ตลาดอาริยะปีใหม่ ...
พ.ศ.2544
หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 231

ตลาดอาริยะ ปีใหม่อโศก’๔๔

งานตลาดอาริยะ ปีใหม่อโศก’๔๔ กำหนดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธ.ค.๔๓ - ๑ ม.ค.๔๔ ซึ่งถือว่า เป็นงานสอบไล่ ของ ชาวอโศก ที่จะวัดผลว่าการลงสนามสอบในครั้งนี้ ตัวเราสอบได้ หรือ สอบตก โดยมีวัตถุประสงค์ ของ การจัดงานดังนี้

๑. เพื่อเพิ่มพูนศรัทธา และ ปัญญาอัน เป็นแสงสว่างแห่งชีวิต ด้วยการฟังธรรมจากสมณะทุกๆ วัน ตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐-๐๖.๐๐ น.

๒. เพื่อสืบสานพุทธประเพณีบิณฑบาต ด้วยการร่วมทำบุญตักบาตรอาหารมังสวิรัติทุกๆ เช้า

๓. เพื่อเพิ่มพูนญาติทางศาสนา หรือ ญาติธรรม ที่สามารถพึ่งเกิด พึ่งแก่ พึ่งเจ็บ พึ่งตายกันได้

๔. เพื่อฟังสัจจะสาระจากปฏิบัติกร ทั้งบนเวที และ นอกเวที ที่จะให้คำตอบทั้งในด้านปัญหาชีวิต เศรษฐกิจ สุขภาพ และ กสิกรรมธรรมชาติ

๕. เพื่อความเบิกบาน และ ผ่อนคลาย ด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรมบนเวทีธรรมชาติในช่วงเย็น

๖. จัดให้มีตลาดอาริยะ คำว่าตลาดอาริยะนี้ เป็นส่วนหนึ่งในระบบบุญนิยม ซึ่ง เป็นระบบ ที่เน้นการเสียสละ การช่วยเหลือ และ แบ่งปัน โดยจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในราคาขาดทุน เพื่อ เป็นบุญแก่ผู้ขาย และ เป็นเสมือน ของ ขวัญปีใหม่แก่ผู้ซื้อ

ครั้งนี้นับ เป็นครั้งที่ ๑๖ แล้ว และ เป็นครั้งที่ ๔ ที่ย้ายมาจัดที่ราชธานีอโศก (บ้านราชฯเมืองเรือ) ซึ่งได้มีการเตรียมงานล่วงหน้ามาตลอดทั้งปี ด้วยความร่วมมือร่วมใจ ของ ชาวอโศกทั่วประเทศ

โดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม เป็นช่วงเวลาที่บ้านราชฯคึกคักไปด้วยขบวนรถสินค้า ที่ทยอยขนสินค้าต่างๆ มาล่วงหน้า เสียงประกาศเรียกขอแรงงานขนสินค้าลงจากรถ ดังอยู่ไม่ขาดสาย และ ทีมขนทองคำ (ฟาง) เข้าบ้านราชฯ เพื่อเตรียมปูให้เต็มพื้นที่บริเวณงาน ก็ฝ่าลมหนาวออกไปตั้งแต่เช้าตรู่ กลับมา ก็มืดค่ำ ด้วยความขยันขันแข็งอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย เที่ยวแล้วเที่ยวเล่าด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มเบิกบานแจ่มใส แม้จะต้องต่อสู้กับสายลมหนาวในยามเช้ามืด และ เปลวแดดร้อนในตอนกลางวัน แต่ใจ ก็มิได้หนักไปกับโจทย์เหล่านี้เลย เพราะต่าง ก็ซาบซึ้งว่า กรรมดีกำลังดำเนินไปพร้อมกับกาละอยู่ทุกขณะ

พ่อท่านกับทีมสมณะ จากพุทธสถานต่างๆ และ ญาติธรรมทยอยเดินทางมาอยู่ให้กำลังใจ และ ช่วยเตรียมงานส่วนต่างๆ ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ตลอดทั้งเดือนอย่างอบอุ่น เพราะนี่มิใช่ เป็นแค่งาน ของ คนบ้านราชฯ แต่ เป็นงาน ของ ชาวอโศกทุกคน ที่จะร่วมกันสร้างประเพณีตลาดอาริยะ เพื่อสืบสานอุดมการณ์บุญนิยมให้คนทั้งโลกได้รู้ได้เห็นว่า บุญนิยมเล็กๆ นี่แหละ ที่หาญกล้าท้าสู้กับทุนนิยม ที่นับวัน ก็รอเวลานับถอยหลังสู่การล่มสลายในที่สุด

๑๘ - ๒๐ ธ.ค.๒๕๔๓ เหล่าศิษย์เก่าสัมมาสิกขาจากที่ต่างๆ และ ทีมสัมมาสิกขาลัยวังชีวิต (มวช.) ทุกเขต ก็นัดหมายร่วมผนึกพลัง ของ คนหนุ่มสาว หล่อหลอมรวมใจ เพื่อ เป็นพี่เลี้ยงให้แก่น้องๆ สัมมาสิกขาทุกแห่ง ที่จะมาเข้าค่าย ยอส. (ยุวชนอโศกสัมพันธ์) ช่วยเตรียม งานนี้ โดยตรงในวันที่ ๒๒-๒๔ ธ.ค. ๒๕๔๓ เพราะพวกเขาเหล่านั้นคือความหวัง ของ ชาวอโศก เป็นธรรมทายาท ของ กองทัพธรรมรุ่นต่อไป และ ก็ไม่ผิดหวัง เมื่อทั้งรุ่นพี่-รุ่นน้องได้ประสานรวมน้ำใจให้ เป็นหนึ่ง ผนึกพลังสร้างสรร การเตรียมงานปีใหม่จึงสำเร็จสมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน

นาวาบุญนิยม นับสิบๆ ลำถูกต่อเติมปูท้องเรือ เตรียมพร้อมสำหรับรองรับ เป็นที่พัก ของ นักบวชทุกฐานะ และ ญาติธรรมที่จะมาร่วมงานได้พักผ่อนนอนหลับอยู่ในอ้อมกอด ของ แม่มูล ซึ่งพุทธสถานอื่นไม่สามารถจะทำได้ เพราะไม่โชคดีได้แม่น้ำฟรีเหมือนที่นี่ นอกจากที่นี่เพียงที่เดียว เท่านั้น ให้สมกับนิยามว่า “บ้านราชฯเมืองเรือ”

นอกจากนี้ญาติธรรมยังได้ชมความยิ่งใหญ่ ของ เรือยักษ์ ๓ ลำ อายุนับร้อยปีชื่อ “เกียข่วมฟ่า-ก้าข่วมฝัน-กันข่วมหมอระฮก” ซึ่งพ่อท่านเปรียบเปรยไว้ได้ชัดเจน ขณะที่ขนย้าย จากกรุงเทพฯมายังบ้านราชฯว่า เหมือนช้างขี่หนู หมูขี่มด รถขี่ลิง ได้จอดโชว์ความสง่างาม และ ความยิ่งใหญ่อยู่ที่แม่น้ำมูล ท้าทาย และ เชิญชวนให้ทุกคนไปชม และ เป็นตะงึด (อัศจรรย์ใจ) ว่า ขนย้ายมาได้อย่างไรกัน?

ในส่วน ของ งานต่างๆ แต่ละหน่วยงานได้แบ่งความรับผิดชอบออก เป็นแต่ละฝ่าย เช่น สถานที่-ตลาดสินค้า-ตลาดอาหาร-อาหารในโรงครัว-ประสานงาน-ฝ่ายขยะ-ฝ่ายศาลา และ ....ฯลฯ ซึ่งแต่ละฝ่าย ก็ทำหน้าที่ ของ ตนด้วยความรับผิดชอบอย่างเต็มที่

ปีนี้ เป็นปีแรก ที่แบ่งตลาดออก เป็น ๒ ส่วน คือ ตลาดสินค้า และ ตลาดอาหาร โดยตลาดสินค้ายังคงอยู่บริเวณเดิม และ ขยายพื้นที่ออกไปด้านข้างอีกเล็กน้อย มีแม่ข่ายต่างๆ รับผิดชอบกลุ่มญาติธรรมจากภาคต่างๆ ที่นำสินค้ามาจำหน่าย เพื่อป้องกันคนนอก ที่จะแอบแฝงเข้ามาขายสินค้า โดยมิได้ทำตามอุดมการณ์บุญนิยม คือ ขายขาดทุน ในปีนี้จึงมีแต่ร้านค้า จากกลุ่มญาติธรรม ที่ตั้งใจมาขายขาดทุนด้วยความเต็มใจจริงๆ และ สินค้าที่นำมาจำหน่ายล้วนแล้วแต่ เป็นสิ่งจำ เป็นในชีวิตประจำวันทั้งสิ้น ไม่มีสินค้ามอมเมาไร้สาระ จำหน่ายให้สิ้นเปลืองเงินทอง ของ ประชาชนเลย โดยเปิดตลาดตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐-๑๕.๐๐ น. และ ในงานนี้ร้านค้าจะไม่รับธนบัตรใบละ ๕๐๐ และ ๑,๐๐๐ บาท เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ ที่จะถือโอกาสนำแบงก์ปลอมมาแพร่ระบาดในงาน ดังนั้นผู้ซื้อจะต้องเตรียมเงินมาให้พร้อม

นอกจากนี้ในตลาดสินค้า ยังมีร้านรวมช่างศิลป์ ที่รับแกะสลักป้ายไม้ ในราคา ตามใจผู้สั่งด้วยไม้สัก อย่างดี ซึ่ง เป็นเศษไม้จากเรือต่างๆ ที่ไม่สามารถนำไปทำประโยชน์อย่างอื่นได้ โดยช่างผู้ชำนาญงาน ซึ่ง ได้รับความสนใจ เป็นอย่างดี ผลิตจนแทบไม่ทัน ใครที่พลาดเดินไปไม่ถึง ก็ขอบอกว่า น่าเสียดาย

ส่วนตลาดอาหาร แยกตัวออกมาอยู่อีกฝั่ง ของ ตลาดสินค้า ปูฟางเต็มพื้นที่ กางซาแลงก์ ป้องกันแสงแดด มีอาหารจากภาคต่างๆ มากมายหลากหลายชนิด จากกลุ่มญาติธรรมมาจำหน่ายในราคาบุญนิยม เพียงจานละ ๑ บาท และ พิเศษสุด ก็คือ ผักที่ใช้ในตลาดอาหารล้วน เป็นผักปลอดสารพิษ ที่ปลูก โดยญาติธรรม และ กลุ่มเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษจากที่ต่างๆ ซึ่งผักที่ใช้ในงานนี้ทั้งใช้ในโรงครัว และ ในตลาดอาหารมีจำนวนทั้งสิ้นถึง ๑๖ ตัน นับว่าชาวอโศก เป็นมนุษย์กินผัก โดยแท้จริง ก็ขออนุโมทนากับผู้ปลูกผักปลอดสารพิษทุกท่าน

บริเวณตลาดอาหาร ยังมี ”เวทีชาวบ้าน” ซึ่ง เป็นเวที ที่เปิดโอกาส ให้ผู้มาร่วมงาน ขึ้นไปแสดงความสามารถในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะ เป็นการพูด ร้องเพลง และ การแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่ง ก็ได้รับความร่วมมือ เป็นอย่างดี และ ข้างเวที ก็ยังมี “การตำข้าวสารกรอกหม้อ” เชิญชวนให้ทุกคนมาฝึกตำข้าว ตำเสร็จ ก็สามารถนำข้าวที่ตำได้กลับไปได้ โดยทางเวทีมีข้าวเปลือกไว้บริการฟรี

ตลาดอาหารจึง เป็นเสมือนที่นัดหมาย ของ เหล่าพี่น้องที่เหมารถมาจากจังหวัดต่างๆ ได้เจอกันเมื่อซื้อสินค้าเสร็จ หรือ เมื่อได้สินค้าที่ถูกใจแล้ว ก็มานั่งหลบแดด พักผ่อน ซื้ออาหารมานั่งรับประทาน ดื่มน้ำอ้อยเย็นๆ ชมการแสดง ฟังเพลง รอเพื่อนที่ยังเข้าคิวซื้อ ของ ไม่เสร็จ ทำให้เวลาที่รอคอยผ่านไปด้วยความเบิกบาน และ มีสาระ

สำหรับการแสดงภาคค่ำบน ”เวทีธรรมชาติ”หน้าเฮือนศูนย์สูญ ปีนี้นำเอาเรือ ล้อเกวียน และ สิ่ง ของ ที่เสียหาย จากน้ำท่วม มาประดับตกแต่งเวทีได้อย่างงดงามกลมกลืนกับธรรมชาติ สวยแปลกตา อย่างมีศิลป์ โดยศิลปินไม้ร่ม ธรรมชาติอโศก การแสดงในปีนี้ นอกจาก แต่ละกลุ่ม จะนำเอา ศิลปวัฒนธรรม ของ แต่ละท้องถิ่นมาแสดงแล้ว ยังมีละคร ของ น.ร.จากพุทธสถานต่างๆ ที่สะท้อนความ เป็นจริง ของ เหล่าลูกๆ ให้ช่วยกันลดละกิเลสอัตตามานะ เพื่อจะได้ช่วยพ่อท่านทำงานเข็นกงล้อธรรมจักรได้เบาขึ้น ไม่ต้องมาเสียเวลากับลูกๆ เหล่านี้

สำหรับรายการในแต่ละวัน ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธ.ค. ๒๕๔๓ - ๑ ม.ค.๒๕๔๔ ก็น่าสนใจดังนี้ทำวัตรเช้า เริ่มตั้งแต่เวลา ๓.๓๐ - ๖.๐๐ น. โดยพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ สรุปเนื้อหาได้ว่า งานปีใหม่ถือ เป็นงานสอบไล่ ของ ชาวอโศก ว่าเรามาเสียสละจริง หรือ ไม่ ผู้ที่สอบได้คือผู้ที่มาเสียสละ ไม่ว่าจะ เป็นแรงกาย-แรงใจ-แรงเงิน เป็นงานที่พิสูจน์น้ำมือน้ำใจ ของ ทุกๆ คน

นอกจากนี้ ก็ขอให้สังวร สำรวมพฤติกรรมอย่างเบิกบาน ร่าเริง ไม่เครียด ให้ฝึกปฏิบัติตามกฎระเบียบ ฝึกวินัยให้กับตัวเอง ขอร้องพวกเราอย่าเห็นแก่ได้ เห็น ของ แล้วอยากซื้อก่อนเวลาเปิด หรือ มาซื้อหลังเวลาปิด เพราะทุกอย่าง เป็นกรรมทั้งสิ้น กาย-วจี-มโนสั่งสม เป็นวิบาก เป็นทรัพย์ ของ เราเอง ส่วนผู้ที่สอบตก คือผู้ที่มาเห็นแก่ตัว มาเสพย์

งานปีใหม่ตลาดอาริยะจะ เป็นงานประเพณี ของ ชาวอโศกสืบไป

นอกจากนี้ยังได้อธิบายโลกุตระ-โลกียะอย่างละเอียดลออลึกซึ้ง อยากรู้ว่าเราปฏิบัติขณะนี้ เป็นเช่นไรกันแน่ ต้องหาเท็ปมาฟัง หรือ ใครที่ฟังแล้วแต่ยังไม่ชัดเจน ก็ต้องหาเท็ปมาฟังซ้ำอีก รับประกันคุณภาพว่า ดีระดับ ๕ ดาวทีเดียว

ส่วนการบรรยายพิเศษ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๑.๐๐ น. มีดังนี้

๓๐ ธ.ค.๒๕๔๓ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายรุ่งฤทธิ์ มกรพงศ์ ได้ให้เกียรติมา เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งท่านได้กล่าวว่า ผมรู้สึกยินดี เป็นอย่างยิ่ง และ ถือว่า เป็นการได้บุญได้กุศล ที่ได้มีโอกาสมาร่วมในตลาดอาริยะปีใหม่อโศก'๔๔ ที่ทางราชธานีอโศกได้จัดขึ้น เป็นประจำทุกปี ปีนี้ ก็ เป็นปีที่ ๑๖.. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจกรรมที่ราชธานี อโศกได้ทำ เป็นแบบอย่างให้กับสังคมมานานนั้น ได้รับการยอมรับว่า เป็นแนวทางที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ผมรู้สึกชื่นชมที่ได้มาร่วมในบุญกุศลที่เรียกว่า “บุญนิยม” ซึ่ง เป็นการจัดงานปีใหม่ที่ สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในสมัยนี้”

อนึ่ง ในเช้าวันที่ ๓๐ ธ.ค. ๒๕๔๓ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ ได้แวะมาเยี่ยมเยียนกราบคารวะพ่อท่าน และ ได้อยู่สนทนาประมาณหนึ่งชั่วโมง หลังจากนั้นได้แวะไปชม และ ซื้อสินค้าที่ตลาดอาริยะ พร้อมกับบอกว่า “ที่นี่ขาย ของ ขาดทุนจริงๆ และ ราคาถูกด้วย”

๓๑ ธ.ค.๒๕๔๓ ฟัง ”เปิดฟ้าส่องโลก” โดย ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ คอลัมนิสต์ชื่อดัง จาก น.ส.พ.ไทยรัฐ ได้มาเล่าประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้เดินทางติดต่อกับหน่วยงานราชการ ของ ประเทศต่างๆ ทางด้านธุรกิจ เห็นความหลงผิด ของ ผู้บริหารประเทศไทย ที่ไปให้น้ำหนักความสัมพันธ์กับประเทศแถบยุโรป อเมริกา มากกว่าประเทศแถบเอเซีย และ แอฟริกา และ ยังมี ดร.อรรถ นันทจักร ดร.หนุ่มจากประเทศเวียดนาม อจ.ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.มหาสารคาม ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลทางการศึกษา ได้พูดถึงระบบการศึกษา ของ ประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ที่ได้เดินทางมาถึงทางตัน เพราะมัวแต่ตามก้นต่างชาติ เรียนแค่จำ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการ ของ ชุมชนได้ เป็นการศึกษาที่ไม่สามารถแตกหน่อทางปัญญา เป็นการเรียนที่ไม่ได้สร้างคน แต่สร้างแค่กระดาษเพียงแผ่นเดียว เป็นโลกวิทูที่ชาวอโศกไม่ควรพลาด ฟังแล้วจะยิ่งซาบซึ้งกับระบบการศึกษา ที่ชาวอโศกกำลังทำอยู่ในขณะนี้

๑ ม.ค.๒๕๔๔ ฟัง “กินใหม่ ชีวิตใหม่ ตามวิถีไทย” โดย น.พ.กวี ไชยศิริ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลฯ ได้พูดถึงวัฒนธรรมการกิน ของ คนไทยในปัจจุบัน ที่ผิดแผกไปจากธรรมชาติ เพราะเรา เป็นตามสิ่งที่เรากิน-เราคิด-เราพูด และ เรากระทำ ทำอย่างไรจึงจะมีสุขภาพใหม่ที่ดี บอกลาโรคร้ายต่างๆ ได้ด้วยตัว ของ เราเอง ผู้รักสุขภาพไม่ควรพลาด หาเท็ปฟังเอาเด้อ

ในปีนี้เกิดความผิดพลาดเล็กน้อย ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นด้วยความเข้าใจผิดคือ ป้ายประชาสัมพันธ์งาน และ การประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ ข้อมูลผิดพลาด โดยได้ติดประกาศไปว่า งานสิ้นสุดลงวันที่ ๒ ม.ค.๒๕๔๔ ซึ่งอันที่จริงงานสิ้นสุดลงในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๔ ทำให้ในเช้าวันที่ ๒ ม.ค.๒๕๔๔ ประชาชนหลั่งไหลเดินทางมาซื้อสินค้ามากมาย ซึ่งร้านค้าได้ปิดจำหน่ายลงไปแล้ว ทำให้เกิดเหตุการณ์โกลาหลขึ้นเล็กน้อย

ในที่สุดงานสอบไล่ได้ผ่านไปแล้ว ประโยชน์ตน-ประโยชน์ท่านบนเส้นทางมรรคมีองค์ ๘ ของ แต่ละคน คงวัดผล ของ ตนเองได้ว่า ในงานนี้สอบได้ หรือ สอบตก ใครสอบตก ก็ให้กลับไปทบทวน ฝึกปรือตัวเอง ทำการบ้านมาให้พร้อม เพื่อมาสอบแก้ตัวใหม่ในปีหน้า ส่วนใครที่สอบผ่าน ถือว่าได้สะสมหน่วยกิตให้ตนเอง เพื่อเดินทางสู่จุดหมายอันคือพระนิพพานเร็วยิ่งขึ้น

งานประกาศทฤษฎีบุญนิยมอย่าง เป็นรูปธรรมได้เสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์ ด้วยการรวมน้ำใจให้ เป็นหนึ่ง ของ เหล่าพุทธบุตร ธรรมทายาทบุญนิยมทุกคน ในนาม ของ ชาวอโศกขอกราบขอบพระคุณพ่อท่าน เหล่าสมณะ สิกขมาตุ และ ญาติธรรมทุกๆ ท่าน รวมทั้งสัมมาสิกขาทุกๆ แห่ง งานครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้ ก็เพราะทุกๆ คนได้หล่อหลอมตัวเอง เพื่อรวมน้ำใจให้ เป็นหนึ่ง ทำที่พึ่งให้สังคม สร้างนาวาบุญนิยม เพื่อกอบกู้มนุษยชน โดยแท้จริง

คน เมืองเรือ