>สารอโศก

คำประกาศนโยบายและเป้าหมาย
การรณรงค์ "ปีแห่งการสร้างสุขภาพ" ทั่วไทย

รัฐบาลมีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพเพื่อให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพที่ดี และสามารถ เข้าถึงบริการ ทางด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึงตามความจำเป็น

รัฐบาลจึงประกาศให้ปี ๒๕๔๕ เป็นปีแห่งการเริ่มต้นรณรงค์สร้างสุขภาพทั่วไทยอย่างจริงจัง ภายใต้ กลยุทธ์ "รวมพลังสร้างสุขภาพ" (Empowerment for Health) เพื่อให้ประชาชน ตลอดจน หน่วยงาน ต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมสนับสนุนให้เกิดการ "สร้าง" สุขภาพมากกว่า การ "ซ่อม" สุขภาพ โดยกำหนดเป้าหมายการรณรงค์ในปีแห่งการสร้างสุขภาพ ๒๕๔๕ ดังนี้

จะพัฒนาให้เกิด"ศูนย์สุขภาพชุมชน" (Primary Care Unit หรือ PCU) ที่สถานีอนามัยต่างๆ จำนวน ๔,๕๐๐ แห่งทั่วประเทศ สำหรับเป็นศูนย์ประสานเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข ตลอดจน ชมรม ด้านสุขภาพ ในแต่ละพื้นที่ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ของประชาชน รวมทั้งเป็นหน่วย ให้บริการ สุขภาพพื้นฐาน ที่เชื่อมประสานกับ เครือข่าย สถานพยาบาล ในโครงการสร้างหลัก ประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ตามนโยบายของรัฐบาล

จะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ สนับสนุน ให้เกิด "ชมรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ" ที่เป็น แกนหลัก อย่างน้อยตำบล หรือเทศบาลละ ๑ ชมรมทั่วประเทศ เพื่อเป็นแกนประสาน และ ส่งเสริมให้ ประชาชน มีพฤติกรรมการออกกำลังกายมากขึ้น

จะพัฒนาให้เกิด"โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ" จำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ของโรงเรียนทั้งหมด ทั่วประเทศ เพื่อเป็น ศูนย์ส่งเสริมให้นักเรียนและชุมชน มีพฤติกรรมในการ "สร้าง" สุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และ สุขภาพจิต จะร่วมกับ องค์กร ผู้บริโภคต่างๆ รณรงค์ให้ประชาชน "บริโภค อาหาร ที่มีคุณค่า ทาง โภชนาการ" ตลอดจน ควบคุมดูแล "อาหารและยาที่ไม่ปลอดภัย" โดยต่อไปนี้ คนไทยจะต้อง ไม่เป็น ประชากรชั้น ๒ ของโลก ที่เป็นตลาดรองรับอาหาร และยา ที่ไม่ปลอดภัย อีกต่อไป รวมทั้งการรณรงค์ ให้คนไทย "ลดการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา" ซึ่งเป็นพฤติกรรม ที่บั่นทอน สุขภาพ

จะส่งเสริมให้เกิด"ร้านอาหารและแผงลอย ที่ได้ มาตรฐาน สุขอนามัย" จำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓๕ ของร้านอาหา รและแผงลอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ ในโรงเรียนและบริเวณรอบโรงเรียน ตลอดจน ส่งเสริม ให้เกิด "ตลาดสดที่ได้มาตรฐานน่าซื้อ" มีระบบตรวจสอบ คุณภาพสินค้า จำนวนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ ๒๐ ของตลาดสดทั้งหมด หรือไม่ต่ำกว่า ๔๖๐ แห่งทั่วประเทศ

จะส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสินค้า "ผลิตภัณฑ์ สุขภาพชุมชนและสมุนไพร" ให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ ของผู้บริโภค และการสร้างรายได้ให้กับประชาขน ตลอดจนสนับสนุน "การพัฒนา การแพทย์ แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกต่างๆ" ที่เน้นการรักษา แบบธรรมชาติบำบัด และ การพึ่งพา ตัวเอง

จะรณรงค์ให้เกิดการ "ลดอุบัติเหตุและอุบัติภัย" ตลอดจนพัฒนาให้เกิด "ระบบบริการการแพทย์ ฉุกเฉิน" (Emergency Medical Services System หรือ EMS ) ในพื้นที่จังหวัดนำร่อง ๓๑ จังหวัด

จะรณรงค์และควบคุมเพื่อลดโรคที่ทำให้คนไทยมีอัตราการป่วยหรือตายสูง ๖ โรค ได้แก่ "โรคหัวใจ
โรคความดัน โลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคไข้เลือดออก และโรคเอดส์"

จะพัฒนาให้โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ๙๒ แห่ง โรงพยาบาลชุมชน ๗๑๒ แห่ง ตลอดจน สถานีอนามัย เฉลิมพระเกียรติจำนวน ๘๐ แห่ง ของกระทรวงสาธารณสุข สามารถ ให้บริการ บำบัดรักษา ผู้ติดยาเสพติด ด้วยเทคนิคใหม่ "จิตสังคมบำบัด" เพื่อขยาย ประสิทธิภาพ การบำบัดรักษา ผู้ติดยาเสพติด ให้ครอบคลุมทุกจังหวัด ทั่วประเทศ

"สุขภาพดีมีค่ากว่าทรัพย์" รัฐบาลนี้จะให้การสนับสนุนและส่งเสริม ให้ประชาชนชาวไทย มีสุขภาพที่ดี เพื่อเป็นของขวัญ ที่รัฐบาล จะมอบให้ประชาชน

ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕
พันตำรวจโท
(ทักษิณ ชินวัตร)
นายกรัฐมนตรี

(สารอโศก อันดับที่ ๒๕๖ มกราคม ๒๕๔๖)