ลูกเสี่ยงโรคซึมเศร้าถ้าพ่อ-แม่ดื่มเหล้า
การเผชิญหน้ากับการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างพ่อแม่
จากการมึนเมา ทําให้เด็กตึงเครียดด้านอารมณ์ หวาดกลัว ตกใจ
โดดเดี่ยว ซึมเศร้า ไม่สบายใจ ขณะเดียวกันพ่อแม่ที่มีอารมณ์ตึงเครียด
ก็ไม่สามารถ ตอบสนอง ด้านอารมณ์ให้กับเด็กได้ นอกจากนี้ กรณีที่หัวหน้าครอบครัวดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แม่ยังมี โอกาส ดื่มเพิ่มขึ้น หรือมีความกดดันจากปัญหาชีวิตสมรสจนไม่สามารถทําหน้าที่แม่ได้ดี
เด็กไทย ๑ ใน ๔
เคยเผชิญหน้าคนเมาใน"บ้าน"
เด็กไทย ๑ ใน ๔ เคยเห็นการดื่มเดรื่องดื่มแอลกอฮอล์จนเมาของสมาชิกในครอบครัว
และส่วนใหญ่ มีประสบการณ์ ก่อนอายุ ๑๘ ปี ซึ่งสภาพเช่นนี้ก่อผลกระทบต่อเด็กในหลายด้าน
ทั้งความกระทบกระเทือน ทางร่างกาย และจิตใจ รวมทั้งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่างๆอันเนื่องมาจากฤทธิ์แอลกอฮอล์
รวมทั้ง เกิดปัญหา ทางพฤติกรรมเพราะขาดต้นแบบที่ดีในการดําเนินชีวิต
และมีแนวโน้มที่จะถูกลงโทษทางร่างกายอย่างรุนแรง
โดยเฉพาะเวลาที่พ่อแม่เมาจนขาดสติ
จากการสํารวจ โดยสํานักงานสถิติแห่งชาติในปี ๒๕๔๔ พบว่าเด็กและวัยรุ่นเพศชาย
ที่บริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ มีจํานวน ถึง ๒.๓ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ
๔๓ หรือเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดในกลุ่มอายุนี้
กลุ่มวัยรุ่นที่น่าจับตามากที่สุด ได้แก่
สาววัยรุ่นอายุ ๑๕-๑๙ ปี โดยจากการสำรวจพบว่า ในช่วงเวลาเพียง ๕ ปี
(๒๕๓๙-๒๕๔๔) ผู้หญิงวัย ๑๕-๑๙ ปี ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เพิ่มจำนวนขึ้นร้อยละ ๙๐ หรือ เกือบเท่าตัว คือจากร้อยละ ๑.๐
เป็นร้อยละ ๑.๙
ผลวิจัยของสถาบันวิจัยยาเสพติด ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ที่วัยรุ่นหญิงนิยมดื่ม
ได้แก่ สุราต่างประเทศ สุราผสมผลไม้หรือไวน์คูลเลอร์ เพราะเชื่อว่า
มี แอลกอฮอล์น้อย ดื่มแล้วไม่เมา ทั้งนี้ในต่างประเทศได้มีการวิจัยพฤติกรรมการบริโภคสุราผสมผลไม้
หรือ RTD(Ready to Drink) พบข้อสรุปว่า เครื่องดื่มประเภทนี้เป็นประตูบานแรก
ที่เปิดให้เยาวชน กลายเป็น ผู้ดื่มสุรา ในที่สุด
ฤทธิ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กดไอคิว-ทำลายสมอง
สารเคมีและแอลกอฮอล์ในสุรา ส่งผลให้ผู้ดื่มรู้สึกผ่อนคลาย ครึ้มอกครึ้มใจ
สนุกสนานรื่นเริงได้จริง ทว่า ในระยะยาว ....เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เพียงบั่นทอนสุขภาพร่างกายให้เสื่อมโทรมลงเท่านั้น
แต่ยังส่งผล ต่อสติปัญญา และสุขภาพจิตของผู้ดื่ม ก่อให้เกิดปัญหาด้านบุคลิกภาพและสังคมด้วย
มีงานวิจัยในประเทศไทยระบุว่า
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้ผู้ดื่มมีระดับ
เชาวน์ ปัญญาลดลง การวิจัยดังกล่าวได้แก่ การวิจัยเรื่องความเสื่อม
ของเชาวน์ปัญญา ในผู้ป่วย จิตเวชสุรา ที่รับไว้ ในฝ่ายจิตเวชทั่วไปของโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
พบว่ากลุ่มผู้เริ่มดื่มในช่วงอายุ ๒๐-๒๙ ปี ซึ่งเป็น กลุ่มคน วัยเรียนจนถึงเริ่มต้นทำงาน
และเป็นกำลังสำคัญของครอบครัว เกิดเชาวน์ปัญญาเสื่อม มากกว่า กลุ่มที่เริ่มดื่มในกลุ่มอายุอื่นๆ
ทั้งนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่กำหนดความเสื่อมของสติปัญญาว่า จะมาก หรือน้อย
เช่น ชนิดของการดื่ม วิธีการดื่ม ชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดื่ม
ตลอดจนการมีพ่อแม่เป็นนักดื่ม และ มีอาการ ผิดปกติทางจิต
ก่อให้เกิดโรคจิต
จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกพบว่า ๑ ใน ๓ ของผู้ป่วยทางจิตในแต่ละประเทศ
มีสาเหตุ มาจาก สุรา
สารพิษที่เกิดจากการเผาผลาญแอลกอฮอล์ในร่างกาย
คือ เตตราไฮโดรไอโสควิโนลีนส์ (Tetrahydroisoquinolines)
จะเข้าไปทำลายสารเคมีในสมอง ที่ช่วยให้คนเรารู้สึกเป็นปกติสุขและสงบ
คนติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงมักมีจิตใจและอารมณ์อ่อนไหว ความอดทนต่อภาวะเครียด
หรือกดดัน ลดน้อยลง ขาดสมาธิ นำไปสู่บุคลิกภาพเสื่อมโทรมในที่สุด
ผู้ดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรัง จะมีการฝ่อลีบของสมองส่วนนอก
(Cortex) ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการเสื่อมทางจิต โรคจิต
จากการดื่ม มีหลายอาการ และรักษาให้หายขาดได้ยาก ซึ่งได้แก่
โรคประสาทหลอน โรคหวาดระแวง โรคความจำเสื่อม โรคซึมเศร้า โรคหวาดกลัวผิดปกติ
ฯลฯ
ทั้งนี้โรคจิตจากการดื่ม สามารถเกิดขึ้นได้กับนักดื่มทุกคน
ไม่ว่าหญิงหรือชาย อาการทางจิต ที่เกิดในผู้ดื่ม อย่างชัดเจน คือ ภาวะตื่นกลัวที่เรียกว่า
Panic disorder อันนำไปสู่ภาวะ แทรกซ้อน อื่นๆตามมา ได้แก่ อาการ
ผิดปกติของหัวใจ ระบบประสาท และระบบกระเพาะอาหาร โดยปกติ ภาวะกลัวเช่นนี้พบในอัตรา
๑-๒ คน จากประชากร ๑๐๐ คน แต่ในกลุ่มผู้ดื่มจนเข้าสู่ ภาวะผู้ป่วย
พิษสุราเรื้อรัง อัตราจะเพิ่มเป็น ๑๓-๕๐ คน ต่อ ๑๐๐ คน ทำให้กลายเป็นคนที่ไม่สามารถ
ใช้ชีวิตตามปกติได้
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำลายทุกอวัยะที่ไหลผ่าน
เมื่อแอลกอฮอล์ไหลผ่านจากปาก แอลกอฮอล์ในเหล้าจะซึมซ่านเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว
โดยแอลกอฮอล์ ส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมในกระเพาะอาหาร
และกระจายเข้าสู่กระแสเลือดภายในเวลาเพียง ๕ นาที ก่อนจะส่ง
ต่อไปยังเซลล์เนื้อเยื่อของเหลวทุกแห่งในร่างกาย และอวัยวะต่างๆภายในเวลา
๑๐-๓๐ นาที ทั้งนี้ จะสามารถ ตรวจพบ แอลกอฮอล์ในเลือดได้ ภายในเวลา
๕ นาที หลังจากเริ่มดื่ม และเริ่มก่อให้เกิดผล ต่ออวัยวะทั่วร่างกาย
ปากและลำคอ จะเกิดอาการระคายเคืองในช่องปากและลำคอ
อย่างที่นักดื่มเรียกกันว่า "เหล้าบาดคอ"
ผิวหนังและหลอดเลือด ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ที่ส่งผลให้เห็นชัดเจน
เริ่มได้ตั้งแต่ผิวหนัง หลอดเลือด ที่ขยายตัว จากฤทธิ์แอลกอฮอล์ ส่งผลให้หน้าแดง
ตัวแดง ในทางตรงข้ามผู้ดื่มบางราย อาจมีอาการ เส้นโลหิตหดตัว ทำให้หน้าซีด
ซึ่งจัดเป็นอันตรายต่อชีวิตมากกว่า
เซลล์
เมื่อการหมุนเวียนของเลือดเร็วขึ้นไปยังเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย เซลล์ทุกเซลล์จะทำงาน
ไวขึ้น กว่าปกติ จนเกิน ความจำเป็น ในช่วงระยะสั้นๆ ทำให้การทำงานของอวัยวะ
แปรปรวนไปจากปกติ ในเวลาต่อมา และ กดการทำงาน ของเซลล์ให้ทำงานน้อยลง
และทำลายเซลล์ไปในที่สุด
สมอง
แอลกอฮอล์มีพิษโดยตรงต่อสมอง ทำให้เซลล์สมองขยายตัวขึ้น เกิดอาการที่เรียกว่า
"สมองบวม" นานเข้า จะเกิดการสูญเสียของเหลว ในเซลล์สมอง
เซลล์สมองลีบเหี่ยว เสื่อมและตายลง จากการชันสูตร ศพ ผู้เสียชีวิตจากสุรา
จะพบภาวะเนื้อสมองลีบเหี่ยว มีสีซีดจาง จากการถูกทำลายโดย แอลกอฮอล์
ได้อย่างชัดเจน
หัวใจ
หัวใจจะถูกกระตุ้นให้สูบฉีดโลหิตเร็วขึ้น ทำงานหนักขึ้น ในระยะยาว
จะทำให้การทำงานของ กล้ามเนื้อหัวใจ แปรปรวน สารที่มีหน้าที่สำคัญในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดต่ำลง
ทำให้หัวใจ ต้องทำงานขึ้น เพื่อสูบฉีดโลหิต เมื่อหัวใจทำงานหนักขึ้น
กล้ามเนื้อหัวใจจะเริ่มหนาขึ้น เกิดโรคหัวใจโต มีอาการ หัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลวตามมาในที่สุด
กระเพาะอาหาร โรคที่พบได้บ่อยในหมู่นักดื่ม
คือ โรคกระเพาะอาหาร แอลกอฮอล์ในระดับความเข้มข้นต่ำ เพียงร้อยละ ๑๐
จะทำให้มีการกระตุ้นน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เกิดแผลทั้งในกระเพาะอาหาร
และ ลำไส้ ขณะที่แอลกอฮอล์ในความเข้มข้นสูง จะทำให้เกิดอาการเยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน
เมื่อดื่มจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
อาเจียนเป็นสีดำ อุจจาระดำ อาการ ที่น่ากลัว ที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ดื่มคือ
การฉีกขาดของเยื่อหลอดอาหาร อันเกิดจากการอาเจียน หรือ ขย้อน อย่างรุนแรง
ตับ
เป็นแหล่งสันดาปที่สำคัญของแอลกอฮอล์ ตับจึงเป็นอวัยวะที่ได้รับพิษจากเหล้ามากที่สุด
เซลล์ตับ ที่ถูกทำลาย จะมีไขมันเข้าไปแทนที่ ทำให้เกิดการคั่งของไขมันในตับ
ซึ่งเป็นสาเหตุแรกๆ ของอาการ ตับอักเสบ ส่งผลให้เซลล์ตับถูกทำลายเพิ่มมากขึ้น
เมื่อเซลล์ตับตายลงถึงระดับหนึ่ง จะมีการสร้างพังผืดขึ้นที่บริเวณนั้น
ในลักษณะคล้ายแผลเป็น ทำให้เนื้อตับ ที่เคยอ่อนนุ่มแข็งตัวขึ้น เกิดอาการที่เรียกว่า"ตับแข็ง"ในที่สุด
ตับยังช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย การสูญเสียเซลล์ตับทุกเซลล์เป็นการสูญเสียที่ถาวร
และไม่มี การสร้าง ขึ้นทดแทน ความรุนแรงของโรคตับแข็ง
จึงขึ้นอยู่กับปริมาณของเนื้อตับที่สูญเสียไป ยิ่งเนื้อตับ ถูกทำลาย
มากเท่าไร โอกาสที่ผู้ป่วย จะเสียชีวิตก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
"พ่อจ๋า....เลิกเหล้า
เถอะนะ พ่อนะ"