>สารอโศก


KU-GREEN ภาชนะบรรจุย่อยสลายได้ทางชีวภาพ


มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย แต่มัก ประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาด และ ราคาขึ้นลง ไม่แน่นอน ถ้าขึ้นก็ไม่มีปัญหากับเกษตรกร แต่มีปัญหากับคนซื้อ ถ้าราคาตกต่ำ เกษตรกรก็แย่

เหตุที่เป็นดังนี้เพราะหัวมันสำปะหลังนั้น ส่วนใหญ่จะนำไปแปรรูป เป็นอาหารสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เพิ่มมูลค่า ได้จำกัด และขาดเทคโนโลยีการแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ มูลค่าเพิ่มขึ้นชนิดอื่นๆ ทำให้ มันสำปะหลัง กลายเป็นปัญหา ที่ทุกรัฐบาล ต้องทุ่มงบประมาณ ในการช่วยเหลือเกษตรกร และ อุตสาหกรรมแปรรูป อีกทั้งการที่สหภาพยุโรป ซึ่งเป็นผู้นำเข้ามันเส้น และมันอัดเม็ด รายใหญ่ของไทย ได้ประกาศ ปฏิรูปนโยบาย เกษตรร่วม (The Common Agricultural Policy Reform) ส่งผลให้ปริมาณ ส่งออก และราคา มันสำปะหลัง แปรรูป ลดลงอีก ส่งผลให้ปัญหา เรื่องมันสำปะหลังนี้รุนแรงยิ่งขึ้น

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัย ร่วมกับโครงการ จัดตั้ง ศูนย์พัฒนา และถ่ายทอด เทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชน จึงได้สนับสนุน ให้มีการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี การแปรรูป มันสำปะหลัง เป็นวัสดุและภาชนะบรรจุย่อยสลาย ได้ทางชีวภาพ ในชื่อว่าผลิตภัณฑ์ KU-GREEN ใช้บรรจุอาหาร พร้อมบริโภค และอาหาร กึ่งสำเร็จ แทนภาชนะพลาสติก และโฟม เป็นการเพิ่ม ศักยภาพ การแปรรูป มันสำปะหลัง ที่มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงขึ้น เป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่ช่วยแก้ ปัญหา มันสำปะหลัง ล้นตลาด และราคาตกต่ำ ทั้งยังช่วย บรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้รัฐบาล ประหยัด งบประมาณ ที่ใช้ในการ จัดการขยะ ดังกล่าว และภาชนะ บรรจุย่อยสลายได้ ทางชีวภาพ จากมันสำปะหลังนี้ ยังเป็นผลิตภัณฑ์ ที่มีศักยภาพ ในตลาดต่างประเทศสูงมาก สามารถ นำเงินตราเข้า ประเทศ ได้เพิ่มขึ้น ผลงานวิจัยนี้ ได้รับสิทธิบัตร จากกรมทรัพย์สิน ทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เป็นที่ เรียบร้อยแล้ว และได้ยื่นจดสิทธิบัตร ของประเทศ สหรัฐอเมริกา (US Patent) ด้วย

ผลิตภัณฑ์ KU-GREEN เป็น ภาชนะบรรจุคงรูป มีฟองอากาศกระจายภายในเนื้อวัสดุ ลักษณะ คล้ายโฟม พลาสติก แต่ผลิตจากวัตถุดิบชีวภาพเป็นส่วนใหญ่ และใช้สารแต่งเติม ที่อนุญาตให้ใช้ ในอุตสาหกรรม อาหารและยา ผลิตภัณฑ์ KU-GREEN จึงเป็นภาชนะบรรจุ ที่ปลอดภัย ใช้สัมผัสอาหารได้โดยตรง ปราศจาก อันตราย จากสารเคมีหรือสารอื่นๆ ที่อาจเคลื่อนย้ายจากภาชนะบรรจุเข้าไปปนเปื้อนอาหาร เหมาะกับการ ใช้เป็น ภาชนะ บรรจุอาหาร พร้อมบริโภค และอาหารกึ่งสำเร็จรูป แบบใช้ครั้งเดียว (Single use หรือ Disposable package) บรรจุได้ทั้งอาหารแห้ง อาหารเหลว อาหารเย็น และอาหารร้อน และสามารถ ใช้อุ่นอาหาร ในตู้อบ ไมโครเวฟได้ ตัวอย่างการใช้งานผลิตภัณฑ์ KU-GREEN เช่น ธุรกิจอาหาร พร้อมบริโภค อาหารจานด่วน อาหาร จัดส่งถึงบ้าน หรืออุตสาหกรรม อาหารกึ่งสำเร็จรูป หรือ ในโรงอาหาร โรงพยาบาล หรือสถานที่ท่องเที่ยว อุทยาน วนอุทยาน ชายทะเล หรือ บริการอาหาร บนเครื่องบิน รถไฟ รถโดยสาร เรือโดยสาร เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ KU-GREEN สามารถ ผลิตเป็นรูปแบบต่างๆ ตามความ ต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้ การใช้ ผลิตภัณฑ์ KU-GREEN จะช่วยลดภาระทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา ให้ผู้ประกอบการ ในการจัดเก็บและทำ ความสะอาด ภาชนะบรรจุแบบเดิมที่ใช้ หลังการใช้งาน ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น ใช้เป็น ส่วนผสม ของอาหารสัตว์ หรือนำไปทำปุ๋ยหมัก จึงไม่มีขยะเหลือทิ้ง ให้เป็นภาระ ต้องนำไปกำจัด และ แม้ไม่มี การนำกลับมาใช้ประโยชน์อีก ผลิตภัณฑ์ KU-GREEN ที่ทิ้งไป ก็จะย่อยสลายได้เอง ในธรรมชาติ โดยไม่ก่อ ให้เกิด มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

จากหนังสือ นวัตกรรม ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๕


ระวังถ้วยบะหมี่ กึ่งสำเร็จรูป
เหตุการณ์ต่อไปนี้ มีผู้แจ้งข่าวเกี่ยวกับอันตรายของการกินบะหมี่สำเร็จรูปที่บรรจุในถ้วย (Cup) ผ่านมาทาง ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล์) ว่า มีหลานชายของเพื่อนคนหนึ่ง ชอบกินบะหมี่ กึ่งสำเร็จรูปมากๆ ซึ่งก็เหมือนกับ เด็กทั่วไปในยุคนี้ โดยเฉพาะบะหมี่ใส่ถ้วยที่ง่าย เพียงแค่ เปิดฝาฟอยล์ เทน้ำร้อนใส่ รอเส้นอืด ก็กินได้เลย เด็กมีอาการ ปวดท้อง ผู้ปกครอง พาไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์ตรวจพบว่า ผนังกระเพาะ อาหาร ของเด็กผู้นี้มีขี้ผึ้ง (WAX) เคลือบอยู่ คาดว่ามาจาก บะหมี่สำเร็จรูป ที่บรรจุในถ้วยซึ่งเคลือบ ด้วยขี้ผึ้ง ชนิดที่กินได้ แต่แม้จะเป็น ขี้ผึ้ง ชนิดที่กินได้ การรับประทานเข้าไปเป็นประจำ ก็ทำให้ตับของเรา กำจัดออกไป ได้ยาก

ในที่สุด หลานของเพื่อนคนนี้ ได้เสียชีวิตลง เมื่อรับการผ่าตัด เพื่อลอกเอาขี้ผึ้ง ที่เคลือบ ผนังกระเพาะออก จึงต้องส่งเรื่อง เพื่อบอกต่อกันมาว่า อย่านิ่งนอนใจ ฉะนั้น โปรดอย่าได้ ลวกบะหมี่ หรืออาหารอื่นใด ในถ้วย บรรจุ แต่ให้เทลงในชามก่อน แล้วจึงใส่น้ำร้อนลงไป ทั้งนี้การรับประทาน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นประจำ จะทำให็เด็ก ขาดสารอาหาร ที่จำเป็น ต่อการเจริญเติบโต ของร่างกายได้

จึงขอให้พ่อแม่ ผู้ปกครองโปรดระวังบุตรหลานท่านเป็นพิเศษ สอดส่องเอาใจใส่ อาหารการกิน ของเขา อย่างถี่ถ้วนด้วย
(จาก น.ส.พ.มติชนรายวัน ๑๐ ก.พ. ๒๕๔๖)

(สารอโศก อันดับที่ ๒๕๖ มกราคม ๒๕๔๖