เดินตามรอยพ่อ ตอน...
หันหลังให้โ
ลกีย์

หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 231
หน้า 1/1

ย้อนสู่อดีตเมื่อ ๑๙ ปีที่ผ่านมา...ท่ามกลางเสียงอึกทึกครึกครื้น ของ เสียงเพลง เสียงดนตรี และ แสงสี แห่งการเฉลิมฉลอง งาน ส่งท้าย ปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ๒๕๒๕ ซึ่งนับเป็น ครั้งแรก ในรอบหลายปี ที่มีงานมหรสพ มีภาพยนต์ มาประชันกันนับ ๑๐ จอ ถือว่า เป็นงาน ที่ยิ่งใหญ่ ตื่นตาตื่นใจ สำหรับชาวชนบท มันยั่วยวน ใจจนดึงดูด ผู้คน ให้หลั่งไหลไปเสพ ในสัมผัส ของ มันอย่างมัวเมา

แต่.....มีหนุ่มน้อยวัย ๑๙ ปีคนหนึ่ง ไม่ยินดีกับสิ่งยั่วยวนเหล่านั้น กลับหันหน้าเดินเข้าวัดอย่างเงียบๆ พรุ่งนี้(๑ ม.ค.๒๕๒๕) เป็นวันที่เขาจะต้องปลงผมอันแสนรัก สลัดเสื้อผ้าอันสุดหวง มานุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ อันเป็นธงชัย ของ พระอรหันต์ บรรพชาเป็นสามเณรในวันนั้น

เขาเรียนจบมัธยมปลาย และ ช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา ๑ ปี เมื่อเสร็จสิ้นฤดูเ ก็บเกี่ยว เขาจึงเข้าวัดบวช เพื่อพักจิตพักใจสักระยะหนึ่ง ด้วยคิดว่าการบรรพชา ของ เขาครั้งนี้ จะช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้สงบเย็นลงบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้เขาสับสน ว้าวุ่น ปริวิตกถึงเส้นทางชีวิต ของ ตัวเอง แล้วแสดงออกในลักษณะคึกคะนอง โลดโผนทั้งทางกาย-วาจา สวนกระแสความรู้สึก ของ ใครๆ เพื่อกลบเกลื่อนความรู้สึกที่แท้จริง ของ ตัวเอง จนพ่อ-แม่หวั่นวิตกถึงขนาดน้ำตาคลอเบ้า กับพฤติกรรมอันเกินปกติ ของ เขา

ตัวเขาเอง ก็มีความรู้สึกสลดหดหู่ และ สงสาร เมื่อเห็นน้ำตา และ สีหน้าที่วิตกกังวล ของ พ่อ-แม่ ซึ่งเมื่อสมัยก่อนเขาเองไม่เคยทำให้พ่อ-แม่หนักอกหนักใจเลย.... ทำให้ท่านทั้งสองคิดมากว่า ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ไม่ดีแน่ๆ ท่านจึงให้บวชเป็นสามเณร เพราะคิดว่าธรรมะคงจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจลูกชายให้ดีขึ้นบ้าง

ตัวเขาเองในส่วนลึก ของ หัวใจสมัยเด็กๆ มีความคิดอยากจะบวชอยู่แล้ว จึงไม่ขัดข้องแต่ประการใด การบวชสามเณรด้วยตั้งใจว่า จะบวชแค่ ๑๕ วัน แล้วจะสึกออกไปเรียนต่อ การบวชสามเณร ของ เขาจึงเป็นงานบวชอย่างเงียบๆ โดยมีพ่อ-แม่ และ ญาติพี่น้องไม่กี่คนมาร่วมงาน

ในความรู้สึกส่วนลึก เขายังอาลัยอาวรณ์ห่วงหา เป็นความรู้สึกดั่งว่า เขาจะต้องจากพ่อ-แม่ และ ญาติพี่น้องไปตลอดชีวิต ทั้งๆ ที่เขาเอง ก็เคยจากบ้านไปเรียนที่อื่น ครั้งนี้เขา ก็จะบวชเพียง ๑๕ วันเท่านั้น แต่ความรู้สึกเหมือนจะไม่ได้หวนกลับสู่วิถีชีวิตแบบเดิมอีกแล้ว พอใกล้จะครบ ๑๕ วัน ของ การบวชเป็นสามเณร ได้รับจดหมายฉบับหนึ่งเป็น ของ พระพี่ชายที่ปฏิบัติธรรมอยู่สำนักแห่งหนึ่ง (ซึ่งปฏิปทาปฏิบัติเคร่งครัดคล้ายๆ สมณะอโศก) เช่น ฉันมังสวิรัติมื้อเดียว ไม่สวมรองเท้า ไม่ใช้เงินทอง ไม่ให้หวย ไม่ใช้ย่าม ไม่สูบบุหรี่ ไม่รดน้ำมนต์ เป็นต้น) จิตใจมันแว็บขึ้นมาเหมือนรู้สึกว่า วิถีชีวิตบนเส้นทางโลกโลกีย์ ของ เราถูกขัดขวางแล้วหนอ

และ แล้ว ก็จริงดั่งที่คิด เนื้อความในจดหมายบอกว่า “ก่อนที่สามเณรจะสึก ขอให้ไปหาหลวงพี่ก่อน” จิตใจฝ่ายโลกียวิสัยมันหดหู่ห่อเหี่ยว เหมือนดั่งรู้ว่าจะถูกพรากห่างจากโลกียสุขออกไปเรื่อยๆ พระพี่ชายเอง ก็ไม่ได้บังคับเคี่ยวเข็นอะไร จะลาสิกขาตอนไหน ก็ได้ แต่.....มโนธรรมสำนึก ของ เขามันย่อมรู้ว่า เส้นทางไหนดีกว่ากัน

พอเดินทางไปอยู่ที่สำนักปฏิบัติธรรมแห่งนั้น สิ่งที่โดนใจใช่เลย อันดับแรกคือ ได้รู้จักอาหารมังสวิรัติ เสียงอุทานก้องในใจว่า “เจอแล้วเส้นทางแห่งความสว่าง ของ ชีวิต จิตใจมันโปร่งแล้ว” จึงตั้งปณิธานในใจว่า “ต่อแต่นี้ไปเราจะฉันอาหารมังสวิรัติตลอดชีวิต” และ เมื่อศึกษาปฏิบัติธรรมที่นั่น ก็เริ่มเข้าใจเรื่องศีลชัดเจนขึ้น ละเอียดขึ้น แต่ในใจ ก็ยังคิดจะสึก เพื่อใช้ชีวิตแบบฆราวาส อยากเรียนต่อให้สูงๆ และ มีความมั่นใจว่าจะเรียนได้ดีกว่าเดิม และ ตั้งใจยึดมั่นในศีล ๕ ละอบายมุข และ ทานอาหารมังสวิรัติตลอดไป

ต่อมาในปีเดียวกันนั่นเอง ได้อ่านหนังสือ ของ ชาวอโศก ซึ่งช่วงนั้น พ่อท่าน และ พระชาวอโศกถูก พ.ต.ต.อนันต์ เสนาขันธ์ กล่าวโจมตีอย่างหนัก ชาวอโศกออกหนังสือชี้แจงข้อกล่าวหา พออ่านแล้วรู้สึกโดนใจใช่เลยอีกแล้ว อุทานในใจว่า “โอ้ ! เราพบแล้ว หมู่กลุ่มที่เราต้องการ” (เหมือนดั่งหัวใจมันเรียกหามาแสนนาน เพิ่งพบพานเจอะเจอ ก็ครั้งนี้) เมื่อยิ่งอ่านยิ่งประทับใจในคำกล่าวชี้แจงได้แจ่มแจ้งชัดเจน มีเหตุมีผลมีหลักฐานอ้างอิง ทำให้เข้าใจ แง่มุมต่างๆ ของ ศาสนาพุทธได้มากยิ่งขึ้น และ หนังสือเล่มอื่นๆ ของ ชาวอโศก ยิ่งอ่านยิ่งเกิดความมั่นใจว่า “นี่แหละคือศาสนาพุทธที่แท้จริง”

และ เข็มทิศชีวิต ของ สามเณรหนุ่มน้อย ก็ชี้ตรงไปสู่เส้นทางแห่งพรหมจรรย์เพียงเส้นทางเดียว โดยไม่ลังเลสงสัยอีกเลย จิตใจไม่คิดจะสึกกลับไปสู่วิถีชีวิตแบบเดิมๆ อีกเลย และ ยิ่งอ่านหนังสือ “ทางเอกภาค๒“ เขียน โดยพระโพธิรักษ์ รู้สึกได้เลยว่าผู้เขียนมิใช่พระธรรมดา ต้องเป็นพระอาริยะระดับสูงแน่ๆ เพราะอธิบายแยกแยะได้อย่างกระจ่างแจ้ง เข้าใจถึงสภาวะชัดเจน ทำให้เขายิ่งย้ำกับตัวเองว่า “นี้แหละคืออาจารย์ ของ เรา”

ปี ๒๕๒๘ จึงบินเดี่ยวสู่ศีรษะอโศกเป็นครั้งแรก และ ได้มีโอกาสร่วมงานปลุกเสกพระแท้ๆ ของ พุทธ และ ไปต่องานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ที่ศาลีอโศก จากนั้นจึงตัดสินใจลาสิกขาบท เพื่อเข้ามาอยู่ปฏิบัต ิที่สันติอโศก ครั้งแรกที่ได้พบพ่อท่าน พ่อท่านมองหน้าแล้วพูดว่า “เอ๊า...อยู่ได้ ก็อยู่” คำพูด ของ พ่อท่านเหมือนท้าทายคนอย่างเรา ทำให้นึกถึงพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้มีมรรคผลจึงทนอยู่ได้”

ความตั้งใจที่มาเพื่อจะบวชเป็นพระชาวอโศก ได้อยู่ในฐานฆราวาส(อารามิก)เป็นเวลา ๓ ปี แล้วสมัครเป็นปะชาย และ ได้เลื่อนฐานะตามลำดับ จนได้บวชเป็นสามเณรในวันที่ ๑๔ พ.ค. ๒๕๓๒ บวชเป็นสามเณร ของ ชาวอโศกได้ ๑ เดือน ก็เกิดกรณีคดีสันติอโศก พ่อท่าน และ นักบวชโดนจับ ยกเว้นสามเณร

ภาวะจิตใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มิได้หวั่นไหวอะไร ยิ่งเชื่อมั่นในพ่อท่าน และ แนวทาง ของ ชาวอโศก เพราะได้ผ่านการพิสูจน์ด้วยตนเองแล้ว ในใจคิดว่า “ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น จะไม่หนีไปจากพ่อท่าน และ หมู่กลุ่มชาวอโศกอย่างแน่นอน ต่อให้อยู่ในรูปแบบใด ก็ตาม จะขอยืนหยัด ปฏิบัติธรรมตามแนวทางนี้ไม่แปรเปลี่ยน และ จะขอเดินตามรอยพ่อบนเส้นทางนี้ตลอดไป”

วันที่ ๑ ก.ค.๒๕๓๓ ได้บวชเป็นสมณะชาวอโศก ในขณะครองผ้าจีวรสีขาว ซึ่งเป็นการบวชสมณะ ครั้งแรก หลังจากเกิดเหตุการณ์กรณีสันติอโศก ที่โดนจับ และ ให้เปลี่ยนชุดแต่งกายเป็นชุดขาว

จากวันนั้นจนถึงปัจจุบันนี้ สมณะชาวอโศกได้เปลี่ยนผ้าครอง จากสีขาวมาเป็นกรัก และ ยังคงยืนหยัด มั่นคงในเส้นทาง ที่พ่อท่านพาเดินไม่

แปรเปลี่ยน ทั้งหมดนั่นคือวิถีชีวิต ของ ลูกผู้ชายธรรมดาๆ คนหนึ่งๆ ที่โชคดี มีโอกาสได้พบ หมู่กลุ่มชาวอโศก ซึ่งมีพ่อท่านโพธิรักษ์เป็นผู้นำพาปฏิบัติ ให้ถูกตรงถูกต้องตามธรรมตามวินัย ของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้วิถีชีวิตแปรเปลี่ยนมาสู่ทิศทางที่มีคุณค่า มีประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน มาเสียสละตัวเองเพื่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งมีพ่อทางจิตวิญญาณเป็นผู้นำพา

แม้ไกลสุดหล้าสุดฟ้าดิน
มิเคยสูญสิ้นแห่งความหวัง
ถึงใครจะบังเบียดเกลียดชัง
ใจก็ยังรักดีมีอภัย

ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า
ถึงแม้จะหนักหนาสักเพียงไหน
จะขอก้าวตามรอยพ่อมิห่างไกล
ทุ่มโถมสุดใจสุดไฟฝัน

ไกลสุดฟ้าไม่เคยหวั่นไหว
นานเท่าไหร่ไม่ท้อขอมั่น
แม้ยากเย็นขอเป็นดั่งใจฝัน
ด้วยบากบั่นสานฝันให้เป็นจริง

สมณะกล้าตาย ปพโล

end of column
 

เดินตามรอยพ่อ ตอน หันหลังให้โลกีย์ (สารอโศก อันดับ ๒๓๑ หน้า ๗๔–๗๗)