หน้าแรก>สารอโศก


นโยบายประเทศ นโยบายพ่อท่าน
: ถามใจ(หน่วยผลิต)กันดูหน่อย


นโยบายของประเทศ
ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๙ (พ.ศ.๒๕๔๕ - ๒๕๔๙)

เป้าหมายผลิตภัณฑ์
๑. เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ จากวัฒนธรรม ภูมิปัญญา หรือวัตถุดิบของท้องถิ่นเป็นหลัก

๒. เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากธรรมชาติที่ปลอดสารเคมี(Green products) เช่น ยาฆ่าแมลง, สารปรุงแต่งอาหาร จากสารเคมีสังเคราะห์ต่างๆ (Food additives) ฯลฯ (ยกเว้นสารเคมี ที่เป็นส่วนประกอบพื้นฐาน ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง) และมีความเสี่ยง ในกระบวนการผลิตต่ำ

๓. เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำหรับการดำรงชีวิตพื้นฐาน อันได้แก่
- อาหาร (อาหารแปรรูป เช่น กะปิ น้ำปลา ซีอิ๊ว เครื่องดื่มสมุนไพร ฯลฯ, วัตถุดิบ เช่น ข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ อาหารจาก เนื้อสัตว์ต่างๆ)
- ยาจากสมุนไพร
- เครื่องสำอางทั่วไป (เช่น แชมพู ครีมนวดผม สบู่เหลว)

เป้าหมายการตลาด
เพื่อการลดรายจ่าย เพิ่มการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่น และการพึ่งตนเองในแต่ละระดับ รวมถึงความพร้อม และศักยภาพ ของแต่ละชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากการบริโภค ในชุมชนแล้ว เป้าหมายการตลาด ควรเป็นไป ตามลำดับขั้น เพื่อให้ประชาชนคนในท้องถิ่น ได้บริโภคของดีก่อน
     ๑. สหกรณ์ ร้านค้าของชุมชน/เครือข่ายชุมชนต่างๆในท้องถิ่น เพื่อการลดรายจ่าย การบริโภค ในครัวเรือน
     ๒. โรงเรียน สำหรับโครงการอาหารกลางวัน/อาหารเสริมสำหรับเด็กนักเรียน
     ๓. โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน สถานสงเคราะห์คนชรา ผู้พิการ เด็กกำพร้า เรือนจำ ค่ายทหาร ฯลฯ เพื่อเป็นผลผลิตปลอดสารพิษ สำหรับ สร้างเสริม สุขภาพ ของผู้ป่วย และ ผู้ด้อยโอกาส ในสังคม
     ๔. ตลาดทั่วไปในเมือง หรือสถานบริการต่างๆ เช่น เป็นผลิตภัณฑ์ในห้องพักของโรงแรม อาหารว่าง /เครื่องดื่ม สมุนไพร ของที่ระลึก ในร้านจำหน่าย
     ๕. ตลาดกทม.
     ๖. ตลาดต่างประเทศ

นโยบายของพ่อท่าน
นโยบายต่อทิศทางการผลิต-การตลาด ในการประชุมหน่วยผลิตเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๒
๑. ด้านการผลิต
    ๑.๑ ผลิตตามกำลังความสามารถของหน่วยผลิต (วัตถุดิบ กำลังคน และเครื่องจักร)
    ๑.๒ ไม่ผลิตตามความต้องการของตลาด แต่เป็นไปเพื่อพึ่งตนเอง และทำการตลาด เพื่อแสดงน้ำใจ ช่วยเหลือสังคม
    ๑.๓ วัตถุดิบต้องไร้สารพิษ และไม่ใช่ GMO ถ้าปลูกเองจะการันตีคุณภาพ ถ้ารับซื้อ จากเครือข่าย ญาติธรรม ต้องควบคุม ตรวจสอบ
    ๑.๔ ให้ความสำคัญกับคุณภาพ มาตรฐานกระบวนการ Product Line (สายการผลิต) และมี QC (การควบคุมคุณภาพ) มากกว่ารูปแบบของหีบห่อ (Packaging)
    ๑.๕ ให้พัฒนาผลผลิตที่มีคุณค่า ฉีกแนว ทวนกระแสโลก เป็นผู้นำร่อง เช่น ผลผลิตจาก น้ำหมักชีวภาพ เพื่อลด การใช้สารเคมี และรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่จำเป็นต้องแข่งกับ กลุ่มแม่บ้าน หรืออื่นๆ ที่ทำอยู่แล้ว (อาจผลิตบ้าง เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรม ให้ชาวบ้าน หรือ ปลดหนี้หมด)
    ๑.๖ เป้าหมายสูงสุดต้องเผยแพร่ความรู้การผลิตให้ชาวบ้านไปทำเอง ให้พึ่งตนเองได้ ถ้าสังคมทำกัน ได้เองแล้ว เราจะหยุด เพื่อทำพออยู่พอกิน หรือ กลับมาเป็นปลูกข้าว พืช ผัก ผลไม้ เพราะไม่มีใคร อยากทำ ต้องกลับมา เป็นกสิกร ทำ ๓ อาชีพกู้ชาติ

๒. ด้านการตลาด
    ๒.๑ ให้ขายตามปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้
    ๒.๒ ต้องเป็นการตลาดแบบบุญนิยม คือ ของดี ราคาถูก ซื่อสัตย์ มีน้ำใจ ขายสด งดเชื่อ เครดิตเหนือเครดิต
    ๒.๓ การซื้อขายให้เป็นเงินสด(เครดิตเหนือเครดิต) จะแสดงความจริงของกำลัง และ ความต้องการ ของตลาด ไม่มีการหลอกลวง จะเป็นเศรษฐศาสตร์ที่แท้จริง
    ๒.๔ ไม่ทำการตลาดแบบแข่งขัน แต่เป็นการทำเพื่อประกาศความจริงของบุญนิยม เพื่อให้เป็น แบบอย่าง แก่คนภายนอก นำไปประยุกต์เอง
    ๒.๕ ไม่จำกัด หรือผูกขาดผลผลิต และการตลาดของญาติธรรมรายย่อย ให้เปิดโอกาส ให้ทุกฝ่าย แต่ต้อง เป็นของดี ปลอดภัย และมีคุณภาพ

๓. ด้านการตรวจสอบคุณภาพ
    ๓.๑ ต.อ.ต้องทำงานหนัก จริงจัง มีน้ำใจ และตรวจสอบอย่างซื่อสัตย์
    ๓.๒ ต.อ.ต้องกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดว่า ผลผลิตแต่ละประเภทจะตรวจสอบอะไร
    ๓.๓ หน่วยผลิตต้องตัดเงินเปอร์เซ็นต์มาให้ต.อ.ใช้จ่ายเป็นค่าตรวจสอบคุณภาพ การตั้ง Lab และ เครื่องมือ ค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง ฯลฯ
    ๓.๔ ผู้ผลิตรายย่อย ญาติธรรมที่ส่งสินค้า ให้ร้านของอโศก ต้องผ่านให้ ต.อ.ตรวจสอบด้วย

๔. ด้านราคา
    ๔.๑ หน่วยผลิตของแต่ละพุทธสถานกำหนดราคาภายในชุมชนเอง
    ๔.๒ ให้ผู้แทนจำหน่ายกำหนดราคาในอัตราเดียวกัน (ไม่ว่าจะขายในปริมาณเท่าใด)
    ๔.๓ กลุ่ม องค์กรที่มีคุณธรรม และคุณภาพ จะได้รับการคัดเลือก ให้เป็นตัวแทน จำหน่าย ในระยะยาว ทุกๆหน่วย จะได้รับโอกาสเท่าๆกัน

ข้อคิดจากพ่อท่าน เทศน์ช่วงทำวัตรเช้า ในวันมหาปวารณา วันที่ ๒๔ ต.ค.๒๕๔๓
"หลักการที่ตัดสินใจว่า ควรจะผลิตผลผลิตใด ให้คำนึงถึง 'ความขาดแคลน ความจำเป็น ความต้องการ ประโยชน์ และเป็นคุณค่าความดี' มากกว่าที่จะผลิตอะไรก็ได้ ที่ขอให้รวย และ 'คนใกล้ควรเป็นเพื่อนก่อน' หมายถึงให้ผลิต สำหรับการพึ่งตนเอง และใช้ประโยชน์ ของคน ในท้องถิ่น มากกว่าการผลิต เพื่อส่งออก เข้าสู่ระบบการตลาด แบบทุนนิยมในเมือง หรือ ต่างประเทศ"

เพียงเท่านี้ หน่วยผลิตทั้งหลาย ก็มีเรื่องให้ถามใจ และสำรวจตนได้หลายวันทีเดียวเชียว

ประกาศ
ฉันตามหาส่วนที่ขาดหายไป

ขอแจ้งข่าวประกาศตามหาส่วนที่ขาดหายไป
ของบุคคลดังต่อไปนี้ ที่แจ้งร้องทุกข์ผ่านทีมงานต.อ.มา

ฉัน
ส่วนที่ขาดหายไป
ป.ล
  ๑. นางสาวผลผลิต       
      ฉลากไม่สมบูรณ์
ตัวเลขต่อท้ายคำว่า
วันผลิต หรือ วันหมดอายุ
หายที่
ห้องบรรจุ บรรจุภัณฑ์
  ๒. นายน้ำหมัก ดื่มประจำ
มูลค่าที่แท้จริงของตัวฉัน
คนทำหาย
นายสำนึกดี ลืมบุญนิยม
  ๓. Mrs.Aspergillus Flavus
My baby "Aflatoxin"
แท้งในตู้อบความร้อน
  ๔. เด็กหญิงชมพูม่วง แชมพูหนืด
สีอัญชันแสนสวย
ขอให้เหมือนเดิม
  ๕. นางสาวต้อนรับ ขับแขก
รอยแย้มบนริมฝีปาก
หายในร้านพลังบุญและที่ไหนอีก?
  ๕. เด็กชายสมุนไพร ยายอดดี
ตัวยา(สารสำคัญ) หาย
หายได้ตลอดทางนะ
  ๖. ยายละเอียด ประณีตเสมอ
ความประณีตและความละเอียด
หายทั้งตัว (ใครทำหาย)
  ๗. ตาหน่วย ฐานผลิต
ต.อ.(บาง)ชุมชน
ไม่รู้หายไปไหน !!!

หมายเหตุ ต.อ.กลาง ไม่มีอะไรหาย แต่....ประกาศหาเพื่อนร่วมทางเข็นกงล้อ "บุญญาวุธ หมายเลข ๒" ของพ่อท่านเพิ่มจ้ะ

จริงใจ - ไมตรี
ชาวอโศกเพื่อมวลมนุษยชาติ
ต.อ.กลาง

(สารอโศก อันดับที่ ๑๕๓ ตุลาคม ๒๕๔๕)