หน้าแรก>สารอโศก

ประตูสู่สุขภาพบุญนิยม

จดหมายจาก....เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย(คกร.)

๓ กันยายน ๒๕๔๖
เรื่อง กิจกรรมการสร้างสุขภาพ ๗ อ.

เรียน ผู้ประสานงาน ศูนย์ฝึกอบรมเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย (คกร.)

สืบเนื่องจากนโยบายของพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ ในการประชุมคณะทำงานสุขภาพ-บุญนิยม ที่มีผู้แทน จากส่วนกลางและชุมชนพุทธสถานหลัก เมื่อวันอังคารที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๖ ณ ชุมชนราชธานีอโศก (หลังจากการประเมินผลค่ายสุขภาพ ๗ อ. ที่จัดให้แก่แกนนำสุขภาพของศูนย์ฝึกอบรม คกร.ครั้งที่ ๒ ใน เขตพื้นที่อิสานตอนบน) และการประชุมคณะผู้ประสานงานองค์กรบุญนิยม เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๖ ณ ชุมชนสันติอโศกนั้น ที่ประชุมมีมติที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพของ ศูนย์ฝึกอบรม คกร. ดังนี้

๑. ขอให้ปรับปรุงการจัดทำแผนปฏิบัติงานในกิจกรรมที่ ๖ กิจกรรมสุขภาพ ๗ อ. โครงการ "พลังกู้ดินฟ้า ประชาเป็นสุข" ซึ่งสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. กิจกรรมดังกล่าวในปีแรกจะเน้นการพัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพของชุมชนศูนย์ฝึกอบรม คกร.(ครู ก.), พี่เลี้ยง/ผู้ติดตาม ประเมินผลกสิกร ที่ผ่านการอบรม หลักสูตรสัจธรรมชีวิต ธ.ก.ส.(ครู ข.) โดยคณะทำงานสุขภาพบุญนิยมจะสนับสนุนกิจกรรม เพื่อพัฒนา ศักยภาพแกนนำสุขภาพของครูฝึกระดับต่างๆดังกล่าว สำหรับในส่วนของการอบรมแกนนำกสิกร (จากกิจ กรรมที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔) จะเลื่อนไปดำเนินการในปีที่ ๒ ของโครงการฯ ซึ่งทาง คกร.จะได้ประสานงานการ ปรับแผนกับทาง สสส.ต่อไป

ทั้งนี้ ในปีแรกจะดำเนินการดังนี้
๑.๑ ค่ายสุขภาพ ๗ อ.
- สำหรับครู ก. ๓ ค่าย จัด ณ ชุมชนปฐมอโศก (ปลายเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๖) ชุมชนราชธานีอโศก (ปลาย เดือนสิงหาคม) และชุมชนหินผาฟ้าน้ำ (ต้นเดือนกันยายน)
- สำหรับครู ข. ให้ครู ก. ประสานงานกับคณะทำงานฯ เพื่อกำหนดวันเวลาร่วมกัน (อาจประสานการจัดร่วม กันระหว่างศูนย์ฝึกอบรม ที่มีจำนวนคนไม่มาก)
๑.๒ การอบรมความรู้และทักษะเฉพาะด้าน ซึ่งคณะทำงานฯจะแจ้งเนื้อหา และกำหนดการฝึกอบรมให้ ทราบ เพื่อศูนย์ฝึกอบรม คกร.จะได้คัดเลือกตัวแทนที่เหมาะสม เข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ด้านต่อไป
๑.๓ การพัฒนาหลักสูตร คู่มือ และสื่อการเรียนการสอน ประกอบการฝึกอบรมแกนนำกสิกรในระดับชุมชน
๑.๔ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการฝึกอบรมแกนนำกสิกร สำหรับครู ก.และครู ข. ของศูนย์ฝึกอบรม คกร. (จะจัดในช่วงปลายปีแรกของการดำเนินงานโครงการฯ)

๒. ในการอบรม "หลักสูตรสัจธรรมชีวิต" ให้แก่กสิกร ตามโครงการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิต เกษตรกรของ ธ.ก.ส. ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจกรรมด้านสุขภาพ ขอให้ผู้รับผิดชอบการฝึกอบรมถือปฏิบัติ ดังนี้

๒.๑ ให้เน้น การสร้างสุขภาพ(๗ อ.*) มากกว่าการซ่อมสุขภาพ (การรักษาพยาบาล)
๒.๒ ให้ละเว้น การให้บริการรักษาพยาบาล หรือถ่ายทอดความรู้ในศาสตร์ด้านการรักษาพยาบาล หรือ ศาสตร์การสร้างสุขภาพที่มีความเสี่ยง หรือข้อควรระวัง หรือที่ต้องมีทักษะในการปฏิบัติอย่างรอบคอบ เช่น การฝังเข็ม การดูดเลือดเอาพิษออก การจัดโครงสร้างกระดูก(ในทุกกระบวนท่า รวมทั้งการแขวนรั้งคอ) การ สวนล้างลำไส้ทางทวารหนักหรืออื่นๆ ที่เข้าข่ายในหลักการดังกล่าว

ทั้งนี้ ศาสตร์ดังกล่าวที่ประชุมเห็นชอบให้ปฏิบัติได้ โดยบุคลากรที่มีความชำนาญหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ที่ ผ่านการฝึกอบรมและการสอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญ (คณะกรรมการคัดกรองศาสตร์ และผู้ให้การบำบัด รักษาของชาวอโศก) และห้ดำเนินการรักษาพยาบาล ในศาสตร์ดังกล่าวเฉพาะได้ ในหมู่กลุ่มชาวอโศก เท่านั้น เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนภายนอก และชื่อเสียงของชาวอโศก

๒.๓ ให้พึงระมัดระวัง การถ่ายทอดความรู้หรือฝึกปฏิบัติในบางกิจกรรม เช่น เลือกวิธีการออกกำลังกายที่ เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ ฯลฯ ข้อห้าม/ข้อระวังในการ อบสมุนไพร เป็นต้น

จึงเรียนมาเพื่อโปรดแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่สำคัญ อันจะยังประโยชน์ที่ เหมาะสมควรแก่สังคมต่อไป

ขอแสดงความนับถือ

(นายธำรงค์ แสงสุริยจันทร์)
ประธานกรรมการ

* ลำดับ ๗ อ. ก่อน-หลัง ดังนี้ = อิทธิบาท อารมณ์ อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย/อิริยาบท เอนกาย เอาพิษภัยออก(ทั้ง ภายในร่างกาย ได้แก่ สารพิษ อุจจาระ ของเสีย และภายนอกร่างกาย ได้แก่ อาหารขยะ เหล้า บุหรี่ ขยะของเสีย/สิ่ง แวดล้อม ๕ ส.และอุบัติเหตุ)

เมื่อวันที่ ๒๒-๒๖ ส.ค.๔๖ ได้มีงานเข้าค่าย ๗ อ. สุขภาพบุญนิยม เพื่อการพึ่งพาตนเองขึ้นที่ราชธานีอโศก อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ชาวค่าย ๗ อ. สุขภาพบุญนิยม บุญญาวุธหมายเลข ๔ กว่า ๔๐ ชีวิต จาก สวนส่างฝัน เลไลย์อโศก แก่นอโศก ศรีโคตรบูรณ์ ร้อยเอ็ดอโศก ภูพานอโศก หินผาฟ้าน้ำ ราชธานีอโศก ปฐมอโศก และสีมาอโศก ได้มาอยู่ร่วมค่ายฯฝึกฝนและเรียนรู้จากทีมสุขภาพ ที่นำทีมโดยคุณน้อมบูชา และคุณใจเพชร(หมอเขียว) ผู้ทุ่มเทถ่ายทอดความรู้ความตั้งใจดีให้ชาวค่ายฯทุกคนที่ได้มาร่วมกิจกรรมกัน ในครั้งนี้ ทำให้มีบรรยากาศของความมีส่วนร่วม และความเป็นพี่เป็นน้องในทุกๆกิจกรรมทั้ง ๗ อ. เป็นไป ด้วยความสนุกสนานและเบิกบานใจ

จนถึงวันสุดท้ายมีการสรุปประเมินผลการจัดงานค่ายฯครั้งนี้ โดยมีพ่อท่าน สมณะและสิกขมาตุ เป็น ประธาน ซึ่งคณะชาวค่ายสุขภาพบุญนิยมล้วนได้รับประโยชน์จากค่าย ๗ อ. อันประกอบด้วย อิทธิบาท อารมณ์ อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย-อิริยาบถ เอนกาย และเอาพิษภัยออก อีกทั้งในโอกาสนี้พ่อท่าน ได้ ขยายความสำคัญโดยนัย บุญญาวุธหมายเลข ๔ ว่า สุขภาพบุญนิยมเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องระมัดระวัง เพราะเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องของชีวิต หากเทียบกับบุญญาวุธหมายเลข ๑, ๒ หรือ ๓ คือ อาหารมังสวิรัติ ตลาดอาริยะ หรือ กสิกรรมไร้สารพิษ เป็นเรื่องที่ใครๆก็ทำได้ แต่เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่โดยกฎหมายมีความ คุ้มครองให้กับผู้รับการปฏิบัติวิชาชีพเวชกรรมว่า ผู้จะให้การรักษาต้องมีใบประกอบโรคศิลปะ ดังนั้นชาวอโศกซึ่งเพิ่งจะประกาศให้สุขภาพบุญนิยมเป็นบุญญาวุธหมายเลข ๔ เมื่องานฉลองหนาวต้นป ีž๔๖ ที่ผ่านมานี้เอง เรายังไม่เก่ง ยังไม่สามารถพอ ที่จะไปให้การดูแลรักษาคนภายนอก เพราะความรู้แบบ ผสมผสานการรักษาของเรา ยังอยู่ระหว่างการเรียนรู้ หลายๆเรื่องยังด่วนตัดสินใจไม่ได้ ว่าจะสามารถนำ มาใช้ช่วยคนได้อย่างปลอดภัย ดังนั้นพ่อท่านจึงติงเตือนให้ชาวเราอย่าประมาท อย่าด่วนสรุปผล เผยแพร่ หรือโฆษณาตัวเองเกินไปนัก หากพลาดพลั้งไปเป็นอันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียว ขณะนี้การให้ความช่วยเหลือ ดูแลกัน ฝึกฝน-ศึกษา-เรียนรู้-อบรม ก็ให้ทำกันไปภายในหมู่ชาวอโศก ทำกันภายในก่อน เริ่มต้นที่ชาวอโศก แต่ละคนๆให้มีสุขภาพแข็งแรงดีก่อน พิสูจน์ที่ตัวเองก่อน พึ่งตนเอง พึ่งพากันเองให้ได้ก่อน พิสูจน์กันแล้ว ว่าทำได้และปลอดภัย จึงค่อยขยายออกไปสู่วงกว้างภายนอกอีกที

การขยายผลในเชิงสุขภาพที่ถูกทาง ต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละคนพึ่งตนเองได้ รู้-เข้าใจ-สามารถ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ต้องพึ่งพาบุคลากรทางการแพทย์ หรือวัตถุข้าวของต่างๆที่ไกลตัว เลย พ่อท่านลำดับ ๗ อ. ให้ดังนี้

๑. อิทธิบาท ตระหนักเห็นความสำคัญในเรื่องสุขภาพ ไม่ประมาท ขวนขวายใส่ใจดูแลตนเอง มีความเพียรทำให้ได้ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ด้วยรู้ ด้วยเข้าใจว่า สุขภาพจะดีได้ เราต้องทำเองในเหตุปัจจัยแต่ละ อ. อีกทั้ง ๖ อ. เมื่อเข้าใจดังนี้แล้วก็จะมีใจมุ่งกระทำ นอกจากเริ่มต้นทำจริงที่ตนแล้ว ยังส่งเสริมให้หมู่พากันทำด้วย จะมีพลังรวมไปในทิศทางเดียวกัน จะง่ายขึ้น

๒. อารมณ์ ให้รักษาจิตใจให้ดี อารมณ์โกรธทำให้อายุสั้น เจ็บป่วยง่าย อารมณ์มีผลต่อสุขภาพอย่างมาก การหมั่นมาคบคุ้นกับสัตบุรุษ การได้ฟังสัทธรรม โดยเฉพาะชาวอโศกผู้มาทำงานศาสนา ไม่มีลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข เป็นเครื่องล่อแล้ว จึงต้องมีธรรมะเป็นเครื่องชูใจหล่อเลี้ยง พ่อท่านเตือนให้เราอย่าละ เลยทำแต่งานนอกๆ ขณะที่ทำงานเกื้อกูลโลกย์อยู่ ก็ต้องลด-ละ-ล้างกิเลสในตนเองไปด้วยพร้อมๆกัน ซึ่ง ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำ

ทำวัตรเช้าในงานนี้ พ่อท่านได้ถ่ายทอดเคล็ดวิชานี้อย่างเข้มข้น ให้ชาวเราได้นำไปฝึกฝนให้ดี ระวังมารจะ มาช่วงชิง ท่านเทียบเคียงให้เห็นว่า สายเลือดทางธรรม สูงค่า ยาวนาน และกว้างไกล แต่สายเลือดทาง โลกีย์นั้น เป็นเรื่องวนเวียนธรรมดาๆ ไม่ยาวนานและคับแคบยิ่งนัก (ติดตามเท็ปฟังได้....อย่าพลาด!)

๓. อาหาร พ่อท่านเรียกชาวอโศกว่า "คนกินมังฯ" เทียบเคียงกับที่คนจีนเรียก "คนกินเจ" พ่อท่านเผยสูตร อาหารที่พ่อท่านฉันมาเป็นปกติจนถึงทุกวันนี้กว่าสิบปีแล้ว ทำให้ท่านแข็งแรง ทำงานได้มากไม่เกิดโทษภัย ได้ฝึกลดละ ได้อบรมตนเองทุกมื้อๆทุกวันๆ ท่านฉันอาหารโดยลำดับดังนี้ คือ
๑. โยเกิร์ต (ทำจากน้ำถั่วเหลือง) ๑ ถ้วย (ขนาด ๑ ชั้นปิ่นโตน้อยๆ)
๒. ผักต้มซุป หรือที่เราเรียกกันว่า ต้มสวรรค์ ๑ ถ้วย (ขนาด ๑ ชั้นปิ่นโตน้อยๆ/ผักตามมีตามได้ ต้มกับน้ำ ไม่ปรุงแต่งใดๆเพิ่มเติม)
๓. ผักสดหลากหลายตามพื้นถิ่นแต่ละที่ที่จะจัดมาถวาย ๑ ปิ่นโต หั่นขนาดพอดีเคี้ยว(อาจมีน้ำสลัดธรรม ชาติแล้ว แต่ปรุง รสไม่จัดจ้าน....ปริมาณเล็กน้อย)
๔. ข้าวและอื่นๆตามลงไปเป็นลำดับ ผลไม้มีกล้วย มะละกอบ้างไม่มาก พ่อท่านสอนว่า เราจะได้ฝึกวางใจ กินอาหารได้ฝึกตนทุกวันๆ ไม่ใช่ว่าทุกวันกินแต่อร่อยชนิดที่...๑.....อร่อยชนิดที่...๒.....อร่อยชนิดที่...๓.... กินอย่างนี้ก็ได้แต่วนเสพย์ สะสมใส่จิตวิญญาณอย่างนั้นๆไปอีก ทำให้จิตวิญญาณอ่อนแอ เพราะไม่ได้ฝึก ตน แถมยังสะสมกิเลสเพิ่มใส่ตัวเองทุกวันๆ สวนทางปฏิบัติธรรม

๔. อากาศ เป็นการหายใจยาวๆลึกๆ ชาวอโศกมีปกติอยู่ที่ใดก็จะปลูกต้นไม้มาก ทำให้อากาศดีอยู่แล้ว งาน นี้คุณน้อมบูชาและคุณหมอเขียวพาฝึกหายใจบริหารทรวงอก บริหารหน้าท้อง จนถึงกระดูกซี่โครงกันเลยที เดียว

๕. ออกกำลังกายและอิริยาบถ ในงานค่ายฯ คุณมานพ ประภาษานนท์ นักกายภาพบำบัดจาก ร.พ.สรรพ สิทธิประสงค์ ได้มาช่วยให้ความรู้ความเข้าใจว่า โครงสร้างปกติของคนนั้นเป็นอย่างไร หากเกิดผิดปกติ จะทำให้อวัยวะร่างกายระบบต่างๆ ได้รับผลกระทบพลอยเป็นปัญหาไปด้วย เช่น ขามีปัญหาจะทำให้สมดุล กล้ามเนื้อเสีย ร่างกายจะจัดสมดุลใหม่ ดึงหลัง ดึงเอว ดึงไหล่ ดึงคอ ให้ผิดรูปไป ปัญหาต่างๆจะเชื่อมโยง ตามกันมา ดังนั้นวิธีแก้ ต้องฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น ฝึกกล้ามเนื้อให้ยืดหยุ่นได้ดี รวมถึงบริหารแก้กลับ กล้ามเนื้อที่มีปัญหาบ่อยๆเป็นประจำสม่ำเสมอ จะแก้ปัญหาได้ นอกจากนี้อิริยาบถต่างๆที่เรา เดิน-ยืน-นั่ง-นอน ต้องดูแลให้ได้สมดุลเช่นกัน

๖. เอนกาย ค่ายฯครั้งนี้ผู้เข้าค่ายฯประเมินว่า ได้รับเนื้อหาและทักษะน้อย แต่ก็พักผ่อนนอนหลับได้ดีมาก ที่บ้านสุขภาพของบ้านราชฯ อากาศสดชื่นนอนเต็มอิ่ม ตื่นมาทำวัตรเช้าได้กระฉับกระเฉง ไม่ง่วงเหงาหาวนอนตลอดวัน

๗. เอาพิษภัยออก พ่อท่านให้ความรู้เพิ่มเติมว่า การเอาพิษออกนั้น พ่อท่านหมายไม่ใช่แค่เพียงการทำ ดีท็อกซ์เท่านั้น หากแต่หมายถึง การเอาสิ่งที่เป็นพิษเป็นโทษภัยออกไปจาก ร่างกาย จากชีวิต จากครอบครัว จากสิ่งแวดล้อมและชีวิตของเราด้วย พ่อท่านพาทำ ให้เอาอบายมุขออกเป็นอันดับแรกเลย ต่อมาก็ค่อย พิจารณาสิ่งที่เป็นพิษเป็นโทษเป็นภัยเป็นระดับๆไป เป็นต้นว่า อาหาร-เนื้อสัตว์ อาหารขยะ สิ่งสกปรกใน สถานที่สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะห้องส้วม จากอดีตจนถึงปัจจุบัน อโศกวิวัฒนาการจนถึงการเอาขยะมาหมัก เป็นปุ๋ยชีวภาพแล้ว เป็นต้น ดังนั้นจึงเพิ่มเป็นเอาพิษภัยออก แทนจากเดิมที่กำหนดเพียงแค่ การเอาพิษออก เท่านั้น

งานค่าย ๗ อ.สุขภาพบุญนิยม บุญญาวุธหมายเลข ๔ สำหรับแกนนำเครือข่ายฯ ครั้งต่อไปจัดที่หินผาฟ้าน้ำ ระหว่างวันที่ ๕-๙ ก.ย.๔๖ นี้ เจ้าภาพฝากแจ้งข่าวยินดี เต็มใจต้อนรับพี่น้องแกนนำฯจากอินทร์บุรี ศาลีอโศก เมฆาอโศก วังน้ำเขียว สันติอโศก สีมาอโศก ดินหนองแดนเหนือ และศีรษะอโศกทุกท่าน ขณะนี้ ชาวบ้านดิน-หินผาฟ้าน้ำเตรียมการรอรับกันอย่างเต็มที่เลย

บทสรุป ช่วงกลางพรรษา'๔๖ อย่างนี้ ที่บ้านราชฯเมืองเรือ น้ำกำลังเริ่มไต่ระดับขึ้นมาเรื่อยๆ จนเกือบถึงแนวถนนทางเข้าบ้านคำกลาง(บริเวณพื้นที่ที่เป็นท้องนา)แล้ว

ฝนตกไม่ขาดสายติดต่อกัน ๓-๔ วัน กิจกรรมอบรม-เยี่ยมชม-ดูงานที่บ้านราชเมืองเรือก็ยังคึกคักคิวแน่นเช่น เคย บางช่วงก็ซ้อนกัน ๓ กิจกรรม เช่น มีการเข้าค่าย ๔ วันของนักเรียนชั้น ม.ต้น จากสุรินทร์ ๒๐๐ กว่าชีวิต ซ้อนกับงานค่าย ๗ อ.ของแกนนำชาวอโศกในภาคอีสานตอนบน รวมถึงการขยายการให้บริการอาหาร มังสวิรัติทุกวันพระในช่วงเข้าพรรษา ตามจุดต่างๆในเมืองอุบลฯของ สสธ. ทำให้บ้าน วัด โรงเรียน ผนึกกัน เหนียวแน่นยิ่งขึ้น ยิ่งเห็นฝนตกติดต่อกันหลายวันทำให้น้ำเริ่มมารวมกันมากขึ้น ชาวบ้านราชเมืองเรือจึงได้ เตรียมการวางแผนรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมกันอีกครั้ง

บรรยากาศเคลื่อนตัวตลอดเวลาของชาวบ้านราชเมืองเรือ ช่างน่าอนุโมทนาในการสั่งสมบุญกุศลยิ่งนัก รู้สึกประทับใจในความขวนขวายทำกิจตน และเคลื่อนตัวไปกับหมู่ของทุกๆชีวิต.

- ไม้กฤษณา รายงาน -

(สารอโศกอันดับที่ ๒๖๓ สิงหาคม ๒๕๔๖)