สุขภาพบุญนิยม
ชุมชนต้นแบบแพทย์ทางเลือก
วันที่ ๒๖ มี.ค.'๔๖ ที่บ้านราชฯ
ได้ต้อนรับคณะสสส.ที่มาเยี่ยมเยือน ภายใต้การนำของ น.พ.วีรพงศ์
ชัยภัค และ คุณขวัญธรรมชาติ กสิกรรม รวมทั้งหมด ๑๑ ท่านจากกองแพทย์ทางเลือก
กรมพัฒนา การแพทย์ แผนไทย และ การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
เดินทางมาถึงบ้านราชฯเวลา
๑๗.๓๐ น. หลังจากดูงานการแพทย์ทางเลือกที่ ร.พ.สรรพสิทธิประสงค์
ในตัวเมือง จ.อุบลราชธานีมาแล้ว พอมาถึงทีมสุขภาพบ้านราชฯ และทีมฝ่ายต้อนรับ
ก็ได้เชิญ คณะ สสส. ลงเรือสำราญ "ลำกกแฮก" เพื่อล่องเรือชมทิวทัศน์
ริมฝั่งแม่น้ำมูล และรับประทานอาหารเย็น เสร็จแล้ว ก็มีรายการ ย่อยอาหาร
สังสรรบันเทิง โดยคุณสู่แดนธรรม และ คุณพลังจิต
ล่องเรือขากลับ เหลือระยะทางไม่ไกลเท่าไหร่(เห็นท่าเรือแล้ว)
ปรากฏว่าเครื่องดับ เลยต้องลอยเรือเท้งเต้ง อยู่กลางแม่มูล ประมาณเกือบ ๒
ช.ม. จึงมีรายการให้ทีมที่มาดูงาน สรุปประเด็น ที่มาดูงาน ที่ร.พ. สรรพสิทธิประสงค์
ทุกคน ลงความเห็นว่า โรงพยาบาลนี้ เป็นโรงพยาบาลตัวอย่าง
ที่นำระบบ การแพทย์ ทางเลือก มาให้บริการกับผู้ป่วย ได้อย่างหลากหลาย และสมบูรณ์
กว่าจะขึ้นฝั่งได้ก็ประมาณเกือบ
๓ ทุ่ม โดยอาศัยกองทัพเรือน้อยๆของเด็กสส.ธ.บ้านราชฯ
มี หลวงตาพรหม
เป็นไต้ก๋งผูกเรือ ลากเข้าฝั่ง ได้อย่างปลอดภัย ทีมที่มาเปิดใจ รู้สึกประทับใจบ้านราชฯ
เสียดาย ที่ไปจองโรงแรม และเอาของไว้ที่นั่นก่อนแล้ว ไม่เช่นนั้น คงได้พักค้าง
ที่บ้านราชฯแน่ๆ (เพราะคืนก่อน เขาพักค้างที่ ชุมชนศีรษะอโศก
แล้วไม่มีหมอนหนุน ทำให้พักลำบาก ก็เลยคิดพัก โรงแรมแทน) เหลือคุณหมอวีรพงศ์
และ คุณขวัญธรรมชาติ ที่พักค้างบ้าน คุณดินดอน และ คุณเพชรตะวัน
เช้าวันที่ ๒๗ มี.ค. ๔๖
ทำวัตรเช้าเสร็จเชิญคุณหมอวีรพงศ์และคุณขวัญธรรมชาติ มาพูดคุยกับนิสิต ม.วช.
บ้านราชฯ และชาวชุมชน ถึงนโยบาย และ เป้าหมายของการเป็น ชุมชนต้นแบบ แพทย์ทางเลือก
คุณหมอได้เกริ่นนำถึงเหตุที่เลือกศีรษะอโศก
และ บ้านราชฯ เป็นชุมชนต้นแบบแพทย์ทางเลือก ว่า ชุมชนศีรษะอโศก มีผู้นำที่พร้อมจะพัฒนา
และเห็นด้วยที่จะเป็นชุมชน ต้นแบบแพทย์ทางเลือก ซึ่งพ่อท่าน ก็เห็นดีด้วย
ส่วนบ้านราชฯ พอมาสัมผัสแล้ว มีความรู้สึกว่า ผู้คน สถานที่ อากาศ และสิ่งแวดล้อม
เอื้ออำนวย ต่อการมีสุขภาพที่ดี มี ๗ อ. ครบบริบูรณ์ และประสานสัมพันธ์กับ
ร.พ.สรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งเป็น โรงพยาบาล ต้นแบบอยู่แล้ว จึงเลือกทั้ง ๒
ชุมชน
คุณขวัญธรรมชาติได้ย้ายที่ทำงานจากสำนักนโยบายและแผนฯ
มาร่วมทีมกับคุณหมอวีรพงศ์ ที่กองแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขแล้ว ที่มานี่ก็เพื่อนำผู้ร่วมงาน
ได้มาศึกษาดูงาน การแพทย์ทางเลือก ของโรงพยาบาล ในเขตอีสาน รวมทั้งชุมชนด้วย
ได้พูดถึงเป้าหมายของชุมชนต้นแบบแพทย์ทางเลือกว่า
๑. เน้น "การสร้าง" สุขภาพมากกว่า "การซ่อม" สุขภาพ
๒. ผสมผสานข้อดีของทุกระบบการแพทย์
๓. เน้นการพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด
ซึ่งก็ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนในชุมชน
ไม่ใช่แต่เฉพาะทีมสุขภาพเท่านั้น หลังจากนั้น ก็มีการ ระดมสมองว่า ใครมีความรู้
และความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ในเรื่อง ๗ อ.
๑. อาหาร ให้ช่วยกันคิดว่า
อะไรคืออาหารสุขภาพ และจะทำอาหารให้ประณีตได้อย่างไร มีผู้นำเสนอว่า ทุกวันนี้
เราก็กินพืชผัก ที่เราปลูกเอง ไร้สารพิษ ๑๐๐% อยู่แล้ว เพื่อจะทำให้อาหาร
ประณีตขึ้น เสนอให้เก็บ ผักสดๆ เพื่อมาทำอาหาร ในตอนเช้านั้นเลย ไม่ควรเก็บไว้ค้างคืน
เพราะจะทำให้ คุณค่า อาหารเสื่อม โดยเฉพาะ enzyme
ลดลง และรสชาติอาหาร ก็เน้นรสจืด เป็นหลัก
๒. อากาศ นำเสนอให้ทุกคนได้ไปสัมผัสริมฝั่งมูล
ทุกวันในตอนเช้าตรู่และยามเย็น ซึ่งมีบรรยากาศ ที่โปร่งโล่ง เย็นสบาย และสดชื่นมากๆ
พร้อมทั้งแนะวิธี การสูดหายใจ เข้าออกลึกๆ
๓. ออกกำลังกาย หลังทำวัตรเช้า
จัดกลุ่มออกกำลังกายกัน และเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ อย่าอยู่ท่าเดียวนานๆ
พูดได้แค่ ๓ อ. ก็หมดเวลาเสียแล้ว
ทุกคนรู้สึกมีไฟ คุณขวัญธรรมชาติ เลยให้การบ้าน นิสิต เนื่องจาก นานๆ พบกันที
ให้เป็นเจ้าภาพ ในการประเมินพฤติกรรม ของชาวชุมชน เกี่ยวกับเรื่อง ๗ อ. โดยแบ่ง
กลุ่มเป้าหมาย เป็น ๕ กลุ่มคือ
๑. กลุ่มสมุนพระราม
๒. กลุ่มนักเรียนสัมมาสิกขา
๓. กลุ่มนิสิตสัมมาสิกขาลัยวังชีวิต
๔. กลุ่มผู้สูงอายุและชาวชุมชน
๕. กลุ่มสมณะ สิกขมาตุ และคนวัด
ให้เวลานิสิตเจ้าภาพสัมภาษณ์
๓ วัน สรุปผลการประเมิน ๗ อ. ของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ปรากฏว่า กลุ่มสมุนพระราม
ทีมคุรุให้ความสำคัญ ทางด้านสุขภาพมาก ตารางชีวิต เป็นไปตามหลัก ๗ อ.
กลุ่มนักบวช และคนวัด พร่องเรื่อง อ.ออกกำลังกาย และหายใจตื้น ทำให้เกิดอาการ
เส้นยึด เหมือนกับ กลุ่มนิสิต
ส่วนกลุ่มนักเรียนสัมมาสิกขา
และกลุ่มผู้สูงอายุชาวชุมชน ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะเจ้าภาพ ผู้รับผิดชอบงาน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลมาให้ ซึ่งทางคุณหมอวีรพงศ์ และ คุณขวัญธรรมชาติ ก็จะได้มาติดตาม
การประเมินผล ดังกล่าวนี้ อีกครั้ง ในวันที่ ๑๓ เม.ย.'๔๖ ต่อไป
- ใบลาน
นาวาบุญนิยม รายงาน -
(สารอโศก อันดับที่ ๒๕๘ มีนาคม ๒๕๔๖)
|