หน้าต่าง ต.อ. ตอน...
ยาชง หรือ เครื่องดื่มสมุนไพร
หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 232 ฉบับเดือนมกราคม 2544
หน้า 1/1

ความสับสนที่หน่วยผลิต และ ผู้บริโภคต้องทำความเข้าใจ

จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้เกิดแนวคิดเรื่องการพึ่งพาตนเองมากขึ้น เกิดความสนใจที่จะหันกลับมาใช้สมุนไพรพื้นบ้านแทนยาแผนปัจจุบัน ประเทศไทยมีภูมิอากาศที่เหมาะสำหรับพืชพันธุ์ หลายชนิด เรา จึงมีสมุนไพรหลากหลายเป็นทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่า มนุษย์ได้รู้จักใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาโรคมาตั้งแต่โบราณ ในเอเซียเองก็มีหลักฐานแสดงว่า มีการใช้พืชสมุนไพรมากว่าหกพันปีแล้ว ปัจจุบันสมุนไพรได้ถูกนำมาแปรรูป เป็นสินค้าต่างๆหลายชนิด มีทั้งที่ใช้เป็นยา และ เป็นอาหาร รวมทั้งเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอื่นๆ เช่น สบู่ แชมพู ซึ่งมีความก้ำกึ่งที่จะตัดสินว่า เป็นยา หรือ อาหาร และ อาจสับสนในความหมาย และ ความแตกต่าง ของ ผลิตภัณฑ์ต่างๆเหล่านี้ จึงขอนำความหมายตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายมาทำความรู้จักกับผลิตภัณฑ์บางชนิดคือ ยาชงสมุนไพร และ เครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับความนิยมใช้อย่างมากในปัจจุบัน

พืชสมุนไพร หมายถึงพืชพันธุ์ไม้ หรือ ส่วน ของ พืช ที่นำมาปรุง หรือ ประกอบเป็นยารักษาโรค พืชสมุนไพรหลายชนิดยังใช้เป็นอาหาร และ ใช้ประโยชน์อื่นๆได้อีก เช่น ขมิ้น ขี้เหล็ก ใช้ปรุงเป็นอาหารได้

ยาสมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือ แร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือ แปรสภาพ

ยาชงสมุนไพร เป็นสมุนไพรแปรรูปที่ปรุงขึ้นในรูปยาชง จัดเป็นยาแผนโบราณ เช่น

ยาชงมะขามแขก ยาชงหญ้าหนวดแมว จะสังเกตได้จากการที่จะระบุทะเบียนยาบนฉลาก เช่น คำว่าเลขทะเบียนที่......... และ มีคำว่า ”ยาแผนโบราณ” ปรากฏอยู่

เครื่องดื่มสมุนไพร หมายถึงเครื่องดื่มทั้งชนิดน้ำ และ แห้ง ที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องสะอาด ปลอดภัย และ มีคุณภาพ หรือ มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด อาหารกลุ่มนี้เป็นอาหารควบคุมเฉพาะ หรือ อาหารกำหนดคุณภาพมาตรฐาน จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตผลิต ผู้ใช้จะสังเกตได้จากเครื่องหมาย อย.บนฉลาก

“เครื่องดื่มสมุนไพร” มักเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ชาสมุนไพร” หรือ “ชาชง-สมุนไพร” เนื่องจากมีรูปแบบผลิตภัณฑ์คล้ายคลึงกัน ตามกฎหมายแล้ว “ชา” หมายถึงเฉพาะใบ ยอด และ ก้านที่ยังอ่อนอยู่ ของ ต้นชาในสกุลคาเมเลีย(Camelia) ที่ทำให้แห้งแล้ว และ ชาผงสำเร็จรูปที่ทำมาจากชาเท่านั้น

ดังนั้น เครื่องดื่มทั้งชนิดน้ำ และ แห้งที่ปรุงจากสมุนไพร จึงควรใช้คำว่า “เครื่องดื่มสมุนไพร” มิใช่ชาสมุนไพร

นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และ ยา ได้กำหนดแนวทางในการพิจารณาว่า ผลิตภัณฑ์ใดที่จัดเป็นอาหาร จะต้องมีลักษณะดังนี้คือ

๑. มีการระบุความมุ่งหมายสำหรับใช้เป็นอาหาร
๒. ไม่มีการแสดงสรรพคุณที่เป็นยา
๓. ได้รับการยกเว้นไม่จัดเป็นยาตามกฎหมายยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
๔. วัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนประกอบ ของ อาหาร ต้อง
๔.๑ มีการใช้ในทางอาหาร หรือ มีคุณประโยชน์ในลักษณะที่เป็นอาหาร

๔.๒ หากมีการใช้ในทางยา และ มีคุณประโยชน์ทางอาหาร ปริมาณที่ใช้เป็นอาหารก็ไม่ควรเกินขนาดที่เป็นยา และ ไม่ก่อให้เกิดพิษภัยต่อร่างกาย ของ ผู้บริโภค เช่น โสม เป็นได้ทั้งยา และ อาหาร หากจะต้องใช้เป็นอาหาร ปริมาณต้องไม่เกิน ๓ กรัมต่อวัน เป็นต้น

๔.๓ กรณีเติมวิตามิน ต้องไม่เกินปริมาณความต้องการให้แต่ละวันที่กรมอนามัยกำหนดไว้

๕. การแสดงข้อความในฉลาก และ การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหาร ไม่อนุญาตให้แสดงสรรพคุณที่เป็นยา เช่น ข้อความที่แสดงว่าสามารถป้องกัน บรรเทา บำบัด รักษาโรคต่างๆเป็นต้น

จากความหมายที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า ผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปมีการใช้ประโยชน์ต่างกัน เราควรทราบว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพื่อวัตถุประสงค์ใด จะใช้เป็นยา หรือ อาหาร หากนำผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรมาใช้เป็นอาหาร อาจได้รับอันตรายจากความแรง หรือ ความเข้มข้น ของ ยาได้ และ หากใช้ผลิตภัณฑ์อาหารสมุนไพรแปรรูปเป็นยา ในบางกรณีอาจได้ประโยชน์บ้างในแง่การบำรุงสุขภาพ แต่ในด้านการรักษาโรค ความเข้มข้น ของ สารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางยาในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ อาจไม่เพียงพอ หรือ ไม่เหมาะสมกับอาการโรค

ยาชงสมุนไพร และ เครื่องดื่มสมุนไพร มักมีรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่คล้ายคลึง กัน อาจทำให้ผู้ใช้สับสนได้ จึงควรสังเกตให้ดี ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ และ ในการวางจำหนายควรวางแยกชั้นกัน

ฉลาก

ฉลากยาแผนโบราณต้องแสดงข‰อความดังต่อไปนี้

(ก) ชื่อยา
(ข) เลขที่ หรือ รหัสใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา
(ค) ปริมาณ ของ ยาที่บรรจุ
(ง) เลขที่ หรือ อักษรแสดงครั้งที่ผลิต
(จ) ชื่อผู้ผลิต และ จังหวัดที่ตั้งสถานที่ผลิต
(ฉ) วัน เดือน ปี ที่ผลิตยา
(ช) คำว่ายาแผนโบราณŽให้เห็นได้ชัด
.........ฯลฯ.........

ฉลากเครื่องดื่มสมุนไพร ต้องแสดงข้อความ ดังนี้

๑) ชื่ออาหาร
๒) เครื่องหมาย อย. และ เลข อย.
๓) ชื่อ และ ที่ตั้ง ของ ผู้ผลิต หรือ แบ่งบรรจุ หรือ สำนักงานใหญ่
๔) ปริมาณสุทธิเป็นระบบเมตริก ดังนี้
- ในกรณีที่เป็น ของ แข็ง หรือ ครึ่งแข็งครึ่งเหลว แสดงน้ำหนักสุทธิŽ เช่น กรัม กิโลกรัม
- ในกรณีที่เป็น ของ เหลว หรือ ครึ่งแข็งครึ่งเหลว แสดงปริมาตรสุทธิŽเช่น ลบ.ซม., ซม., มล., ลิตร

๕) ส่วนประกอบที่สำคัญ โดยประมาณเป็นร้อยละโดยน้ำหนัก เรียงจากปริมาณมากไปหาน้อย

๖) แสดงวัน เดือน ปี ที่ผลิต/หมดอายุ/ควรบริโภคก่อน โดยมีคำว่าผลิตŽ หมดอายุŽ หรือ ควรบริโภคก่อนวันที่...........Ž ดังนี้
- อาหารที่เก็บไว้ได้ไม่เกิน ๙๐ วัน ให้แสดงวัน เดือน ปี ที่หมดอายุการบริโภค
- อาหารที่เก็บได้เกิน ๙๐ วัน ให้แสดงวัน เดือน ปี ที่ผลิต หรือ วันเดือนปีที่หมดอายุการบริโภค

๗) คำแนะนำในการเก็บรักษา(ถ้ามี)

๘) วิธีปรุงเพื่อรับประทาน(ถ้ามี)

.........ฯลฯ.........

end of column

เปิดหน้าต่าง ต.อ. (สารอโศก อันดับ ๒๓๒ หน้า ๓๘ - ๔๒ เดือน มกราคม ๒๕๔๔)