หน้าแรก >สารอโศก

เปิดหน้าต่างต.อ.
เจาะวิจัย อุดมการณ์ลึกไกล สมุนไพรบุญนิยม

ในวันเสาร์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๕ ทีมผู้บริหารศูนย์เจาะวิจัยสมุนไพรปฐมอโศก ได้ร่วมกัน วิเคราะห์ตนเอง โดยประมวลจุดแข็ง จุดอ่อนที่เป็นปัจจัยภายใน และโอกาส อุปสรรค จากปัจจัยภายนอก เพื่อนำมากำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และ แผนกลยุทธ์ของตนเอง ดังนี้

ผลการวิเคราะห์ตนเอง
จุดแข็ง จากปัจจัยภายในชุมชน ได้แก่
๑. สมาชิกชุมชนและบุคลากรได้รับการพัฒนาด้านคุณธรรม ให้มีความเสียสละ เพื่อส่วนรวม ระดับหนึ่ง
๒. มีระบบสังคมร่วมมือ (ระบบลงแขกในสมัยก่อน) ภายในชุมชน
๓. มีเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษอยู่ทั่วประเทศ เป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ตามที่กำหนดได้
๔. มีทีมบริหารที่เป็นเอกภาพมีความรู้พื้นฐานดี และมีที่ปรึกษาที่มีคุณธรรม
๕. ใช้การทำงานเป็นการปฏิบัติธรรม ให้เกิดประโยชน์ตน-ประโยชน์ท่าน อย่างถึงพร้อม ด้วยความ ไม่ประมาท
๖. มีสถานที่ผลิตที่ได้มาตรฐาน
๗. มีประสบการณ์การพัฒนาสมุนไพรมานานพอสมควร
๘. มีอุปกรณ์และบุคลากรในการทำสื่อสาร ประชาสัมพันธ์
๙. มีร้านค้าชุมชนและเครือข่ายในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์
๑๐. การทำธุรกิจด้วยระบบบุญนิยมทำให้ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่ดี ราคาถูก
๑๑. ได้รับการยอมรับว่า เป็นชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเอง

จุดอ่อน จากปัจจัยภายในชุมชน ได้แก่
๑. ยังมีคนที่มีคุณภาพและคุณธรรมไม่มากพอ ทำให้งานไม่ต่อเนื่อง
๒. ขาดอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน GHP / GMP / GLP / GCP
๓. การบริหารจัดการยังไม่ดีพอ
๔. ขาดความรู้บางเรื่องในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด
๕. ขาดเมล็ดพันธุ์และต้นกล้าสมุนไพรที่ได้เกณฑ์มาตรฐาน เพื่อขยายพันธุ์ ให้เครือข่าย ผู้ผลิต วัตถุดิบ
๖. การประชาสัมพันธ์ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากขาดอุปกรณ์และบุคลากร
๗. ขาดผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการผลิตและสาธารณูปโภค
๘. ขาดบุคลากรในการสื่อสารกับชาวต่างประเทศ

โอกาส จากปัจจัยภายนอกชุมชน ได้แก่
๑. มีหน่วยงานราชการและวิชาการให้การสนับสนุนระดับหนึ่ง
๒. มีกระแสความนิยมสมุนไพร การรักษาสุขภาพมากขึ้น
๓. มีร้านค้าด้านสุขภาพมากขึ้น
๔. มีการปฏิรูปการศึกษาให้ชุมชนสร้างหลักสูตรให้เหมาะสมเองได้
๕. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ให้โอกาสอบรมเกษตรกรพักหนี้ ทำให้เกิด มิตรสัมพันธ์ สร้างเครือข่าย ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน เกิดช่องทาง ในการติดต่อเชื่อมโยง ซึ่งกันและกัน
๖. เป็นแหล่งศึกษาดูงานของประชาชนทั่วไป เป็นแรงจูงใจ ให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ได้มาตรฐาน เป็นตัวอย่างที่ดี และถูกตามหลักเกณฑ์ ให้กับผู้มาศึกษาดูงาน

อุปสรรค จากปัจจัยภายนอกชุมชน ได้แก่
๑. กฎหมายไม่สอดคล้องกับการพัฒนาสมุนไพร ทั้งล่าช้าขัดขวางการพัฒนา ไม่ทันสมัย และ ใช้แนวคิด ตะวันตก ที่ไม่สอดคล้องกับ ภูมิปัญญาไทย
๒. มีการแข่งขันการผลิตสมุนไพรที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยไม่มีการควบคุม อย่างจริงจัง และ ต่อเนื่อง
๓. นโยบายรัฐบาลไม่ชัดเจนในการสนับสนุน ให้มีการใช้สมุนไพรในสถานบริการของรัฐ และ ไม่มีมาตรการเร่งรัด การพัฒนาสมุนไพร
๔. สมุนไพรยังเป็นไปตามกระแสขึ้นๆลงๆ ทำให้ผู้ผลิตวัตถุดิบ และโรงงานผลิต วางแผนไม่ได้
๕. สถาบันการศึกษาและวิจัยยังไม่ให้ความสำคัญ ด้านการวิจัยสมุนไพร ให้ทันสถานการณ์ และ ไม่สอดคล้อง กับความสนใจ ของชุมชน
๖. ขาดแหล่งความรู้ที่ชุมชนไปเรียนรู้ได้ง่าย

จากจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ทีมผู้บริหารได้ระดมความคิดเห็น มากำหนด เป็นวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน คือ

วิสัยทัศน์ของศูนย์เจาะวิจัยสมุนไพรปฐมอโศก
จะเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ ด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาสมุนไพร
ให้ได้คุณภาพ และมีสุขลักษณะที่ดี ตามมาตรฐาน 5G เป็นองค์กร ที่มีความเข้มแข็ง ด้านการบริหารจัดการ ในลักษณะพึ่งตนเองได้ สาธารณโภคี และเป็นธุรกิจบุญนิยม

ภารกิจของศูนย์เจาะวิจัยสมุนไพรปฐมอโศก
๑. ฝึกอบรมคน ต้องทำคนให้มีคุณภาพ ให้คนเป็นบุญนิยม (ให้เข้าใจระบบบุญนิยม ทำงาน ให้มีคุณภาพ และ คุณธรรม) โดยเฉพาะเรื่องสาธารณโภคีและบุญนิยม
๒. พัฒนาระบบโรงงาน กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน 5 G
๓. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ ให้มีประสิทธิภาพทั้งในและต่างประเทศ
๔. พัฒนาระบบการตลาดบุญนิยม
๕. เป็นศูนย์เรียนรู้และการเผยแพร่การศึกษาของเยาวชนในชุมชนและประชาชนทั่วไป ทั้งด้าน ความรู้สมุนไพร สาธารณโภคี และธุรกิจบุญนิยม

หมายเหตุ 5 G หมายถึง
GAP = Good Agricultural Practice = มาตรฐานวิธีการที่ดีด้านการเกษตร
GHP = Good Hygienic Practice = มาตรฐานวิธีการที่ดีด้านสุขลักษณะ
GMP = Good Manufacturing Practice = มาตรฐานวิธีการที่ดีด้านการผลิต
GLP = Good Laboratory Practice = มาตรฐานวิธีการที่ดีด้านห้องปฏิบัติการ
GCP = Good Clinical Practice = มาตรฐานวิธีการที่ดีด้านการรักษา
HACCP = Hazard Analytical Critical Control Point =
ระบบการวิเคราะห์อันตราย และ จุดวิกฤต ที่ต้องควบคุม ในการผลิตอาหาร เพื่อป้องกัน อันตราย จากจุลินทรีย์ สารเคมี และ สิ่งปนเปื้อน ที่อาจเกิดขึ้นในอาหาร

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
๑. มีนักเรียนสัมมาสิกขาปีละ ๒๐ คน นิสิตสัมมาสิกขาลัยวังชีวิตทุกเขตในประเทศไทยปีละ ๑๐ คน เพื่อเป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ อุดมคติ และเป็นผู้บริหารต่อไปในอนาคต
๒. มีแหล่งปลูกสมุนไพรทั้งในชุมชนและเครือข่าย ให้ได้มาตรฐาน GAP / GHP ภายใน ๒ ปี
๓. มีกระบวนการผลิตและจัดหาเครื่องมือ ให้ได้มาตรฐาน GMP / GLP ภายใน ๒ ปี
๔. พัฒนางานให้เกิดการศึกษาวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษา โรงพยาบาล และ กระทรวง สาธารณสุข เพื่อพัฒนาสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน GCP ภายใน ๕ ปี
๕. พัฒนาโครงสร้างการบริหารด้านอาคารสถานที่ บุคลากร กระบวนการผลิต ระบบเอกสาร ให้เป็นระบบ ที่มีประสิทธิภาพ มาตรฐาน GMP ภายใน ๒ ปี
๖. พัฒนาระบบให้ได้มาตรฐาน HACCP ภายใน ๕ ปี
๗. พัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์ กระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ ระบบสาธารณโภคี และ ธุรกิจบุญนิยม ให้เป็นที่รับทราบทั่วไป
๘. ขยายการตลาดไปสู่โรงพยาบาลชุมชน สถานพยาบาลอื่นๆ ร้านค้าสินค้าสุขภาพ ทั้งใน และ ต่างประเทศ
๙. พัฒนาสื่อการเรียนการสอน ข้อมูลงานวิจัยสมุนไพร และความรู้ด้านสมุนไพร สาธารณโภคี และ บุญนิยม สำหรับนักเรียน นิสิต และ ประชาชนที่สนใจ
๑๐. จัดตั้งโรงเรียนถ่ายทอดความรู้เรื่องสมุนไพร และสุขภาพองค์รวม ภายใน ๑๐ ปี

กลยุทธ์ จัดเรียงลำดับความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามความเร่งด่วนได้ ๑๐ ประการ ดังนี้
๑. จัดหรือเข้าร่วมอบรมเพิ่มความรู้ที่ยังขาด เช่น บริหารจัดการและการตลาด
๒. เร่งการพัฒนากระบวนการผลิต ให้มีคุณภาพมาตรฐาน 5 G
๓. ประสานงานกลุ่มเกษตรกรเป็นแหล่งปลูกสมุนไพร ให้ได้มาตรฐาน
๔. พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีข้อมูลการวิจัยแล้ว ให้มีจุดเด่นด้านคุณภาพ รูปแบบ และ ส่งเสริมการขาย ให้ติดตลาดเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ของชุมชน
๕. สร้างสื่อประชาสัมพันธ์หลายรูปแบบเพื่อประชาสัมพันธ์เรื่องคุณภาพมาตรฐาน สาธารณโภคีบุญนิยม
๖. สร้างตลาดใหม่ ประสานงานโดยตรงกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน สถานบริการ และ ร้านค้าสุขภาพ ให้รู้ข้อมูลผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่มีคุณภาพ
๗. กระตุ้น ประสานงานกับภาครัฐ สถาบันการศึกษา ให้เกิดการศึกษาวิจัย และ พัฒนา สมุนไพร อย่างต่อเนื่อง
๘. สร้างหลักสูตรชุมชนเกี่ยวกับสมุนไพรและสุขภาพองค์รวม และพัฒนาต่อเนื่อง ให้เกิด โรงเรียน ที่มีการสอนด้านนี้
๙. เร่งพัฒนาบุคลากรที่ยังมีคุณภาพหรือคุณธรรมไม่พอ
๑๐. พัฒนาต่อเนื่องให้เกิดโรงเรียนสอนด้านสมุนไพร

ผลการวิเคราะห์ตนเองของศูนย์เจาะวิจัยปฐมอโศก โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ ประมวล สภาพการณ์ สังเคราะห์ และ วางแผน อย่างเป็นขั้นตอน ที่เรียกว่า SWOT Analysis นี้ ถือว่าเป็น พันธะสัญญา และ ความตั้งใจมั่น ของทีมผู้บริหาร ของศูนย์เจาะวิจัย สมุนไพร ปฐมอโศก ที่จะนำโรงงานยาสมุนไพรนี้ ไปให้ถึงความสมบูรณ์ ในทุกๆด้าน มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ และความสมบูรณ์นี้ จะเป็นจริง มากยิ่งขึ้น หากกระบวนการ วิเคราะห์ ตนเองนี้ ได้เกิดขึ้นอีก และ เกิดจากการมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ของผู้ปฏิบัติงาน ในโรงงาน สมาชิกชุมชน ทุกระดับ และ ตัวแทนองค์กรชาวอโศก ที่เกี่ยวข้อง ให้สมกับอุดมคติ ที่ว่า "เจาะวิจัย อุดมการณ์ลึกไกล สมุนไพรบุญนิยม" เพื่อที่จะให้ศูนย์เจาะวิจัย สมุนไพรนี้ เป็นของหมู่มวล ชาวอโศก และ ของมวลมนุษยชาติ อย่างแท้จริง

หมายเหตุ บันทึกสรุปจากที่ประชุมการจัดทำ SWOT Analysis ภายใต้โครงการ วิจัยพัฒนา ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ สุขภาพชุมชน ของสำนักงาน คณะกรรมการ อาหารและยา ซึ่งชุมชนปฐมอโศก และชุมชนศีรษะอโศก เป็น ๒ ใน ๑๒ ชุมชน ทั่วประเทศ ที่ได้รับการคัดเลือก ให้เป็นต้นแบบ การพัฒนาด้านยา จากสมุนไพร แล ะเครือข่าย กสิกรรมไร้สารพิษ ตามลำดับ

จริงใจ - ไมตรี
ชาวอโศกเพื่อมวลมนุษยชาติ
ต.อ.กลาง

(สารอโศก อันดับที่ ๒๕๑ สิงหาคม ๒๕๔๕)