รากแก้วแห่งชีวิต
...ศาสตร์และศิลป์เป็นสิ่งคู่กันมาช้านาน
แม้กระทั่งการดำเนินชีวิต ก็ใช้ศิลปะในการดำรงชีพทุกวัน
การพูด การทำงาน การรับประทานอาหาร ก็ล้วนเป็นศิลปะทั้งสิ้น ฉะนั้น รากแก้วแห่งชีวิต
จึงคือศิลปะ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ มิ.ย. ๔๕ ชุมชนสันติอโศกจัดงานนิทรรศการ
"รากแก้วแห่งชีวิต ศิลปะกับจิตวิญญาณ ทางสังคม"
ร่วมกับ กลุ่มศิลปิน ที่มีแนวคิดใน การจัดศิลปะ ผสมผสานกับ
ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
งานศิลปะในครั้งนี้ จะจัดแสดงตลอดเดือนมิถุนายน
มีการจัดวางผลงานตามจุดต่างๆ รอบๆบริเวณ วิหารพันปี อาทิเช่น ศิลปะที่เหมือนหอย
นำมาวาง เรียงกันเป็นวงกลม ซึ่งเรียกว่า "จักรวาล"
บาตรใบใหญ่ที่ ภายนอก หุ้มด้วยเปลือกข้าว วางอยู่ บนฝ่ามือ อันใหญ่โต
และศิลปะ ที่มีแนวคิดศีล -สมาธิ -ปัญญา ซึ่งเป็นงานปั้น ศีรษะคน บนศีรษะ
แบกสัมภาระ ใช้ชื่อว่า "อิ่มบุญ" ศิลปะอีกชิ้น
ที่สร้าง ความสนใจ ได้มากยิ่ง วางเคียงคู่ กับธรรมชาติ สายน้ำในลำธาร ซึ่งเป็นการอัดพลาสติกเป็น
ลูกกลมใหญ่สีฟ้า สดใส วางเคียงคู่ไว้ บนก้อนหิน ใช้ชื่อว่า "ธรรมชาติ"
นอกจากศิลปะ ที่เป็นงานปั้น สร้างสรรจินตนาการ
ออกสู่ สายตาผู้พบเห็นแล้ว ยังมีภาพ ศิลปะต่างๆ มากมาย จากศิลปิน ในชุมชน
มาร่วมแสดงด้วย ใน บริเวณโบสถ์และวิหาร ซึ่งกว่า ผลงานแต่ละชิ้น จะแล้วเสร็จ
ออกสู่สายตา ผู้มาพบเห็น ก็ใช้ เวลาหลายเดือน
ช่วงเช้าอากาศเป็นใจ มีแสงแดดที่เจิดจ้าไร้ฝนตั้งเค้า
เวลา ๙.๐๐ น. สมณะโพธิรักษ์ เทศน์เปิดงาน โดยไม่เป็นทางการ
โดยกล่าวว่า "รากแก้วของชีวิต คนคือศิลปะ พระพุทธเจ้าตรัส
ศิลปะเป็น มงคลอันอุดม คือ มงคลอันไปสู่ ความประเสริฐ อุดมคือสูง งานศิลปะคือ
คนมาสัมผัสแล้วมีฤทธิ์ เป็นศิลปะที่ รู้ไปถึง การทำลายกิเลสในตน นั่นคือศิลปะโลกุตระ
ศิลปะคืองานฝีมือ หรืองานของคนที่มีความสามารถ
นำวัตถุจาก ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ-อากาศ มาประกอบกันขึ้น ทำให้คนมีสุข -สูง -สร้างสรร
-เสียสละ -ประเสริฐ นี่คือศิลปะ ที่เป็นมงคลอันอุดม ศิลปะใดๆ ที่ไม่เป็นมงคล
ไม่ประเสริฐ ไม่สุข ไม่เสียสละ ไม่สร้างสรร งานนั้นเรียกว่า งานอนาจาร
งานใดที่สร้างขึ้นมา แล้วบำเรอ อารมณ์ตัวเอง สะใจ ตนเอง คนอื่นไม่รู้ช่างเขา
แต่พอใจในผลงาน ของตัวเอง จะเป็นงานเขียน งานปั้น ท่าทาง นาฏศิลป์ ตึกอาคาร
ทำแล้วสะใจตนเอง นั่นคือการสำเร็จ ความใคร่ เป็นกาม เป็นการบำบัดตัณหา อารมณ์ให้ตนเอง
นั่นเป็นอนาจาร อย่างยิ่ง"
สมาชิกชุมชนและบุคคลทั่วไป มาร่วมงานนี้มากพอสมควร
บ้างดูผลงานศิลปะ ด้วยการจับ -แกะ -แคะ -งัด ด้วยความสงสัยว่า ทำมาจากสิ่งใด
บ้างก็มีมารยาท ทนดูแต่ตา แม้ว่ามืออยากจับ ก็ทนไว้ และ งานศิลปะ ครั้งนี้
ผลงานที่ได้รับการสนใจ มากเป็นพิเศษคือ หุ่นสุนัขขี้เรื้อน
ผู้ชมบางท่าน ก็บ่นว่า "ให้สุนัขขี้เรื้อนตัวนี้
มานอนอยู่ บริเวณ จัดนิทรรศการศิลปะ ทำไมไม่ไล่มันไปล่ะ" สุดยอดของศิลปะจริงๆ
เมื่อสมณะโพธิรักษ์
เทศนาจบลง ก็ถึงเวลารับประทาน อาหารร่วมกัน ทั้งเหล่าศิลปิน และผู้มาร่วมงาน
รับประทานกันไป วิจารณ์ผลงานกันไป ได้บรรยากาศอีกแบบ คือแบบที่ ทำให้คนได้เกิด
วิตกวิจารณ์ ได้เกิดการพูดคุย และสอบถาม กับเหล่าศิลปินว่า ต้องการสื่อ เพื่ออะไร
นี่แหละศิลปะ
ช่วงบ่ายเวลา ๑๓.๐๐ น. เปิดการเสวนา
"รากแก้วแห่งชีวิต ศิลปะกับจิตวิญญาณทาง สังคม" นำทีมโดย
รศ.วิโชค มุกดามณี ผู้ร่วมอภิปราย ประกอบด้วย อ.สมศักดิ์ เชาว์ภาดาพงษ์ คุณจุมพล
อภิสุข คุณปิติ กุลศิโรรัตน์ คุณมานิต ศรีวานิชภูมิ คุณ สิริมา ธรรมชาติอโศก
และคุณไม้ร่ม ธรรมชาติอโศก ผู้ดำเนิน รายการ คือ คุณลักขณา คุณาวิชยานนท์
ในการเสวนาครั้งนี้ มีใจความที่น่าสนใจของผู้ร่วมเสวนา
ดังนี้
อ.สมศักดิ์ "คนในโลกส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจศิลปะ
คนรุ่นเก่า ใช้ความรู้สึกเก่าๆมาต่อว่า เรียน ศิลปะแล้ว ออกมา ทำมาหากินอะไร?
ทุกสิ่งในชีวิตประจำวัน ต้องอาศัยศิลปะ เพื่อความสงบสุข ส่วนศาสนา คือศิลปะ
ที่จะทำให้ คนเราสงบ เย็น และเป็นสุข"
รศ.วิโชค "ศิลปะชุมชน สิ่งแวดล้อม
ธรรมชาติ สามารถ ช่วยกล่อมเกลาจิตใจของคนเราเป็นอย่างดียิ่ง เพราะพลังธรรมชาติ
จะทำให้จิตใจคน อ่อนโยน ไม่ แข็งกระด้าง"
คุณจุมพล "ศิลปะคือการได้พูด ได้คุยถกเถียงกัน
จนต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศิลปะ และศิลปะ ก็เปลี่ยนไป ตามยุคตามสมัย"
คุณมานิต "ศิลปินควรไปเรียนรู้จากชุมชน
เพราะช่องว่างระหว่างชาวบ้าน ในชุมชนนั้น น่าศึกษาค้นคว้า แล้วศิลปิน ก็จะใช้อัตตา
ตัวตน ที่พยายามให้ชุมชน มาเข้าใจศิลปิน"
คุณปิติ "ศิลปะในความหมายปัจจุบัน
คือสังคมที่ให้ค่ากับความสุขทางโลก มากกว่าทางธรรม ความสัมพันธ์
ระหว่างศิลปะ กับศาสนา เพราะศิลปะ สมัยก่อน อยู่ในวัด ในโบสถ์ ควรศึกษาให้ถึงแก่นจริงๆว่า
มันคือ อะไรกันแน่"
คุณสิริมา (หายโง่) "ศิลปะคือความรัก
ที่สื่อ ออกมาให้เห็นวัฒนธรรม ที่เกี่ยวกับชีวิต โดยเฉพาะวัยเด็ก ที่เติบโต
มากับธรรมชาติ คือ พืช-ผัก-ผลไม้"
คุณไม้ร่ม "ศิลปะที่ยิ่งใหญ่ ที่สุด
คือ การหมดกิเลส หมดอัตตาตัวตน นั่นคือผู้เป็น ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุด"
เมื่อเสร็จสิ้นการเสวนา พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
ได้มอบของชำร่วย ให้กับผู้ร่วมเสวนา และเหล่า ศิลปิน ที่มาแสดงผลงาน และกล่าวเปิดงาน
นิทรรศการ งานศิลปะกับชุมชน อย่างเป็นทางการ จากนั้น ร่วมกัน ถ่ายภาพ เป็นที่ระลึก
ระหว่างกลุ่มศิลปิน
ปิดท้ายรายการด้วยการ บรรเลงจากนักศึกษา
มหาวิทยาลัยศิลปากร สร้างความ ครื้นเครง และสร้าง บรรยากาศ ให้น่าอภิรมย์
มากยิ่งขึ้น จนกระทั่งสายฝน โปรยปรายลงมา ทำเอาวงดนตรี และผู้มาร่วมงาน หลบฝนกันแทบไม่ทัน
นั่นก็เป็น ศิลปะของธรรมชาติ ที่มาร่วม แสดงผลงานเช่นกัน แต่ผลงาน ของธรรมชาติ
คือ ดิน-น้ำ-ลม-และไฟ ที่ยั่งยืนและจีรัง
ผลงานคือ การบ่งบอกตัวตนว่า
แนวคิดหรือจินตนาการ ของแต่ละบุคคลที่สื่อออกมา ให้ผู้คน ได้ชมนั้น เป็นเช่นไร
ผู้คนมาดู และสัมผัส เกิดความคิด เช่นไร ตีความหมาย แตกต่างกันไปอย่างไร
ดังนั้น ศิลปะใน การดำเนินชีวิต ของแต่ละคน ย่อมแตกต่างกัน เฉกเช่นเดียวกันกับ
ผลงานของศิลปิน....
- ฝั่งฟ้าฝัน
-
(สารอโศก
อันดับที่ ๒๔๘ พฤษภาคม ๒๕๔๕)
|