มหาปวารณา'๔๕ ครั้งที่
๒๑
งาน มหาปวารณาครั้งที่
๒๑ ณ พุทธสถานปฐมอโศก ระหว่างวันที่ ๖-๑๐ พ.ย.'๔๕
ในวันที่ ๖-๗ พ.ย. เป็นการประชุมภายในของสมณะชาวอโศก ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา
เป็นประเพณีทุกปี ว่าหลังจาก ออกพรรษาแล้ว สมณะที่จำพรรษาอยู่ที่พุทธสถาน
และสังฆสถานต่างๆ จะเดินทาง มาประชุม มหาปวารณา ร่วมกัน เพื่อความเจริญยิ่งขึ้นของส่วนตัว
และของหมู่กลุ่ม ชาวอโศก และในวันที่ ๑๐ พ.ย. เวลา ๑๖.๐๐-๒๒.๐๐ น. จะเป็นการประชุม
ปวารณาของ ฝ่ายสิกขมาตุ โดยมีสมณะเดินดิน ติกขวีโร เป็นประธาน การประชุม
พ่อท่านได้อธิบายคำว่า
"ปวารณา" ไว้ในช่วงทำวัตรเช้าของวันที่ ๘ พ.ย. ว่า
".....ปวารณา แปลว่า เราบอกกล่าวเพื่อจะให้ท่านนั้นติเตียนเรา
ว่ากล่าวเรา ไปถึงขั้นดุด่าก็ได้ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ พยายามตำหนิ
ติเตียนจุดบกพร่องเป็นหลัก ไม่ใช่ยกยอปอปั้น เอาแต่ความดีมาพูด เชิดชูแต่ความดี
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่ชื่นชมความดี หรือ ไม่พูด เรื่องการชม การชมเป็นรอง
การติเป็นหลัก แต่คนไม่ต้องการ ให้ใครมาตำหนิ ติเตียน มาชี้มาจี้ ในความบกพร่อง
ไม่ดีของตน แต่ศาสนาพุทธนี้ เน้นเรื่องนี้เลย ถ้าใครสามารถ
ตำหนิ ติเตียนผู้อื่น อย่างมีศิลปะ สามารถให้ผู้อื่น ดื่มคำติเตียนได้ นั่นคือปิยวาจา
ปิยวาจาคือคำอธิบาย เปยยวัชชะ
แปลว่าดื่มคำตำหนิให้ได้
เปยยะคือของควรดื่ม วัชชะ คือ คำตำหนิ เพราะฉะนั้น ใครสามารถทำคำตำหนิ ให้เป็นของควรดื่มได้
คนนั้นเป็นผู้มีปิยวาจา เป็นวาจาที่น่ารัก ต้องมีความสามารถ ในการที่จะตำหนิ
หรือ ดุด่าว่าคนอื่นได้ โดยที่ดื่มได้ แต่จริงๆ ก็ไม่ดุไม่แรงอะไรหรอก พระพุทธเจ้าก็ไม่นิยม
ที่จะพูดคำไม่ไพเราะ คำแรง คำดุดัน พูดคำหยาบ พระพุทธเจ้าไม่เอา ถือเป็น
มิจฉาวาจา ซึ่งไม่น่าพูด
แต่จะพูดอย่างไรถึงสิ่งที่ไม่ดีของเขา
โดยเขาดื่มได้ รับได้ เกิดความเข้าใจ เกิดนึกถึงบุญคุณ เกิดเป็น ประโยชน์
ทำได้นั่นแหละ เป็นความสำคัญ ในศาสนาพุทธ....."
๗ พ.ย. หลังจากเสร็จสิ้นการประชุม
ในช่วงหลังฉันที่ศาลาฟังธรรม ญาติธรรมได้ทยอย เข้ามา กราบนมัสการ พ่อท่าน
พ่อท่านได้แจกหนังสือ ๓ เล่ม คือ คั้นออกมาจากศีล ฉบับปรับความ, มหาทาน,
พรแท้ของพุทธ, พวงกุญแจรูปใบโพธิ์ เขียนโศลกธรรม และปฏิทินปีใหม่ สำหรับคั่นหนังสือ
พ่อท่านแจก จนถึง ๕ โมงเย็น ทั้งหนังสือและสิ่งของ ที่พ่อท่านแจก ในวันนี้
ญาติธรรม ได้นำมาถวายพ่อท่านไว้แจก และ บริเวณใต้หอลั่นธรรม หน้าศาลาฟังธรรม
ก็ได้มีการแจกเท็ป ๓ ม้วน แก่ผู้มาร่วมงาน เช่นเดียวกัน
ในวันนี้พ่อท่านมีอายุพรรษาครบรอบ
๓๒ ปีของการบวช การทำงานเผยแพร่คำสั่งสอน
ของ พระพุทธองค์ ที่ทวนกระแสโลกย์ จนเกิดหมู่นักบวชชาย-หญิง ชุมชนบุญนิยม
ในทุกภาค ของประเทศไทย ทำให้ ญาติธรรม หันมาใช้ชีวิตทวนกระแส ได้พบกับชีวิตใหม่
ที่จะพาสู่ การพ้นทุกข์ ในที่สุด
สำหรับรายการในแต่ละวันมีดังนี้
๐๓.๓๐ - ๐๕.๓๐ น. ธรรมรับอรุณ
๐๗.๐๐ - ๐๘.๓๐ น. บิณฑบาตในหมู่บ้าน
๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น. รายการก่อนฉัน
๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. รายการประชุมต่างๆ
๑๘.๐๐ - ๒๐.๓๐ น. รายการแสดงภาคค่ำ บนเวทีธรรมชาติ
ธรรมรับอรุณ
๘ พ.ย. พ่อท่านชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของงานมหาปวารณา ว่า "....งานมหาปวารณา
ซึ่งเป็นงานประจำปี ของพวกเรา ก็ลงทุนกันมาทั่วประเทศ เดินทางกันมา ถ้าใครเข้าใจแล้ว
จะตั้งใจว่า งานพวกนี้เราต้องมา เราก็เกิดจิตเกิดปัญญา ได้รับประโยชน์อะไรต่ออะไรบ้าง
บางคน ก็ไม่อยากจะมา มาทำไม? อาตมา ขอยืนยันนะว่า มนุษย์ต้องมีกิจกรรม มีพิธีกรรม
กิจกรรมเน้นไปในทางการงาน
ที่จะต้องอาศัยวัตถุ อาศัยสิ่งสร้างสรร ที่จะเกิดประโยชน์ ที่จะเกิดขึ้น
ในการกอปรก่อผลิต เป็นการงาน เป็นกิจกรรม เป็นกัมมันตะ อาชีวะ
พิธีกรรม
เป็นการกระทำอีกชนิดหนึ่ง มารวมกัน มาจัดสรร มาสร้างมาก่อเหมือนกัน แต่เน้น
ที่จะให้ประโยชน์ ในการเกิดพัฒนา ทางด้านนามธรรม พัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ พัฒนาทางด้านสังคม
ทางด้านคุณค่า ทางสังคม ไม่ใช่วัตถุ
งานอย่างนี้จึงเป็นงานด้านนามธรรม
ไม่เห็นง่าย รู้ยาก บางคนก็เผินๆ ไม่เห็นมีอะไรเลย บางที
งานนี้ต้องการ ให้คุณมารู้สึกว่า เออ....ไม่มีอะไร และเป็นสุขดี ไม่มีอะไร
แต่สังคมต้องมี ไม่มีเรื่องยุ่ง ไม่มีเรื่องวุ่นวาย ไม่มีเรื่องลำบาก แม้จะหนัก
คนเราจะหนัก จะต้องเหนื่อย คนเรา จะต้องอุตสาหะ จะต้องลำบาก แต่เป็นสุขได้....."
๙ พ.ย. สิกขมาตุกล้าข้ามฝัน
อโศกตระกูล ชี้ให้เห็นค่ายกลบนเส้นทางมรรคมีองค์ ๘ ทั้งกาม และ อัตตามานะ
ส่วนสมณะเดินดิน ติกขวีโร ชี้การปวารณาที่สมบูรณ์ ต้องประกอบด้วย อะไรบ้าง
".....งานมหาปวารณา
เป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพุทธ ในวันออกพรรษา สมณะต้อง ลงปาติโมกข์กัน
ซึ่งเป็นกิจสังฆกรรมที่สำคัญ แต่พระพุทธเจ้า อนุญาตให้งด ปาติโมกข์เสียก็ได้
พึงให้ทำปวารณา ถือว่ามีความสำคัญ พอๆกับปาติโมกข์ ทีเดียว
เวลาลงปาติโมกข์จะมีบทสวดเป็นพระบาลีเลยว่า
พุทธบริษัทของเรา สามารถจะเจริญได้ ด้วยอาการอย่างนี้
คือมีปกติว่ากล่าวซึ่งกันและกัน ให้ออกจากความผิด ทั้งหลายทั้งปวง แล้วทำอย่างไร
ที่พวกเรา ที่มาร่วม งานมหาปวารณา ถึงจะได้อานิสงส์ ของปวารณาติดตัว
ดังนั้นการอยู่ร่วมกัน
ถ้าเราไม่สามารถบอกกล่าวกันได้ ไม่สามารถปวารณากันได้ ตรงนี้ กำลังเกิด อันตรายแล้ว
แต่ถ้าหมู่กลุ่มไหน สามารถบอกกล่าวว่ากันได้ หมู่กลุ่มนั้น ก็เป็นไปด้วยความเจริญ
ของศาสนาพุทธโดยแท้
องค์ประกอบที่ทำให้ปวารณาสมบูรณ์
คือ
๑. เป็นบุคคลที่นอบน้อมถ่อมตน ด้วยกาย วาจา ใจ
๒. มีปรโตโฆสะ โยนิโสมนสิการ พร้อมที่จะรับฟัง พร้อมที่จะไตร่ตรอง
๓. เป็นผู้ที่เจริญในธรรมอยู่เสมอ ทั้งกาย-วาจา-ใจ......"
๑๐ พ.ย. พ่อท่านขยายเจาะลึกถึงบุญกิริยาวัตถุ
๑๐ อีกครั้ง
ก่อนฉัน
๘ พ.ย. อภิปราย "ชะตากรรม พันธุ์ข้าวไทย"
ดำเนินรายการโดย คุณสงกรานต์ ภาคโชคดี ที่ปรึกษา
รมว.กระทรวงสาธารณสุข ผู้ร่วมอภิปราย คุณเดชา ศิริภัทร
จากเครือข่าย เกษตรทางเลือก พูดถึงพันธุ์ ข้าวเจ้าต่างๆของไทย ที่มีมากมายและที่หายไป
พร้อมประวัติ ของข้าวเจ้า ที่อยู่คู่คนไทย มาช้านาน แล้วข้าวเจ้า ที่เรากินกันทุกวันนี้
เป็นข้าวที่พระเจ้าแผ่นดิน เสวยมาก่อน จึงเรียกชื่อว่า ข้าวเจ้า และคุณวิฑูรย์
เลี่ยนจำรูญ จากเครือข่าย ภูมิปัญญาไทย พูดถึงกลวิธีต่างๆ ของต่างชาติ
เพื่อขโมยพันธุ์ข้าวไทย ในรูปของ การช่วยเหลือ ที่คนไทย นึกไม่ถึง ท่านใดสนใจ
หาเท็ปฟังได้
๙ พ.ย. พ่อท่านอธิบาย
ขยาย เจาะลึกยิ่งขึ้นในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ภาคปฏิบัติ ที่มีผลโลกุตระ ถึงนิพพาน
แฟนเท็ป ๕ ดาวห้ามพลาดเด็ดขาด
๑๐ พ.ย. สมณะเพื่อพุทธ
ชินธโร และ สมณะบินบน ถิรจิตโต แสดงธรรมก่อนฉัน
เป็นที่ประทับใจ ของญาติธรรม เพราะเทศน์ได้ตรงกับ สภาวธรรม ของหลายๆคน
รายการประชุมต่างๆ
๘ พ.ย. ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. ประชุมสัมมนาเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ
แห่งประเทศไทย บริเวณ ศาลาฟังธรรม มีพ่อท่าน สมณะ สิกขมาตุ เป็นประธาน
ดำเนินการประชุมโดย คุณธำรงค์ แสงสุริยจันทร์ ประธานเครือข่ายฯ
ได้พูดคุยถึงเรื่อง การอบรมลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ผ่านมา ของเครือข่ายทุกแห่ง
ตัวแทนนิสิต ม.วช.กล่าวถึงการเตรียมงานตลาดอาริยะฯ
โดยนิสิตฯ แต่ละเขต จะเข้าพื้นที่เพื่อเตรียมงานและแบ่งงาน ในวันที่
๒๐-๒๒ ธ.ค. และ งานค่าย ยอส.ของนักเรียนสัมมาสิกขาทุกแห่ง
วันที่ ๒๔-๒๗ ธ.ค. การจัดตลาด แบ่งเป็น ตลาดสินค้า, ตลาดอาหาร, เวทีชาวบ้าน
และมีตลาดสละของรัก เป็นสินค้าของรัก ของหวง ของแต่ละคน ที่นำมาสละ เพื่อขายในราคา
ต่ำกว่าทุน โดยแม่ข่ายแต่ละแห่ง รับผิดชอบ พ่อท่าน ให้โอวาท ปิดประชุม ขอบคุณทุกคน
ที่มาร่วมประชุม และกล่าวว่า พวกเราพัฒนาขึ้น ที่มาร่วมนั่งฟังประชุม มากกว่าจะไปคุย
เรื่องไร้สาระ
๙ พ.ย. ประชุมสามัญประจำปีพรรคเพื่อฟ้าดิน
เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่
๑๐ พ.ย. ประชุมวิทยุชุมชนทั่วประเทศ
พอสรุปได้ว่า สถานีวิทยุชุมชน ของชาวอโศก ในขณะนี้ มีสถานีที่ ตั้งแล้ว ดำเนินการแล้ว
และยังไม่ได้ดำเนินการ สำหรับสถานีวิทยุชุมชน ที่คิดจะตั้ง จะต้องคำนึงถึง
ที่ตั้งสถานี, ทุนทรัพย์ และผู้ดำเนินการ
นโยบายของรายการวิทยุ
ประกอบด้วยเนื้อหาของศาสนา
๕๐%, สารคดี ๓๕ % และ รายการ บันเทิง ๑๕ % โดยเนื้อหาของศาสนา สามารถอยู่ในรูป
ของเพลงได้ เช่น เพลงของพ่อท่าน มิใช่ต้องเป็น คำเทศน์ เพียงอย่างเดียว
ในการเคลื่อนไหวกับสหพันธ์วิทยุชุมชน
ได้แต่งตั้งตัวแทนจากวิทยุชุมชนทั้ง
๑๑ แห่ง เพื่อเลือก ตัวแทน เข้าไปร่วมประชุม กับสหพันธ์ฯ โดยจะพิจารณา ความเหมาะสม
เป็นคราวๆไป
วิทยุชุมชนทั้ง ๑๑ แห่ง
มีดังนี้
๑. สันติอโศก ๒. ปฐมอโศก ๓. สีมาอโศก ๔. ราชธานีอโศก ๕. กลุ่มร้อยเอ็ดอโศก
๖. เพื่อนช่วยเพื่อนอินทร์บุรี ๗. เลไลย์อโศก ๘. ดินหนองแดนเหนือ ๙. ศีรษะอโศก
๑๐. ดอยแพงค่า ภูผาฟ้าน้ำ ๑๑. ศาลีอโศก
การแสดงภาคค่ำ บนเวทีธรรมชาติ
เป็นการแสดงของนักเรียนสัมมาสิกขาและญาติธรรมจากพุทธสถาน
สังฆสถาน และ กลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะการแสดงจาก ม.วช.เขตศีรษะ ที่สะท้อนภาพชีวิตจริง
มีภาพเหตุการณ์ ไฟไหม้ร้านน้ำใจ
ในเดือน กันยายน ที่ผ่านมา
ฉายให้ชมประกอบ การแสดงด้วย และ จากราชธานีอโศก มีภาพเหตุการณ์ น้ำท่วม ที่ผ่านมา
ฉายให้ชมเช่นเดียวกัน ซึ่งหลายคน คิดไม่ออกว่า น้ำท่วมสูง ถึงขนาดนั้นแล้ว
อยู่กันได้ อย่างไร และจากภูผาฟ้าน้ำ ฉายภาพ เหตุการณ์ง านศพของคุณภูฟ้า
แพงค่าอโศก ขุนพลแห่งดอยแพงค่า ที่แม้จะจากไป อย่างไม่มีวันกลับ แต่คุณูปการ
ที่มีต่อศาสนา จะตราตรึง อยู่ในความทรงจำ ของญาติธรรม ตลอดไป
วันที่ ๙-๑๐ พ.ย. ที่ศาลางาน
มีผู้มาทำวิจัย ขอความร่วมมือ ทั้งจากนักบวช และญาติธรรม เพื่อเจาะเลือด
ตรวจระดับ โฮโมซีสทีน วิตามินบี ๑๒ กรดโฟลิค และวิตามินบี ๖ ของผู้ รับประทาน
มังสวิรัติ มาได้ ๕ ปี อายุระหว่าง ๓๐-๕๐ ปี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อผู้ที่
รับประทานมังสวิรัติ และบริเวณด้านข้าง ของศาลาค้า ปฐมอโศก ตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์
มีตลาดนัดไร้สารพิษ ของโครงการกู้ดินฟ้า ๒ จำหน่ายพืชผัก ผลไม้ ไร้สารพิษ
มีญาติธรรม ไปอุดหนุนมากมาย
เรื่องแจ้ง
ให้ญาติธรรมทราบร่วมกัน มีดังนี้
๑. สมณะร่วมประชุมทั้งหมด ๑๐๒ รูป
๒. การบิณฑบาตช่วงเข้าพรรษา
สมณะที่สัตตาหะไปร่วมกิจกรรมกลุ่มเครือข่าย สามารถ บิณฑบาตได้ ตามความเหมาะสม
ไม่ผิดธรรมวินัย
๓. พระอาคันตุกะ ๕ พรรษา
นับเอาพรรษาตามฤดูฝน ถือว่าพ้นนวกะ ตามแบบหมู่สงฆ์ทั่วไป จึงขอเป็น พระอาคันตุกะ
ดูตัวได้ ในการที่จะขอเข้า สู่หมู่สงฆ์อโศก
๔. เงินกู้ที่มีดอกเบี้ยเรียก
เงินกู้ เงินกู้ที่ไม่มีดอกเบี้ย เรียก เงินเกื้อ
เงินให้ยืม ที่มีดอกเบี้ย เรียก
เงินหนี้ ส่วนเงินให้ยืม ที่ไม่มีดอกเบี้ย เรียก
เงินหนุน
โบสถ์ปัจจุบัน ณ สังฆสถานทักษิณอโศก
หากในอนาคต มีการสร้างโบสถ์ใหม่ ก็ขอให้อนุรักษ์ โบสถ์เก่า ไว้ด้วย เพราะโบสถ์เล็กๆ
คล้ายคอกหมู ดูแล้วสมถะ เกิดสำนึกดี
๕. ปัจฉาสมณะ
ปัจฉาฯพ่อท่าน คือ สมณะแน่วแน่ สีลวัณโณ และ สมณะชัดแจ้ง วิจักขโณ
ปัจฉาฯสมณะเดินดิน ติกขวีโร คือ สมณะฟ้าไท สมชาติโก
ปัจฉาฯสมณะบินบน ถิรจิตโต คือ สมณะโพธิสิทธิ์ โพธิสิทโธ
ปัจฉาฯสมณะผืนฟ้า อนุตตโร คือ สมณะหินกลั่น ปาสาณเลโข
ปัจฉาฯสมณะเสียงศีล ชาตวโร คือ สมณะก้อนดิน เสฏฐพโล
ปัจฉาฯสมณะเพาะพุทธ จันทเสฏโฐ คือ สมณะใจเด็ด จิตตคุโณ
๖. สมณะป่วยแห่งปี
๑. สมณะกรรมกร กุสโล ๒.
สมณะมั่นแจ้ง พุทธชาโต
๓. สมณะน่านฟ้า สุขฌาโน ๔. สมณะเบิกบาน ธัมมนิยโม
๗. ปฏิทินชาวอโศก
๒๙ ธ.ค.-๑ ม.ค.๔๖ ตลาดอาริยะฯ ที่ราชธานีฯ
๒๔-๒๖ ม.ค. ฉลองหนาวฯ ที่ภูผาฯ
๑๖-๒๒ ก.พ. พุทธาภิเษกฯ ที่ศาลีฯ
๖-๑๒ เม.ย. ปลุกเสกฯ ที่ศีรษะฯ
๑๖-๑๘ พ.ค. กสิกรรมไร้สารพิษเพื่อฟ้าดินที่ราชธานีฯ
๔-๕ มิ.ย. โฮมไทวัง ที่ราชธานีฯ
๙-๑๐ มิ.ย. อโศกรำลึก ที่สันติฯ
๕-๙ พ.ย. มหาปวารณา ที่ปฐมฯ
๓๑ ธ.ค.๔๖-๓ ม.ค.๔๗ ตลาดอาริยะฯ ที่ราชธานี
๘. สมณะ-สิกขมาตุ ลงอาราม
พุทธสถานสันติอโศก
๑. สมณะพิสุทธิ์ พิสุทโธ ๒. สมณะเมืองแก้ว ติสสวโร
๓. สมณะกอบชัย ธัมมาวุโธ ๔. สมณะฝุ่นฟ้า อัคคชโย
๕. สมณะชนะผี ชิตมาโร ๖. สมณะเพาะพุทธ จันทเสฏโฐ
๗. สมณะซาบซึ้ง สิริเตโช ๘. สมณะเบิกบาน ธัมมนิยโม
๙. สมณะนึกนบ ฉันทโส ๑๐. สมณะแก่นเมือง เกตุมาลโก
๑๑. สมณะร้อยดาว ปัญญาวุฑโฒ ๑๒. สมณะกล้าจริง ตถภาโว
๑๓. สมณะใจเด็ด จิตตคุโณ
สิกขมาตุสันติอโศก
๑. สิกขมาตุจิตรา แซ่ลี้ ๒.
สิกขมาตุเสริมขวัญ วรรณาบุตร
๓. สิกขมาตุสดใส อโศกตระกูล ๔. สิกขมาตุบุญจริง พุทธพงษ์อโศก
๕. สิกขมาตุฝนเย็น อโศกตระกูล ๖. สิกขมาตุปราณี ธาตุหินฟ้า
๗. สิกขมาตุมาลินี โภคาพันธ์ ๘. สิกขมาตุผาแก้ว ชาวหินฟ้า
พุทธสถานปฐมอโศก
๑. สมณะกรรมกร กุสโล ๒. สมณะทำดี อโสโก
๓. สมณะเสียงศีล ชาตวโร ๔. สมณะมั่นแจ้ง พุทธชาโต
๕. สมณะร่มเมือง ยุทธวโร ๖. สมณะลือคม ธัมมกิตติโก
๗. สมณะก้อนดิน เสฏฐพโล ๘. สมณะมองตน เมตตจิตโต
๙. สมณะเด่นตะวัน นรวีโร ๑๐. สมณะนาไท อิสสรชโน
๑๑. สมณะบินก้าว อิทธิภาโว
สิกขมาตุปฐมอโศก
๑. สิกขมาตุมาบรรจบ เถระวงศ์ ๒. สิกขมาตุอ่านตน อโศกตระกูล
๓. สิกขมาตุบุญแท้ ปลาทอง ๔. สิกขมาตุรินฟ้า นาวาบุญนิยม
๕. สิกขมาตุพูนเพียร ชาวหินฟ้า ๖. สิกขมาตุมนทิพย์ เรืองศรี
พุทธสถานศีรษะอโศก
๑. สมณะผืนฟ้า อนุตตโร ๒. สมณะถ่องแท้ วินยธโร
๓. สมณะคิดถูก ทิฏฐุชุกัมโม ๔. สมณะหินแก่น นมวังโส
๕. สมณะหินกลั่น ปาสาณเลโข ๖. สมณะลั่นผา สุชาติโก
๗. สมณะข้าฟ้า ฐานรโต
สิกขมาตุศีรษะอโศก
๑. สิกขมาตุผุสดี สะอาดวงษ์ ๒. สิกขมาตุจินดา ตั้งเผ่า
๓. สิกขมาตุทองพราย ชาวหินฟ้า
พุทธสถานศาลีอโศก
๑. สมณะเพื่อพุทธ ชินธโร ๒. สมณะกำแพงพุทธ สุพโล
๓. สมณะเน้นแก่น พลานีโก ๔. สมณะผองไท รตนปุญโญ
๕. สมณะสมชาย ตันติปาโล ๖. สมณะดินทอง นครวโร
๗. สมณะตรงมั่น อุชุจาโร ๘. สมณะหนักแน่น ขันติพโล
สิกขมาตุศาลีอโศก
๑. สิกขมาตุหยาดพลี อโศกตระกูล ๒. สิกขมาตุเทียนคำเพชร อโศกตระกูล
๓. สิกขมาตุใจขวัญ เบญจโศภิษฐ์
พุทธสถานสีมาอโศก
๑. สมณะเด็ดขาด จิตตสันโต ๒. สมณะน่านฟ้า สุขฌาโน
๓. สมณะสร้างไท ปณีโต ๔. สมณะชาติดิน ชัญโญ
๕. สมณะก้อนหิน โชติปาสาโณ ๖. สมณะคำจริง วจีคุตโต
๗. สมณะนานุ่ม กัสสโก ๘. สมณะมือมั่น ปูรณกโร
สิกขมาตุสีมาอโศก
๑. สิกขมาตุพึงพร้อม นาวาบุญนิยม ๒. สิกขมาตุนวลนิ่ม ชาวหินฟ้า
พุทธสถานราชธานีอโศก
๑. สมณะเดินดิน ติกขวีโร ๒. สมณะแดนเดิม พรหมจริโย
๓. สมณะเลื่อนลั่น ปาตุภูโต ๔. สมณะฟ้าไท สมชาติโก
๕. สมณะผิว พาลสุริโย ๖. สมณะเทินธรรม จิรัสโส
๗. สมณะคมคิด ทันตภาโว ๘. สมณะแก่นเกล้า สารกโร
๙. สมณะถนอมคูณ คุณกิตติโณ ๑๐. สมณะดินไท ธานิโย
๑๑. สมณะดงเย็น สีติภูโต
สิกขมาตุราชธานีอโศก
๑. สิกขมาตุกล้าข้ามฝัน อโศกตระกูล ๒. สิกขมาตุต้นข้าว อโศกตระกูล
๓. สิกขมาตุสร้างฝัน อโศกตระกูล ๔. สิกขมาตุเป็นหญิง อโศกตระกูล
พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ
๑. สมณะบินบน ถิรจิตโต ๒. สมณะพอแล้ว สมาหิโต
๓. สมณะเก้าก้าว สรณีโย ๔. สมณะดวงดี ฐิตปุญโญ
๕. สมณะเลื่อนฟ้า สัจจเปโม ๖. สมณะลานบุญ วชิโร
๗. สมณะโพธิสิทธิ์ โพธิสิทโธ ๘. สมณะหินมั่น สีลาปากาโร
๙. สมณะหินเพชร ธัมมธีโร ๑๐. สมณะธรรมทาบฟ้า รวิวัณโณ
๑๑. สมณะเห็นทุกข์ ยตินทริโย ๑๒. สมณะแก่นหล้า วัฑฒโน
๑๓. สมณะวิเชียร วิชโย ๑๔. สมณะฟ้ารู้ นโภคโต
๑๕. สมณะเด็ดแท้ วิเสสโก ๑๖. สมณะพอจริง สัจจาสโภ
๑๗. สมณะธาตุดิน ปฐวีรโส ๑๘. สมณะถักบุญ อาจิตปุญโญ
๑๙. สมณะปองสูญ โฆสิตธัมโม ๒๐. สมณะฟ้าแสง ปภากโร
๒๑. สมณะอ้วน อภิมันโต ๒๒. สมณะใต้ดาว เหฏฐานักขัตโต
๒๓. สมณะลึกเล็ก จุลลคัมภีโร ๒๔. สมณะเมฆฟ้า นภมังคโล
สังฆสถานทักษิณอโศก
๑. สมณะดินดี สันตจิตโต ๒. สมณะเลื่อนลิ่ว อรณชีโว
๓. สมณะกล้าดี เตชพหุชโน ๔. สมณะสู้ซื่อ หสิโต
๕. สมณะดาวดิน ปฐวัตโต
สังฆสถานหินผาฟ้าน้ำ
๑. สมณะกลางดิน โสรัจโจ ๒. สมณะแจ้งจริง อมโล
๓. สมณะแก่นผา สารุปโป ๔. สมณะนาทอง สิงคีวัณโณ
๕. สมณะดงดิน สุนทโร ๖. สมณะฝนธรรม พุทธกุโล
โศลกงานมหาปวารณา
แข็งแรง เข้มข้น ทนทาน ยืนนาน แน่นลึก นึกนบ
โศลกธรรมเสริม จงเห็นค่าของคน
เหนือกว่าผลของงาน
ลูกอโศก
(สารอโศก
อันดับที่ ๒๕๓ ตุลาคม ๒๕๔๕)
|