หน้าแรก>สารอโศก

พ่อท่านกับโทรศัพท์มือถือ
ขณะนี้สิ่งที่จะทำลายมนุษย์อีกอย่างหนึ่งก็คือ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะทำลายมนุษย์อย่างยิ่ง ผู้ที่ดิ้นรน มีโทรศัพท์มือถือ นั่นคือ ผู้ที่มีกิเลสอย่างมาก เช่น เด็กๆทุกวันนี้ จะต้องมีโทรศัพท์มือถือ ไม่มีโทรศัพท์มือถือไ ม่ทันใจ ไม่ทันสมัย ไม่สมศักดิ์ศรี เป็นความด้อยต่ำ ในสังคม นี่คือความรู้สึกนึกคิด ที่ไม่ดี ที่เด็กหรือผู้ใหญ่ คิดกันอย่างนั้น

โทรศัพท์มือถือนี่ ทำให้คนและเศรษฐกิจบรรลัย บางครอบครัว พ่อแม่พี่น้อง มีเงินทอง ไม่ค่อยมากหรอก แต่ต้องซื้อ โทรศัพท์มือถือ แล้วต้องซื้อแจกกัน คนละเครื่องๆ บางคนสองสามเครื่อง เล่นเป็นแฟชั่น เพราะว่า โลกหลอกขาย ตกรุ่นต้องหารุ่นใหม่ มีแต่ความยั่วยวน ปรุงแต่งขายกัน ตลอดเวลา แม้แต่รูปโฉม สีสันเหมือนแฟชั่น เครื่องแต่งตัวของคน นี่เป็นกลยุทธการตลาด ที่หาเงินกัน ซึ่งเป็นองค์ประกอบย่อย องค์ประกอบหลักคือ เราจะต้องมีโทรศัพท์มือถือ เพื่ออะไรก็แล้วแต่ ที่สังคมยั่วยุยั่วยวนขึ้นมา แล้วติด ต้องเอา ต้องมี ต้องเป็นให้ได้

อาตมาเอง มีสัญญาณบอกแต่ต้นก็พยายามที่จะปฏิเสธ หลายคนคงคิดว่า อาตมามีโทรศัพท์มือถือ ขอยืนยันว่า ไม่มี นอกจากไม่มีแล้ว พยายามที่จะไม่รู้ด้วย ใช้ไม่เป็น มีการบันทึก memory อย่างนั้นอย่างนี้ อาตมาไม่รู้เรื่อง อย่าว่าแต่ต้องบันทึกเลย กดขึ้นมาเรียก อันนั้นอันนี้ กดทีหนึ่งแล้วเรียก ต่อไป จะทำอย่างไร อาตมาก็ไม่รู้ เอามาให้พูดก็พูด พูดเสร็จแล้วจะปิดตรงไหน อาตมาปิดไม่เป็น แค่นี้ก็ไม่เป็น เพราะกดผิดกดถูก กดอย่างงงๆ และตั้งใจ ไม่สัญญากับมัน

จริงๆอาตมาพอมีปัญญาปฏิภาณ ที่จะใช้โทรศัพท์เป็น ใช่มั้ย อาตมาว่า อาตมาหากตั้งใจ ศึกษาเรียนรู้ และใช้ให้เป็นนี่ อาตมาคงไม่โง่พอ ที่จะใช้มันไม่ได้ คือความเฉลียวฉลาด มันสมองขนาดนี้ คิดว่าพอได้นะ แต่อาตมาไม่เอา ปฏิเสธ อาตมาไม่รับ และไม่ใช้ จึงสบาย ปลอด ไม่เช่นนั้น หากมีโทรศัพท์มือถือ ใครๆก็รู้เบอร์ อาตมาก็คงยุ่ง น่าดูเลย จะนั่งที่ไหน จะนอนที่ไหน จะอยู่ที่ไหน คงจะดัง แล้วอาตมา จะทำอย่างไร คุณลองคิดดูซิ เมื่อพกติดตัวอยู่ตลอดเวลา ก็จะเป็นอย่างนั้น เป็นเครื่องจี้ ที่ใกล้ชิดยิ่งกว่า คอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำไป

โทรศัพท์มือถือจะสร้างให้คนเปลืองผลาญ ทุกวินาทีจ่ายเงินทั้งสิ้น อาตมาก็เพิ่งรู้ตรงนี้ เพิ่งรู้ว่า มันคิดเงินหมดทุกอย่าง ค่ารักษา ค่าอะไรต่างๆนานา แล้วแต่บริษัท แต่ละบริษัท ที่ใช้กลยุทธ ส่งเสริมการขาย ให้ประชาชนหลงใช้ เมื่อมีโทรศัพท์มือถือ ก็ต้องจ่ายค่าบริการ การใช้ และค่ารักษาเครื่อง นับว่าเปลืองผลาญมาก และทำให้ผู้ใช้มักง่าย นิสัยเสีย โทรตะพึด ไม่เกิดความอดทน ไม่เกิดความแข็งแรงทางจิตวิญญาณ เพราะสิ่งนี้ฝึกให้มักง่ายตั้งแต่เด็กจนโต
ทำให้ใจร้อน ยังไม่ทราบว่าเป็นภัยต่อสมอง ต่อประสาท เขายังวินิจฉัยกันยังไม่จบ ยังค้นหาเหตุไม่ได้ เพราะผู้ประกอบการรวยตามๆกันไป จึงมักปกป้อง แม้มีผู้วิจัยว่าเป็นพิษภัยต่อสมองประสาท บริษัทเหล่านั้น ก็ต้องหาทางลบล้าง และปิดข่าว หากไม่ทำเช่นนั้นก็ขายไม่ได้

เพราะฉะนั้นจริงหรือไม่จริงยังไม่ทราบ อาตมาว่ามันน่าจะจริง ถ้าไม่จริงจะพูดไม่ได้ แต่จริงก็ถูกลบล้าง เพราะเกี่ยวกับการตลาด และก็มีประโยชน์จริงๆ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องใช้กัน แม้จะเสียบ้าง แต่ยังไม่แสดงผล ที่ชัดเจน อาจต้องใช้เวลานานหน่อย คงไม่เป็นพิษภัยร้ายแรง ทันทีทันใด แต่คงสะสม

เพราะฉะนั้น ในช่วงที่มีการสะสม เด็กรุ่นนี้ปัจจุบันอายุ ๑๕ ปี ใช้โทรศัพท์มือถือไปถึงอายุ ๔๕ จะออกผล เป็นมะเร็งในสมอ งหรืออะไรก็แล้วแต่ นี่สมมตินะ ตอนโน้นอาจยอมรับกัน ซึ่งพวกเราก็ไม่ทราบ อาตมา ก็ไม่รู้ เมื่อกี้สมมติเล่นนะ อย่าไปจริงจัง เพราะเราไม่ทราบว่า จะมีผลหรือไม่

สรุปแล้ว แม้จะมีผลอย่างนั้น ก็ต้องใช้ แต่ต้องมีวิธีใช้ เช่นปัจจุบันเขาไม่เอาโทรศัพท์ใส่หู โดยจะมีสาย ทำให้ไม่เกิดคลื่น กัมมันตภาพแรงนัก และต่อโยงมาที่หูอีกทีหนึ่ง มีไมโครโฟน นับว่าเป็นการแก้ ในส่วนที่จะเกิดผลเสีย จะขับรถ หรือทำงานก็ได้ สะดวกขึ้น

โทรศัพท์มือถือจึงมีผลต่อเศรษฐกิจและจิตวิญญาณ แม้เราไม่สนใจ แต่สิ่งเหล่านี้ ก็วิ่งมาหาเรา เราจึงต้องรู้จัก เพื่อหาทางป้องกัน ศาสนาพุทธ สอนให้รู้จักวิธีป้องกัน สามารถปฏิเสธได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
หากเรียนพุทธศาสตร์อย่างเดียว จะป้องกันภัย จากโทรศัพท์มือถือ ภัยจากโทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, ยาบ้า หรือ จากการแต่งกายสายเดี่ยว, ตลอดจน สิ่งมอมเมาทั้งหลาย ที่ไม่มีประโยชน์ และเป็นโทษอย่างแรง

บางสิ่งอาจมีทั้งประโยชน์และโทษในขณะเดียวกัน การศึกษาธรรมะทำให้รู้จักรับ รู้จักใช้ รู้จักตัด หรือไม่รับเลย สำหรับสิ่งที่เป็นโทษถ่ายเดียว มีประโยชน์ลวง จะไม่รับเลย เช่น ยาบ้า เป็นต้น.......

"โพธิสัตว์เกิดมาเพื่อมวลมนุษย์เป็นอันมาก"
บรรยายเมื่อทำวัตรเช้าที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ณ พุทธสถานปฐมอโศก

(ข้อสังเกต : คำบรรยายนี้ก่อนเหตุการณ์ที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือคนหนึ่ง ถูกช้อตขั้นถูกตัดขาทั้งสองข้าง)

หากท่านผู้ใดมีประสบการณ์จริงจากชีวิต สามารถส่งมายังคอลัมน์นี้ หรือส่งมาทาง e-mail ข้างต้นได้

(สารอโศก อันดับที่ ๒๕๙ เมษายน ๒๕๔๖)