บทเรียนราคาแพง
: บทเรียนที่ต้องสรุป และต้องมีมาตรการทางออก
บทที่ ๑ บทเรียนราคาแพง
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทีมงานต.อ.กลางได้รับโทรศัพท์แจ้งจากคุณหินไท
จากบ้านราชฯว่า เจลว่านหางจระเข้ซึ่งเป็นสินค้าขายดี มีออเดอร์การสั่งผลิตไม่ขาดสาย
ได้เกิดจุดสปอต เชื้อราสีขาวขึ้น อีกเป็นครั้งที่สอง หลังจากที่เกิดความเสียหายไปครั้งแรกเมื่อราวเดือนมกราคม
๒๕๔๖ โดยร้านค้า ทาง กรุงเทพฯ ขอส่งสินค้ากลับคืนทั้งหมด ส่วนทางคุณหินไทและผู้ผลิตก็มิได้นิ่งนอนใจ
ได้ส่งสินค้า ชุดแรกที่เสียหายให้บริษัทขาย สารเคมีตรวจวิเคราะห์ ซึ่งบริษัทขอให้เพิ่มตัวยากันบูดให้มากขึ้น
คนผลิตเองก็สันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากผ้า กรองว่านรั่วทำให้เนื้อว่านตกลงไป
ทีมงานตอ.กลางรีบโทรศัพท์ทางไกล
ขอความร่วมมือจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต ๑๐ จ.อุบลราชธานี ให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเก็บตัวอย่างวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ตรวจวิเคราะห์
และขอให้ ภญ.กาญจนา มหาพล หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข
เข้ามาดูสถานที่ และร่วมวิเคราะห์ ขั้นตอนการผลิต เพื่อหาสาเหตุการปนเปื้อนกับผู้ผลิต
และต.อ.กลางใน ช่วงงาน เพื่อฟ้าดินที่ผ่านมา สิ่งที่น่า ตกใจอีกครั้ง
คือ เจลชุดที่สามที่เพิ่งผลิตเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม นี้ก็เกิดจุดราสีขาวเล็กๆอีกแล้ว
ทั้งๆที่สิน ค้ายังอยู่ในโรงงาน ยังไม่ทันได้แพ็คส่งออกไปจำหน่ายเลย
ผู้ผลิตแจ้งว่า ผลิตครั้งหนึ่งๆ
ราว ๑ หมื่นหลอด ต้นทุนวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ ที่ไม่รวมค่า แรงงาน
ประมาณ ๘ หมื่นบาท เมื่อคิดเป็นมูลค่าสินค้าที่จำหน่ายก็ราวสองแสนกว่าบาท
โอ้โฮ สองแสน คูณสามก็ไม่กล้า คิด ไม่กล้าคำนวณเอาเสียเลย
บทที่ ๒ บทเรียนที่ต้องสรุป
ลำพังการผลิตผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้เป็นเรื่องที่ต้องมีความสะอาดละเอียด
ประณีต แม้แต่ ในโรงงานผลิตระดับอุตสาหกรรมที่ควบคุมกระบวนการผลิตอย่างดี
ก็ยังถือว่าเป็น ผลิตภัณฑ์ ที่มีความเสี่ยงต่อการเสียหายได้ง่ายมากอยู่แล้ว
ความเสียหาย ก็เคยเกิดที่ชุมชนศีรษะอโศก จนต้องงดการผลิตเจลจากว่านหางจระเข้ไปช่วงหนึ่งเช่นกัน
เอกสารการวิเคราะห์หาสาเหตุการปนเปื้อนและข้อเสนอการแก้ปัญหาได้รับความอนุเคราะห์
ช่วยเหลือ เป็นอย่าง ดีจากภญ.กาญจนา จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลฯ
และ ภญ.พรพรรณ สุนทรธรรม จากกองควบคุม
เครื่องสำอาง อย.อย่างรวดเร็วทันใจในสองวัน จนทีมงานต.อ.กลาง รู้สึกประทับใจ
และต้องขอสรรเสริญ คุณความดี ความใส่ใจของข้าราชการไทยทั้งสองท่านมา
ณ โอกาสนี้
บทเรียนที่ต้องสรุปข้างล่างนี้ มิได้จะช่วยสรุปวิเคราะห์ปัญหาการผลิตผลผลิตเฉพาะเจล
ว่านหางจระเข้ ที่บ้านราชฯนี้เท่านั้น แต่น่าจะมีส่วนที่จะช่วยให้ผู้ผลิตผลผลิตทุกประเภท(อาหาร
ยา ผลิตภัณฑ์ ทำความสะ อาด) ได้มีมุมมองหลายๆมุม ถึงโอกาสของความเสี่ยง
ที่อาจเกิดขึ้นได้ ในทุกขั้นตอนของ กระบวนการผลิต นับตั้งแต่ วัตถุดิบ
การเตรียม วัตถุดิบ น้ำที่ใช้ การผสม เครื่องมืออุปกรณ์การผลิต การบรรจุ
สถานที่ผลิต และที่สำคัญที่สุด คือ ตัวผู้ผลิตเอง ที่เป็นผู้จัดการและ
เกี่ยวข้องกับขั้นตอน การผลิตทั้งหมดดังกล่าว แม้ในขณะนี้ยังไม่มี
ความเสียหายร้ายแรงเกิดขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องที่ผู้ผลิต และต.อ.ชุมชนต้องช่วยกันหมั่นตรวจตราและป้องกันกันไว้ก่อน
มิใช่หรือ
ปัญหาการเกิดราในเจลว่านหางจระเข้
(รุ่นที่ผลิตตั้งแต่มกราคม
๒๕๔๖ เป็นต้นมา)
ผลิตที่โรงแชมพู ชุมชมราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี
วิเคราะห์โดย กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค อุบลราชธานี เมื่อ ๑๘ พฤษภาคม
๒๕๔๖
บทที่ ๓ บทเรียนที่ต้องมีมาตรการทางออก
ในเย็นวันจันทร์ที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ หนึ่งวันคล้อยหลังจากงานพฟด. ท่านฟ้าไท
สิกขมาตุกล้าข้ามฝัน ได้เรียกประชุมคณะกรรมการชุมชนเร่งด่วน
เพื่อหามาตรการที่จะเป็นทางออกในการ ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอีก
ที่ประชุมมีมติดังนี้
๑. ให้จัดซุ้มสาธิตและฝึกปฏิบัติการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ
(ทั้งอาหารแปรรูป ยาสมุนไพร และ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด) สำหรับผู้มาศึกษาดูงานหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม
แยกออกจากโรงงาน/สถานที่ผลิต เพื่อลด การปนเปื้อนจากบุคคลภายนอก
๒. ให้หยุดการผลิตเจลว่านหางจระเข้ชั่วคราว
จนกว่าจะทราบผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ และหาสาเหตุการปนเปื้อนที่ชัดเจนขึ้น
เมื่อจะเริ่มผลิตชุดใหม่ขอให้ผู้ผลิตทดลองผลิตใน ปริมาณที่น้อยก่อน
โดยเตรียมการด้านความสะอาดของสถานที่(๕ ส.) อุปกรณ์ สุขวิทยาของผู้ผลิต
และควบคุมกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนอย่างประณีต ทั้งนำผลิตภัณฑ์ที่เสร็จแล้วส่งตรวจ
ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดอุบลราชธานี และตั้งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไว้อย่างน้อย
๑ เดือนเพื่อดูการเปลี่ยนแปลง ก่อนนำออกจำหน่าย
๓. ขอให้ทีมงานผู้ผลิตออกไปพักอาศัยนอกเขตโรงงานผลิต(ยกเว้นผู้อยู่เวรเฝ้าสถานที่)
และงดการปรุง/รับประทานอาหารในสถานที่ผลิตเพื่อป้องกันแมลงและสัตว์นำโรค
โดยทางชุมชนได้จัดหาที่พักเป็นบ้านเรือนไทยที่ไม่ห่างจากโรงงาน อยู่สบาย
และอากาศดี ปราศจากกลิ่นไอ ของสารเคมีให้แล้ว
๔. เพื่อลดภาระของผู้ผลิต ที่ต้องการเวลาในการเตรียมการด้านความสะอาดของสถานที่
และอุปกรณ์การ ผลิตอย่างประณีต จึงขอให้ย้ายการตักแบ่งและจำหน่ายปลีก
ชุดสารเคมีสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความ สะอาด ให้แก่บุคคล ภายนอก
ไปที่ร้านค้าชุมชน(ร้านปันบุญ) โดยจะจัดทีมนักเรียนมาช่วยดำเนินการ
๕. ขอให้พิจารณาแบ่งรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน
นำมาปรับปรุงสถานที่ผลิต เพื่อให้ลด ความเสี่ยง ต่อการปนเปื้อน ในกรณีของโรงแชมพูนั้น
คณะกรรมการชุมชนจะพิจารณาดำเนินการให้ เมื่อสิ้นสุดปัญหาทางกฎหมายที่ชุมชนจะเป็นเจ้าของสิทธิ์ในที่ดินบริเวณดังกล่าว
โดยในระยะเฉพาะหน้าคณะกรรมการชุมชนอนุมัติ ให้ปูเสื่อน้ำมันบนชั้น
๒ ของอาคารผลิต เพื่อป้องกันฝุ่นละอองไม่ให้ ตกลงมา ณ บริเวณผลิต และขอให้ทีมผู้ผลิต
โดยการสนับสนุนของชุมชน และทีมนักเรียน ได้ช่วยกันทำ ความสะอาดสถานที่
และทำ ๕ ส.ครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
สามบทเรียนนี้ ราคาแพงมากสำหรับชาวบุญนิยมอโศก
แต่พวกเราก็ยอมสูญเสียทรัพย์สิน ไปได้ โดยไม่ยอมเสียคุณภาพ ความซื่อสัตย์
และความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค พวกเเราต้องการสอบให้ผ่าน ไม่ต้องเรียนกัน
ซ้ำแล้วซ้ำอีก และเชื่อมั่นว่าไม่มีใครอยากตกซ้ำชั้น หรือถูกรีไทร์ออกเป็นแน่
จริงใจ-ไมตรี-ไม่มีวันเบื่อ
(ที่ต้องพูดเรื่องเก่าๆอยู่เรื่อยๆ)
***
ต.อ.กลาง
(สารอโศก
อันดับที่ ๒๖๐ พฤษภาคม ๒๕๔๖)
|