฑิต ดีกว่าหัวเราะกับคนพาล

เป้าหมายชีวิต การหลุดพ้นจากความทุกข์

ข้อคิดข้อฝาก ให้ชัดเจนกับเป้าหมายการปฏิบัติธรรม มองตัวเองให้มาก อย่าคิดว่าตัวเองถูกเสมอไป ฟังความคิดเห็น ของคนอื่นบ้าง ไม่ทำตัวเป็นภาระ และไม่สร้างปัญหา ให้กับหมู่กลุ่ม กับสมณะ และ สิกขมาตุ ให้น้ำใจมากกว่า ให้เหตุผล มีความเคารพธรรม

สุดท้าย พ่อท่านมีเวลาเหลืออยู่กับพวกเราน้อยลงทุกวัน พวกเราทำอะไรให้พ่อท่านชื่นใจบ้าง?

(สารอโศก อันดับที่ ๒๔๗ เมษายน ๒๕๔๕)