น้ำใจใดที่ควรบูชา หนังสือพิมพ์สารอโศก ฉบับพิเศษ เขียนโดย รินธรรม
หน้า 1/1

มนุษย์สะสมประสบการณ์ได้หลายวิธี วิธีแรกสุด คือ การเรียนรู้ประสบการณ์ด้วยตนเอง แต่ชีวิตมนุษย์มีเวลาจำกัด ไม่สามารถเรียนรู้โลกอันกว้างขวาง สังคม และ ชีวิตอันสลับซับซ้อนได้มากมายนัก มนุษย์ จึงถ่ายทอดประสบการณ์แก่กันด้วยการเล่าเรื่องราว ที่เกิดขึ้นจริง หรือ เรื่อง ที่ดัดแปลงจากเรื่องจริง ตลอดจนเรื่อง ที่แต่งขึ้นเป็นนิทาน นิยาย

เรื่อง ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเล่า เป็นชีวิตในอดีตชาติของพระองค์ ก็เรียกว่า ชาดก บางทีเรียกว่า นิทานชาดก

สมัยนี้มีเทคโนโลยี ที่สามารถนำนิทาน นิยาย มาทำเป็นละครโทรทัศน์ และ ภาพยนตร์ เพื่อให้ง่ายแก่การเรียนรู้ เพราะได้สัมผัสทั้งทวารตา และ ทวารหู แต่เป็น ที่น่าเสียดายว่า แทน ที่จะได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตจากโทรทัศน์ และ ภาพยนตร์ จนสามารถปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น กลับกลายเป็นว่า มีการซึมซับสิ่งชั่วหยาบ อกุศลเข้าไปในจิตใจ และ ผลักดันให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรม ที่ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมายมากมายในปัจจุบัน

จึงควรอย่างยิ่ง ที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคม ในครอบครัว จะได้เป็นผู้นำในการใช้ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และ วิดีทัศน์ เพื่อให้เกิดการศึกษา สำหรับพัฒนาชีวิตอย่างแท้จริง

ในการชมภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ หรือ วิดีทัศน์ ผู้ชมอาจวิเคราะห์เนื้อเรื่อง ที่ได้ชม แยกแยะพฤติกรรมดี ที่ควรเอาอย่าง พฤติกรรมเลวร้าย ที่ควรละเว้น หรือ พฤติกรรม ที่ต้องปรับ พัฒนาใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ในชีวิตของตน

อย่างเช่นวิดีทัศน์เรื่อง ไยตะวันไม่ส่องฉัน ซึ่งมีตัวละครเด่นอยู่ ๓ คน คือ เจียซี เจียเหยา และ ติ้งปัง

คุณฟาง พ่อของเจียซีมีลูกสามคน สองคนโตเป็นชาย ชื่อเจียเฉิน และ เจียฮุย ลูกสาวคนสุดท้อง คือ เจียซี ส่วนเจียเหยา เป็นลูกสาวของภรรยาคน ที่สองของคุณฟาง เป็นพี่สาวต่างมารดาของเจียซี

เจียเฉิน กับเจียฮุย เกลียดแม่เลี้ยง และ เจียเหยามาก ด้วยความคิด ที่ว่า สองคนแม่ลูกมาแย่งใช้เงินพ่อของเขา และ เป็นเหตุให้แม่ของเขาต้องตรอมใจตาย

เมื่อพ่อของพวกเขาตายไป พี่ชายต่างมารดา จึงจองล้างจองผลาญเจียเหยา จนแม่ของเธอต้องตรอมใจตาย ตัวเธอต้องประสบความล้มเหลวในทางการค้า เพราะถูกพี่ชายกลั่นแกล้ง และ โกงมรดกส่วน ที่เธอกับแม่ควรจะได้ไป

น่าสงสารเจียเฉิน และ เจียฮุย ที่ก่อกรรมทำเข็ญกับคน ที่ไม่มีความผิด เช่นเจียเหยา ด้วยความวิปริตทางความคิด และ จิตใจฝังใจว่า เจียเหยาแย่งความรัก และ ทรัพย์สมบัติจากพ่อไป ทั้งความโลภในทรัพย์สมบัติ ที่ควรแบ่งให้เจียเหยา และ ความพยาบาทปรารถนาให้เจียเหยา ประสบความหายนะ

ดีแต่ว่า เจียเหยาเป็นคน ที่เชื่อมั่นในตนเอง เข้มแข็ง ไม่ยอมแพ้แก่ผู้ประสงค์ร้ายหมายชั่ว เธอ จึงตั้งตัวได้ใหม่ ด้วยความสามารถของเธอเอง และ ด้วยความช่วยเหลือของติ้งปัง สุภาพบุรุษหนุ่ม ผู้ซื่อสัตย์ มีน้ำใจบริสุทธิ์

เขาเป็นคนดี ที่สังคมต้องการ เขาช่วยทุกคน ที่ควรได้รับความช่วยเหลือ โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน

เจียซีก็เป็นสุภาพสตรี ที่ควรชื่นชมในความอ่อนโยน มีเมตตา ปรารถนาดีต่อเพื่อน และ พี่ เธอเป็นคนกลาง ที่มีความยุติธรรมต่อทุกฝ่าย แม้เธอจะรักพี่ชาย แต่ เมื่อเธอเห็นว่า พี่ชายทำร้ายพี่สาวต่างมารดาเกินไป เธอก็คอยให้กำลังใจเจียเหยาเสมอ

ใน ที่สุดเจียเหยาก็สามารถหาหลักฐานความชั่วของเจียเฉินได้ เขา จึงต้องเข้าไปใช้กรรมในคุก ส่วนเจียฮุย ประสบความหายนะทางการค้า หลบหนีไปต่างประเทศก่อนแล้ว

เจียเหยา จึงรับมรดกสืบทอดกิจการของพ่อ และ แน่นอน เธอต้องเป็นพี่ ที่เข้มแข็ง และ คอยดูแลน้องสาวด้วยความรักความปรารถนาดี

แม้ว่าตลอดชีวิตของเจียเหยา ซึ่งเป็นลูกสาวเศรษฐี แต่ก็ไม่ได้เป็นลูก ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ได้มีชีวิตสุขสบายเป็น ที่เปิดเผยสมฐานะของพ่อ เธอต้องทำงานหนัก อาศัยความสามารถของตนเอง เผชิญปัญหาฝ่าฟันความทุกข์ยากในชีวิตนานัปการ ราวกับชีวิตไม่ได้รับแสงสว่างจากตะวันเลย

แต่เธอก็สามารถนำพาชีวิตของเธอ ก้าวไปหาแสงตะวันได้ กล่าว คือ สามารถก้าวพ้นปัญหาต่างๆ ไปได้ด้วยดี

ในขณะเดียวกัน เจียเฉิน กับเจียฮุย กลับก้าวหนีจากแสงตะวัน จนใน ที่สุด ก็อาจจะต้องย้อนทบทวนถามตัวเองว่า ไยตะวันไม่ส่องฉัน

โลกนี้คงต้องร่ำไห้กับพี่น้องอย่างเจียเฉิน และ เจียฮุย ที่หน้ามืดตามัว หลงใหลในอำนาจ และ ทรัพย์สมบัติ จนกระทั่งสามารถทำทุกอย่าง แม้เลวร้าย และ อยุติธรรม เพื่อรักษาอำนาจ และ ทรัพย์สมบัติ

เขียนมาถึงตรงนี้ ก็คงพอจะตอบได้ว่า น้ำใจของตัวละครคนไหนบ้าง ที่ควรบูชา ความจริงตัวละครประกอบอื่นๆ ก็มีน้ำใจควรบูชา คนละเล็กคนละน้อย คนละแง่คนละมุม และ ตัวเอก คือ เจียซี เจียเหยา และ ติ้งปัง นอกจากแง่มุมของน้ำใจ ที่ดีแล้ว ก็ยังมีข้อบกพร่อง ที่ควรแก้ไขหลายประการ

ในชีวิตจริงของคนเราก็เช่นกัน ตราบใด ที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ย่อมมีข้อบกพร่องด่างพร้อยให้ศึกษาพัฒนาขึ้นไปเสมอๆ แม้เป็นพระอรหันต์แล้ว เป็นผู้อยู่เหนือโลก (โลกุตตระ) ก็ยังต้องเรียนรู้ให้เท่าทันโลก (โลกวิทู) เพื่อทำประโยชน์แก่โลกได้เหมาะควร (โลกานุกัมปายะ)

ขอเพียงอย่าปิดโลกทางความคิด และ การศึกษา พึงเปิดโลกกว้างทางการศึกษา และ เปิดใจกว้างทางความคิด ศึกษา และ ยอมรับชีวิต ที่ดี ความคิดเห็นดีๆ ของคนอื่น แม้เป็นชีวิต และ ความคิด ที่ต่างจากตน ก็เป็นเรื่อง ที่ควรเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ และ สติปัญญา

จักได้เป็นผู้ ที่มีน้ำใจ ที่ควรบูชา

end of column
 
(สารอโศก อันดับ ๒๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๓)