บทความในสารอโศก ตอน
แบกขี่หลังข้ามฟ้า
หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 231 เดือนธันวาคม 2543
หน้า 1/1

แบกขี่หลังข้ามฟ้า

เป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่ง ของ ชาวอโศก ที่ต้องฝ่าอุปสรรคหลากหลาย ในการขนย้ายเรือ ๓ ลำ (เรือเอี้ยมจุ้นหรือเรือกระแชง) จาก อ.เมือง จ.ปทุมธานีไปสู่บ้านราชธานีอโศก อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๓ ถึง ศุกร์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๓

เรือ ๓ ลำนี้ พ่อท่านตั้งชื่อว่า

๑. เกียข่วมฟ่า (แบกขี่หลังข้ามฟ้า)
๒. ก้าข่วมฝัน (กล้าข้ามฝัน)
๓. กันข่วมหม้อระฮก (กันข้ามนรก)

เรือเกียข่วมฟ่าเป็นเรือลำใหญ่สุดกว่าทุกลำ ที่เคยขนย้ายไปบ้านราชฯ กว้างเกือบ ๙ เมตร ยาว ๒๕-๒๖ เมตร คนไทยสมัยก่อนใช้บรรทุกข้าวในลำน้ำเจ้าพระยา แต่ละลำบรรทุกประมาณ ๓,๐๐๐-๓,๕๐๐ กระสอบ แต่ละกระสอบหนัก ๑๐๐ กก. ราคาค่าเรือที่ซื้อมาประมาณลำละ ๓ หมื่นบาท แต่ค่ารถที่ใช้ขนส่งแต่ละคันคิดประมาณ ๓ หมื่น - ๓ หมื่นห้าพันบาท ค่าอุปกรณ์-โซ่-ลวดสลิง อุปกรณ์ไฟ เครื่องเสียง และอื่นๆ เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าอาหาร เป็นต้น รวมแล้วเป็นแสนบาททีเดียว

ทีมงานขนย้ายเรือครั้งนี้รวมประมาณ ๓๒ ชีวิต มีสมณะ ๔ รูป พระอาคันตุกะ ๒ รูป

นาค ๒ ปะ ๑ ฆราวาสชาย ๒๒ คน หญิง ๑ คน โดยมีการประชุมวางแผนจัดทีมงานดังนี้

๑. สมณะทำหน้าที่เป็นโฆษก คอยประกาศให้รถที่วิ่งสวนมาจอดชิดซ้าย และแผนกวิทยุมือถือ คอยบอกสถานการณ์ให้รถจอด รถสวน รถแซง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และป้องกันขบวนเรือวิ่งไปกระทบกิ่งไม้ริมทาง เสาไฟฟ้า หลอดไฟตามแยกต่างๆ

ส่วนเรือแต่ละลำจะมีกะลาสีเรืออยู่บนเรืออย่างน้อย ๓ คน คอยเขี่ยสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ มิให้เกี่ยวเรือ และคอยพูดโทรโข่งบอกคนขับให้หลบป้ายสัญญาณจราจร เป็นต้น โดยมีเด็กรถคอยรัดโซ่ คอยเปลี่ยนล้อ เมื่อเวลาเกิดยางรถรั่ว คอยเติมน้ำหม้อน้ำ คอยเติมน้ำมัน เพราะการเลี้ยวรถเข้าไปเติมน้ำมันในปั๊มเป็นการทำ ได้ยากมาก มีหน่วยวิทยุที่นั่งคู่ไป กับพลขับด้วย ติดต่อกันโดยใช้ชื่อ เรือ ๑ เรือ ๒ เรือ ๓

๒. และในรถเบอร์ ๒ นี้ จะมีเสบียง น้ำ เครื่องมือ ช่างที่ติดตั้งเสียงและแสงไฟรอบๆเรือแต่ละลำ โดยคุณพิรุณ ทองอินทร์ และคอยวางทุ่นกั้นรถ เมื่อเวลาเรือแต่ละลำจอดข้างถนน

๓. เป็นรถเจ้าใต้ พลขับโดย นายแก่นคม ชำนิกุล มีนาคถักบุญคอยถ่ายวิดีโอและถ่ายภาพนิ่ง มีหลวงตาพรหมจริโย ท่านชยธัมโม คุณนดาศักดิ์ และคุณฝากดิน มีเสบียงจำพวก ของ แห้งคอยเสริมในแต่ละวัน

๔. เป็นรถ ของ มูลนิธิสว่างวิชชาธรรมสถานปากช่อง มาร่วมช่วยปิดท้ายขบวนเรือ มีทั้งวิทยุ ไมค์ประกาศและแสงสัญญาณเตือนให้รถตามมาระวัง ซึ่งจะคอยบอกเรือแต่ละลำว่า มีรถคันใดแซงขึ้นไป เตือนให้เรือแต่ละลำทราบจะ ได้ระวังตัว แล้วยังมีรถคุณวิรัติที่คอยวิ่งสวน วิ่งแซงขบวน เพื่อคอยช่วยเหลือตามจุดคับขัน เช่น ตามสี่แยก ตามทางข้ามทางรถไฟ เป็นต้น

รถ"เดนครั้ม" ดั๊มเครนบ้านราชฯ กับรถไหวๆคอยสำรวจเส้นทางไปข้างหน้า และคอยแก้ไขจุดที่เรือผ่านไม่ ได้ เช่น บริเวณที่มีสายโทรศัพท์ สายไฟ บริเวณแผงกั้นทางรถไฟ ซึ่งต้องปลดแผงออกให้ขบวนเรือผ่านไปก่อนแล้วจึงจะนำมาติดตั้งใหม่ตามเดิม

สำหรับเส้นทางที่จะนำเรือผ่านไป ก็ ได้ตกลงประชุมกันว่า เราจะนำเรือไปตามเส้นทางผ่านจุดสำคัญดังนี้

สามโคก-ทางต่างระดับบางปะอิน-ถนนเลี่ยงเมืองสระบุรี-ช่องแค-พัฒนานิคม-ชัยบาดาล-ท่าหลวง-ด่านขุนทด-สีคิ้ว-โชคชัย-นางรอง-สังขะ-ขุขันธ์-กันทรารมย์-เลี่ยงเมือง จ.อุบลฯ-ตาลสุม ไปลงท่าเรือที่บ้านปากน้ำ อ.ตาลสุม

ก็นับว่าเป็นการเดินทางที่ทรหดอดทนพอดู แต่เกิดความเสียหายน้อยมาก มีเกิดอุบัติเหตุนิดหน่อย คือ ผู้พันดาบดิน อาสาไปเป็นกะลาสีเรือลำที่ ๑ คอยดูสายไฟให้ บังเอิญเผลอหันหลังให้หัวเรืออีกที จึงถูกสายไฟฟ้าเกี่ยวตัว ตกลงบนลวดสลิงที่ผูกโยงเรือ แล้วตกลงไปในเรืออีกที เคราะห์ดีศีรษะไม่โดนเหล็ก ก็เลยบาดเจ็บเพียงโดนลวดสลิงเท่านั้น ผิวหนังถลอกบาดเจ็บไม่มาก ยังสามารถทำงานไปจนถึงเป้าหมายในที่สุด

ด้วยเหตุที่เป็นขบวนเรือใหญ่มาก เวลาที่วิ่งผ่านไปตามอำเภอและจังหวัดต่างๆ ก็จะมีคนตื่นเต้นร่ำลือกันไปบ้าง ยิ้มแย้มแจ่มใสตื่นตาก็มีมาก บางคนก็ยกนิ้วโป้งให้ว่ายอดเยี่ยมมาก บางคนถึง กับขับรถมอเตอร์ไซด์ตามมา เพื่อจะถ่ายภาพเก็บไว้ มายืนถ่ายรูป กับเรือก็มี โดยเฉพาะทีมงานสีมาอโศก ได้นำเสบียงอาหารมาเลี้ยงคณะเรา และ ได้ปีนบันไดขึ้นไปบนเรือถ่ายรูปกันเป็นการใหญ่

ที่ประทับใจยิ่งไปกว่านี้ คือ ตอนไปจอดที่ถนนเลี่ยงเมือง จ.อุบลฯ แยกไป อ.ตาลสุม เพื่อจอดรอให้รถเครนและอุปกรณ์ยกเรือลงน้ำ เข้าไปที่ท่าเรือก่อน ซึ่งต้องจอดอยู่ทั้งวันในวันศุกร์ ก็ ได้มีคณะครูนำเด็กนักเรียนมาทำรายงาน โดยมีคุณผ่านฟ้า ศรีพิลาศ คอยให้ข้อมูลแก่พวกเด็กนักเรียน

ผู้กำ กับพิสิษฐ์เห็นผู้คนสนใจกันมาก ก็ ได้แนะนำเป็นมุขตลก กับคณะเราว่า น่าจะกั้นผ้าตั้งเต็นท์ คล้ายๆ กับการฉายหนังกลางแปลงตามบ้านนอก แล้วเก็บเงินค่าดูเรือคนละบาท เพราะในชีวิตทั้งชีวิต ของ คนอีสาน มักไม่เคยพบไม่เคยเห็นเรือใหญ่โตอย่างนี้มาก่อนเลย

แม้เรื่อง ของ เรือนี้พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์และสมณะ ก็พูดกระเซ้าเด็กๆที่บ้านราชฯว่า ปีนขึ้นไปดู ได้ ขาขึ้นอาจจะเก็บ ๓ บาท ขาลงเก็บคนละ ๕ บาท

ก็เป็นอันว่าการเดินทางครั้งนี้ เรียบร้อยดี ถึงที่หมายโดยปลอดภัยทุกๆ คน และเรือเกียข่วมฟ่า ลำใหญ่สุด ก็ ได้ลากไปที่ท่าเรือบ้านราชธานีอโศก เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันศุกร์ ๑๕ ธ.ค.๒๕๔๓ ส่วนอีกลำต้องรอสูบน้ำออกและทยอยลากไปบ้านราชฯ ต่อไป

ทีมเกียข่วมฟ้า

end of column
 

แบกขี่หลังข้ามฟ้า (สารอโศก อันดับ ๒๓๑ หน้า ๑๓๒ ธันวาคม ๒๕๔๓)