โฮมไทวัง
ที่ราชธานีอโศก
๓ มิ.ย.'๔๕
๐๖.๐๐-๐๙.๐๐ น. ประชุมคุรุสัมมาสิกขาทุกโรงเรียนของชาวอโศก
เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน และปัญหาการสอนศีลเด่น คุรุแต่ละโรงเรียนเล่าประสบการณ์ในโรงเรียนของตนเอง
สรุปได้ดังนี้
๑. คะแนนศีลเด่น ผู้รับผิดชอบคือ สมณะและสิกขมาตุ
ส่วนคุรุ ชาวชุมชน และเพื่อนนักเรียน จะมีส่วน ร่วมเพียงใด รวมทั้งวิธี การให้คะแนน
ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียน
๒. เนื้อหาหลักของศีลเด่น คือศีล ๕ ส่วนคุณสมบัติอื่นๆที่เน้นคล้ายกัน
เช่น ความรับผิดชอบ ความขยันหมั่นเพียร ความเสียสละ
๓. อัตราส่วนคะแนน ศีลเด่น-เป็นงาน-ชาญวิชา
ทุกแห่งปฏิบัติตามนโยบายรวม คือ ๔๐-๓๕-๒๕ บางโรงเรียน ให้คะแนนศีลเด่น ในวิชาการสามัญ
ทุกวิชาด้วย
๔. นักเรียนที่สอบตกคะแนนศีลเด่น โรงเรียนส่วนใหญ่มีวิธีการแก้
ปัญหาสอดคล้องกัน คือให้ทำความดีเพิ่ม ลดฐานะ เป็นนักเรียนชั้นสอง ตี ย้ายไปเรียนในโรงเรียนสัมมาสิกขาอื่น
และไล่ออก ตามระดับหนัก-เบา ของความผิด
๕. ที่ประชุมมอบให้โรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศก และสัมมาสิกขาสันติอโศก รับผิดชอบ
เขียนหลักสูตร เสนอต่อ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นแนวทาง สำหรับโรงเรียนสัมมาสิกขาอื่นๆ
ต่อไป
|
|
ภาคบ่าย
๑๔.๔๐-๑๖.๓๐ น. ประชุมคุรุสัมมาสิกขาลัยทุกเขต
เดิมมี ๕ เขต คือ ราชธานีอโศก, ศีรษะอโศก, ปฐมอโศก, สันติอโศก และศาลีอโศก
ในปีนี้ มีเพิ่มอีก ๑ เขตคือ สีมาอโศก
สาระการประชุมสรุปได้ดังนี้
๑. พ่อท่านกำหนดเรียกคุรุวิชาการว่า คุรุวิชญ
และเรียกคุรุฐานงานว่า คุรุชาญ
ส่วนตำแหน่ง ที่กำหนดชื่อไว้ คือ คุรุธานบดี
(ครูใหญ่ หรือคณบดี) แต่ยังไม่ได้แต่งตั้งตัวบุคคล
๒. คุรุใบลาน ชุ่มอินทรจักร และนิสิตขวัญหินแก้ว
สิ่วกลาง อาสารวบรวมข้อมูลทั้งหมด ของวังชีวิตทุกเขต แทนคุรุแก่นฟ้า
แสนเมือง
๓. การรับสมัครนิสิตใหม่ เปลี่ยนแปลงจากระเบียบเดิมที่รับสมัครปีละ
๒ ครั้ง เป็นรับสมัครปีละครั้งเดียว โดยสัมภาษณ์
คัดเลือก วันที่ ๔ มิ.ย. ของทุกปี
๔. สัมมาสิกขาลัย แต่ละเขต จัดกิจกรรมการศึกษาต่างกัน
ตามบริบทของแต่ละชุมชน โดยมีมาตรฐาน ร่วมกันคือ เน้นศีลเด่น และเป็นงาน ส่วนชาญวิชา
แสดงออกด้วยความสามารถ ในการเขียนรายงานผลงาน และในการอธิบาย ถ่ายทอดความรู้
ในการปฏิบัติงาน
๔ มิ.ย.'๔๕
๐๔.๐๐-๑๑.๓๐ น. สอบสัมภาษณ์นิสิตใหม่ มีพ่อท่านเป็นประธาน
ประกอบ ด้วยสมณะ-สิกขมาตุ ที่ปรึกษาด้านการศึกษา ของแต่ละพุทธสถาน
และคุรุของ ม.วช.แต่ละเขต ที่หม่องเมี่ยนของเก่า ชั้น ๓ เฮือนสูญศูนย์ เริ่มจากเขตสีมาอโศก
๑๐ คน ผ่านหมด, เขตศาลีอโศก ๑ คน ผ่านหมด, เขตสันติอโศก ๕ คน ผ่านหมด, เขตศีรษะอโศก
๙ คน ผ่านหมด, เขตราชธานีอโศก ๘ คน ผ่าน ๖ คน เพราะคุณสมบัติ ไม่ครบ คือมาอยู่ในพื้นที่ไม่ครบ
๑ ปี และเขตปฐมอโศก ๑๙ คน ผ่านหมด รวม ๕๒ คน ผ่าน
๕๐ คน
สำหรับผู้ที่สนใจมาสมัครเป็นนิสิตนั้น
เอาเกณฑ์อะไรตัดสิน พ่อท่านได้ให้คำตอบว่า "การรับผู้ที่สมัครใจ
เข้ามาเป็นนิสิต ม.วช. นั้น ดูว่าเขามีอันตรายิกธรรม ข้อใดหรือไม่ (พฤติกรรมที่นำไปสู่การทำความเสียหาย
ความแตกแยก ให้เกิดกับหมู่) มีการซักถามกัน ช่วยกันดู ช่วยกัน พิจารณา
ทั้งนี้ต้องแยกให้เป็นว่า
อันใดเป็นความอ่อนด้อยของเขา ที่สามารถจะพัฒนาได้ โดยตัวเจ้าของเองยอมรับว่า
จะปรับปรุง จะพัฒนาตน ต้องถือเป็นภาระหนักของคุรุที่จะต้องช่วยกันดูแล
การสอบคัดเลือกของเรา
ไม่ใช่คัดเอา แต่คนที่เก่งๆแล้ว เหมือนอย่างการศึกษาของทางโลกย์ๆที่เขาทำกัน
ซึ่งเป็นการปิดกั้นโอกาสของคน ที่ด้อยความสามารถ ที่จริงสถาบันการศึกษา
มีความหมายที่จะช่วย พัฒนาคน ให้ดีขึ้น ควรเปิดโอกาส ให้คนด้อย มากกว่าคนเด่นด้วยซ้ำไป"
และพ่อท่าน ได้ขยายประเด็น
ในคำถามที่ว่า มาเป็นนิสิตม.วช.ดีจริงหรือ ว่า"การเข้ามาเป็นนิสิตม.วช.ดีที่สุด
ให้ตั้งใจเข้ามาศึกษาดีๆ ความเป็นนิสิตจะมีกรอบเป็นเครื่องป้องกันเรา
การเป็นนิสิต มีระเบียบปฏิบัติ ที่เป็นกิจจะลักษณะ ปฏิบัติมากกว่าคนวัดแน่นอน
เราจะมีคุรุ มีผู้ดูแล ซึ่งต่างจากคนวัดทั่วๆไป ที่ดูจะเป็นอิสระ
เหมือนเป็นนิสิต แต่ไม่ได้ลงทะเบียน ไม่มีเกณฑ์อะไร ต้องดูแล ตัวเอง พ่อท่านเทียบให้
ดูระหว่าง คนที่มาบวชกับ คนที่ไม่ได้มาบวช คนที่มาบวช ย่อมดีกว่า แน่นอนใช่ไหมล่ะ...."
๑๓.๓๐ น. ฟังบรรยาย
"อานิสงส์ของการกินมื้อเดียว" จากคุณหมอหนุ่มน้อยจาก
ไร่มะขามเปรี้ยว นับเป็น ผู้บรรยายยอดเยี่ยม ที่สามารถตรึงผู้ฟัง
ให้สนุกสนาน กับการฟัง ได้ตลอด การบรรยายช่วง หลังอิ่มอาหาร ใหม่ๆ
คุณหมอเน้น ๖ อ. เพื่อปรับเปลี่ยน วิถีชีวิต
เพื่อสุขภาพ คือ
อารมณ์ มองโลกในแง่บวก ไม่ท้อแท้ สิ้นหวัง
มีพลังใจ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
อาหาร มังสวิรัติ ที่ปรุงแต่งน้อยที่สุด จนไม่ปรุงแต่งเลย
ออกกำลังกาย ด้วยการเดิน ๓๐ นาทีท่ามกลางแสงแดดในตอนเช้าดีที่สุด
อุจจาระ เป็นการขับสารพิษ ของร่างกาย
อากาศ
ท่ามกลางธรรมชาติบริสุทธิ์ที่สุด
เอนกาย พักผ่อนไม่ควรเกิน ๗ ช.ม. อย่าฝืนธรรมชาติ
ไม่ทำงานกลางคืน ไม่พักผ่อนกลางวัน
คุณหมอเป็น ผู้มีประสบการณ์
เอาชนะความเจ็บป่วย โรคมะเร็ง ต่อมลูกหมาก ขั้นสุดท้าย ด้วยตัวของ ท่านเอง
จนได้พบสูตรสำคัญ ในแนวคิด เรื่องกาย-จิตใจ และวิญญาณ นำมาปรับใช้ กับวิถีการดำเนิน
ชีวิตของตัวเอง โดยให้ความสำคัญ กับจิตใจเป็นหลัก
หลังจากนั้น เป็นรายการ
ล่องนาวาบุญนิยม และ ๑๙.๐๐ น. คุณหมอถูกขอร้องใ ห้บรรยายต่อ จนถึง ๒๑.๐๐
น. รายการจึงยุติลง ซึ่งคุณหมอรับปากว่า จะมาบรรยายให้ฟังต่อในวันปีใหม่
๕
มิ.ย.'๔๕
พ่อท่านพาทำวัตรเช้า แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างมีศิลปะ ด้วยความเป็นผู้รู้
เท่าทันกิเลส ตื่นจากกิเลส และเบิกบานใจใน การประหารกิเลส ตั้งแต่ไม่ได้ดังใจ
ไม่ชอบใจ ในเหตุการณ์ ในบุคคล
หลังจากนั้น นิสิตใหม่
และคุรุใหม่ซ้อมรับเข็ม นิสิตเก่าโฮมแฮง ปลูกกล้วยที่เวทีหน้าเฮือนสูญศูนย์
เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก
๐๙.๐๐-๑๑.๐๐ น. นิสิตและคุรุใหม่
รับเข็ม ม.วช. และรับโอวาทจากพ่อท่าน แล้วพล.ต.จำลอง
ศรีเมือง พูดคุยให้กำลังใจนิสิต ทุกคน ให้มุ่งมั่นไปสู่จุดเป้าหมาย
ของความพ้นทุกข์ หรือเบาบาง จากทุกข์ได้ทุกคน แม้บางคน อาจจะไม่จบ ภายใน
๖ ปี ตามเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ก็ตาม ก็ขอให้ตั้งใจจริง
๑๑.๓๐ น. รับประทานอาหารร่วมกัน
โดยมีงานม่วนซื่อ ฉลองวันเกิดหมู่บ้านราชธานีฯ
นิสิตแต่ละเขต
ออกมาแสดงที่เวที
หลังจากนั้น ต่างก็ร่ำลาเจ้าภาพ
ด้วยความรู้สึกอบอุ่น ในความเป็นสายเลือด ในทางธรรมเดียวกัน
- บำเพ็ญธรรม
-
(สารอโศก
อันดับที่ ๒๔๘ พฤษภาคม ๒๕๔๕) |